Media ethics bill
อ่าน

ร่างพ.ร.บ.จริยธรรมสื่อฯ: ห้ามรายงานขัดศีลธรรมอันดี ตั้งสภาสื่อสอบจริยธรรมสื่อนอกแถว

กลับมาอีกครั้งกับความพยายามควบคุมเนื้อหาในสื่อมวลชน ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน พ.ศ. … ถูกบรรจุเข้าวาระการพิจารณาของรัฐสภาในฐานะ “กฎหมายปฏิรูป” ให้ทั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาพิจารณาและลงมติร่วมกัน 
52514161504_363862f4da_o
อ่าน

112 ALERT! ชวนเปิดแฟ้ม “เพชร ธนกร” คดีปราศรัย #ม็อบ6ธันวา ก่อนพิพากษา

ตัวเลข 20 คือจำนวนคดีมาตรา 112 ที่มีผู้ต้องหาเป็นเยาวชน ภายหลังการประกาศแถลงการณ์ของนายกรัฐมนตรีว่าจะนำกฎหมาย “ทุกฉบับทุกมาตรา” กลับมาใช้ดำเนินคดีกับประชาชนอีกครั้งเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2563 ส่งผลให้นี่เป็น “ครั้งแรก” ในประวัติศาสตร์ไทย ที่มีการนำกฎหมายมาตราดังกล่าวซึ่งมีโทษสูงสุดถึง 15 ปี มาบังคับใช้กับเด็กอายุไม่เกิน 18 ปี  ภาพของนักเรียนมัธยมผูกโบขาวชูสามนิ้วระหว่างเคารพธงชาติที่ถูกเผยแพร่ในช่วงปี 2563 คือหลักฐานยืนยันว่า กระแสความตื่นตัวทางการเมืองในช่วงเวลานั้นเกิดขึ้นในหมู่เยาวชนคนรุ่นใหม่ โดยหลายคนที่อา
52459408502_dd6fc7fdc0_o
อ่าน

RECAP: เกิดอะไรขึ้นกับ “สมบัติ ทองย้อย” ?

28 ตุลาคม 2565 ครบรอบครึ่งปีที่ “สมบัติ ทองย้อย” ถูกคุมขังในเรือนจำระหว่างการต่อสู้คดี #มาตรา112 ในชั้นอุทธรณ์ ใครหลายคนอาจรู้จักสมบัติในชื่อ “พี่หนุ่ม” สมบัติเป็นอดีตการ์ดคนเสื้อแดงในการชุมนุมปี 2552-2553 หลังการรัฐประหาร 2557 สมบัติถูกเจ้าหน้าที่ทหารบุกค้นบ้านในเดือนพฤษภาคม 2559 และกลายเป็นบุคคลใน Watch Lists ที่ถูกเจ้าหน้าที่ติดตามความเคลื่อนไหวอย่างใกล้ชิด เมื่อมาถึงการชุมนุมของราษฎรในช่วงปี 2563 สมบัติก็ยังคงออกไปร่วมชุมนุมในฐานะผู้ชุมนุมคนหนึ่ง และเคยช่วยงานรักษาความปลอดภัยให้กับผู้ชุมนุมอยู่ระยะเวลาหนึ่งด้วย ก่อนที่ในเวลาต่อมาเขาจะลดบทบาทตัวเองและถอยห่างอ
52296599150_0cd71cd12c_o
อ่าน

นักโทษการเมือง #ระลอก4 ยังคง “เข้า-ออก เรือนจำ” ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5

จนถึงวันที่ 19 สิงหาคม 2565 มีนักกิจกรรมทางการเมืองที่ถูกคุมขังระหว่างการสอบสวนและระหว่างที่คดียังไม่ถึงที่สุดอย่างน้อย 29 คน  นับจากกระแสเรียกร้องทางการเมืองรอบใหม่การคุมขังนักเคลื่อนไหวทางการเมืองเกิดขึ้นเป็นระลอกๆ ตามบรรยากาศการชุมนุมเรียกร้องที่ขยายตัวขึ้นและลง ในช่วงเวลานี้ถือเป็นระลอกที่สี่แล้ว ไล่เรียงมาตั้งแต่ (1) ช่วงเดือนตุลาคม 2563 (2) ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2564 (3) ช่วงเดือนสิงหาคม 2564  (4) หลังการทยอยปล่อยตัวแกนนำราษฎรเมื่อเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2565 ไม่นานนัก “คำสั่งคุมขัง” ก็กลับมาอ
52260097708_3f2c1e91d9_o
อ่าน

บลูเบอร์รี่ชีสเค้ก ความสุขของ “คิม-ป่าน” ทะลุฟ้า สองผู้ต้องขังหญิงในเรือนจำ

ทสมา หรือ คิม และกตัญญู หรือ ป่าน เป็นสมาชิกกลุ่มทะลุฟ้าที่เป็นผู้หญิงสองคน ที่วันนี้ถูกคุมขังอยู่ในทัณฑสถานหญิงกลางโดยไม่ได้รับอนุญาตให้ประกันตัว ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม 2564 จากคดีชุมนุมและสาดสีหน้าอาคารพรรคประชาธิปัตย์ เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2564 ซึ่งอัยการตั้งข้อหาฐานมั่วสุมก่อความวุ่นวาย ตามมาตรา 215, 216 และฝ่าฝืนพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ โดยศาลให้เหตุผลว่าการกระทำเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ใช้ความรุนแรงทำให้เกิดอันตรายแก่บุคคลอื่นโดยไม่มีเหตุอันสมควร จึงน่าเชื่อว่าหากให้ประกันตัวจะก่อให้เกิดภ
52231112436_73fbca9ee1_o
อ่าน

