ทั้งฉบับหรือจำกัดเงื่อนไข สรุปความเห็นภาคประชาสังคมต่อคำถามประชามติ
อ่าน

ทั้งฉบับหรือจำกัดเงื่อนไข สรุปความเห็นภาคประชาสังคมต่อคำถามประชามติ

วันที่ 15 พฤศจิกายน 2566 ที่ผ่านมา “คณะกรรมการประชามติฯ” ได้เชิญภาคประชาสังคมจำนวนมากไปแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคำถามประชามติเพื่อเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ ซึ่งแบ่งออกได้เป็นสามกลุ่ม คือ ผู้สนับสนุนการเขียนใหม่ทั้งฉบับ ผู้สนับสนุนการห้ามแก้ไขหมวดหนึ่งและหมวดสอง และ กลุ่มอื่นๆ 
เดินหน้าเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ ประชามติต้องเปิดกว้าง คำถามมีเงื่อนไขอาจได้คำตอบไม่ตรงเจตจำนงประชาชน
อ่าน

เดินหน้าเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ ประชามติต้องเปิดกว้าง คำถามมีเงื่อนไขอาจได้คำตอบไม่ตรงเจตจำนงประชาชน

ระหว่างที่การเดินหน้าไปสู่การทำประชามติเพื่อเขียนรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ยังไม่ถึงกระบวนการริเริ่มประชามติ 3 พ.ย.  2566 คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) จัดวงอภิปรายสาธารณะในหัวข้อ "กระบวนการขับเคลื่อนรัฐธรรมนูญฉบับประชาธิปไตย : แก้ไข-ร่างใหม่-ประชามติ?" 
สภาคว่ำข้อเสนอ สส. ฝ่านค้าน ขอให้ทำประชามติเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ
อ่าน

สภาคว่ำข้อเสนอ สส. ฝ่านค้าน ขอให้ทำประชามติเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ

25 ตุลาคม 2566 สภาผู้แทนราษฎรคว่ำญัตติสนอให้จัดทำประชามติเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ ซึ่งเสนอโดยสส. พรรคฝ่ายค้าน โดยที่ญัตติเรื่องนี้ก็เคยเสนอมาในสภาชุดก่อนและผ่านสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว
เช็คจุดยืนเพื่อไทย เขียนรัฐธรรมนูญใหม่
อ่าน

เช็คจุดยืนเพื่อไทย เขียนรัฐธรรมนูญใหม่

แม้ว่าการร่างรัฐธรรมนูญใหม่จะเป็นวาระสำคัญ แต่จะร่างอย่างไร และหน้าตาของสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) จะเป็นแบบใดยังคงไม่มีความชัดเจน ย้อนดูคำพูดของพรรคเพื่อไทยในประเด็นที่เกี่ยวกับจุดยืนการร่างรัฐธรรมนูญใหม่
ทำความรู้จัก 34 กรรมการศึกษาแนวทางทำประชามติ ภายใต้รัฐบาลเศรษฐา
อ่าน

ทำความรู้จัก 34 กรรมการศึกษาแนวทางทำประชามติ ภายใต้รัฐบาลเศรษฐา

เส้นทางประชามติเพื่อนำไปสู่การเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ เริ่มคืบหน้าอยู่บ้าง เมื่อ 3 ตุลาคม 2566 นายกฯ มีคำสั่งตั้งคณะกรรมการศึกษาแนวทางทำประชามติ มีกรรมการ 34 คน ชวนทำความรู้จักกับกรรมการชุดนี้
รวมวาทะสว. อภิปรายขวางร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ก่อนเลือกเศรษฐาเป็นนายกฯ
อ่าน

รวมวาทะสว. อภิปรายขวางร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ก่อนเลือกเศรษฐาเป็นนายกฯ

22 สิงหาคม 2566 ในที่ประชุมรัฐสภามีการอภิปราย ก่อนลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 รอบที่สาม สมาชิกวุฒิสภา (สว.) หลายคนได้ลุกขึ้นอภิปรายความเหมาะสมและคุณสมบัติของ “เศรษฐา ทวีสิน” แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีจากพรรคเพื่อไทย โดยสว.บางคนก็แสดงความเห็นสอดแทรกไปในทางที่ไม่เห็นด้วยหรือยังมีข้อสงสัยที่อยากให้พรรคเพื่อไทยแถลงข้อเท็จจริงให้ชัดเจนในประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่พรรคเพื่อไทยจะผลักดันเป็นวาระแรกเมื่อจัดตั้งรัฐบาลสำเร็จ   
เขียนใหม่ไม่ใช่ล้มล้าง! ตอบคำถาม เขียนรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ “ไม่ใช่วิธีล้มล้างการปกครอง”
อ่าน

