เลือกตั้ง 62: ชะตากรรมเพื่อไทย หากไร้ไทยรักษาชาติ

หากยังจำกันได้ในช่วงปลายปี 2561 พรรคการเมืองหน้าใหม่ชื่อ “ไทยรักษาชาติ” มีตัวย่อ “ทษช.” ถูกกล่าวขวัญถึงในสังคมว่าตัวย่อนี้มาจากชื่อของ “ทักษิณ ชินวัตร” อดีตนายกรัฐมนตรี ตามมาด้วยการตบเท้าเดินเข้าพรรคของอดีตสมาชิก และ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (..) จากพรรคเพื่อไทย ทั้งรุ่นเล็ก รุ่นใหญ่ อาทิ จาตุรนต์ ฉายแสงณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ และ ขัตติยา สวัสดิผล ก็เข้ามาอยู่ในมุ้งไทยรักษาชาติ ภายใต้ยุทธศาสตร์ “แยกกันเดิน ร่วมกันตี” ซึ่งเกิดขึ้นจากผลกระทบของระบบเลือกตั้งแบบใหม่ ตามรัฐธรรมนูญ 2560 ที่ทำให้พรรคเพื่อไทยได้เก้าอี้ .น้อยลง

เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2562 พรรคไทยรักษาชาติ สร้างความฮือฮา และสร้างแรงสั่นสะเทือนทางการเมืองครั้งใหญ่ ด้วยการส่ง “ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ฯ” เป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรค แต่ 13 ชั่งโมงต่อมาในวันเดียวกันนี้เอง ในหลวงรัชกาลที่ 10 ทรงมีพระราชโองการ ระบุว่าพระมหากษัตริย์และพระบรมราชวงศ์ทุกพระองค์ ทรงดำรงสถานะอยู่เหนือการเมือง” นำมาซึ่งมติของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ให้ยุบพรรคและส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าพรรคไทยรักษาชาติ “กระทำการอันอาจเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามมาตรา 92 ของ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง 

ยุบพรรคไทยรักษาชาติ เท่ากับเพื่อไทยหายไป 100 เขต

เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2562 เป็นวันนัดฟังผลการพิจารณาศาลรัฐธรรมนูญว่าจะมีมติ “ยุบ” พรรคไทยรักษาชาติ หรือไม่ ก่อนที่จะถึงศึกเลือกตั้งในวันที่ 24 มีนาคม 2562 หากพรรคไทยรักษาชาติถูกยุบจะเป็นเหตุให้คณะกรรมการบริหารพรรค ถูกตัดสิทธิทางการเมือง ส่วนผู้สมัคร .ทั้งหมด 284 คน ก็หมดสิทธิลงสนามรับเลือกตั้งทันที เพราะขาดคุณสมบัติเรื่องข้อกำหนดที่ต้องสังกัดพรรคการเมืองก่อนวันเลือกตั้ง 90 วัน 

หากสิ้นพรรคไทยรักษาชาติ เท่ากับว่า ยุทธศาสตร์ แยกกันเดิน ร่วมกันตี ไม่สามารถเดินไปตามแผนเดิมได้แล้ว อีกทั้งในการเลือกตั้ง 2562 พรรคเพื่อไทย ที่เปรียบเสมือนพรรคแม่” ก็ส่งผู้สมัครเพียง ลงเพียง 250 เขต จาก 350 เขต เพื่อเปิดทางให้พรรคไทยรักษาชาติลงไปเก็บที่นั่งและคะแนนเสียงในพื้นที่นั้นแทน เท่ากับว่าทำให้เพื่อไทยหมดโอกาสที่จะได้ ส.ส. เขตถึง 100 เขต 

