เปิดผลลงมติ สว. เรียงคน ปมแก้ร่างพ.ร.บ.ประชามติฯ ยืดเวลาเขียนรัฐธรรมนูญใหม่

กระบวนการแก้ไขพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ. 2564 (พ.ร.บ.ประชามติฯ) เพื่อลดเงื่อนไขการทำประชามติโดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญรวมถึงการเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ เริ่มล่าช้าออกไป เมื่อสมาชิกวุฒิสภา (สว.) ชุดใหม่จากระบบเลือกกันเอง ที่เพิ่งเข้าทำงานได้สองเดือนกว่าๆ ลงมติแบบ “พลิกกลับ” แนวทางสภาผู้แทนราษฎร โหวตแก้ไขร่างพ.ร.บ.ประชามติฯ ฉบับที่ผ่านสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว จนเป็นเหตุให้ต้องส่งร่างกฎหมายกลับคืนไปให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) ลงมติว่าเห็นด้วยกับการแก้ไขหรือไม่ ซึ่งเสียงข้างมากของ สส. ก็ลงมติ “ค้าน” การแก้ไขของ สว. ส่งผลให้ต้องตั้งกรรมาธิการร่วมกัน (กมธ.) มาพิจารณาและต้องส่งกลับให้ทั้งสองสภาลงมติอีกครั้ง และอาจกระทบต่อกระบวนการทำประชามติเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ตามแผนของรัฐบาลที่วางไว้ว่าจะทำประชามติสามครั้ง

ย้อนที่มาแก้พ.ร.บ.ประชามติฯ สส. อยากปลดล็อกเงื่อนไขเสียงข้างมากสองชั้น สว. กลับลำมองประชามติแก้รัฐธรรมนูญควรมีเงื่อนไข

ตามพ.ร.บ.ประชามติฯ ที่ใช้บังคับอยู่ มาตรา 13 กำหนดเงื่อนไข “เสียงข้างมากสองชั้น” ประชามติจะมีข้อยุติได้ ต่อเมื่อ 

(1) มีผู้มาใช้สิทธิออกเสียงเกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิ และ 

(2) มีจำนวนเสียงเกินกึ่งหนึ่งออกเสียงในเรื่องที่ทำประชามตินั้น

เงื่อนไขดังกล่าว นำมาสู่ข้อกังวลว่าประชามติจะหาข้อยุติได้ยากและต้องได้รับเสียงลงมติทางใดทางหนึ่งจำนวนมากถึงจะหาข้อยุติในเรื่องนั้นๆ ได้ โดยเฉพาะประเด็นสำคัญที่ถกเถียงกันต่อเนื่องอย่างการแก้ไขเพิ่มเติมรวมถึงการเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยการทำประชามติประกอบ ครม. รวมถึงสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) จากอดีตพรรคก้าวไกล พรรคเพื่อไทย และพรรคภูมิใจไทย จึงเสนอร่างพ.ร.บ.ประชามติฯ รวมสี่ฉบับ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขพ.ร.บ.ประชามติฯ หลายประเด็น ประเด็นสำคัญคือการปลดล็อกเงื่อนไขเสียงข้างมากสองชั้น

ต่อมา 18 มิถุนายน 2567 สภาผู้แทนราษฎรมีมติรับหลักการร่างพ.ร.บ.ประชามติฯ ทั้งสี่ฉบับในวาระหนึ่ง เพื่อพิจารณาต่อวาระสองและวาระสาม โดยในวันที่ 21 สิงหาคม 2567 สภาผู้แทนราษฎรลงมติเห็นชอบร่างพ.ร.บ.ประชามติฯ ในวาระสาม ได้ข้อสรุปสำคัญ คือ ปลดล็อกเกณฑ์ “เสียงข้างมากสองชั้น” เป็นเสียงข้างมากธรรมดา โดยกำหนดเงื่อนไขไว้เพียงว่าเสียงข้างมากนั้นจะต้องมากกว่าเสียงไม่แสดงความคิดเห็น นอกจากนี้ยังมีการแก้ไขประเด็นอื่นๆ เช่น ปรับให้การทำประชามติสามารถทำพร้อมกับการเลือกตั้ง สส. หรือการเลือกตั้งท้องถิ่นได้ และเปิดทางให้มีการเข้าชื่อเสนอคำถามประชามติออนไลน์ได้

หลังจากสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาร่างพ.ร.บ.ประชามติฯ ทั้งสามวาระแล้วเสร็จ ก็ส่งไม้ต่อให้วุฒิสภา ในวันที่ 27 สิงหาคม 2567 ที่ประชุมวุฒิสภาได้ลงมติรับร่างพ.ร.บ.ประชามติฯ ในวาระหนึ่ง และตั้งกมธ. วิสามัญเพื่อพิจารณาเชิงรายละเอียด โดยกมธ. นัดประชุมทุกวันพุธ สัปดาห์ละหนึ่งวัน ตั้งแต่วันที่ 28 สิงหาคม ถึงวันที่ 25 กันยายน 2567

การประชุมกมธ. ดำเนินมาถึงเรื่องสำคัญคือเงื่อนไขประชามติที่จะมีข้อยุติ ตามมาตรา 13 ในวันที่ 11 กันยายน 2567 ที่ประชุมกมธ. ยังมีมติให้คงไว้ตามร่างเดิมที่ผ่านสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว โดยผศ.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ของกมธ. เสริมในประเด็นเรื่องเสียงข้างมากสองชั้นว่าอาจไม่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมมากนัก ควรกลับมาใช้หลักง่ายๆ อย่างเสียงข้างมากธรรมดา เพื่อให้การออกเสียงประชามติมีเงื่อนไขที่ไม่ซับซ้อนและสามารถดำเนินการได้ง่ายเหมือนกับการเลือกตั้ง สส. ปริญญายังยกตัวอย่างกรณีปัญหานิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร พบว่าหมู่บ้านหลายแห่งประสบปัญหาในการจัดประชุมนิติบุคคลเนื่องจากองค์ประชุมไม่ถึงกึ่งหนึ่งตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดแบบเสียงข้างมากสองชั้น ทำให้ขาดผู้มีสิทธิออกเสียงเข้าร่วมประชุม และผลที่ตามมาคือไม่สามารถตัดสินใจในประเด็นสำคัญได้

ในการประชุมนัดถัดมา 18 กันยายน 2567 กมธ. ยังคงมีมติไม่แก้ไขร่างพ.ร.บ.ประชามติฯ มีเพียงแต่การเพิ่มเว้นวรรคหรือปรับปรุงวรรคตอนเท่านั้น แต่ไม่ได้แก้ไขข้อความ อย่างไรก็ดี สถานการณ์เริ่มส่อแวว “พลิกกลับ” ในการประชุมกมธ. เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2567 เมื่อพิสิษฐ์ อภิวัฒนาพงศ์ สว. กลุ่มที่ 11 กลุ่มผู้ประกอบธุรกิจหรืออาชีพด้านการท่องเที่ยว นักลงทุนอสังหาริมทริมทรัพย์ และเจ้าของที่พักโฮมสเตย์อ่าวจากอำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ เสนอแปรญัตติแก้ไขโดยให้การออกเสียงประชามติในเรื่องที่เกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญจะมีข้อยุติ ต้องใช้เสียง “เกินกว่ากึ่งหนึ่ง” ของผู้มีสิทธิออกเสียงในเรื่องที่ทำประชามติ

หลังจากนั้น กมธ. สว. หลายคน  ก็ออกมาแสดงความคิดเห็นสนับสนุนให้แก้ไขมาตรานี้ เช่น

สมบูรณ์ หนูนวล สว. จากกลุ่มที่ 4 กลุ่มการสาธารณสุข นักวิชาการสาธารณสุข สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 จังหวัดนครศรีธรรมราช อดีตสมาชิกพรรคภูมิใจไทย ซึ่งสมัคร สว. จากอำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร แสดงความเห็นสนับสนุนว่า การจัดทำประชามติกรณีเรื่องสำคัญๆ โดยเฉพาะการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ หากใช้เกณฑ์คะแนนเสียงของผู้ออกมาใช้สิทธิเพียงอย่างเดียวน่าจะไม่เหมาะ แต่หากใช้หลักเกณฑ์เสียงข้างมากสองชั้นน่าจะเหมาะสมกว่า

