112 The Series

 

112 The Series 

คือเรื่องเล่าเกี่ยวกับผู้ที่ถูกดำเนินคดีด้วยกฎหมายหมายอาญามาตรา 112 หรือ กฎหมายหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ ในมุมมองที่สังคมยังไม่ค่อยรู้จัก ซึ่งสื่อมวลชนมักนำเสนอแต่เรื่องราวของคดีความจนละเลยข้อเท็จจริงส่วนนี้ไป 
งานชุดนี้ เป็นการร้อยเรียงเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตส่วนตัวของผู้ถูกดำเนินคดีนี้ เพื่อที่จะสะท้อนมุมมองที่หลากหลายต่อผู้ถูกดำเนินคดีมาตรา 112 ในฐานะที่เป็นมนุษย์ธรรมดาคนหนึ่ง และให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลกระทบของการถูกดำเนินคดีต่อชีวิตของพวกเขา ที่มากไปกว่าการสูญเสียอิสรภาพในเรือนจำ โดยไม่เพ่งเล็งจะหาคำตอบว่าพวกเขาเหล่านั้นกระทำความผิดต่อกฎหมายจริงหรือไม่ 
งานชุดนี้ เขียนขึ้นโดยทีมงานและอาสาสมัครของ iLaw ที่ทำหน้าที่สังเกตการณ์การพิจารณาคดี และให้ความช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรมต่อผู้ถูกดำเนินคดีจากการใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น 
สำหรับชื่อของเจ้าของเรื่องเล่า จะเปิดเผยผู้ที่เต็มใจให้สังคมรับรู้เท่านั้น ผู้ที่ขอสงวนชื่อจริง เราจะตั้งชื่อของเขาใหม่ในเครื่องหมาย “….”

ภรณ์ทิพย์: กลุ่มละครกับความฝัน

“เราคิดเรื่องกฎหมายกันก่อนแสดง และพูดกันหลังเวทีก่อนขึ้นแสดงด้วยซ้ำ เราคิดว่ามันเหมือนกับละครจักรๆ วงศ์ๆ ที่ฉายกันตอนเช้าทางโทรทัศน์ ซึ่งมีเรื่องเจ้าอยู่ด้วย แล้วเราก็คิดว่ามันไม่มีทางเป็นไปได้ที่จะมาดำเนินคดีกับละคร ซึ่งเป็นเรื่องไร้สาระมาก”

ทีมงานละคร “เจ้าสาวหมาป่า” คนหนึ่งเล่าให้ฟัง หลังจากที่กอล์ฟ-ภรณ์ทิพย์ ถูกจับกุมและดำเนินคดีด้วยมาตรา 112 ในฐานะผู้กำกับละคร

เพราะความสนใจและความตื่นตัวทางการเมือง ณัฐเริ่มเขียนอีเมลโต้ตอบกับชาวต่างชาติคนหนึ่ง ที่เขาไม่เคยเจอตัวมาก่อน ท้ายที่สุดเขาก็ถูกจับเพราะส่งอีเมลโต้ตอบกับชาวต่างชาติซึ่งเป็นคนที่ทางการไทยจับตามองอย่างใกล้ชิด อีเมล์ของเขาถูกมองว่าเข้าข่ายผิดกฎหมายอาญามาตรา112

ติดตามข้อมูลคดีของ ‘ณัฐ’ ในฐานข้อมูลของเรา ที่นี่


โอภาส:  An old man and his love.

โอภาสชายวัย 67 รูปลักษณ์ภายนอก ผมขาวสีดอกเลา กับท่าทางดูใจดี พร้อมมิตรไมตรีจากรอยยิ้ม เมื่อเข้าไปกล่าวทักทายและเอ่ยปากชวนคุย เราทั้งสามคนก็เข้าไปท่องอยู่ในบทสนทนาหลากหลายเรื่องราว ภาษา วรรณกรรม ลงเอยด้วยดนตรี สิ่งที่เราต่างก็สนใจเหมือนๆ กัน กระทั่งการจับเจ่าอยู่กับข่าวสารการเมืองเกินไป เกิดเป็นความเครียดต้องการหาที่ระบาย ลงเอยด้วยโอภาสไปเขียนบนฝาผนังห้องน้ำในห้างสรรพสินค้า ข้อความที่เขาเขียนถูกมองว่าเข้าข่ายผิดกฎหมายอาญามาตรา 112

