ผลงาน 5 ปี สว. ชุดพิเศษ “เห็นชอบ” บุคคลดำรงตำแหน่งองค์กรสำคัญ 96 คน “ไม่เห็นชอบ” 19 คน

นอกจากบทบาทในการเป็นสภา “กลั่นกรองกฎหมาย” ที่ผ่านจากสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว วุฒิสภายังมีอีกหนึ่งบทบาทที่สำคัญในการถ่วงดุลอำนาจฝ่ายบริหารและฝ่ายตุลาการ ผ่านการ “ให้ความเห็นชอบ” ผู้ที่ดำรงตำแหน่งสำคัญระดับสูงในหน่วยงานรัฐต่างๆ รวมถึงการให้ความเห็นชอบผู้ดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และองค์กรอิสระ ซึ่งเป็นองค์กรใหม่ที่ตั้งขึ้นมาภายหลังรัฐธรรมนูญ 2540

ตลอดระยะเวลาห้าปีนับตั้งแต่ 11 พฤษภาคม 2562 วุฒิสภาซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของฝ่ายนิติบัญญัติมีที่มาแตกต่างจากวุฒิสภาในรัฐธรรมนูญฉบับก่อนหน้า จากวุฒิสภาเลือกตั้งในรัฐธรรมนูญ 2540 และเลือกตั้งผสมสรรหาในรัฐธรรมนูญ 2550 มาเป็น วุฒิสภา “ชุดพิเศษ” ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกวุฒิสภา (สว.) 250 คน ซึ่งแต่งตั้งโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)

นอกจากจะมีอำนาจพิเศษในการร่วมโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีร่วมกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) แล้ว แม้ที่มาของ สว. ชุดพิเศษ จะไม่ยึดโยงกับประชาชน แต่ก็ยังมีอำนาจหน้าที่อื่นๆ เช่นเดียวกับวุฒิสภาในอดีต ไม่ว่าจะเป็นการพิจารณากฎหมาย หรือการให้ความเห็นชอบบุคคลดำรงตำแหน่งในองค์กรต่างๆ

และนี่คือผลงานการให้ความเห็นชอบบุคคลดำรงตำแหน่งสำคัญ ในรอบห้าปีของอายุ สว. ชุดพิเศษ 

SN-Approve1

ศาลรัฐธรรมนูญ-องค์กรอิสระ กฎหมายเขียน “ล็อก” ต้องได้เสียงเกินครึ่งจาก สว.

ศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ ก่อตั้งขึ้นครั้งแรกในรัฐธรรมนูญ 2540 ด้วยวัตถุประสงค์การปฏิรูปโครงสร้างทางการเมืองให้มีองค์กรอิสระเข้ามาตรวจสอบถ่วงดุลการทำงานของรัฐ โดยรัฐธรรมนูญ 2540 รัฐธรรมนูญ 2550 รวมถึงรัฐธรรมนูญ 2560 ต่างวางกลไกให้วุฒิสภา เป็นผู้ให้ความเห็นชอบว่าบุคคลใดสมควรที่จะได้เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และกรรมการในองค์กรอิสระ 

โดยผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และกรรมการในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ 2560 ทั้งห้าองค์กร ได้แก่ 1) คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) 2) ผู้ตรวจการแผ่นดิน 3) คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) 4) คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) และ 5) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) จะผ่านด่านวุฒิสภา ได้ดำรงตำแหน่งนั้นๆ ต้องได้เสียงของ สว. “ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง” ของจำนวน สว. ทั้งหมดที่มีอยู่ ในรอบห้าปีของ สว. ชุดพิเศษ มีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กรรมการองค์กรอิสระจากห้าองค์กร และผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ที่ผ่านด่านกรองของ สว. ได้เสียงเกิน 125 เสียง ถึง 24 คน และมีผู้ที่ “ไม่ได้รับความเห็นชอบ” จาก สว. เนื่องจากคะแนนเสียงไม่ถึง 12 คน

เคาะตุลาการนั่งบัลลังก์ศาลรัฐธรรมนูญเจ็ดคน โหวตตกไม่เห็นชอบหนึ่งคน 

รัฐธรรมนูญ 2560 กำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญมีตุลาการจำนวนเก้าคน (มาตรา 200) มีวาระการดำรงตำแหน่งเจ็ดปี (มาตรา 207) ผู้ที่จะเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ต้องได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภาด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวน สว. ทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ (มาตรา 204)

ในรอบห้าปีที่ สว. ชุดพิเศษทำงาน มีผู้ถูกเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้งหมดแปดคน โดย สว. โหวตเห็นชอบให้เจ็ดคน และโหวตไม่เห็นชอบหนึ่งคน ดังนี้

ในการประชุมวุฒิสภาเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2563 วุฒิสภามีวาระพิจารณาให้ความเห็นชอบผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจำนวนห้าคน โดยให้ความเห็นชอบสี่คน ได้แก่

  • นภดล เทพพิทักษ์ ที่ประชุมวุฒิสภาให้ความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียง ให้ความเห็นชอบ 203 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ 12 เสียง ไม่ออกเสียง 4 เสียง
  • วิรุฬห์ แสงเทียน ที่ประชุมวุฒิสภาให้ความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียง ให้ความเห็นชอบ 216 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ 3 เสียง ไม่ออกเสียง – เสียง
  • จิรนิติ หะวานนท์ ที่ประชุมวุฒิสภาให้ความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียง ให้ความเห็นชอบ 217 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ 2 เสียง ไม่ออกเสียง – เสียง
  • อุดม สิทธิวิรัชธรรม ที่ประชุมวุฒิสภาให้ความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียง ให้ความเห็นชอบ 216 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ 3 เสียง ไม่ออกเสียง – เสียง

และไม่ให้ความเห็นชอบหนึ่งคน คือ ชั่งทอง โอภาสศิริวิทย์ ด้วยคะแนนเสียงให้ความเห็นชอบ 52 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ 139 เสียง ไม่ออกเสียง 28 เสียง

