ความเป็นไปได้หลายแบบ ในวันโหวตนายกรัฐมนตรี ปี66

 

ถึงตอนนี้เราทราบกันแล้วว่า ในวันที่ 13 กรกฎาคม 2566 จะมีการประชุมสภานัดสำคัญ และน่าจะมีประชาชนติดตามการถ่ายทอดสดพร้อมกันมากที่สุด เพื่อลุ้นผลการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี

 สาเหตุที่นัดนี้น่าตื่นเต้นเป็นอย่างมาก เพราะเราอยู่ในระบอบอัน “ไม่ปกติ” จากรัฐธรรมนูญ 2560 อันประกอบด้วยอำนาจลงมติเลือกนายกฯ ของ .ที่คสชคัดเลือกมาเอง ซึ่งถูกใช้ครั้งแรกในการลงมติปี 2562 ที่ .ลงมติ “เททั้งกระดาน” ให้พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา คนที่เลือกเอาพวกเขามา แต่เหตุการณ์สี่ปีก่อนยังตื่นเต้นไม่มากเท่านี้ เพราะพรรคของพล..ประยุทธ์ “เล่นกล” จนรวมเสียง .ได้ถึง 252 เสียงก่อนแล้ว (เกินครึ่งมานิดนึงแต่มาในปี 2566 ชัดเจนว่าฝ่าย “ไม่เอาประยุทธ์” รวมเสียง .ได้มากกว่าชัดเจนถึง 311 เสียง ถ้านับแค่ .อย่างเดียวต้องบอกว่า “มันจบแล้วครับนาย..” 

จึงน่าสนใจว่า .ในวันนี้จะเพียงลงมติไปตาม “..ข้างมาก” เพื่อสมานฉันท์ประนีประนอม หรือจะกล้า “ขวาง” ไม่ให้อีกฝ่ายตั้งรัฐบาลได้สำเร็จ

และตามอายุที่ .ชุดนี้จะอยู่ในตำแหน่งได้ไม่เกินเดือนพฤษภาคม 2567 จึงเป็นไปได้สูงว่า พวกเขาจะได้ลงมติเลือกนายกฯ ครั้งนี้เป็น “โอกาสสุดท้าย” ที่พวกเขาจะแสดงพลังร่วมกันทำให้เห็นว่า การสืบทอดอำนาจของคณะรัฐประหารจะนำไปสู่วิกฤติได้ขนาดไหน

ชวนทำความเข้าใจวิธีการลงมติกันก่อนว่า สถานการณ์จำนวน “เสียง” ก่อนวันลงมติแตกต่างไปจากทฤษฎีเล็กน้อย เมื่อหัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ผู้ไม่สามารถส่งพล..ประยุทธ์ กลับมาได้ดังฝัน ลาออกจากส.ไปแล้ว ส่วนด้านพรรคก้าวไกล ณธีภัสร์ กุลเศรษฐสิทธิ์ ก็ขาดคุณสมบัติจากเหตุคดี “เมาแล้วขับ” ทำให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่เต็มจำนวนอยู่ที่ 498 คน เมื่อรวมกับ .แล้วสมาชิกรัฐสภาเท่าที่มีอยู่ทั้งหมดจึงเป็น 748 คน น้อยลงจากจำนวนเต็ม 2 ที่นั่ง

การลงคะแนนเลือกนายกรัฐมนตรีที่ต้องอาศัยเสียง “มากกว่ากึ่งหนึ่ง” ของสมาชิกเท่าที่มีอยู่ จึงต้องมากกว่า 748 หาร 2 = 374 คือ ต้องการ 375 เสียง