เหลือพรรคเพื่อชาติ และพรรคประชาชาติร่วมตี คสช

ยุทธศาสตร์ “แยกกันเดิน ร่วมกันตี” ไม่ได้มีเพียงแค่พรรคเพื่อไทย และพรรคไทยรักษาชาติ หากแต่ยังมี “พรรคเพื่อชาติ” ที่นำโดยจตุพร พรหมพันธุ์ และ ยงยุทธ ติยะไพรัช ซึ่งส่งผู้สมัครถึง 349 เขต และ “พรรคประชาชาติ” ที่นำโดย วันมูหะมัดนอร์ มะทา และอารีเพ็ญ อุตรสินธุ์ซึ่งส่งผู้สมัครถึง 212 เขต ทว่าก็ยังมีข้อจำกัดเรื่องการรับรู้ของประชาชนว่าพรรคเพื่อชาติ และพรรคประชาชาติ เป็นพรรคที่แตกตัวออกมาจากพรรคเพื่อไทย

อ่านเรื่องสำรวจจุดยืนพรรคไหนไม่เอา คสช. : https://ilaw.or.th/node/5082

การยุบพรรคไทยรักษาชาติอาจนับได้ว่าเป็นความเสียหายของพรรคเพื่อไทย และเครือข่ายในการที่จะเอาชนะศึกการเลือกตั้ง 2562 ไอลอว์ชวนดู 3 ชะตากรรมพรรคเพื่อไทย หากไร้พรรคไทยรักษาชาติ

กรณีแรก พลาดเก้าอี้ .เขต  คือ พรรคไทยรักษาชาติ ส่ง อดีต .พรรคเพื่อไทย ที่เคยชนะในการเลือกตั้งปี 2554 ซึ่งคาดว่าจะทำให้พรรคไทยรักษาชาติชนะในเขตเลือกตั้งนั้น โดยที่พรรคเพื่อไทยไม่ได้ส่งผู้สมัคร ส.. ลงแข่งเลย

ตัวอย่างของ จังหวัดแพร่ เดิมที ในปี 2554 มี 3 เขตเลือกตั้ง การเลือกตั้งครั้งนี้เหลือ 2 เขตเลือกตั้ง โดยในปี 2554 อดีต .พรรคเพื่อไทย เขต 1 ปานหทัย เสรีรักษ์ (ภรรยาของ ทศพร เสรีรักษ์ อดีต .พรรคไทยรักไทยที่มาลงสมัครรับเลือกตั้งแทนสามี ชนะในเขตทล่มทลาย ด้วยคะแนน 61,871 เสียง ในปี 2562 ทศพร เสรีรักษ์ กลับมาลงชิงเก้าอี้ .ให้กับพรรคไทยรักษาชาติ ส่วน วรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล อดีต ..พรรคเพื่อไทย เขต 3 ที่เคยชนะด้วยคะแนน 61,239 เสียงเมื่อปี 2554 กลับมาสู้ศึกเลือกตั้งอีกครั้ง ในปี 2562 ภายใต้เสื้อไทยรักษาชาติ เขต 2 

กรณีแบบนี้ อาจทำให้เครือข่ายเพื่อไทยเสียเก้าอี้ .เขตไปเลย อย่างไรก็ดีพื้นที่ดังกล่าว พรรคเพื่อชาติ ส่งผู้สมัคร .. แพร่ ลงทั้ง 2 เขตเลือกตั้ง 

กรณีที่สอง หมดโอกาสเก็บคะแนนนำไปคิด ส.ส.บัญชีรายชื่อ คือ จากทั้งหมด 176 เขต ที่พรรคไทยรักษาชาติส่งผู้สมัคร .. จำนวนมากเป็นเขตที่พรรคเพื่อไทยเคยแพ้เลือกตั้งมาก่อน และเลือกตั้งไม่ส่งผู้สมัครลงแข่งด้วย จึงหวังให้พรรคไทยรักษาชาติไปเก็บคะแนน แม้จะไม่ชนะเขต แต่คะแนนที่ได้มาก็มากพอจะนำมาคิดคำนวณเป็นที่นั่ง ..แบบบัญชีรายชื่อ 