สมดุล บุญไชย สว. จากกลุ่มที่ 1 กลุ่มการบริหารราชการแผ่นดินและความมั่นคง อดีตข้าราชการครูจากอำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร แสดงความคิดเห็นว่า เห็นด้วยให้มีการพิจารณาทบทวนแก้ไขมาตรา 13 เนื่องจากการจัดทำประชามติตามมาตรา 13 ไม่ได้เป็นกรณีเฉพาะการเลือกตั้งเพียงอย่างเดียว แต่ยังครอบคลุมไปถึงเรื่องอื่นๆ ที่สำคัญที่อาจจะต้องมีการจัดให้ออกเสียงประชามติด้วย จึงควรพิจารณาโดยละเอียดรอบคอบ

สุพัตรชัย เตียวเจริญโสภา สว. กลุ่มที่ 13 กลุ่มผู้ประกอบอาชีพด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การสื่อสาร การพัฒนานวัตกรรม จากอำเภอเมืองสุรินทร์ เจ้าของกิจการห้างหุ้นส่วนจำกัด สหะกล โอ.เอ จำหน่ายผลิตภัณฑ์ไอทีและเครื่องใช้สำนักงานในจังหวัดสุรินทร์ตั้งแต่ปี 2544 และเป็นเครือญาติกับธีระทัศน์ เตียวเจริญโสภา อดีต สส. สุรินทร์สามสมัย แสดงความเห็นว่า เห็นด้วยให้มีการพิจารณาทบทวนแก้ไขมาตรา 13 เนื่องจากการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเป็นเรื่องสำคัญ การกำหนดออกเสียงประชามติเพื่อนำไปสู่การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญควรพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบ

ภาณุพงษ์ เต็งวงษ์วัฒนะ สว. จากกลุ่มที่ 1 อดีตรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสิงห์บุรี พ.ศ.2545-2546 แสดงความเห็นว่า ควรทบทวนแก้ไขมาตรา 13 เนื่องจากการจัดทำประชามติจะมีผลต่อการตัดสินเรื่องสำคัญของประเทศ หากประชาชนออกมาใช้สิทธิน้อยก็จะมีผลกระทบในระยะยาว แต่หากกมธ. จะถือเอากำหนดเวลาเลือกตั้งท้องถิ่นซึ่งจะมีในช่วงต้นปี 2568 เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาร่างพ.ร.บ.ประชามติ ให้ใช้บังคับทันการเลือกตั้งดังกล่าว น่าจะเร่งด่วนเกินไปอาจทำให้การพิจารณาร่างขาดความรอบคอบ

ต่อมา ที่ประชุมกมธ. ลงมติว่าจะพิจารณาแก้ไขมาตรา 13 ด้วยคะแนนเสียง เห็นด้วย 17 คน ไม่เห็นด้วย 1 คน และงดออกเสียง 1 คน โดยกำหนดเนื้อหาร่างที่แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 13 ว่า

“มาตรา 13 การออกเสียงที่จะถือว่ามีข้อยุติในเรื่องที่จัดทำประชามติตามมาตรา 9 (2) (3) (4) หรือ (5) ให้ใช้เสียงข้างมากของผู้มาออกเสียง โดยคะแนนเสียงข้างมากต้องสูงกว่าคะแนนเสียงไม่แสดงความคิดเห็นในเรื่องที่จัดทำประชามตินั้น