เมื่อฝ่าย “ว่าที่รัฐบาล” ใหม่รวมเสียง .จาก 8 พรรคการเมืองได้แล้ว 311 เสียง ก็เท่ากับขาดอีก 64 เสียง ในจำนวนนี้อาจหามาเติมจาก .หรือหามาจาก .พรรคอื่นก็ได้ แต่สังคมจับจ้องมากกว่าไปยังเหล่าพลพรรค .ที่หากไม่มีพวกเขาแล้วการจัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างมากก็จะไม่เกิดอุปสรรคใด และหลายคนที่ก่อนหน้านี้เลือก ประยุทธ์ๆๆ ก็เคยอ้างว่า ไปตามเสียงข้างมากของส.เท่านั้น 

ขั้นตอนในการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี คือ ในวันนัดประชุมทั้ง .และส.ทุกคนจะเข้าประชุมร่วมกัน โดยมีประธานรัฐสภา คือ วันมูฮัมหมัดนอร์ มะทา ทำหน้าที่เป็นประธานในที่ประชุมและดำเนินการออกเสียง โดยเปิดให้สมาชิกลุกขึ้นเสนอชื่อผู้เข้าชิงตำแหน่งนายกฯ

ตามรัฐธรรมนูญผู้ที่จะถูกเสนอชื่อได้ ต้องเป็นผู้ที่อยู่ในบัญชีของพรรคการเมืองที่ได้ .. 25 ที่นั่งขึ้นไป ในการเลือกตั้งคราวนี้ มีพรรคการเมืองเข้าเกณฑ์ 6 พรรค คือ พรรคก้าวไกล พรรคเพื่อไทย พรรคภูมิใจไทย พรรคพลังประชารัฐ พรรครวมไทยสร้างชาติ และพรรคประชาธิปัตย์ รายชื่อที่สามารถถูกเสนอได้ตามลำดับจำนวน .จึงเป็น พิธา ลิ้มเจริญรัตน์แพทองธาร ชินวัตรเศรษฐา ทวีสินชัยเกษม นิติสิริอนุทิน ชาญวีรกูลพล..ประวิตร วงษ์สุวรรณพล..ประยุทธ์ จันทร์โอชาพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค และจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ เท่านั้น

เมื่อเป็นที่รับรู้กันว่า มี .กลุ่มหนึ่งสามารถรวบรวมเสียงได้ถึง 311 เสียงเพื่อเสนอให้พิธาจากพรรคก้าวไกลเป็นนายกฯ หากอยู่ใน “ระบบปกติ” ก็จะมีผู้เสนอชื่อพิธาก่อน หากมีส.อีกกลุ่มหนึ่งจะเข้าแข่งขันก็เสนอชื่อบุคคลจากบัญชีของพรรคใดพรรคหนึ่งขึ้นมาแข่งขันได้ หรือหากไม่แข่งแล้ว ก็มีผู้ได้รับการเสนอชื่อคนเดียว สมาชิกรัฐสภาก็จะลงมติเพียง “รับรอง” หรือ “ไม่รับรอง 

ก่อนการลงมติไม่จำเป็นต้องมีการแสดงวิสัยทัศน์ก่อนโดยผู้ถูกเสนอชื่อ แต่อาจมีการเปิดให้สมาชิกร่วมกันอภิปรายคุณสมบัติของผู้ที่ถูกเสนอชื่อก่อนก็ได้ ซึ่งในปี 2562 พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชาถูกอภิปรายยาวนานจนมืดค่ำก่อนจะได้เริ่มลงมติ การลงมติเลือกนายกฯ จะต้องเป็นการลงคะแนนโดย “เปิดเผย” เลขาธิการรัฐสภาจะขานชื่อสมาชิกทั้ง .และส.ทีละคนแบบเรียงตามลำดับตัวอักษรและให้สมาชิกลงคะแนนโดยการขานออกไมค์ทีละคน ซึ่งอาจใช้เวลาขานมติไม่ต่ำกว่า 3 ชั่วโมง กว่าจะครบทั้ง 748 คน และหากมีการอภิปรายด้วยก็อาจลากยาวได้มากกว่านั้น

