ย้อนรอย สว.ฟังเสียงข้างมาก เห็นชอบ “พิธา” และเคยโหวตปิดสวิตช์ตัดอำนาจตัวเอง

หลังจากเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2566 พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีเพียงหนึ่งเดียวจากพรรคก้าวไกล ถูกเสนอชื่อเป็นนายกฯ ต่อที่ประชุมรัฐสภาโดย 8 พรรคร่วมจัดตั้งรัฐบาล ซึ่งได้รับการลงมติ “เห็นชอบ” จากรัฐสภาไม่เกินกึ่งหนึ่ง จึงทำให้ประเทศไทยวันนี้ยังไม่มีนายกฯ คนที่ 30 อย่างเป็นทางการ โดยจะมีการลงมติใหม่อีกครั้งในวันที่ 19 ก.ค. 2566 
เหตุที่การตั้งนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลใหม่ยังไม่สำเร็จ แม้จะรวมเสียงข้างมากได้แล้วถึง  311 เสียง (ไม่นับประธานรัฐสภา) เป็นผลโดยตรงจากรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 272 ที่ให้ตัวการสำคัญอย่าง ส.ว. ชุดพิเศษร่วมโหวตนายกฯ ซึ่งผลการลงมติเลือกนายกฯ ในวันที่ 13 กรกฎาคม จาก 250 ส.ว.ชุดพิเศษ (เรณู ตังคจิวางกูร ลาออกจึงทำให้จำนวนส.ว.เหลืออยู่ 249 คน) เป็นดังนี้
  • เห็นชอบ 13 เสียง
  • ไม่เห็นชอบ 34 เสียง
  • งดออกเสียง 159 เสียง
  • ไม่มาลงมติ 43 คน
ต่อมา พรรคก้าวไกลพยายามที่จะตอบโต้ท่าทีในการโหวตครั้งที่ผ่านมาของส.ว. ด้วยการยื่นแก้ไขรัฐธรรมนูญ ยกเลิกมาตรา 272 หรือการ “ปิดสวิตช์ส.ว. เลือกนายกรัฐมนตรี” แม้จะทราบดีว่าที่ผ่านมามีการยื่นร่างแก้ไขประเด็นนี้ จำนวน 6 ฉบับ แต่ไม่เคยสำเร็จ  ได้แก่
  1. ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมฝ่ายค้าน เสนอเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563 ได้เสียงเห็นชอบจากรัฐสภา 268 เสียง มีเสียง ส.ว. เห็นชอบ 56 เสียง
  2. ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่ภาคประชาชน (iLaw) เสนอเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563 ได้เสียงเห็นชอบจากรัฐสภา 212 เสียง มีเสียง ส.ว. เห็นชอบ 3 เสียง
  3. ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมฝ่ายค้าน เสนอเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2564 ได้เสียงเห็นชอบจากรัฐสภา 455 เสียง มีเสียง ส.ว. เห็นชอบ 15 เสียง
  4. ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมรัฐบาล เสนอเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2564 ได้เสียงเห็นชอบจากรัฐสภา 461 เสียง มีเสียง ส.ว. เห็นชอบ 21 เสียง
  5. ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่ภาคประชาชน (Resolution) เสนอเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2564 ได้เสียงเห็นชอบจากรัฐสภา 206 เสียง มีเสียง ส.ว. เห็นชอบ 3 เสียง
  6. ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่ภาคประชาชน (No 272) เสนอเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2565 ได้เสียงเห็นชอบจากรัฐสภา 356 เสียง มีเสียง ส.ว. เห็นชอบ 23 เสียง
การโต้กลับของพรรคก้าวไกลในช่วงเวลานี้ อาจเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยพิสูจน์ได้ว่าส.ว. บางคนที่อ้างว่าพร้อมที่จะ “ปิดสวิตช์” โหวตนายกฯ ด้วยการ “งดออกเสียง” นั้นมีความจริงใจแน่วแน่แท้จริงหรือไม่ หรือเป็นเพียงการกล่าวอ้างเพื่อสกัดกั้นนายกฯ จากผลการเลือกตั้ง
ชวนย้อนรอยดูผลการโหวตฯ แก้ไขมาตรา 272 (ปิดสวิตช์ส.ว.เลือกนายกฯ) ควบคู่กับมติโหวตนายกฯ ล่าสุด ว่าส.ว.คนใดเคยรับหลักการพร้อมเคียงข้างประชาชนกันบ้าง
14 ส.ว. เคยรับหลักการ “ปิดสวิตช์ส.ว.” อย่างน้อยสี่ครั้ง จาก 6 ร่างที่เคยเสนอ 
1. ไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์ เคยรับหลักการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญม.272  (ปิดสวิตช์ส.ว.) 4 ครั้ง ได้แก่
  • ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมฝ่ายค้าน เสนอเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563
  • ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมฝ่ายค้าน เสนอเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2564
  • ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมรัฐบาล เสนอเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2564
  • ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่ภาคประชาชน (No 272) เสนอเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2565
2. คำนูณ สิทธิสมาน เคยรับหลักการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญม.272  (ปิดสวิตช์ส.ว.) 4 ครั้ง ได้แก่
  • ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมฝ่ายค้าน เสนอเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563
  • ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมฝ่ายค้าน เสนอเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2564
  • ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมรัฐบาล เสนอเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2564
  • ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่ภาคประชาชน (No 272) เสนอเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2565
3. เฉลิมชัย เฟื่องคอน เคยรับหลักการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญม.272  (ปิดสวิตช์ส.ว.) 4 ครั้ง ได้แก่
  • ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมฝ่ายค้าน เสนอเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563
  • ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมฝ่ายค้าน เสนอเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2564
  • ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมรัฐบาล เสนอเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2564
  • ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่ภาคประชาชน (No 272) เสนอเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2565

4. เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ เคยรับหลักการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญม.272  (ปิดสวิตช์ส.ว.) 4 ครั้ง ได้แก่

  • ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมฝ่ายค้าน เสนอเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563
  • ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมฝ่ายค้าน เสนอเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2564
  • ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมรัฐบาล เสนอเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2564
  • ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่ภาคประชาชน (No 272) เสนอเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2565

5. เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ เคยรับหลักการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญม.272  (ปิดสวิตช์ส.ว.) 6 ครั้ง ได้แก่

  • ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมฝ่ายค้าน เสนอเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563
  • ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่ภาคประชาชน (iLaw) เสนอเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563
  • ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมฝ่ายค้าน เสนอเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2564
  • ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมรัฐบาล เสนอเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2564
  • ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่ภาคประชาชน (Resolution) เสนอเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2564
  • ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่ภาคประชาชน (No 272) เสนอเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2565
6. ประภาศรี สุฉันทบุตร เคยรับหลักการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญม.272  (ปิดสวิตช์ส.ว.) 4 ครั้ง ได้แก่
  • ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมฝ่ายค้าน เสนอเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563
  • ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมฝ่ายค้าน เสนอเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2564
  • ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมรัฐบาล เสนอเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2564
  • ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่ภาคประชาชน (No 272) เสนอเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2565
7. พรทิพย์ โรจนสุนันท์  เคยรับหลักการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญม.272  (ปิดสวิตช์ส.ว.) 4 ครั้ง ได้แก่
  • ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมฝ่ายค้าน เสนอเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563
  • ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมฝ่ายค้าน เสนอเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2564
  • ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมรัฐบาล เสนอเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2564
  • ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่ภาคประชาชน (No 272) เสนอเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2565
8. ประมนต์ สุธีวงศ์ เคยรับหลักการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญม.272  (ปิดสวิตช์ส.ว.) 4 ครั้ง ได้แก่
  • ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมฝ่ายค้าน เสนอเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563
  • ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมฝ่ายค้าน เสนอเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2564
  • ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมรัฐบาล เสนอเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2564
  • ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่ภาคประชาชน (No 272) เสนอเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2565
9. พิศาล มาณวพัฒน์ เคยรับหลักการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญม.272  (ปิดสวิตช์ส.ว.) 6 ครั้ง ได้แก่
  • ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมฝ่ายค้าน เสนอเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563
  • ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่ภาคประชาชน (iLaw) เสนอเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563
  • ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมฝ่ายค้าน เสนอเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2564
  • ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมรัฐบาล เสนอเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2564
  • ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่ภาคประชาชน (Resolution) เสนอเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2564
  • ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่ภาคประชาชน (No 272) เสนอเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2565
10. มณเฑียร บุญตัน เคยรับหลักการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญม.272  (ปิดสวิตช์ส.ว.) 5 ครั้ง ได้แก่
  • ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมฝ่ายค้าน เสนอเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563
  • ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมฝ่ายค้าน เสนอเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2564
  • ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมรัฐบาล เสนอเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2564
  • ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่ภาคประชาชน (Resolution) เสนอเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2564
  • ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่ภาคประชาชน (No 272) เสนอเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2565
11. วันชัย สอนศิริ เคยรับหลักการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญม.272  (ปิดสวิตช์ส.ว.) 4 ครั้ง ได้แก่
  • ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมฝ่ายค้าน เสนอเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563
  • ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมฝ่ายค้าน เสนอเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2564
  • ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมรัฐบาล เสนอเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2564
  • ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่ภาคประชาชน (No 272) เสนอเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2565
12. วัลลภ ตังคณานุรักษ์ เคยรับหลักการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญม.272  (ปิดสวิตช์ส.ว.) 4 ครั้ง ได้แก่
  • ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมฝ่ายค้าน เสนอเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563
  • ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมฝ่ายค้าน เสนอเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2564
  • ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมรัฐบาล เสนอเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2564
  • ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่ภาคประชาชน (No 272) เสนอเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2565
13. อนุศาสน์ สุวรรณมงคล เคยรับหลักการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญม.272  (ปิดสวิตช์ส.ว. ) 4 ครั้ง ได้แก่
  • ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมฝ่ายค้าน เสนอเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563
  • ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมฝ่ายค้าน เสนอเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2564
  • ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมรัฐบาล เสนอเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2564
  • ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่ภาคประชาชน (No 272) เสนอเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2565
14. อำพล จินดาวัฒนะ เคยรับหลักการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญม.272  (ปิดสวิตช์ส.ว.) 4 ครั้ง ได้แก่
  • ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมฝ่ายค้าน เสนอเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563
  • ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมฝ่ายค้าน เสนอเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2564
  • ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมรัฐบาล เสนอเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2564
  • ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่ภาคประชาชน (No 272) เสนอเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2565
23 ส.ว. เคยรับหลักการ “ปิดสวิตช์ส.ว.” จากภาคประชาชนครั้งล่าสุด (7 กันยายน 2565)
จากการรวบรวมข้อมูลพบว่ามี ส.ว.จำนวน 23 คน ที่เคยรับหลักการร่างแก้รัฐธรรมนูญที่ภาคประชาชน (No 272) เสนอเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2565 ซึ่งอาจพออนุมานได้ว่า บุคคลเหล่านี้ยึดมั่นหลักการที่ส.ว. จะไม่ใช้อำนาจขัดขวางรัฐบาลจากการเลือกตั้ง แต่ในวันโหวตนายกฯ ส.ว.บางส่วนไม่ลงมติเห็นชอบให้พิธาเป็นนายกฯ อย่างที่ประชาชนคาดหวัง ดังนี้
1. กาญจนารัตน์ ลีวิโรจน์ 
  •  13 ก.ค.2566 (วันโหวตนายกฯ ครั้งที่ 1) ลงมติงดออกเสียง
2. ไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์
  •  13 ก.ค.2566 (วันโหวตนายกฯ ครั้งที่ 1) ลงมติเห็นชอบ