การออกเสียงจะถือว่ามีข้อยุติในเรื่องที่จัดทำประชามติตามมาตรา 9 (1) หรือ (2) เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ต้องมีผู้มาใช้สิทธิออกเสียงเป็นจำนวนเกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิออกเสียงและมีจำนวนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของผู้มาใช้สิทธิออกเสียงในเรื่องที่จัดทำประชามตินั้น”

(***หมายเหตุ : ข้อความที่ขีดเส้นใต้ คือข้อความที่กมธ. เสนอเพิ่มแก้ไขเพิ่มขึ้นมาจากร่างฉบับที่ผ่านสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว)

หลังจากกมธ. พิจารณาแล้วเสร็จ ได้ส่งร่างเข้าสู่การพิจารณาของวุฒิสภาเพื่อลงมติรายมาตราวาระสอง ในวันที่ 30 กันยายน 2567 วุฒิสภามีมติเห็นด้วยให้ “แก้ไข” ร่างพ.ร.บ.ประชามติฯ มาตรา 13 ตามข้อเสนอของกมธ. ที่กำหนดให้ใช้เสียงข้างมากสองชั้นกับการทำประชามติกรณีการทำประชามติสำหรับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตามเงื่อนไขที่รัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 256 กำหนดไว้ และการทำประชามติตามมติของ ครม. ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ด้วยคะแนนเสียงเห็นด้วย 164 เสียง ไม่เห็นด้วย 21 เสียง งดออกเสียง 9 เสียง

เปิดมติ สว. เรียงคน สว. จากพื้นที่ “ภูมิใจไทย” เสียงไม่แตกเห็นด้วยล็อกเสียงข้างมากสองชั้นประชามติแก้รัฐธรรมนูญ

ข้อแตกต่างหนึ่งของข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. 2562 กับข้อบังคับการประชุมการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562 และข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ.2563 คือ ข้อบังคับฝั่งวุฒิสภาไม่ได้กำหนดให้เปิดเผยผลการลงมติของสมาชิกแต่ละคนผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ขณะที่ฝั่งรัฐสภาและสภาผู้แทนราษฎรกำหนดให้เผยแพร่ทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ข้อแตกต่างในข้อบังคับนี้ส่งผลให้ในการประชุมวุฒิสภาแต่ละครั้ง สว. ลงมติอย่างไร จะไม่ได้เปิดเผยบนเว็บไซต์ แต่สามารถไปดูเอกสารการลงมติที่ปิดประกาศไว้ได้ ณ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา อาคารรัฐสภา

จากเอกสารใบประมวลผลการลงมติรายบุคคล ในการลงมติพิจารณาร่างพ.ร.บ.ประชามติฯ วาระสอง มาตรา 7 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 13 พบว่า สว. ส่วนใหญ่ 164 คนเห็นด้วยให้แก้ไขตามกมธ. ข้างมาก

เมื่อพิจารณาจากจังหวัดที่มี สว. มากเป็นอันดับต้นๆ พบว่า

อันดับหนึ่ง จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งมี สว. สูงสุด 14 คน สว. เกือบทั้งหมด 13 คนโหวตเห็นด้วยกับการแก้ไขมาตราดังกล่าว ยกเว้น มงคล สุระสัจจะ ประธานวุฒิสภา ซึ่งโหวตงดออกเสียงตามธรรมเนียมปฏิบัติ

อันดับสอง กรุงเทพมหานคร มี สว. เก้าคน มีสามคนที่โหวตเห็นด้วย ขณะที่อีกหกคนที่เหลือโหวตไม่เห็นด้วย

อันดับสาม พระนครศรีอยุธยาและสุรินทร์ มี สว. เจ็ดคน สว. จากพระนครศรีอยุธยาหกคนที่มาลงมติล้วนเทโหวต “เห็นด้วย” เช่นเดียวกันกับ สว. สุรินทร์ เจ็ดคน โหวตเห็นด้วยเสียงไม่แตก

อันดับที่สี่ สงขลาและสตูล มีสว. จังหวัดละหกคน โดย สว. จากสตูลหกคนเสียงไม่แตกโหวตเห็นด้วย ขณะที่ สว. สงขลาสี่จากหกคนโหวตเห็นด้วยเช่นกัน