ติดตามข้อมูลคดีของ ‘โอภาส’ ในฐานข้อมูลของเรา ที่นี่


ใหญ่ แดงเดือด: ในฤดูร้อนที่ไม่เป็นเช่นเคย

สายวันหนึ่งในช่วงปลายมีนาคม 2558  ฤดูร้อนที่เปลวแดดยังแผดแรง ที่อาคารกรมพระธรรมนูญ หรือที่ตั้งศาลทหารกรุงเทพฯ ครอบครัวหนึ่งอาศัยรถตู้โดยสาร เดินทางจากนครปฐมเพื่อมานัดตามหมายศาล ด้วยความหวังว่าจะได้พบกับคนที่พลัดพราก และจะได้อยู่ร่วม วันชี้ชะตากรรมในเวลาที่เหลืออยู่ข้างหน้า พวกเขามาเฝ้ารอลุ้นจำนวนปีที่คนคนหนึ่งจะต้องถูกคุมขังอันเป็นโทษทัณฑ์ของการโพสต์เฟซบุ๊ก

ติดตามข้อมูลคดีของ ‘ใหญ่ แดงเดือด’ ในฐานข้อมูลของเรา ที่นี่


ปากคำและความฝันของ “บรรพต” : “ผมไม่เคยคิดล้มเจ้าเลย ระบบกษัตริย์มีความงดงาม”

เมื่อพูดถึงชื่อของ “บรรพต” นักจัดรายการวิทยุเรื่องการเมือง และ “ด่าเจ้า” ทางอินเทอร์เน็ต หลายคนอาจจะรู้สึก “ยี้” คนที่ไม่ชอบบรรพตไม่ได้มีแค่คนที่รู้สึกรับไม่ได้กับวิธีที่เขาพูดถึงในหลวงเท่านั้น นักวิชาการหรือนักเคลื่อนไหวทางการเมืองจำนวนไม่น้อยไม่ชอบบุคคลเบื้องหลังชื่อ “บรรพต” เพราะมองว่าเขาวิเคราะห์การเมือง “มั่ว” ไม่รู้ไปเอาข้อมูลมาจากไหน 9 กุมภาพันธ์ 2558 มีข่าวการจับกุมเจ้าของเสียง “บรรพต” 

ติดตามข้อมูลคดีของ ‘บรรพต’ ในฐานข้อมูลของเรา ที่นี่


ศศิวิมล:  วันแม่ ที่ไม่มีแม่อยู่

ศศิวิมล พนักงานของโรงแรมแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ ถูกกล่าวหาว่าใช้เฟซบุ๊กชื่อ  “รุ่งนภา คำภิชัย” โพสต์ข้อความที่เข้าข่ายความผิดฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ รวม 6 ข้อความ ศศิวิมลถูกจับกุม หลังเจ้าหน้าที่ตำรวจประสานให้ไปพบที่สภ.เมืองเชียงใหม่ เพื่อเซ็นหมายศาล แต่ปรากฎว่าเมื่อไปถึงก็ถูกจับกุมดำเนินคดี ทั้งนี้ศศิวิมล มีบุตรสาว 2 คน อายุ 5  และ7 ปี เมื่อ ศศิวิมล ถูกคุมขังหว่างพิจารณาคดี มารดาของเธอเป็นผู้ดูแลลูกสาวทั้ง 2

ด้วยสภาพการทำงานที่บังคับให้ต้องนั่งอยู่ในห้องโดยสารแคบๆคนเดียวทั้งวัน คนขับแท็กซี่หลายๆคน จึงมักจะชวนผู้โดยสารคุย เพื่อคลายความเหงา บทสนทนาของคนขับแท็กซี่กับผู้โดยสารก็มักเป็นเรื่องทั่วๆไป อย่างลมฟ้าอากาศ กีฬา เรื่องปากท้อง ไปจนถึงเรื่องการเมือง บทสนทนาระหว่างผู้โดยสารกับคนขับแท็กซี่คงไม่ใช่เรื่องพิเศษหรือมีอะไรน่าจดจำ ถึงที่หมายจ่ายค่าโดยสารก็ลืมกันไป ยุทธศักดิ์เองก็คงหวังให้บทสนทนาเรื่องการเมืองระหว่างเขากับผู้โดยสารคนหนึ่งเป็นเช่นนั้น เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นจริง คือยุทธศักดิ์กำลังรับโทษจำคุกด้วยมาตรา 112 เพราะบทสนทนาที่ออกรสเกินไป

หนึ่งปีก่อน เราได้รับโทรศัพท์ว่าเย็นวันนี้เขาจะออกจากเรือนจำแล้ว
“เฉลียว” คือชื่อที่เรารู้ และนั่นแทบเป็นข้อมูลทั้งหมดที่เรามี“112 น่ะ อัพโหลดคลิปเสียงบรรพตขึ้นโฟร์แชร์” ใครสักคนในห้องบอกไว้ก่อนฉันจะเก็บกระเป๋านั่งรถไปเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ปีถัดมา ฉันคอยลุ้นอยู่ที่บ้าน ภาวนาว่าให้ศาลไม่เปลี่ยนคำตัดสิน ตามคำอุทธรณ์ของอัยการ
และแล้วในห้อง “พิจารณาลับ” ทุกอย่างที่หวังไว้ก็กลับตาลปัตรไปหมด