ในการประชุมวุฒิสภาอีกสามนัด วุฒิสภาให้ความเห็นชอบผู้ดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอีกสามราย คือ

  • บรรจงศักดิ์ วงศ์ปราชญ์ ในการประชุมวุฒิสภาเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2563 ที่ประชุมวุฒิสภาให้ความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียง ให้ความเห็นชอบ 206 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ 12 เสียง ไม่ออกเสียง 11 เสียง
  • ศ.อุดม รัฐอมฤต ในการประชุมวุฒิสภาเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2565 ที่ประชุมวุฒิสภาให้ความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียง ให้ความเห็นชอบ 200 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ 2 เสียง ไม่ออกเสียง 6 เสียง
  • สุเมธ รอยกุลเจริญ ในการประชุมวุฒิสภาเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2566 ที่ประชุมวุฒิสภาให้ความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียง ให้ความเห็นชอบ 207 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ 3 เสียง ไม่ออกเสียง 4 เสียง

เคาะกรรมการการเลือกตั้งสองคน

กกต. ประกอบไปด้วยกรรมการจำนวนเจ็ดคน (รัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 222) มีวาระการดำรงตำแหน่งเจ็ดปี (มาตรา 223) 

โดยกรรมการส่วนใหญ่ จำนวนห้าคน ได้รับความเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และได้รับการโปรดเกล้าฯ ในเดือนสิงหาคม 2561 และเดือนธันวาคม 2561 ตามลำดับ ส่งผลให้ในอายุห้าปี สว. ชุดพิเศษ ได้ให้ความเห็นชอบผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่ง กกต. เพียงสองราย คือ

  • ชาย นครชัย ในการประชุมวุฒิสภาเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2566 ที่ประชุมวุฒิสภาให้ความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียง ให้ความเห็นชอบ 126 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ 44 เสียง ไม่ออกเสียง 22 เสียง
  • สิทธิโชติ อินทรวิเศษ ในการประชุมวุฒิสภาเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2566 ที่ประชุมวุฒิสภาให้ความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียง ให้ความเห็นชอบ 175 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ 16 เสียง ไม่ออกเสียง 8 เสียง

ผู้ตรวจการแผ่นดิน เสนอชื่อสามคน สว. ประทับตราผ่านสอง ไม่ผ่านหนึ่ง

สำหรับตำแหน่งผู้ตรวจการแผ่นดิน จะมีกรรมการน้อยกว่าองค์กรอิสระอื่นๆ ในรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 228 กำหนดให้มีผู้ตรวจการแผ่นดินจำนวนสามคน และมีวาระการดำรงตำแหน่งเจ็ดปี (มาตรา 229)

ตลอดอายุห้าปี สว. ชุดพิเศษ มีผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจการแผ่นดินทั้งหมดสามคน โดยวุฒิสภาให้ความเห็นชอบไปสองคน ไม่ให้ความเห็นชอบไปหนึ่งคน ได้แก่

ให้ความเห็นชอบ

  • ทรงศัก สายเชื้อ ในการประชุมวุฒิสภาเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2564 ที่ประชุมวุฒิสภาให้ความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียง ให้ความเห็นชอบ 196 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ 1 เสียง ไม่ออกเสียง 6 เสียง
  • รศ.อิสสรีย์ หรรษาจรูญโรจน์ ในการประชุมวุฒิสภาเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2564 ที่ประชุมวุฒิสภาให้ความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียง ให้ความเห็นชอบ 181 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ 18 เสียง ไม่ออกเสียง 13 เสียง บัตรเสีย 13 เสียง

ไม่ให้ความเห็นชอบ

  • กุลกุมุท สิงหรา ณ อยุธยา ในการประชุมวุฒิสภาเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2564 ที่ประชุมวุฒิสภาไม่ให้ความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียง ให้ความเห็นชอบ 32 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ 150 เสียง ไม่ออกเสียง 30 เสียง

เสนอชื่อ ป.ป.ช. 10 คน สว. โหวตผ่านหก ไม่ผ่านสี่

รัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 232 กำหนดให้มี ป.ป.ช. จำนวนเก้าคน มีวาระการดำรงตําแหน่งเจ็ดปี (มาตรา 233)

ตลอดอายุห้าปีของ สว. ชุดพิเศษ มีผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งกรรมการ ป.ป.ช. ถึง 10 คน โดยวุฒิสภาให้ความเห็นชอบไปหกราย และไม่ให้ความเห็นชอบสี่ราย ดังนี้

ให้ความเห็นชอบ

  • สุชาติ ตระกูลเกษมสุข ในการประชุมวุฒิสภาเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2563 ที่ประชุมวุฒิสภาให้ความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียง ให้ความเห็นชอบ 219 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ 12 เสียง ไม่ออกเสียง 8 เสียง บัตรเสีย 2 เสียง
  • ณัฐจักร ปัทมสิงห์ ณ อยุธยา ในการประชุมวุฒิสภาเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2563 ที่ประชุมวุฒิสภาให้ความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียง ให้ความเห็นชอบ 224 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ 11 เสียง ไม่ออกเสียง 4 เสียง บัตรเสีย 2 เสียง
  • พศวัจณ์ กนกนาก ในการประชุมวุฒิสภาเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2566 ที่ประชุมวุฒิสภาให้ความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียง ให้ความเห็นชอบ 168 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ 25 เสียง ไม่ออกเสียง 20 เสียง
  • เอกวิทย์ วัชชวัลคุ ในการประชุมวุฒิสภาเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2566 ที่ประชุมวุฒิสภาให้ความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียง ให้ความเห็นชอบ 202 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ 1 เสียง ไม่ออกเสียง 4 เสียง
  • แมนรัตน์ รัตนสุคนธ์ ในการประชุมวุฒิสภาเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2566 ที่ประชุมวุฒิสภาให้ความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียง ให้ความเห็นชอบ 163 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ 20 เสียง ไม่ออกเสียง 16 เสียง
  • ภัทรศักดิ์ วรรณแสง ในการประชุมวุฒิสภาเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2567 ที่ประชุมวุฒิสภาให้ความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียง ให้ความเห็นชอบ 186 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ 2 เสียง ไม่ออกเสียง 5 เสียง