ทั้งนี้ จังหวัดที่มี สว. เยอะ “ติดท็อป” สี่อันดับข้างต้น บุรีรัมย์และสตูล เป็นจังหวัดที่พรรคภูมิใจไทยครองพื้นที่ได้ สส. แบบแบ่งเขตทั้งจังหวัด ขณะที่พระนครศรีอยุธยาและสุรินทร์เป็นจังหวัดที่พรรคภูมิใจไทยมี สส. เกินครึ่งจากทุกเขตเลือกตั้งในจังหวัดนั้น

สว. ที่ลงมติเห็นด้วย 164 คน ได้แก่

1.       พิสิษฐ์ อภิวัฒนาพงศ์ กลุ่มที่ 11 จากอำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่

2.       อภิชา เศรษฐวราธร กลุ่มที่ 8 จากอำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่

3.       สุนทร เชาว์กิจค้า กลุ่มที่ 10 จากอำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่

4.       อจลา ณ ระนอง กลุ่มที่ 14 จากอำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่

5.       เดชา นุตาลัย กลุ่มที่ 5 จากเขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร

6.       วราวุธ ตีระนันทน์ กลุ่มที่ 20 จากเขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร

7.       วิธาวีร์ ประทุมสวัสดิ์ กลุ่มที่ 4 จากเขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร

8.       นพดล อินนา กลุ่มที่ 8 จากอำเภอหนองปรือ จังหวัดกาญจนบุรี

9.       สหพันธ์ รุ่งโรจนพณิชย์ กลุ่มที่ 10 จากอำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี

10.   อัษฎางค์ แสวงการ กลุ่มที่ 3 จากอำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น

11.   กานต์เปรมปรีด์ ชิตานนท์ กลุ่มที่ 14 จากอำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี

12.   ยุคล ชนะวัฒน์ปัญญา กลุ่มที่ 15 จากอำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี

13.   ชัยธัช เพราะสุนทร กลุ่มที่ 9 จากอำเภอคลองเขื่อน จังหวัดฉะเชิงเทรา

14.   ธนกร ถาวรชินโชติ กลุ่มที่ 6 จากอำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี

15.   อมร ศรีบุญนาค กลุ่มที่ 5 จากอำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท

16.   อัครวินท์ ขำขุด กลุ่มที่ 11 จากอำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท

17.   พล.ต.ต. รมย์สิทธิ์ วีริยาสรร กลุ่มที่ 1 จากอำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ

18.   ธนภัทร ตวงวิไล กลุ่มที่ 15 จากอำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ

19.   นิรัตน์ อยู่ภักดี กลุ่มที่ 8 จากอำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ

20.   สมบูรณ์ หนูนวล กลุ่มที่ 4 จากอำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร

21.   พละวัต ตันศิริ กลุ่มที่ 12 จากอำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย

22.   วิวรรธน์ ไกรพิสิทธิ์กุล กลุ่มที่ 16 จากอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

23.   ธวัช สุระบาล กลุ่มที่ 1 จากอำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง

24.   ชวภณ วัธนเวคิน กลุ่มที่ 7 จากอำเภอเกาะกูด จังหวัดตราด

25.   ธัชชญาณ์ณัช เจียรธนัทกานนท์ จากอำเภอกลุ่มที่ 13 เกาะกูด จังหวัดตราด

26.   พิศูจน์ รัตนวงศ์ กลุ่มที่ 11 จากอำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด

27.   โชคชัย กิตติธเนศวร กลุ่มที่ 19 จากอำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก

28.   สมชาย นุ่มพูล กลุ่มที่ 5 จากอำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก

29.   อะมัด อายุเคน กลุ่มที่ 16 จากอำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม

30.   สมหมาย ศรีจันทร์ กลุ่มที่ 15 จากอำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม

31.   สากล ภูลศิริกุล กลุ่มที่ 17 จากอำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม

32.   สิทธิกร ธงยศ กลุ่มที่ 19 จากอำเภอบ้านแพง จังหวัดนครพนม

33.   พล.ต.ท. วันไชย เอกพรพิชญ์ กลุ่มที่ 2 จากอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช

34.   ณัฏฐินีภรณ์ จันทรโณทัย กลุ่มที่ 14 จากอำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา

35.   เอมอร ศรีกงพาน กลุ่มที่ 16 จากอำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา

36.   ณัฐกิตติ์ หนูรอด กลุ่มที่ 20 จากอำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช

37.   เตชสิทธิ์ ชูแก้ว กลุ่มที่ 6 จากอำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช

38.   สมศักดิ์ จันทร์แก้ว กลุ่มที่ 5 จากอำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช

39.   เศก จุลเกษร กลุ่มที่ 2 จากอำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์

40.   ปิยะพัฒน์ สุภาวรรณ กลุ่มที่ 7 จากอำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี

41.   อมรศักดิ์ กิจธนานันท์ กลุ่มที่ 7 จากอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

42.   มังกร ศรีเจริญกูล กลุ่มที่ 10 จากอำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน

43.   วาสนา ยศสอน กลุ่มที่ 14 จากอำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน

44.   สุมิตรา จารุกำเนิดกนก กลุ่มที่ 9 จากอำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ

45.   พิมาย คงทัน กลุ่มที่ 5 จากอำเภอปากคาด จังหวัดบึงกาฬ

46.   ปราณีต เกรัมย์ กลุ่มที่ 16 จากอำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์

47.   ชาญชัย ไชยพิศ กลุ่มที่ 17 จากอำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์

48.   วลีรักษ์ พัชระเมธาพัฒน์ กลุ่มที่ 20 จากอำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์

49.   ประพนธ์ ตั้งศรีเกียรติกุล กลุ่มที่ 4 จากอำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์

50.   จตุพร เรียงเงิน กลุ่มที่ 7 จากอำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์

51.   อภิชาติ งามกมล กลุ่มที่ 1 จากอำเภอรอง จังหวัดบุรีรัมย์

52.   พล.ต.ต. ฉัตรวรรษ แสงเพชร กลุ่มที่ 2 จากอำเภอรอง จังหวัดบุรีรัมย์

53.   ประไม หอมเทียม กลุ่มที่ 17 จากอำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์

54.   ปวีณา สาระรัมย์ กลุ่มที่ 5 จากอำเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์

55.   พรเพิ่ม ทองศรี กลุ่มที่ 13 จากอำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์

56.   ฤชุ แก้วลาย กลุ่มที่ 4 จากอำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์

57.   วรรษมนต์ คุณแสน กลุ่มที่ 9 จากอำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์

58.   ศุภชัย กิตติภูติกุล กลุ่มที่ 18 จากอำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์

59.   น.ต. วุฒิพงศ์ พงศ์สุวรรณ กลุ่มที่ 13 จากอำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี

60.   มาเรีย เผ่าประทาน กลุ่มที่ 6 จากอำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

61.   กิติศักดิ์ หมื่นศรี กลุ่มที่ 19 จากอำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี

62.   ชูชีพ เอื้อการณ์ กลุ่มที่ 20 จากอำเภอศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี

63.   โสภณ ผาสุข กลุ่มที่ 3 จากอำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี

64.   นิฟาริด ระเด่นอาหมัด กลุ่มที่ 3 จากอำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี

65.   พล.ต.ต. สุนทร ขวัญเพ็ชร กลุ่มที่ 2 จากอำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี

66.   เข็มรัตน์ สุรเมธีมาณพ กลุ่มที่ 7 จากอำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

67.   บุญชอบ สระสมทรัพย์ กลุ่มที่ 4 จากอำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

68.   จารุณี ฤกษ์ปราณี กลุ่มที่ 14 จากอำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