เขียนใหม่ไม่ใช่ล้มล้าง! ตอบคำถาม เขียนรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ “ไม่ใช่วิธีล้มล้างการปกครอง”

ข้อถกเถียงว่า “จะเขียนรัฐธรรมนูญใหม่อย่างไรดี” นั้นถูกแบ่งออกเป็นสองความคิดเห็นใหญ่ๆ คือ กลุ่มที่สนับสนุนการเขียนใหม่ทั้งฉบับ ต้องแก้ไขได้ในทุกหมวดทุกมาตรา และกลุ่มที่สนับสนุนให้ละเว้นการเขียนใหม่หรือการแก้ไขในรัฐธรรมนูญหมวด 1 บททั่วไป และหมวด 2 พระมหากษัตริย์ ไว้ดังเดิม คำกล่าวอ้างสำคัญ คือ กังวลว่าจะเกิดความพยายามในการเปลี่ยนรูปแบบการปกครองของรัฐไทย ทั้งจากการเป็นรัฐเดี่ยวอันแบ่งแยกมิได้ และการธำรงไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข อย่างไรก็ตาม การแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อเปิดช่องให้มีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นั้นอยู่ภายใต้ มาตรา 255 ซึ่งขวางการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองไว้แล้ว รวมทั้งในอดีตรัฐธรรมนูญทั้งหมวด 1 และหมวด 2 ยังเคยถูกแก้ไขตาม “ข้อสังเกตพระราชทาน” หลังผ่านการทำประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญมาแล้วอีกด้วย
ทวงสัญญารัฐธรรมนูญใหม่ พรรคไหนเคยชูเป็นนโยบายบ้าง
อ่าน

ทวงสัญญารัฐธรรมนูญใหม่ พรรคไหนเคยชูเป็นนโยบายบ้าง

การแก้ไขรัฐธรรมนูญถูกนำเสนอเป็นประเด็นสำคัญในนโยบายหาเสียงของหลายพรรค ก่อนการเลือกตั้ง 66 เมื่อผ่านการเลือกตั้งแล้วสส. ในสภาจึงต้องถูกทวงถามสิ่งที่เคยประกาศเอาไว้
2 เงื่อนไข รัฐบาลใหม่ต้องทำเพื่อเปลี่ยนผ่านสู่สภาวะปกติ
อ่าน

2 เงื่อนไข รัฐบาลใหม่ต้องทำเพื่อเปลี่ยนผ่านสู่สภาวะปกติ

ไม่ว่าจะหน้าตาเป็นอย่างไร แต่สิ่งที่รัฐบาลใหม่สามารถทำได้ในสภาวะไม่ปกติคือการเริ่มกระบวนการเขียนรัฐธรรมนูญใหม่และคืนอำนาจให้ประชาชนทันทีที่เงื่อนไขของ สว. หายไปจากสมการ เพื่อให้ประชาชนได้แสดงเจตจำนงอีกครั้งในสนามที่เป็นธรรมกับทุกฝ่าย
รู้หรือไม่ อดีตพรรคร่วมรัฐบาลเคยเทคะแนนโหวตปิดสวิตช์ ส.ว. มาแล้ว 3 ครั้ง
อ่าน

รู้หรือไม่ อดีตพรรคร่วมรัฐบาลเคยเทคะแนนโหวตปิดสวิตช์ ส.ว. มาแล้ว 3 ครั้ง

ช่วงเวลาสี่ปีของสภาที่ผ่านมา ประเด็นการตัดอำนาจ ส.ว. แต่งตั้งเลือกนายกรัฐมนตรีได้รับการสนับสนุนอย่างกว้างขวาง แม้แต่อดีตพรรคร่วมรัฐบาลอย่างพรรคพลังประชารัฐ พรรคภูมิใจไทย พรรคประชาธิปัตย์ ก็เคยยกมือปิดสวิตช์ ส.ว. มาแล้วถึงสามครั้ง รวมถึงเคยเสนอร่างเพื่อตัดอำนาจ ส.ว. ของตนเองด้วย