ไม่ให้ความเห็นชอบ

  • ศ.อารยะ ปรีชาเมตตา ในการประชุมวุฒิสภาเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2565 ที่ประชุมวุฒิสภา ไม่ให้ความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียง ให้ความเห็นชอบ 38 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ 146 เสียง ไม่ออกเสียง 14 เสียง 
  • สถาพร วิสาพรหม ในการประชุมวุฒิสภาเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2566 ที่ประชุมวุฒิสภาไม่ให้ความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียง ให้ความเห็นชอบ 41 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ 138 เสียง ไม่ออกเสียง 27 เสียง
  • สมบัติ ธรธรรม ในการประชุมวุฒิสภาเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2566 ที่ประชุมวุฒิสภาไม่ให้ความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียง ให้ความเห็นชอบ 110 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ 84 เสียง ไม่ออกเสียง 26 เสียง
  • พล.ต.ท.ธิติ แสงสว่าง ในการประชุมวุฒิสภาเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2567 ที่ประชุมวุฒิสภาไม่ให้ความเห็นชอบ” ด้วยคะแนนเสียง ให้ความเห็นชอบ 80 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ 88 เสียง ไม่ออกเสียง 30 เสียง

เห็นชอบผู้ดำรงตำแหน่ง คตง. หนึ่งราย ไม่เห็นชอบหนึ่งราย 

สำหรับคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) รัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 238 กำหนดให้มีคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินจำนวนเจ็ดคน มีวาระการดำรงตำแหน่งเจ็ดปี (มาตรา 239) 

โดยกรรมการส่วนใหญ่จำนวนหกคน ได้รับความเห็นชอบจาก สนช. และเข้ามาดำรงตำแหน่งพร้อมกันในเดือนกันยายน 2560 ในอายุห้าปีของ สว. ชุดพิเศษ มีโควตาให้ความเห็นชอบ คตง. ได้หนึ่งตำแหน่ง โดยในการประชุมวุฒิสภาเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2565 ที่ประชุมวุฒิสภา “ไม่ให้ความเห็นชอบ” พัลลภ ศักดิ์โสภณกุล ด้วยคะแนนเสียง ให้ความเห็นชอบ 99 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ 70 เสียง ไม่ออกเสียง 40 เสียง ต่อมา ในการประชุมวุฒิสภาเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2566 ที่ประชุมวุฒิสภาให้ความเห็นชอบ ศิลักษณ์ ปั้นน่วม ให้ดำรงตำแหน่ง คตง. ด้วยคะแนนเสียง ให้ความเห็นชอบ 182 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ 1 เสียง ไม่ออกเสียง 4 เสียง

นอกจากตำแหน่ง คตง. แล้ว รัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 241 ยังกำหนดให้มีผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินจำนวนหนึ่งคน โดยมีวาระการดำรงตำแหน่งหกปี นับตั้งแต่ที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งโดยตำแหน่งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ก็ต้องได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภาเช่นกัน และต้องได้คะแนนเสียงเห็นชอบไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวน สว. ทั้งหมด

ในการประชุมวุฒิสภาเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2567 ที่ประชุมวุฒิสภาให้ความเห็นชอบมณเฑียร เจริญผล ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ด้วยคะแนนเสียง ให้ความเห็นชอบ 187 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ 3 เสียง ไม่ออกเสียง 6 เสียง

เสนอชื่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ 10 คน สว. โหวตผ่านห้า โหวตตกห้า

รัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 246 กำหนดให้มีคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) จำนวนเจ็ดคน วาระการดำรงตำแหน่งเจ็ดปี

ภายใต้ระยะเวลาห้าปีที่ สว. ชุดพิเศษปฏิบัติหน้าที่ มีการประชุมเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่ง กสม. อย่างน้อยห้านัด มีผู้ได้รับการเสนอชื่อสิริรวม 10 คน โดย สว. ให้ความเห็นชอบห้าคน และไม่ให้ความเห็นชอบห้าคน ดังนี้

ในการประชุมวุฒิสภา 27 มกราคม 2563 ที่ประชุมวุฒิสภามีวาระพิจารณาให้ความเห็นชอบผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่ง กสม. จำนวนห้าราย โดยให้ความเห็นชอบสองราย และไม่ให้ความเห็นชอบสามราย ดังนี้

ให้ความเห็นชอบ 

  • ผศ.สุชาติ เศรษฐมาลินี ที่ประชุมวุฒิสภาให้ความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียง ให้ความเห็นชอบ 171 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ 13 เสียง ไม่ออกเสียง 15 เสียง
  • ปรีดา คงแป้น ที่ประชุมวุฒิสภาให้ความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียง ให้ความเห็นชอบ 161 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ 24 เสียง ไม่ออกเสียง 14 เสียง

ไม่ให้ความเห็นชอบ

  • บุญเลิศ คชายุเดช ที่ประชุมวุฒิสภาไม่ให้ความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียง ให้ความเห็นชอบ 121 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ 49 เสียง ไม่ออกเสียง 29 เสียง
  • ผศ.วิชัย ศรีรัตน์ ที่ประชุมวุฒิสภาไม่ให้ความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียง ให้ความเห็นชอบ 74 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ 101 เสียง ไม่ออกเสียง 24 เสียง
  • ลม้าย มานะการ ที่ประชุมวุฒิสภาไม่ให้ความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียง ให้ความเห็นชอบ 27 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ 149 เสียง ไม่ออกเสียง 23 เสียง