3.คำนูณ สิทธิสมาน 

  • 13 ก.ค.2566 (วันโหวตนายกฯ ครั้งที่ 1) ลงมติงดออกเสียง
4. พ.ต.อ.จรุงวิทย์ ภุมมา 
  • 13 ก.ค.2566 (วันโหวตนายกฯ ครั้งที่ 1)  ลงมติเห็นชอบ
5. เฉลิมชัย เฟื่องคอน 
  • 13 ก.ค.2566 (วันโหวตนายกฯ ครั้งที่ 1) ลงมติงดออกเสียง
6. เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ 
  • 13 ก.ค.2566 (วันโหวตนายกฯ ครั้งที่ 1) ไม่มาลงมติ
7. ณรงค์ สหเมธาพัฒน์
  • 13 ก.ค.2566 (วันโหวตนายกฯ ครั้งที่ 1)  ลงมติงดออกเสียง
8. เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์
  • 13 ก.ค.2566  (วันโหวตนายกฯ ครั้งที่ 1)  ลงมติงดออกเสียง
9. บรรชา พงศ์อายุกูล 
  • 13 ก.ค.2566 (วันโหวตนายกฯ ครั้งที่ 1)  ลงมติไม่เห็นชอบ
10. ประภาศรี สุฉันทบุตร
  •  13 ก.ค.2566 (วันโหวตนายกฯ ครั้งที่ 1) ลงมติเห็นชอบ
11. ประมนต์ สุธีวงศ์
  •  13 ก.ค.2566 (วันโหวตนายกฯ ครั้งที่ 1) ลงมติงดออกเสียง
12. ปานเทพ กล้าณรงค์ราญ 
  • 13 ก.ค.2566 (วันโหวตนายกฯ ครั้งที่ 1) ลงมติ งดออกเสียง
13. พรทิพย์ โรจนสุนันท์ 
  • 13 ก.ค.2566 (วันโหวตนายกฯ ครั้งที่ 1)  ลงมติงดออกเสียง
14. พิศาล มาณวพัฒน์ 
  • 13 ก.ค.2566 (วันโหวตนายกฯ ครั้งที่ 1)  ลงมติเห็นชอบ
15. มณเฑียร บุญตัน
  •  13 ก.ค.2566 (วันโหวตนายกฯ ครั้งที่ 1)  ลงมติเห็นชอบ
16. พล.อ. เลิศรัตน์ รัตนวานิช
  •  13 ก.ค.2566 (วันโหวตนายกฯ ครั้งที่ 1)  ลงมติไม่เห็นชอบ
17. วันชัย สอนศิริ
  •  13 ก.ค.2566 (วันโหวตนายกฯ ครั้งที่ 1)  ลงมติเห็นชอบ
18. วัลลภ ตังคณานุรักษ์
  •  13 ก.ค.2566 (วันโหวตนายกฯ ครั้งที่ 1)  ลงมติงดออกเสียง
19. สถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์
  •  13 ก.ค.2566 (วันโหวตนายกฯ ครั้งที่ 1)  ไม่มาลงมติ
20. สุวัฒน์ จิราพันธ์ 
  • 13ก.ค.2566 (วันโหวตนายกฯ ครั้งที่ 1)   ลงมติงดออกเสียง
21. พ.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว 
  • 13 ก.ค.2566 (วันโหวตนายกฯ ครั้งที่ 1)   ลงมติงดออกเสียง
22.  อนุศาสน์ สุวรรณมงคล
  •  13 ก.ค.2566 (วันโหวตนายกฯ ครั้งที่ 1)  ลงมติงดออกเสียง
23. อำพล จินดาวัฒนะ 
  • 13 ก.ค.2566 (วันโหวตนายกฯ ครั้งที่ 1)  ลงมติเห็นชอบ
10 ส.ว.ฟังมติมหาชน เคยตัดอำนาจตัวเองและลงมติเห็นชอบให้ “พิธา” เป็นนายกฯ
จากการรวบรวมข้อมูลพบว่ามีส.ว.จำนวน 7 คน ที่เคยลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีครั้งแรก โดย “เห็นชอบ” ให้ “พิธา” เป็นนายก ฯ และเคยปิดสวิตช์ตัวเองตัดอำนาจเลือกนายกฯ อย่างน้อยหนึ่งครั้ง
1. ไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์ ลงมติเห็นชอบให้พิธาเป็นนายกฯ (13 ก.ค. 2566) และเคยรับหลักการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญม.272  (ปิดสวิตช์ส.ว.) 4 ครั้ง ได้แก่
  • ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมฝ่ายค้าน เสนอเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563
  • ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมฝ่ายค้าน เสนอเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2564
  • ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมรัฐบาล เสนอเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2564
  • ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่ภาคประชาชน (No 272) เสนอเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2565
2. พ.ต.อ.จรุงวิทย์ ภุมมา ลงมติเห็นชอบให้พิธาเป็นนายกฯ (13 ก.ค. 2566) และเคยรับหลักการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญม.272  (ปิดสวิตช์ส.ว.) 1 ครั้ง  ได้แก่
  • ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่ภาคประชาชน (No 272) เสนอเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2565
3. ซากีย์ พิทักษ์คุมพล ลงมติเห็นชอบให้พิธาเป็นนายกฯ (13 ก.ค. 2566) และเคยรับหลักการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญม.272  (ปิดสวิตช์ส.ว.) 1 ครั้ง ได้แก่
  • ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมฝ่ายค้าน เสนอเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563
4.ประภาศรี สุฉันทบุตร ลงมติเห็นชอบให้พิธาเป็นนายกฯ (13 ก.ค. 2566) และเคยรับหลักการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญม.272  (ปิดสวิตช์ส.ว.)  4 ครั้ง ได้แก่
  • ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมฝ่ายค้าน เสนอเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563
  • ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมฝ่ายค้าน เสนอเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2564
  • ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมรัฐบาล เสนอเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2564
  • ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่ภาคประชาชน (No 272)  เสนอเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2565