ตัวอย่างของ จังหวัดพิษณุโลก เขต 1 เดิมที พื้นที่เขต 1 เป็นของพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งพรรคเพื่อไทยไม่เคยเอาชนะได้ แต่ก็นับว่าเป็นการแพ้ที่ยังคงได้คะแนนสูง ในปี 2554 ผู้สมัคร .เขตพรรคเพื่อไทย คือ ณัฐทรัชต์ ชามพูนท ได้คะแนน 35,456 เสียง และในศึกเลือกตั้ง 2562 พรรคเพื่อไทยไม่ได้ส่งผู้สมัคร .ลงเขต 1 แต่หลีกทางเพื่อให้ผู้สมัครหน้าใหม่จากพรรคไทยรักษาชาติ มาเก็บคะแนน อย่างไรก็ดี เมื่อพรรคไทยรักษาชาติถูกยุบ ก็ยังมีพรรคเพื่อชาติ ที่ส่งผู้สมัคร ..พิษณุโลก เขต 1 ด้วย

กรณีที่สาม เพื่อไทยและเครือข่ายไม่ได้แม้แต่คะแนนเดียว คือ แม้พรรคเครือข่ายอย่างพรรคเพื่อชาติ จะส่งผู้สมัคร .. เขต เกือบครบ 349 เขต ขาดเพียงเขตเดียวคือ เขต 1 จังหวัดฉะเชิงเทรา ขณะที่พรรคประชาชาติก็ไม่มีผู้สมัคร .. เขตนี้เช่น ผู้สมัคร .. เขตนี้มีคนเดียวมาจากพรรคเครือข่ายเพื่อไทย คือ อดีต .จากตระกูลดังทางการเมืองอย่าง ฐิติมา ฉายแสง จากพรรคไทยรักษาชาติ ถึงแม้จะพ่ายแพ้การเลือกตั้งเมื่อปี 2554 แต่ก็ยังมีฐานคะแนนที่มั่นคง ซึ่งแบบนี้พรรคเพื่อไทยและเครือข่ายจะเสียหายที่สุด ผลก็คือจะไม่ได้คะแนนจากเขตนี้ แม้แต่คะแนนเดียว อย่างไรก็ตามคะแนนก็อาจจะไปอยู่กับพรรคแนวร่วมไปเอา คสช. เช่น พรรคอนาคตใหม่ หรือพรรคเสรีรวมไทย  

นี่เป็นเพียงตัวอย่างของบางจังหวัด และบางเขตเลือกตั้งเท่านั้น ยังมีอีกหลายเขตเลือกตั้งที่ประสบปัญหาดังตัวอย่างที่ยกมา นับเป็นความเสียหายส่วนหนึ่ง จากการยุบพรรคไทยรักษาชาติ ส่วนยุทธศาสตร์ แยกกันเดิน ร่วมกันตี จะดำเนินต่อไปยังไง พรรคการเมืองต่างๆ จะมีการปรับยุทธศาสตร์การหาเสียงช่วงโค้งสุดท้ายอย่างไร เพื่อดึงคะแนนเสียงจากผู้สนับสนุนพรรคไทยรักษาชาติที่กระจายอยู่ 176 เขต อย่างไรก็ดีท้ายที่สุด คะแนนเสียงของประชาชนจะเป็นตัวแปรสำคัญในการชี้ชะตาอนาคตพรรคเพื่อไทย ในวันที่ไร้ไทยรักษาชาติ เพราะต้องไม่ลืมว่า ทั้งสองพรรคส่งผู้สมัคร ส.ทับซ้อนในเขตเดียวกันถึง 76 เขต ส่งคะแนนส่วนนี้ของพรรคไทยรักษาชาติอาจย้ายมาที่พรรคเพื่อไทย นอกจากนี้ก็ยังเหลือพรรคเพื่อชาติ และพรรคประชาชาติที่พร้อมจะเป็นตัวแปรสำคัญเพื่อดึงคะแนนกลับมาในช่วงเวลาที่เหลือก่อนเลือกตั้ง