หลังจากนั้น ยังมีการประชุมวุฒิสภาเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบผู้มาดำรงตำแหน่ง กสม.อีกสี่นัด โดยวุฒิสภามีมติให้ความเห็นชอบสามราย และไม่ให้ความเห็นชอบสองราย ดังนี้

ให้ความเห็นชอบ

  • ศยามล ไกยูรวงศ์ ในการประชุมวุฒิสภาเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2563 ที่ประชุมวุฒิสภาให้ความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียง ให้ความเห็นชอบ 201 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ 13 เสียง ไม่ออกเสียง 4 เสียง
  • วสันต์ ภัยหลีกลี้ ในการประชุมวุฒิสภาเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2564 ที่ประชุมวุฒิสภาให้ความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียง ให้ความเห็นชอบ 206 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ 7 เสียง ไม่ออกเสียง 3 เสียง
  • สุภัทรา นาคะผิว ในการประชุมวุฒิสภาเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2565 ที่ประชุมวุฒิสภาให้ความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียง ให้ความเห็นชอบ 181 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ 20 เสียง ไม่ออกเสียง 17 เสียง

ไม่ให้ความเห็นชอบ

  • รัชดา ไชยคุปต์ ในการประชุมวุฒิสภาเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2564 ที่ประชุมวุฒิสภาไม่ให้ความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียง ให้ความเห็นชอบ 33 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ 162 เสียง ไม่ออกเสียง 21 เสียง
  • นิวัฒน์ ตามี่ ในการประชุมวุฒิสภาเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 ที่ประชุมวุฒิสภาไม่ให้ความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียง ให้ความเห็นชอบ 36 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ 153 เสียง ไม่ออกเสียง 30 เสียง

กฎหมายหลายฉบับให้อำนาจ สว. เห็นชอบศาล-ข้าราชการระดับสูง

ไม่ใช่เพียงแค่อำนาจในการให้ความเห็นชอบตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และกรรมการองค์กรอิสระเท่านั้น ในกฎหมายระดับพระราชบัญญัติหลายฉบับ ยังกำหนดให้ผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งสำคัญหรือตำแหน่งระดับสูงในองค์กร จะต้องผ่านด่านคัดกรอง ได้เสียง “เห็นชอบ” จาก สว. ด้วย แม้ผู้ถูกเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งในองค์กรต่าง ๆ จะใช้ความสามารถ ความรู้ความเชี่ยวชาญในการเข้าดำรงตำแหน่ง แต่ถ้าหากไม่สามารถผ่านด่าน สว. ก็จะหมดโอกาสดำรงตำแหน่งเหล่านั้นไป

ตลอดเวลาห้าปีของ สว. ชุดพิเศษ ได้พิจารณาให้ความเห็นชอบผู้มาดำรงตำแหน่งสำคัญในองค์กรกระบวนการยุติธรรมอย่างประธานศาลปกครองสูงสุด ตุลาการศาลปกครองสูงสุด และอัยการสูงสุด รวมไปถึงตำแหน่งระดับสูงในหน่วยงานของรัฐ ดังนี้

เคาะประธาน-ตุลาการศาลปกครองสูงสุด ประธานผ่านด่านสอง ปัดตกไม่เห็นชอบหนึ่ง 

สำหรับตำแหน่งในศาลปกครองสูงสุด พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 กำหนดตำแหน่งประธานศาลปกครองสูงสุด และตุลาการศาลปกครองสูงสุด ต้องได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภา

ประธานศาลปกครองสูงสุด

ตำแหน่งประธานศาลปกครองสูงสุด ในมาตรา 15/1 กำหนดไว้ว่า ให้คณะกรรมการตุลาการศาลปกครอง (ก.ศป.)  พิจารณาคัดเลือกตุลาการในศาลปกครองสูงสุดคนหนึ่งเป็นประธานศาลปกครองสูงสุด แล้วเสนอชื่อต่อนายกรัฐมนตรี และให้นายกฯ นำเสนอขอความเห็นชอบต่อวุฒิสภาภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับการเสนอชื่อ

ภายในระยะเวลาห้าปี สว. มีวาระพิจารณาให้ความเห็นชอบผู้ตำแหน่งประธานศาลปกครองสูงสุดจำนวนสามราย ได้ให้ความเห็นชอบสองราย และไม่ให้ความเห็นชอบหนึ่งราย ดังนี้

ให้ความเห็นชอบ

  • ชาญชัย แสวงศักดิ์ ในการประชุมวุฒิสภาเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2564 ที่ประชุมวุฒิสภาให้ความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียง ให้ความเห็นชอบ 212 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ 2 เสียง ไม่ออกเสียง 8 เสียง
  • วรพจน์ วิศรุตพิชญ์ ในการประชุมวุฒิสภาเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2565 ที่ประชุมวุฒิสภาให้ความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียง ให้ความเห็นชอบ 188 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ 4 เสียง ไม่ออกเสียง 7 เสียง

ไม่ให้ความเห็นชอบ

  • วิษณุ วรัญญู ในการประชุมวุฒิสภาเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2567 ที่ประชุมวุฒิสภาไม่ให้ความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียง ให้ความเห็นชอบ 45 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ 158 เสียง ไม่ออกเสียง 6 เสียง

ตุลาการศาลปกครองสูงสุด

ตำแหน่งตุลาการศาลปกครองสูงสุด มาตรา 15 กำหนดว่า ก.ศป. จะต้องนำรายชื่อผู้ที่ได้พิจารณาคัดเลือกเหมาะสมที่จะแต่งตั้งเป็นตุลาการศาลปกครองสูงสุด เสนอต่อนายกฯ เพื่อให้นายกฯ นำรายชื่อดังกล่าวขอความเห็นชอบต่อวุฒิสภาภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับการเสนอชื่อ