หากเราอยู่ในระบบที่ปกติไม่ว่าจะลากยาวเท่าใด หรือมีผู้ถูกเสนอเข้าแข่งขันหรือไม่พิธาก็น่าจะได้เป็นนายกรัฐมนตรี

แต่ในระบบไม่ปกตินี้ ยังมีความไม่แน่นอนคาดหมายไม่ได้จากทางฝั่งของ .โดยปรากฏให้เห็นพฤติกรรม “เสียงแตก” อยู่บ้าง แต่ไม่มาก

.หลายคนให้สัมภาษณ์บ้าง โพสเฟซบุ๊กบ้าง ยืนยันสนับสนุนพิธาให้เป็นนายกฯ เช่น ซากีย์ พิทักษ์คุมพลพิศาล มาณวพัฒน์มณเฑียร บุญตันเฉลิมชัย เฟื่องคอน ซึ่งทุกคนก็มีท่าทีแบบ “พูดแต่น้อย” คือ ใช้โอกาสพูดชัดๆ หนึ่งครั้งและไม่ได้ออกตัวพูดหรือให้สัมภาษณ์ยืนยันอย่างต่อเนื่อง ขณะที่บางคนก็มีท่าที “กระมิดกระเมี้ยน” หรือพูดแค่ในทางหลักการให้สามารถ “ตีความ” ต่อเอาเองได้ คนที่ประกาศตัวสร้าง “เซอร์ไพรส์” ก็มีอยู่บ้างอย่างดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรมวุฒิพันธ์ วิชัยรัตน์ แต่โดยภาพรวมก็ยังเป็นรายชื่อของคน “หน้าเดิมๆ” ที่ยอมลงมติเปิดทางแก้ไขรัฐธรรมนูญมาแล้วหลายครั้ง สำนักข่าวแต่ละแห่งก็เก็บรวบรวมรายชื่อ .ที่ประกาศตัวต่อสาธารณะไปเรื่อยๆ รวมได้มากที่สุด ก็ประมาณ 20 คน

.บางคนก็ยังมีท่าทีพูดจากลับไปกลับมาแบบต้องให้ตีความเอาเอง เช่น วันชัย สอนศิริวีรศักดิ์ โควสุรัตน์ หรือ “ตัวเปิด” อย่างสมชาย แสวงการเสรี สุวรณภานนท์นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ ก็ตั้งเงื่อนไขไว้อย่างไม่ชัดเจนว่า ขอให้พิธาไม่แตะต้องมาตรา 112 หรือบางคนก็ประกาศจะ “งดออกเสียง” อย่างผู้นำเหล่าทัพทั้งหก รวมทั้งพญ.พรทิพย์ โรจนสุนันท์ 

ภายใต้เงื่อนไขนายกฯ ต้องได้เสียง “มากกว่ากึ่งหนึ่ง” ของสมาชิกเท่าที่มีอยู่ คะแนนที่ต้องการจึงต้องเป็น 375 เสียงเท่านั้น โดยไม่ต้องนับว่าใครจะเข้าประชุมบ้าง หากมีส.บางส่วนเกิดรู้สึก “หน้าบาง” ไม่อยากถูกจดจำว่า เป็นผู้ “โหวตสวน” ผลการเลือกตั้ง จึงอาจใช้วิธีการไม่เข้าประชุม หรือประกาศ “งดออกเสียง” เพื่อแสดงความเป็นกลาง แต่ผลของทั้งการงดออกเสียงและการไม่เข้าประชุม คือ ทำให้เสียงสนับสนุนนายกฯ ไม่ถึง 375 นั่นเอง

แต่คะแนนเสียงก้อนใหญ่ที่สุดของ .คือ เหล่าเพื่อนฝูงร่วมรุ่นสามประดับนายพลทั้งหลายรวมๆ ได้มากกว่า 200 คน รวมทั้ง “น้องชายประยุทธ์” และ “น้องชายประวิตร” ที่สถานการณ์หลังเลือกตั้งต่างก็มุดเข้าโหมดเดียวกัน คือ หายตัว “ไม่พูดอะไรเลย” เก็บปากเก็บคำเอาไว้ก่อน ซึ่งท่าทีเช่นนี้เรียกได้ว่า สัญญาณจากฝั่ง .เท่าที่เห็น คือ “เดาไม่ออก 