แม้ในปี 2558 ชาญวิทย์ จะมีอายุ 60 ปีแล้ว แต่เขาก็ยังคงเป็นคนที่มีความตื่นตัวทางการเมือง ไม่ต่างจากสมัยหนุ่มๆที่เคยร่วมเคลื่อนไหวในเหตุการณ์เดือนตุลา ทั้งปี 2516 และ 2519 จนต้องสูญเสียอิสรภาพ ในครั้งนี้ (ปี2558) ชาญวิทย์ต้องสูญเสียอิสรภาพอีกครั้ง เมื่อใบปลิวที่เขาแจกในงานชุมนุมทางการเมืองที่ท่าน้ำนนท์ เมื่อปี 2550 ถูกมองว่าเข้าข่ายความผิดฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112

บรรยากาศฟ้าโปร่งในแดดช่วงสาย ถนนรัชดาฯ กุมภาพันธ์ปีนั้นผมจำได้ดี แม้จะอยู่ใกล้ฤดูสอบปลายภาค แต่ด้วยนัดสำคัญต้องมาพบเพื่อนคนหนึ่ง เขากำลังอดอาหาร 112 ชั่วโมงเพื่อเรียกร้องให้ศาลให้สิทธิประกันตัวแก่พ่อของเขา ผู้ต้องหาที่ถูกคุมขังระหว่างพิจารณาคดีมาตั้งแต่เมษายนปีที่แล้ว (2554) บริเวณด้านหน้าศาลอาญาวันนั้นคราคร่ำไปด้วยสื่อมวลชน นักกิจกรรม และผู้มาให้กำลังใจลูกชายของ สมยศ พฤกษาเกษมสุข นักโทษคดี 112 จากการเป็นบรรณาธิการนิตยสารการเมืองฉบับหนึ่งที่มีบทความเผยแพร่เนื้อหาเข้าข่ายหมิ่นเบื้องสูง

“ผมรับไม่ได้ครับ ผมไม่ได้ทำ ผมไม่รู้เรื่องจริงๆ” ปิยะพูดด้วยนำเสียงที่หนักแน่นแต่สดใด น้ำเสียงที่เปี่ยมด้วยกำลังใจนี้เองที่ส่งให้การต่อสู้คดียืดยาวมาปีเศษ 

ปิยะเป็นชายวัยกลางคน รูปร่างสูงใหญ่ บุคลิกเหมือนคนมีการศึกษาและมีฐานะ เวลาตอบคำถามก็พูดจาฉะฉานชัดเจนแสดงถึงความมั่นใจในตัวเอง วันที่ถูกจับปิยะอายุ 48 ปี เขาจบการศึกษาด้านบริหารธุรกิจจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เคยทำงานซื้อขายหลักทรัพย์ให้กับธนาคารขนาดใหญ่ แต่เส้นทางธุรกิจของเขาผกผันต่อเนื่อง ก่อนถูกจับปิยะทำอาชีพอิสระเกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมแอพลิเคชั่น

ติดตามข้อมูลคดีของ ปิยะ ในฐานข้อมูลของเราที่นี่ 

____________________________________________________________________________________________________________

ฉันพบ “อาทอม” กับพี่นันครั้งแรกเมื่อปลายปี 2558 ที่ศาลทหารกรุงเทพ วันนั้นเป็นนัดสืบพยานโจทก์ในคดีมาตรา 112 ที่อาทอมเป็นจำเลย ศาลทหารสั่งให้พิจารณาคดีเป็นการลับ อาทอมเข้าไปในห้องกับทนายความ อัยการฝ่ายโจทก์ซึ่งเป็นทหาร และองค์คณะตุลาการ ขณะที่พี่นัน ภรรยาได้แต่นั่งรออยู่หน้าห้อง คดีของอาทอมเต็มไปด้วยข้อเท็จจริงชวนพิศวง เขาถูกจับกุมครั้งแรก หลังรัฐประหารหนึ่งเดือนคือช่วง  มิถุนายน 2557 เนื่องจากการไม่ไปรายงานตัวตามคำสั่งของ คสช. ต่อมาทหารปล่อยให้เขากลับบ้าน และตามไปจับกุมเขาอีกครั้งในข้อหาหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ ตามมาตรา 112 และความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จากคลิปการปราศรัยบนเวทีเสื้อแดงในช่วง พฤศจิกายน 2556