ภายในระยะเวลาห้าปี สว. มีวาระพิจารณาให้ความเห็นชอบผู้ตำแหน่ง ตุลาการศาลปกครอง 57 คน โดยสว. โหวตเห็นชอบให้ดำรงตำแหน่ง 55 คน และไม่เห็นชอบให้ดำรงตำแหน่งสองคน แบ่งออกเป็น

ให้ความเห็นชอบ

ในการประชุมวุฒิสภาเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2562 ที่ประชุมวุฒิสภาให้ความเห็นชอบตุลาการศาลปกครองสูงสุด 12 ราย ได้แก่

  1. เสถียร ทิวทอง ด้วยคะแนนเสียง ให้ความเห็นชอบ 187 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ 10 เสียง ไม่ออกเสียง 7 เสียง
  2. พงษ์ศักดิ์ กัมพูสิริ ด้วยคะแนนเสียง ให้ความเห็นชอบ 192 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ 6 เสียง ไม่ออกเสียง 5 เสียง
  3. ณัฐ รัฐอมฤต ด้วยคะแนนเสียง ให้ความเห็นชอบ 186 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ 14 เสียง ไม่ออกเสียง 4 เสียง
  4. ไชยเดช ตันติเวสส ด้วยคะแนนเสียง ให้ความเห็นชอบ 189 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ 7 เสียง ไม่ออกเสียง 8 เสียง
  5. ภานุพันธ์ ชัยรัต ด้วยคะแนนเสียง ให้ความเห็นชอบ 193 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ 6 เสียง ไม่ออกเสียง 6 เสียง
  6. สุจินต์ จุฑาธิปไตย ด้วยคะแนนเสียง ให้ความเห็นชอบ 167 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ 27 เสียง ไม่ออกเสียง 10 เสียง
  7. ธีรเดช เดชะชาติ ด้วยคะแนนเสียง ให้ความเห็นชอบ 193 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ 8 เสียง ไม่ออกเสียง 5 เสียง
  8. พยุง พันสุทธิรางกูร ด้วยคะแนนเสียง ให้ความเห็นชอบ 194 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ 5 เสียง ไม่ออกเสียง 6 เสียง
  9. ไพโรงจ์ มินเต็น ด้วยคะแนนเสียง ให้ความเห็นชอบ 184 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ 12 เสียง ไม่ออกเสียง 7 เสียง
  10. สุรัตน์ พุ่มพวง ด้วยคะแนนเสียง ให้ความเห็นชอบ 188 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ 9 เสียง ไม่ออกเสียง 7 เสียง
  11. ศรศักดิ์ นิยมธรรม ด้วยคะแนนเสียง ให้ความเห็นชอบ 188 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ 8 เสียง ไม่ออกเสียง 8 เสียง
  12. สมยศ วัฒนภิรมย์ ด้วยคะแนนเสียง ให้ความเห็นชอบ 174 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ 16 เสียง ไม่ออกเสียง 12 เสียง

ในการประชุมวุฒิสภาเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2563 ที่ประชุมวุฒิสภาให้ความเห็นชอบตุลาการศาลปกครองสูงสุด 15 ราย ได้แก่

  1. ชัยโรจน์ เกตุกำเนิด ให้ความเห็นชอบ 220 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ 1 เสียง ไม่ออกเสียง 8 เสียง
  2. สุรเดช พหลภาคย์ ให้ความเห็นชอบ 200 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ – เสียง ไม่ออกเสียง 9 เสียง
  3. วีระ แสงสมบูรณ์ ให้ความเห็นชอบ 217 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ 2 เสียง ไม่ออกเสียง 10 เสียง
  4. เสน่ห์ บุญทมานพ ให้ความเห็นชอบ 220 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ – เสียง ไม่ออกเสียง 9 เสียง
  5. สมิง พรทวีศักดิ์อุดม ให้ความเห็นชอบ 217 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ 3 เสียง ไม่ออกเสียง 9 เสียง
  6. อนุสรณ์ ธีระภัทรานันท์ ให้ความเห็นชอบ 219 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ – เสียง ไม่ออกเสียง 10 เสียง
  7. สมภพ ผ่องสว่าง ให้ความเห็นชอบ 219 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ 1 เสียง ไม่ออกเสียง 9 เสียง
  8. อนนท์ อดิเรกสมบัติ ให้ความเห็นชอบ 220 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ – เสียง ไม่ออกเสียง 9 เสียง
  9. สัมฤทธิ์ อ่อนคำ ให้ความเห็นชอบ 219 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ – เสียง ไม่ออกเสียง 10 เสียง
  10. กนิษฐา เชี่ยววิทย์ ให้ความเห็นชอบ 220 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ 1 เสียง ไม่ออกเสียง 8 เสียง
  11. สุมาลี ลิมปโอวาท ให้ความเห็นชอบ 221 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ – เสียง ไม่ออกเสียง 8 เสียง
  12. เสริมดรุณี ตันติเวสส ให้ความเห็นชอบ 220 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ 1 เสียง ไม่ออกเสียง 8 เสียง
  13. วิบูลย์ กัมมาระบุตร ให้ความเห็นชอบ 221 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ 1 เสียง ไม่ออกเสียง 11 เสียง
  14. ดุษณีย์ ตยางคานนท์ ให้ความเห็นชอบ 217 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ 1 เสียง ไม่ออกเสียง 11 เสียง
  15. สถาพร สถิตย์ปิยะรัตน์ ให้ความเห็นชอบ 219 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ 2 เสียง ไม่ออกเสียง 8 เสียง

ในการประชุมวุฒิสภาเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2564 ที่ประชุมวุฒิสภาให้ความเห็นชอบตุลาการศาลปกครองสูงสุด เจ็ดราย ได้แก่