ระหว่างนี้เบื้องหลังจะมี “ดีล” หรือความพยายามเจรจาต่อรองกับ .อย่างไรประชาชนไม่อาจล่วงรู้ได้ แต่น้อยคนนักที่ยังเชื่อมั่นว่าจะมี .มาเลือกพิธามากถึง 64 เสียง 

เพียงแต่หาก “ไม่ถึง” แล้วไม่รู้จะเกิดอะไรขึ้น

ไม่มีกฎหมายใดเขียนอธิบายเอาไว้ว่า หากเลือกนายกฯ แล้วได้เสียง “ไม่มากกว่ากึ่งหนึ่ง” แล้วจะต้องทำอย่างไรต่อ แต่ก็เข้าใจกันได้ว่า เท่ากับผลของการลงมติครั้งนั้น “ยังไม่สำเร็จ” ทำให้ต้องมีการลงมติครั้งใหม่จนกว่าจะได้นายกฯ โดย “ประธานสภา” จะมีส่วนสำคัญมากในการกำหนดกระบวนการ อาจจะเป็นไปได้ตั้งแต่การเปิดให้มีคนเสนอชื่อใหม่แล้วลงมติภายในวันเดียวกัน หรือให้มาประชุมใหม่ในวันรุ่งขึ้นก็ได้ หรืออาจรอการพูดคุยแล้วแจ้งกำหนดวันนัดประชุมใหม่ในอีก 7-10 วันให้หลังก็ได้ ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นก็จะเปิดทางให้มีเวลาเจรจาต่อรองและ “ฟังเสียงกระแส” จากประชาชนอีกช่วงหนึ่ง

หากต้องมีการลงมติใหม่ ก็ไม่มีกฎหมายใดอีกที่ “สั่งห้าม” หรือ “สั่งให้” เสนอชื่อคนเดิม ดังนั้น หากเสียงจากสังคมดังและมีแนวโน้มจะได้รับเสียงสนับสนุนเพิ่ม ก็อาจเสนอชื่อ “พิธา ลิ้มเจริญรัตน์” ในการลงมติครั้งที่สอง หรือถ้ายังไม่สำเร็จจะมีครั้งที่สาม ครั้งที่สี่ ครั้งที่ห้า กฎหมายก็ไม่ได้ห้ามไว้ แต่ถ้าหากการเสนอชื่อบุคคลเดิมซ้ำๆ จะเป็นเพียงแค่การ “ดันทุรัง” ที่เสียเวลา และอาจเข้าทางให้มีนายกฯ คนนอกบัญชี ชนักปักหลังก้อนนี้ก็อาจทำให้เกิดกระแสให้ลองทางอื่นบ้าง เช่น เสนอชื่อแคนดิเดตนายกฯ จากพรรคเพื่อไทย ซึ่งเป็นทางเลือกเดียวจากบัญชีของกลุ่ม 8 พรรคที่ตกลงตั้งรัฐบาลร่วมกัน

แม้เราไม่รู้ว่าต้องทำอย่างไรถึงให้ให้เสียงข้างมาก .เป็นรัฐบาล แต่เท่าที่เรารู้ได้แน่ๆ คือ ไม่ว่าจะเสนอชื่อใครก็ต้องการ 375 เสียง ถึงจะมีรัฐบาลใหม่ได้ และหากมีการเสนอชื่ออื่น เช่น อนุทินพล..ประวิตรพล..ประยุทธ์ และส.. 250 คนพร้อมลงคะแนนให้ บวกกับเสียง .ฝั่งรัฐบาลเดิม 182 เสียง พวกเขาก็จะตั้งรัฐบาลได้แน่ๆ ซึ่งเกมการจัดตั้งรัฐบาลก็อาจจะไม่ยืดเยื้อและ “จบ” ภายในวันเดียว