 “เวลาในเรือนจำของธาราเดินไปเรื่อยๆ ระหว่างนี้เราก็พบเจอกันบ่อยครั้งขึ้น การพูดคุยระหว่างเราจึงผ่อนคลายและเป็นกันเองมากขึ้นเรื่อยๆธารากล้าที่จะปลดปล่อยความเครียดและความกังวลให้เราได้รับรู้มากขึ้น เขาเล่าถึงสภาพที่กดดันและบีบคั้นในเรือนจำ อาทิการริบที่นอนที่ญาติซื้อให้ แล้วให้นักโทษแต่ละคนมีผ้าเพียงสามผืนสำหรับห่ม สำหรับปู และหนุนนอน ผ้าคุณภาพต่ำที่แสนคัน ผ้าเก่าเหม็นอับ การซักล้างก็ลำบากเพราะเรือนจำไม่ปล่อยน้ำประปาให้ใช้สอยมากนัก”

“ทิ้งไปแล้วโว้ยยยยยย”
เสียงชายผู้น้องแผดขึ้นพร้อมดวงตาระรื่นปนระอา เมื่อครั้งที่ “เสาร์” ทวงถามถึงสัญญา เขาเคยจดเบอร์อดีต
นักการเมืองคนสำคัญของประเทศให้กับน้องชาย ฝากฝังให้โทรไปถามเรื่องการจัดตั้งพรรคการเมือง และเสนอ
นโยบายของพรรค ชายผู้น้องได้แต่สั่นหัวยิกๆ รำพึงรำพันปนขำว่า นี่ต้องเสียค่าโทรทางไกลเท่าไหร่กัน กว่าจะ
ติดต่อถึงดูไบ โฟนอินเอาง่ายกว่าไหม
เสาร์ ได้ยินดังนั้น เดาว่าแม้คงจะผิดหวังไปบ้าง แต่ตอบสนองกลับมาเพียงใบหน้าเรียบเฉย เขายิ้มน้อยๆ เศร้าๆพองาม
ไม่ได้เอ่ยถามอะไรต่อ..
—————————————————————————————————————————————————————————–
“ผมสงสัยมากเลยนะว่าพวกดวงดาว จักรวาลมันเกิดขึ้นมาได้ยังไง”
ลุงตั้งคำถามขึ้นมาอย่างที่ชอบทำ ตอนนั้นเราสี่คนนอนดูดาวกันที่เชียงดาวระหว่างที่ไปถ่ายทำสารคดี คืนนั้นเป็นคืนฟ้าเปิด เห็นดาววาววับมากมาย เราคุยกันไปเรื่อยเปื่อย
“ทฤษฎีบิ๊กแบงไงคะ” ฉันตอบ “ไอ้หนังสือพวกนั้นผมก็อ่านมาบ้าง แต่เข้าใจยากเกินไป  ผมอยากเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องพวกนี้นะ เหมือนที่ผมสงสัยว่าพืชมันเจริญเติบโตขึ้นมาจากใต้ดินได้ยังไง คิดดูสิ ดินมันก็เป็นแค่ดิน แต่ดินเป็นที่มาของพืชทุกชนิด มันเป็นความมหัศจรรย์นะ”
คำถามซื่อๆ กระตุ้นให้ฉันคิดถึงหนังสือเล่มแรกของลุงที่ฉันอ่าน ในตอนจบลุงก็ลงท้ายด้วยคำถามแบบนี้เช่นกัน
——————————————————————————————————————————————————————————-
‘แม่ทิพย์’ : การโพสต์ภาพชุดดำกับชีวิตที่พังทลาย
ชีวิตของ “แม่ทิพย์” เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลรัฐแห่งหนึ่งก็เหมือนคนทำมาหากินทั่วไป แม้แม่ทิพย์จะสนใจการเมืองแต่ก็ไม่เคยไปร่วมการชุมนุมเพราะภาระทางครอบครัวไม่เอื้ออำนวย เธอได้แต่เพียงติดตามข่าวและใช้เฟซบุ๊กแชร์ข่าวหรือแสดงความเห็นทางการเมืองเท่านั้น ทว่าการโพสต์ภาพของเธอกับเพื่อนและข้อความที่เจ้าหน้าที่เห็นว่ามีลักษณะเป็นการเสียดสีพระมหากษัตริย์ก็เพียงพอแล้วที่จำทำให้เธอต้องถูกจองจำเป็นเวลาเก้าเดือน ถึงแม้ว่าโทษจำคุกของเธอจะน้อยกว่าผู้ต้องขังคดีมาตรา 112 อีกหลายคนแต่มันก็เพียงพอที่จะทำให้ชีวิตของเธอพังทลายชนิดที่ยากจะซ่อมแซม