  1. สะเทื้อน ชูสกุล ให้ความเห็นชอบ 202 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ 8 เสียง ไม่ออกเสียง 14 เสียง
  2. ฉัตรชัย นิติภักดิ์ ให้ความเห็นชอบ 189 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ 12 เสียง ไม่ออกเสียง 23 เสียง
  3. รังสิกร อุปพงศ์ ให้ความเห็นชอบ 220 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ – เสียง ไม่ออกเสียง 4 เสียง
  4. ไพศาล บุญเกิด ให้ความเห็นชอบ 219 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ – เสียง ไม่ออกเสียง 5 เสียง
  5. สมศักดิ์ ตัณฑเลขา ให้ความเห็นชอบ 220 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ 1 เสียง ไม่ออกเสียง 3 เสียง
  6. ภิรัตน์ เจียรนัย ให้ความเห็นชอบ 213 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ 4 เสียง ไม่ออกเสียง 7 เสียง
  7. วชิระ ชอบแต่ง ให้ความเห็นชอบ 221 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ – เสียง ไม่ออกเสียง 3 เสียง

ในการประชุมวุฒิสภาเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2565 ที่ประชุมวุฒิสภาให้ความเห็นชอบตุลาการศาลปกครองสูงสุด สามราย ได้แก่

  1. สมชาย กิจสนาโยธิน ให้ความเห็นชอบ 189 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ 2 เสียง ไม่ออกเสียง 9 เสียง
  2. บรรยาย นาคยศ ให้ความเห็นชอบ 189 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ 2 เสียง ไม่ออกเสียง 9 เสียง
  3. พล.ท.สุรพงศ์ เปรมบัญญัติ ให้ความเห็นชอบ 192 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ – เสียง ไม่ออกเสียง 8 เสียง

ในการประชุมวุฒิสภาเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2566 ที่ประชุมวุฒิสภาให้ความเห็นชอบตุลาการศาลปกครองสูงสุด 13 ราย ได้แก่

  1. พินิจ มั่นสัมฤทธิ์ ให้ความเห็นชอบ 195 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ 1 เสียง ไม่ออกเสียง 3 เสียง
  2. สมมาศ รัฐพิทักษ์สันติ ให้ความเห็นชอบ 195 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ – เสียง ไม่ออกเสียง 4 เสียง
  3. เกียรติภูมิ แสงศศิธร ให้ความเห็นชอบ 191 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ 2 เสียง ไม่ออกเสียง 6 เสียง
  4. วิชัย พจนโพธา ให้ความเห็นชอบ 195 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ – เสียง ไม่ออกเสียง 4 เสียง
  5. สายทิพย์ สุคติพันธ์ ให้ความเห็นชอบ 196 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ – เสียง ไม่ออกเสียง 3 เสียง
  6. อภิรัฐ ปานเทพอินทร์ ให้ความเห็นชอบ 195 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ – เสียง ไม่ออกเสียง 3 เสียง
  7. เมธี ชัยสิทธิ์ ให้ความเห็นชอบ 193 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ 1 เสียง ไม่ออกเสียง 5 เสียง
  8. ชาชิวัฒน์ ศรีแก้ว ให้ความเห็นชอบ 194 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ – เสียง ไม่ออกเสียง 5 เสียง
  9. สิทธานต์ สิทธิสุข ให้ความเห็นชอบ 195 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ – เสียง ไม่ออกเสียง 4 เสียง
  10. อาทร คุระวรรณ ให้ความเห็นชอบ 195 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ – เสียง ไม่ออกเสียง 4 เสียง
  11. อุดมศักดิ์ อังศุพิสิฐ ให้ความเห็นชอบ 194 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ 1 เสียง ไม่ออกเสียง 4 เสียง
  12. ประพจน์ คล้ายสุบรรณ ให้ความเห็นชอบ 195 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ – เสียง ไม่ออกเสียง 4 เสียง
  13. วุฒิชัย ไทยเจริญ ให้ความเห็นชอบ 195 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ – เสียง ไม่ออกเสียง 4 เสียง

ในการประชุมวุฒิสภาเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2567 ที่ประชุมวุฒิสภาให้ความเห็นชอบตุลาการศาลปกครองสูงสุด ห้าราย ได้แก่

  1. พรทิภา ไสวสุวรรณวงค์ ให้ความเห็นชอบ 182 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ 4 เสียง ไม่ออกเสียง 3 เสียง
  2. วรวิทย์ บุญสุข ให้ความเห็นชอบ 158 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ 22 เสียง ไม่ออกเสียง 9 เสียง
  3. เชิดชู รักตะบุตร ให้ความเห็นชอบ 173 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ 11 เสียง ไม่ออกเสียง 5 เสียง
  4. บุญเสริม นาคสาร ให้ความเห็นชอบ 169 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ 14 เสียง ไม่ออกเสียง 6 เสียง
  5. สมฤทธิ์ ไชยวงศ์ ให้ความเห็นชอบ 172 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ 10 เสียง ไม่ออกเสียง 7 เสียง

ไม่ให้ความเห็นชอบ

  • กุศล รักษา ในการประชุมวุฒิสภาเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2562 ที่ประชุมวุฒิสภาไม่ให้ความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียง ให้ความเห็นชอบ 75 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ 97 เสียง ไม่ออกเสียง 29 เสียง
  • รัชนันท์ ธนานันท์ ในการประชุมวุฒิสภาเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2563 ที่ประชุมวุฒิสภาไม่ให้ความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียง ให้ความเห็นชอบ 36 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ 149 เสียง ไม่ออกเสียง 33 เสียง ต่อมาในการประชุมวุฒิสภาเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2564 รัชนันท์ได้รับการเสนอชื่อให้วุฒิสภาเห็นชอบให้ดำรงตำแหน่งตุลาการศาลปกครองสูงสุดอีกครั้ง แต่วุฒิสภาก็ยังมีมติไม่ให้ความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียง ให้ความเห็นชอบ 89 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ 122 เสียง ไม่ออกเสียง 14 เสียง