5. พิศาล มาณวพัฒน์  ลงมติเห็นชอบให้พิธาเป็นนายกฯ (13 ก.ค. 2566) และเคยรับหลักการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญม.272  (ปิดสวิตช์ส.ว.) 6 ครั้ง ได้แก่
  • ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมฝ่ายค้าน เสนอเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563
  • ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่ภาคประชาชน (iLaw) เสนอเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563
  • ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมฝ่ายค้าน เสนอเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2564
  • ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมรัฐบาล เสนอเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2564
  • ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่ภาคประชาชน (Resolution) เสนอเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2564
  • ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่ภาคประชาชน (No 272) เสนอเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2565
6. พีระศักดิ์ พอจิต ลงมติเห็นชอบให้พิธาเป็นนายกฯ (13 ก.ค. 2566) และเคยรับหลักการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญม.272  (ปิดสวิตช์ส.ว.)  2 ครั้ง  ได้แก่
  • ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมฝ่ายค้าน เสนอเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563
  • ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่ภาคประชาชน (iLaw) เสนอเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563
7. มณเฑียร บุญตัน ลงมติเห็นชอบให้พิธาเป็นนายกฯ (13 ก.ค. 2566) และเคยรับหลักการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญม.272  (ปิดสวิตช์ส.ว.)  5 ครั้ง
  • ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมฝ่ายค้าน เสนอเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563
  • ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมฝ่ายค้าน เสนอเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2564
  • ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมรัฐบาล เสนอเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2564
  • ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่ภาคประชาชน (Resolution) เสนอเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2564
  • ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่ภาคประชาชน (No 272) เสนอเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2565
8. วันชัย สอนศิริ  ลงมติเห็นชอบให้พิธาเป็นนายกฯ (13 ก.ค. 2566) และเคยรับหลักการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญม.272  (ปิดสวิตช์ส.ว.) 4 ครั้ง ได้แก่
  • ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมฝ่ายค้าน เสนอเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563
  • ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมฝ่ายค้าน เสนอเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2564
  • ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมรัฐบาล เสนอเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2564
  • ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่ภาคประชาชน (No 272) เสนอเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2565
9. วุฒิพันธุ์ วิชัยรัตน์ ลงมติเห็นชอบให้พิธาเป็นนายกฯ (13 ก.ค. 2566) และเคยรับหลักการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญม.272  (ปิดสวิตช์ส.ว.) 1 ครั้ง ได้แก่
  • ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมฝ่ายค้าน เสนอเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563

10. อำพล จินดาวัฒนะ ลงมติเห็นชอบให้พิธาเป็นนายกฯ (13 ก.ค. 2566) และเคยรับหลักการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญม.272  (ปิดสวิตช์ส.ว.) ปิดสวิตช์ส.ว. 4 ครั้ง

  • ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมฝ่ายค้าน เสนอเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563
  • ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมฝ่ายค้าน เสนอเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2564
  • ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมรัฐบาล เสนอเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2564
  • ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่ภาคประชาชน (No 272) เสนอเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2565
(หมายเหตุ : 13 ก.ค.2566 มีส.ว. 3 คนเห็นชอบให้พิธาเป็นนายกฯ แต่ไม่เคยรับหลักการปิดสวิตช์ส.ว.แม้แต่ครั้งเดียวคือ เฉลา พวงมาลัย,พล.ต.ท.ณัฏฐวัฒก์ รอดบางยาง,สุรเดช จิรัฐิติเจริญ )