ออกแบบพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ใหม่ ให้ส่งเสริมสังคมสื่อสาร

เจ้าภาพ : เครือข่ายพลเมืองเน็ต และสมาชิก iLaw
ที่มาภาพ : kyz
 
กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ออกแบบมาเพื่อให้เจ้าหน้าที่ของรัฐไทย มีเครื่องมือสืบสวนสอบสวนในคดีที่ทำความผิดผ่านระบบคอมพิวเตอร์ เช่น การส่งข้อมูลขยะ การลักลอบเข้าระบบคอมพิวเตอร์
 
ปี 2550 เป็นครั้งแรกที่พ...คอมพิวเตอร์ ถูกประกาศใช้ แต่นับจนวันนี้ ยังไม่เคยมีข้อมูลใดที่ยืนยันได้ว่า กฎหมายฉบับนี้มีผลในการคุ้มครองคนในสังคมและช่วยแก้ปัญหาที่เกิดจาก อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ได้ การแฮกเว็บไซต์ของรัฐเกิดขึ้นแทบจะทันทีภายหลังกฎหมายถูกประกาศใช้ เกือบสองปีผ่านไปก็ยังไม่พบว่า กลไกตามกฎหมายนี้จะช่วยทำให้จับคนผิดได้
ในทางตรงกันข้าม นอกจากพ... คอมพิวเตอร์จะไม่ช่วยแก้ปัญหา แต่กลับพบว่า ในตัวของกฎหมายเองก่อให้เกิดปัญหาหลายประการ
 
iLaw ร่วมกับเครือข่ายพลเมืองเน็ต (Thai Netizen Network) จัดวงประชุมถกเกี่ยวกับผลกระทบจากพ...คอมพิวเตอร์ ได้ข้อสรุปถึงปัญหาในกฎหมายฉบับนี้ ดังนี้
 
1) ละเมิดสิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นบนอินเทอร์เน็ต
ทั้งที่วัตถุประสงค์ของกฎหมายนี้เน้นที่วิธีการพิจารณาความผิดผ่านระบบ คอมพิวเตอร์ แต่กลับพาดพิงถึง "เนื้อหา" ซึ่ง ไปกินความทับซ้อนกับกฎหมายอื่นเดิมที่มีอยู่แล้ว เช่น กฎหมายอาญา ทำให้การกระทำบนโลกออนไลน์ต้องรับโทษซ้ำซ้อนทวีคูณ ถูกเพิ่มกระทงความผิด ซึ่งเรื่องนี้ เกินเลยไปกว่าวัตถุประสงค์เดิมของการออกกฎหมาย ที่ควรเน้นเรื่อง "เทคนิควิธี" เพื่อสร้างเครื่องมือสำหรับสืบสวนสอบสวน แต่กลับเน้นที่ "เนื้อหา" แล้วนิยามความผิดและการลงโทษ (มาตรา 14,16 และ 20)
 
2) ส่งเสริมบรรยากาศของการปิดกั้นข้อมูลข่าวสาร
กฎหมายนี้ผลักภาระความรับผิดชอบให้ "ผู้ให้บริการ" จนอาจทำให้ผู้ให้บริการปิดกั้นตัวเอง เพราะกฎหมายนี้กำหนดให้ผู้ให้บริการทุกระดับมีส่วนในการรับผิดชอบเนื้อหา กล่าวคือ แม้มิได้เป็นผู้สร้างเนื้อหานั้นๆ บนอินเทอร์เน็ต แต่ในฐานะที่เป็นผู้ที่ทำให้บุคคลใดๆ เข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ ก็ต้องมีส่วนรับผิดชอบ ด้วยการตรวจตรากลั่นกรองเนื้อหา และเก็บข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้บริการ (เก็บ log file) (มาตรา 15)
 
3) เจ้าหน้าที่รัฐมีอำนาจสูงมากเกินไป (มาตรา 18)
 
4) กฎหมายเปิดอำนาจให้เจ้าหน้าที่รัฐใช้วิจารณญาณของตนพิจารณาสั่งฟ้องได้ ประกอบกับถ้อยคำภาษาหลายๆ จุดในกฎหมายนี้ กำหนดลักษณะความผิดจากการถูก "รบกวน" ดัง นั้น การไม่จำกัดอำนาจการฟ้องเพียงแค่ผู้เสียหาย แต่เปิดช่องให้เจ้าหน้าที่รัฐสั่งฟ้องได้ เรื่องนี้จึงสร้างบรรยากาศความหวาดกลัวในสังคมการสื่อสาร (มาตรา 10,11 และ 18)
 
อย่างไรก็ดี ความเห็นเกี่ยวกับกฎหมายคอมพิวเตอร์ยังต้องการข้อเสนอจากคนในวงกว้างขึ้น ด้วยเหตุนี้ เครือข่ายพลเมืองเน็ตจึงเปิดประเด็นถกเถียงเพื่อจะนำไปสู่การแก้ไขพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.. 2550 ในประเด็นต่อไปนี้
 

 

ไฟล์แนบ