เคาะผู้ดำรงตำแหน่งอัยการสูงสุดสี่คน 

พระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. 2553 มาตรา 10 กำหนดว่า การแต่งตั้งและการให้อัยการสูงสุดพ้นจากตำแหน่งต้องเป็นไปตามมติของ คณะกรรมการอัยการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ก.อ.) และได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภา และให้ประธานวุฒิสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งอัยการสูงสุด

ในวาระดำรงตำแหน่งห้าปีของ สว. ชุดพิเศษ มีผู้ถูกเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งอัยการสูงสุดรวมสี่คน โดยได้รับเสียงเห็นชอบจากวุฒิสภาทั้งหมด ดังนี้

  • วงศ์สกุล กิตติพรหมวงศ์ ในการประชุมวุฒิสภาเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2562 ที่ประชุมวุฒิสภาให้ความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียง ให้ความเห็นชอบ 215 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ 6 เสียง ไม่ออกเสียง 9 เสียง
  • สิงห์ชัย ทนินซ้อน ในการประชุมวุฒิสภาเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2564 ที่ประชุมวุฒิสภาให้ความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียง ให้ความเห็นชอบ 209 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ 9 เสียง ไม่ออกเสียง 2 เสียง
  • นารี ตัณฑเสถียร ในการประชุมวุฒิสภาเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2565 ที่ประชุมวุฒิสภาให้ความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียง ให้ความเห็นชอบ 205 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ – เสียง ไม่ออกเสียง 7 เสียง
  • อำนาจ เจตน์เจริญรักษ์ ในการประชุมวุฒิสภาเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2566 ที่ประชุมวุฒิสภาให้ความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียง ให้ความเห็นชอบ 193 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ 1 เสียง ไม่ออกเสียง 7 เสียง

เห็นชอบ กสทช. เจ็ดราย ไม่เห็นชอบสามราย

พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 กำหนดให้มี กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) มีทั้งสิ้นเจ็ดคน เป็นผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านกิจการกระจายเสียง ด้านกิจการโทรทัศน์ ด้านกิจการโทรคมนาคม ด้านละหนึ่งคน ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคหรือส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ด้านละหนึ่งคน และด้านอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ สองคน

กสทช. มีวาระการดำรงตำแหน่งหกปี และดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว  โดยผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งกสทช. ต้องผ่านการพิจารณาของวุฒิสภาด้วย (มาตรา 16) 

ตลอดอายุห้าปีของ สว. ชุดพิเศษ มีผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่ง กสทช. ในด้านต่างๆ ทั้งสิ้น 10 ราย โดย ได้รับเสียง “เห็นชอบ” จากวุฒิสภาชุดพิเศษให้ดำรงตำแหน่ง กสทช. จำนวนเจ็ดราย ขณะที่อีกสามรายไม่ได้รับความเห็นชอบ แบ่งออกเป็น

ในการประชุมวุฒิสภาเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2564 วุฒิสภาให้ความเห็นชอบผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่ง กสทช. ห้าราย และไม่ให้ความเห็นชอบสองราย 

ให้ความเห็นชอบ

  • พล.อ.ท.ธนพันธุ์ หร่ายเจริญ ที่ประชุมวุฒิสภาให้ความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียง ให้ความเห็นชอบ 212 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ 5 เสียง ไม่ออกเสียง 6 เสียง
  • ศ.พิรงรอง รามสูต ที่ประชุมวุฒิสภาให้ความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียง ให้ความเห็นชอบ 213 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ 4 เสียง ไม่ออกเสียง 6 เสียง
  • ศ.คลินิก พ. สรณ บุญใบชัยพฤกษ์ ที่ประชุมวุฒิสภาให้ความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียง ให้ความเห็นชอบ 210 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ 6 เสียง ไม่ออกเสียง 7 เสียง
  • ต่อพงศ์ เสนานนท์ ที่ประชุมวุฒิสภาให้ความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียง ให้ความเห็นชอบ 196 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ 19 เสียง ไม่ออกเสียง 8 เสียง
  • รศ.ศุภัช ศุภชลาศัย ที่ประชุมวุฒิสภาให้ความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียง ให้ความเห็นชอบ 205 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ 11 เสียง ไม่ออกเสียง 7 เสียง

ไม่ให้ความเห็นชอบ

  • กิตติศักดิ์ ศรีประเสริฐ ที่ประชุมวุฒิสภาไม่ให้ความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียง ให้ความเห็นชอบ 63 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ 145 เสียง ไม่ออกเสียง 15 เสียง
  • ร.ท.ธนกฤษฏ์ เอกโยคยะ ที่ประชุมวุฒิสภาไม่ให้ความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียง ให้ความเห็นชอบ 60 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ 142 เสียง ไม่ออกเสียง 21 เสียง

ในการประชุมวุฒิสภาเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2565 ที่ประชุมวุฒิสภาให้ความเห็นชอบ พ.ต.อ. ณัฐธร เพราะสุนทร ให้ดำรงตำแหน่ง กสทช. ด้วยคะแนนเสียง ให้ความเห็นชอบ 146 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ 24 เสียง ไม่ออกเสียง 9 เสียง และมีมติไม่ให้ความเห็นชอบ ศ.อภิรัฐ ศิริธราธิวัตร ให้ความเห็นชอบ 18 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ 137 เสียง ไม่ออกเสียง 24 เสียง

ในการประชุมวุฒิสภาเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ประชุมวุฒิสภาให้ความเห็นชอบ รศ.สมภพ ภูริวิกรัยพงศ์ ดำรงตำแหน่ง กสทช. ด้วยคะแนนเสียง ให้ความเห็นชอบ 197 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ 9 เสียง ไม่ออกเสียง 5 เสียง

เก้าอี้เลขาธิการ ปปง. เสนอชื่อสามราย สว. เห็นชอบสอง ไม่เห็นชอบหนึ่ง

แม้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. จะออกคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 38/2560 แก้ไขพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 จากเดิมที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) คัดเลือก จะต้องได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภา แก้ไขเป็นไม่ได้ระบุว่าต้องได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภาแต่อย่างใด