#ปล่อยเพื่อนเรา มีนักโทษการเมือง 30 คนในเรือนจำ

จนถึงวันที่ 21 กรกฎาคม 2565 มีนักกิจกรรมทางการเมืองที่ถูกคุมขังระหว่างการสอบสวนและระหว่างที่คดียังไม่ถึงที่สุดอย่างน้อย 30 คน นับจากกระแสเรียกร้องทางการเมืองรอบใหม่ หลังการชุมนุมของเยาวชนปลดแอกในปี 2563 การคุมขังนักเคลื่อนไหวทางการเมืองเกิดขึ้นเป็นระลอกๆ ตามบรรยากาศการชุมนุมเรียกร้องที่ขยายตัวขึ้นและลง ครั้งนี้ถือเป็นระลอกที่สี่แล้ว ไล่เรียงมาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563, เดือนกุมภาพันธ์ 2564, เดือนสิงหาคม 2564 และเดือนมีนาคม 2565 ในเดือนเมษายน 2565 มีการไต่สวนเพิกถอนสัญญาประกันของผู้ต้องหาคดีมาตรา 112 ทั้งสิ้น
52048320997_38561d3692_o
อ่าน

RECAP: ไล่เรียงสถานการณ์ไต่สวนประกันคดีม.112 สะท้อนแนวโน้มส่งผู้ต้องหาเข้าเรือนจำระหว่างพิจารณาคดี

การยื่นเรื่องขอประกันตัวผู้ต้องหาในบางกรณีนอกจากจะต้องวางหลักทรัพย์เป็นจำนวนเงินแล้ว คำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวอาจพ่วงมาด้วย “เงื่อนไข” ภายใต้สัญญาประกัน เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ต้องหาหลบหนี เช่น เงื่อนไขห้ามเดินทางออกนอกราชอาณาจักร, ห้ามออกนอกเคหสถานภายในเวลาที่กำหนด, การติดอุปกรณ์อิเลกทรอนิกส์ (กำไล EM) หรือเงื่อนไขการมารายงานตัวต่อศาลเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดไว้ หากผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ประกันตัวไม่ปฏิบัติตามก็อาจถูกเพิกถอนสัญญาประกันได้ โดยในทางปฏิบัติ ศาลมีอำนาจในการออกหมายเรียกให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยมาศาลเพื่อสั่งเพิกถอนการประกันตัวเองไ
269897862_10166180697460551_1970765348559437327_n
อ่าน

ข้อหาละเมิดอำนาจศาลพุ่งตลอดปี 2564 เมื่อศาลถูกลากมายังใจกลางความขัดแย้ง

หลังกระแสการชุมนุมทางการเมืองพุ่งขึ้นสูงในปี 2563 พร้อมกับข้อเรียกร้อง “ทะลุเพดาน” การดำเนินคดีเพื่อกดปราบการแสดงออกของประชาชนก็ตามมาอย่างใหญ่หลวง และในปี 2564 คดีความทั้งหลายก็เข้าสู่มือของศาล แม้สถานการณ์โควิดจะทำให้การพิจารณาคดีส่วนใหญ่เลื่อนออกไป จึงยังไม่ปรากฏผลคำพิพากษาให้เห็นมากนักในปีนี้ แต่คำถามที่ศาลต้องเผชิญก่อน คือ คำขอประกันตัวในระหว่างการพิจารณาคดี และการตัดสินใจปฏิเสธสิทธิขั้นพื้นฐานในหลายกรณีก็ทำให้สถาบันตุลาการเข้ามาอยู่ในใจกลางความขัดแย้งแบบเต็มตัว ตลอดปี 2564 มีการจัดการชุมนุมในลักษณะที่เป็นการส่งข้อเรียกร้องต่อศาลโดยตรงจำนวนมาก ทั้งรูปแบบการ
51600991511_9c2e17af91_k
อ่าน

กองทุนราษฎรประสงค์ – เพราะทุกคนต้องเข้าถึงสิทธิในการประกันตัว

แม้จะมีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทั่วประเทศ และมีการออกข้อกำหนดห้ามชุมนุมโดยอ้างเหตุการระบาดของโควิด-19 ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2563 แต่ความไม่พอใจต่อสภาวะเศรษฐกิจและการบริหารประเทศโดยเฉพาะการแก้ปัญหาโควิดและการจัดหาวัคซีนทำให้ผู้คนเลือกที่จะลงสู่ท้องถนนโดยไม่หวั่นเกรงต่อโทษทางอาญาที่อาจตามมา ความเข้มข้นของสถานการณ์ทางการเมืองยังทำให้การวิพากษ์วิจารณ์ที่ครั้งหนึ่งมีเพดานอยู่ที่การพูดถึงสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างตรงไปตรงมาได้ถูกทลายลง ผู้มีอำนาจรัฐที่มุ่งหวังจะดำรงรักษาสถานภาพและความสัมพันธ์ระหว่างคนในช่วงชั้นต่างๆ ให้เหมือนเดิมจึงใช้วิธีกดปราบอย่างหนัก จำนวนผู้ถูกดำเนินคดีในรัฐบาลประยุทธ์ 2