what the senators votes then and nows
อ่าน

เช็คชื่อ สว. ลงมติเลือก นายกฯ ทั้งสองครั้ง ใครเปลี่ยนใจ ใครเหมือนเดิม

การประชุมรัฐสภาเพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีครั้งที่สามเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2566 จบลงด้วยชัยชนะของ เศรษฐา ทวีสิน แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีจากพรรคเพื่อไทย ด้วยมติเห็นชอบ 482 เสียง ไม่เห็นชอบ 165 เสียง และงดออกเสียง 81 เสียง จากทั้งรัฐสภา ทำให้ประเทศไทยเตรียมมีนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 หลังการเลือกตั้งมาแล้วกว่า 100 วัน   อย่างไรก็ตาม การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีครั้งแรกเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2566 ซึ่งจบลงด้วยความพ่ายแพ้ของ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีจากพรรคก้าวไกล มีสาเหตุมาจากการที่สมาชิกวุฒิสภา สว. “งดออกเสียง” ภายใต้ข้ออ้างว่าเป็นการ “ปิดสวิตช์ตนเอง” มากถึง 159 เสียง ขณะที่ในการลงมติครั้งนี้มี สว. งดออกเสียงเพียง 68 เสียงเท่านั้น   เท่ากับว่า มี สว. จำนวนมากที่เปลี่ยนใจ หันมาโหวตเลือกเศรษฐาเป็นนายกรัฐมนตรีมากกว่าเลือกพิธา  
Senate opposed amend the constitution
อ่าน

รวมวาทะสว. อภิปรายขวางร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ก่อนเลือกเศรษฐาเป็นนายกฯ

22 สิงหาคม 2566 ในที่ประชุมรัฐสภามีการอภิปราย ก่อนลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 รอบที่สาม สมาชิกวุฒิสภา (สว.) หลายคนได้ลุกขึ้นอภิปรายความเหมาะสมและคุณสมบัติของ “เศรษฐา ทวีสิน” แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีจากพรรคเพื่อไทย โดยสว.บางคนก็แสดงความเห็นสอดแทรกไปในทางที่ไม่เห็นด้วยหรือยังมีข้อสงสัยที่อยากให้พรรคเพื่อไทยแถลงข้อเท็จจริงให้ชัดเจนในประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่พรรคเพื่อไทยจะผลักดันเป็นวาระแรกเมื่อจัดตั้งรัฐบาลสำเร็จ   
Srettha PM
อ่าน

เศรษฐาคว้าเก้าอี้นายกฯ คนที่ 30 ด้วยมติรัฐสภา 482 เสียง

22 สิงหาคม 2566 ที่ประชุมรัฐสภามีมติเลือก เศรษฐา ทวีสิน แคนดิเดตนายกฯ จากพรรคเพื่อไทย ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ด้วยคะแนนเสียง เห็นชอบ 482 เสียง ไม่เห็นชอบ 165  เสียง งดออกเสียง 81 เสียง ขาดประชุม 19 คน
250 senate quote
อ่าน

Fact-checking : เลือกนายกฯ เสนอชื่อเดิมกี่ครั้งก็ได้ 3 ชื่อในบัญชีไม่ได้มีเพื่อบังคับหนึ่งชื่อหนึ่งครั้ง

เสรี สุวรรณภานนท์ อภิปรายระหว่างการพิจารณาญัตติเสนอชื่อพิธา ครั้งที่สองเป็นการเสนอญัตติซ้ำหรือไม่ โดยคำกล่าวอ้างสนับสนุนมีจุดที่ไม่ถูกต้อง “3 ชื่อบัญชีแคนดิเดตนายกฯ ไม่ได้มีเพื่อบังคับพิจารณาชื่อหนึ่งคนหนึ่งครั้ง”
Thailand's 2017 constitution make election winners losing
อ่าน

เลือกตั้งสองครั้งตามรัฐธรรมนูญ 2560 พรรคอันดับหนึ่งไม่เคยได้เป็นนายก!

รัฐธรรมนูญ 2560 ได้วางกลไกสำคัญในการสืบทอดอำนาจให้อำนาจสมาชิกวุฒิสภา หรือ ส.ว. สามารถเลือกนายกรัฐมนตรีได้ นั่นจึงกลายเป็นปราการด่านสำคัญที่มีส่วนในการขวางพรรคอันดับหนึ่งจากการเลือกตั้ง ทั้งการเลือกตั้งในปี 2562 และการเลือกตั้งในปี 2566 จากการได้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล
senate 272
อ่าน

ย้อนรอย สว.ฟังเสียงข้างมาก เห็นชอบ “พิธา” และเคยโหวตปิดสวิตช์ตัดอำนาจตัวเอง

ชวนย้อนรอยดูผลการโหวตแก้ไขมาตรา 272 (ปิดสวิตช์ส.ว.เลือกนายกฯ) ควบคู่กับมติโหวตนายกฯ ล่าสุด ว่าส.ว.คนใดเคยรับหลักการพร้อมเคียงข้างประชาชนกันบ้าง
senate uturn
อ่าน

สว.โหวตนายกฯ​ ผิดหวังแต่ไม่ผิดคาด พลิกจุดยืนกันครั้งใหญ่

วาระสำคัญโหวตเลือกนายกฯ คนที่ 30 มีส.ว.จำนวนหนึ่งเคยออกมาประกาศแสดงจุดยืนโดยอ้างหลักการต่างๆ ว่าจะลงคะแนนเสียงสนับสนุนนายกฯ จากพรรคที่ได้เสียงอันดับหนึ่ง มาในวันจริง “กลับลำ” พลิกลิ้นกันอีกรอบหรือบางคนก็ “หายตัว” ไปอย่างไร้ร่องรอย ไม่เหมือนกับที่เคยหนักแน่นไว้
Pita Not today
อ่าน

#โหวตนายกฯ พิธาเสียงไม่พอ “ยัง” ไม่ได้เป็นนายกรัฐมนตรี

13 กรกฎาคม 2566 ที่ประชุมรัฐสภา ลงมติเพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 “ไม่สำเร็จ” โดยเป้าหมายต้องการ 376 เสียง แม้ว่า 8 พรรคร่วมจะจับมือเหนียวแน่นเสนอพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ แต่สุดท้ายส.ว. ก็มาโหวตให้แค่ 13 คน และพรรคอื่นไม่มาเลย
Senator Uturn
อ่าน

รวมจุดยืน ส.ว. หนุนพิธา เคยพูดอะไร? แล้วใครกลับลำ?

ใกล้ถึงวันนัดชี้ชะตาประเทศว่าจะได้เดินหน้าต่อภายใต้การนำของแคนดิเดตนายกฯ จากพรรคอันดับ 1 หรือไม่ ปฏิกิริยามากมายออกมาจากฝั่ง ส.ว. ซึ่งมีหลายคนที่แสดงจุดยืนส่วนตัวแตกต่างกันไป ชวนเช็คความเห็นส.ว.ตัวแปรสำคัญอีกครั้งก่อนโหวตนายกฯ     
52777224424_60a19ac009_o
อ่าน

พิธาระบุอันตราย ขออย่าดึงสถาบันกษัตริย์มาอ้างในการโหวตนายกฯ ไม่ทำตามมติประชาชน

พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ขอให้ส.ว.รวมประชาชนเข้าไปในสมการการตัดสินใจโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี การยกสถาบันกษัตริย์ขึ้นมาอ้างในการไม่โหวตนั้นเป็นเรื่องอันตราย