แต่ยังมีอีกตำแหน่งสำคัญในองค์กรดังกล่าว ที่ต้องได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภาอยู่ คือตำแหน่ง เลขาธิการ ปปง. โดยมาตรา 41 และมาตรา 42 กำหนดว่า ให้เลขาธิการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ทำหน้าที่ควบคุมดูแลสำนักงานปปง.และเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ พนักงาน และลูกจ้าง ซึ่งปฏิบัติงานในสำนักงานขึ้นตรงต่อนายกฯ  ซึ่งต้องได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภาด้วย

ตลอดวาระห้าปีของวุฒิสภาชุดพิเศษ มีการเสนอชื่อเลขาธิการ ปปง. สามชื่อ โดยสว. ให้ความเห็นชอบไปสองราย ได้แก่ 

  • พล.ต.ต.ปิยะพันธ์ ปิงเมือง ในการประชุมวุฒิสภาเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2564 ที่ประชุมวุฒิสภาให้ความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียง ให้ความเห็นชอบ 197 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ 7 เสียง ไม่ออกเสียง 12 เสียง
  • เทพสุ บวรโชติดารา ในการประชุมวุฒิสภาเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ประชุมวุฒิสภาให้ความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียง ให้ความเห็นชอบ 124 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ 52 เสียง ไม่ออกเสียง 20 เสียง

และไม่ให้ความเห็นชอบหนึ่งราย คือ พล.ต.ต.ปรีชา เจริญสหายานนท์ ในการประชุมวุฒิสภาเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2563 ที่ประชุมวุฒิสภาไม่ให้ความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียง ให้ความเห็นชอบ 11 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ 185 เสียง ไม่ออกเสียง 13 เสียง

ให้ความเห็นชอบเลขาธิการ ป.ป.ท. หนึ่งราย

ตามพระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2551 เดิมกำหนดให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) ประกอบด้วยประธานและกรรมการไม่เกินห้าคน ซึ่งครม. แต่งตั้งโดยได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา แต่การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายในปี 2559 ส่งผลให้นับแต่นั้นมาตำแหน่งกรรมการ ป.ป.ท. ก็ไม่ต้องผ่านความเห็นชอบจากฝ่ายนิติบัญญัติอีก

อย่างไรก็ดี ตำแหน่งเลขาธิการป.ป.ท. ซึ่งเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ทำหน้าที่ควบคุมดูแลและรับผิดชอบการปฏิบัติราชการของสำนักงานต่อคณะกรรมการ ป.ป.ท. และเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและเจ้าหน้าที่ในสำนักงาน ยังต้องได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภา (มาตรา 51/1) ภายในอายุห้าปีของ สว. ชุดพิเศษ ได้ให้ความเห็นชอบผู้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการ ป.ป.ท. หนึ่งราย คือ ภูมิวิศาล เกษมศุข ในการประชุมวุฒิสภาเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2565 ที่ประชุมวุฒิสภาให้ความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียง ให้ความเห็นชอบ 165 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ 7 เสียง ไม่ออกเสียง 15 เสียง 

เห็นชอบเลขาธิการกฤษฎีกาหนึ่งราย

พระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. 2522 มาตรา 63 วรรคสาม กำหนดให้เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมดูแลราชการของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการในสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา จะต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา ตามลำดับ แต่ถ้าหากรัฐสภามีแค่สภาเดียว ก็ให้ได้รับความเห็นชอบของสภานั้น

ในช่วงอายุห้าปี สว. ชุดพิเศษได้ให้ความเห็นชอบผู้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาไปหนึ่งราย คือ ปกรณ์ นิลประพันธ์ ในการประชุมวุฒิสภาเมื่อ 23 ธันวาคม 2562 ที่ประชุมวุฒิสภาให้ความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียงให้ความเห็นชอบ 189 เสียง ไม่ให้ความเห็นชอบ 1 เสียง ไม่ออกเสียง 9 เสียง

โครงสร้างเช่นนี้ที่เป็นมานานกว่าห้าปี ทำให้บุคคลที่ดำรงตำแหน่งในองค์กรสำคัญล้วนแต่ต้องผ่านการคัดกรองจาก “สภาแต่งตั้ง” มาแล้วทั้งสิ้น การจะแก้ไขที่มา สว. ที่ทำหน้าที่ประทับตราเห็นชอบบุคคลที่ดำรงตำแหน่งในองค์กรสำคัญต่างๆ หรือแม้แต่การแก้ไขที่มาของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและกรรมการองค์กรอิสระ ล้วนต้องอาศัยการแก้รัฐธรรมนูญ ซึ่งการแก้รัฐธรรมนูญ ก็มี สว. เป็นตัวแปรสำคัญ เพราะต้องใช้เสียง สว. ไม่น้อยกว่าหนึ่งในสาม

หลังสว. ชุดพิเศษ กำลังจะหมดอายุ จะมี สว. ชุดใหม่ จำนวน 200 คนที่มีที่มาจากการ “เลือกกันเอง” และยังคงมีอำนาจสำคัญอย่างการให้ความเห็นชอบตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและกรรมการองค์กรอิสระ ขณะเดียวกัน ผู้ดำรงตำแหน่งเหล่านั้นที่ผ่านความเห็นชอบโดย สนช. หรือ สว. ชุดพิเศษ หลายคนจะทยอยพ้นจากตำแหน่งไป ภายใต้วาระการดำรงตำแหน่งห้าปีของ สว. ชุดใหม่ จะมีอำนาจเคาะเลือกตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ-องค์กรอิสระ ได้ “เกินครึ่ง” ของจำนวนตำแหน่งทั้งหมด

📍ร่วมรณรงค์

JOIN : ILAW CLUB

ช่องทางการติดตาม

FACEBOOK PAGE

วิดีโอแนะนำ