แม้จะเปิดสภาแห่งใหม่ แต่หน้าตาของรัฐบาลชุดใหม่กลับคาดเดาไม่ได้ ความเป็นไปได้มีทั้งสุดทางข้างหนึ่ง คือ ฝ่ายรัฐบาลเดิมเสนอชื่อเข้าแข่งแล้วใช้เสียง .โหวตให้เป็นนายกฯ หรือไม่ได้ส่งเข้าแข่งในรอบแรก แต่ .โหวตขวางงดออกเสียง หรือไม่เข้าประชุม ทำให้พิธาเป็นนายกฯ ไม่ได้ หรือส.อาจจะโหวตให้บ้างให้ดูมีลุ้นสูสีแต่เสียงก็ยังไม่พอ ซึ่งอาจจะทำให้ต้องลงมติใหม่ครั้งที่สอง ครั้งที่สาม หรือต้องเสนอชื่อคนอื่นมาแทน ความเป็นไปได้อีกข้างที่พิธา อาจจะได้เสียงพอ 375 และได้เป็นนายกฯ ก็ยังเกิดขึ้นได้ โดยเจ้าตัวและเสียงจากคนในพรรคบอกในทางเดียวกันว่า มั่นใจที่จะได้เสียงส.มาเพิ่ม

ในประวัติศาสตร์การตั้งรัฐบาลจากการเลือกตั้งของไทยทั้งหมด 27 ครั้ง ไม่เคยมีครั้งใดเลยที่ในการลงมติเลือกนายกฯ เกิดเหตุการณ์ “เลือกไม่ได้” หากมีสถานการณ์ที่ไม่มีใครกุมเสียงข้างมากเด็ดขาดได้ก็จะเกิดการ “ล็อบบี้” หรือหาทางเจรจาตกลงกันให้ได้ก่อน และก็จะมีกระแสข่าวออกมาให้พอคาดเดากันได้ก่อนขึ้นสังเวียนจริง โอกาสที่จะไปเปิดเวที “วัดใจ” กันตอนขานคะแนนเสียงทีละคะแนนมีน้อยมาก

แต่การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีในปี 2566 ยังไม่มีอะไรแน่นอน ประชาชนอาจต้องเฝ้าจอติดตามแบบจดคะแนนต่อคะแนนกันเป็นครั้งแรก!

และการส่งเสียงของประชาชน จะมีผลต่อกระบวนการเลือกนายกฯ ที่จะเกิดขึ้นกว่าครั้งไหนๆ

 

 

 

You May Also Like
อ่าน

รวมตารางกิจกรรม ทำเดินสายอธิบายกติกา ชวนมาร่วมเปลี่ยนสว.

พร้อมแล้ว!! เดินสายทั่วประเทศ ชวนทุกคนมาทำความรู้จักระบบการเลือกสว. ชุดใหม่ จากการ “แบ่งกลุ่มอาชีพ” และ “เลือกกันเอง” อันซับซ้อน มาทำความเข้าใจขั้นตอน วิธีการเลือก ตรวจสอบคุณสมบัติผู้สมัคร รวมถึงช่องทางการมีส่วนร่วมที่ประชาชนสามารถทำได้ ใกล้ที่ไหนไปที่นั่น มาร่วมเปลี่ยนสว. กันเถอะ
อ่าน

อยากสมัคร สว. 67 ดูด่วน กกต. ออกระเบียบ สร้างเงื่อนไขการแนะนำตัวผู้สมัคร

กกต. ออกระเบียบการแนะนำตัวผู้สมัคร สว. 67 วางเงื่อนไขในการแนะนำตัวของผู้สมัครอย่างเข้มข้น โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 27 เมษายน 2567 เป็นต้นไป