69.   เจียระนัย ตั้งกีรติ กลุ่มที่ 14 จากอำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

70.   ชินโชติ แสงสังข์ กลุ่มที่ 7 จากอำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

71.   นิเวศ พันธ์เจริญวรกุล กลุ่มที่ 15 จากอำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

72.   ขจรศักดิ์ ศรีวิราช กลุ่มที่ 19 จากอำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา

73.   ชาญวิศว์ บรรจงการ กลุ่มที่ 13 จากอำเภอเมืองพังงา จังหวัดพังงา

74.   นิสิทธิ์ ปนกลิ่น กลุ่มที่ 6 จากอำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา

75.   วิรัตน์ รักษ์พันธ์ กลุ่มที่ 20 จากอำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

76.   ไพบูลย์ ณะบุตรจอม กลุ่มที่ 8 จากอำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร

77.   เบ็ญจมาศ อภัยทอง กลุ่มที่ 9 จากอำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร

78.   เอนก วีระพจนานันท์ กลุ่มที่ 19 จากอำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร

79.   วีระพันธ์ สุวรรณนามัย กลุ่มที่ 4 จากอำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก

80.   เกศกมล เปลี่ยนสมัย กลุ่มที่ 19 จากอำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี

81.   กัมพล สุภาแพ่ง กลุ่มที่ 11 จากอำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี

82.   พ.อ. หญิง ธณตศกร บุราคม กลุ่มที่ 14 จากอำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี

83.   วราภัสร์ ไพพรรณรัตน์ กลุ่มที่ 12 จากอำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี

84.   สุทิน แก้วพนา กลุ่มที่ 3 จากอำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่

85.   นิพนธ์ เอกวานิช กลุ่มที่ 9 จากอำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต

86.   พงษ์ศักดิ์ เกิดวงศ์บัณฑิต กลุ่มที่ 12 จากอำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต

87.   ภมร เชาว์ศิริกุล กลุ่มที่ 20 จากอำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร

88.   จุฑารัตน์ นิลเปรม กลุ่มที่ 14 จากอำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร

89.   มยุรี โพธิแสน กลุ่มที่ 14 จากอำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร

90.   สมดุล บุญไชย กลุ่มที่ 15 จากอำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร

91.   นฤพล สุคนธชาติ กลุ่มที่ 16 จากอำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา

92.   พิชาญ พรศิริประทาน กลุ่มที่ 9 จากอำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา

93.   ฉลอง ทองนะ กลุ่มที่ 2 จากอำเภอเบตง จังหวัดยะลา

94.   จิระศักดิ์ ชูความดี กลุ่มที่ 8 จากอำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง

95.   นิรุตติ สุทธินนท์ กลุ่มที่ 17 จากอำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง

96.   ว่าที่พันตรี กรพด รุ่งหิรัญวัฒน์ กลุ่มที่ 18 จากอำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง

97.   โชติชัย บัวดิษ กลุ่มที่ 6 จากอำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง

98.   สัมพันธ์ ชัยวิเศษจินดา กลุ่มที่ 8 จากอำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี

99.   ชญาน์นันท์ ติยะตระการชัย กลุ่มที่ 9 จากอำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี

100.                       ภาวนา ว่องอมรนิธิ กลุ่มที่ 11 จากอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี

101.                       พ.ต.ท. สง่า ส่งมหาชัย กลุ่มที่ 10 จากอำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง

102.                       วิเชียร ชัยสถาพร กลุ่มที่ 16 จากอำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน

103.                       วร หินดี กลุ่มที่ 1 จากอำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย

104.                       ณรงค์ จิตราช กลุ่มที่ 12 จากอำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย

105.                       ประกาสิทธิ์ พลซา กลุ่มที่ 7 จากอำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย

106.                       ปุณณภา จินดาพงษ์ กลุ่มที่ 12 จากอำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย

107.                       วิภาพร ทองโสด กลุ่มที่ 7 จากอำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย

108.                       มานะ มหาสุวีระชัย กลุ่มที่ 13 จากอำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ

109.                       กิตติพันธ์ อนันตกูลจิรโชติ กลุ่มที่ 15 จากอำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ

110.                       ธนชัย แซ่จึง กลุ่มที่ 12 จากอำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ

111.                       วิวัฒน์ รุ้งแก้ว กลุ่มที่ 3 จากอำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ

112.                       อิสระ บุญสองชั้น กลุ่มที่ 6 จากอำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ

113.                       กมล รอดคล้าย กลุ่มที่ 3 จากอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

114.                       ไชยยงค์ มณีรุ่งสกุล กลุ่มที่ 18 จากอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

115.                       พิบูลย์อัฑฒ์ หฤหรรษ์ปราการ กลุ่มที่ 16 จากอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

116.                       โสภณ มะโนมะยา กลุ่มที่ 10 จากอำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา

117.                       อารีย์ บรรจงธุระการ กลุ่มที่ 18 จากอำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล

118.                       พ.ต.อ. กอบ อัจนากิตติ กลุ่มที่ 20 จากอำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล

119.                       สมศรี อุรามา กลุ่มที่ 9 จากอำเภอละงู จังหวัดสตูล

120.                       สามารถ รังสรรค์ กลุ่มที่ 3 จากอำเภอละงู จังหวัดสตูล

121.                       สุวิทย์ ขาวดี กลุ่มที่ 11 จากอำเภอละงู จังหวัดสตูล

122.                       พ.ต.ท. สุริยา บาราสัน กลุ่มที่ 2 จากอำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล

123.                       ศาสตราจารย์ ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ กลุ่มที่ 15 จากอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ

124.                       ตวงคุณ ทรงธรรมวัฒน์ กลุ่มที่ 12 จากอำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม

125.                       พล.ต.ท. ยุทธนา ไทยภักดี กลุ่มที่ 20 จากอำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม

126.                       กัมพล ทองชิว กลุ่มที่ 13 จากอำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร

127.                       ชวพล วัฒนพรมงคล กลุ่มที่ 16 จากอำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร

128.                       ศุภโชค ศาลากิจ กลุ่มที่ 17 จากอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม

129.                       ชีวะภาพ ชีวะธรรม กลุ่มที่ 8 จากอำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี

130.                       ภาณุพงษ์ เต็งวงษ์วัฒนะ กลุ่มที่ 17 จากอำเภอท่าช้าง จังหวัดสิงห์บุรี

131.                       นงลักษณ์ ก้านเขียว กลุ่มที่ 4 จากอำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย

132.                       พล.อ. สวัสดิ์ ทัศนา กลุ่มที่ 1 จากอำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย

133.                       จำลอง อนันตสุข กลุ่มที่ 18 จากอำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี

134.                       ชูชาติ อินสว่าง กลุ่มที่ 5 จากอำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี

135.                       ศรายุทธ ยิ้มยวน กลุ่มที่ 15 จากอำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี

136.                       นพดล พริ้งสกุล กลุ่มที่ 13 จากอำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี

137.                       วิรัตน์ ธรรมบำรุง กลุ่มที่ 6 จากอำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี

138.                       อัจฉรพรรณ หอมรส กลุ่มที่ 14 จากอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี

139.                       กฤษณุ เหลืองพิบูลกิจ กลุ่มที่ 15 จากอำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์

140.                       พล.ต.ท. บุญจันทร์ นวลสาย กลุ่มที่ 2 จากอำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์

141.                       สุพัตรชัย เตียวเจริญโสภา กลุ่มที่ 13 จากอำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์

142.                       สุพรรณ์ ศรชัย กลุ่มที่ 18 จากอำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์

143.                       รุจิภาส มีกุศล กลุ่มที่ 10 จากอำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์

144.                       สมพร วรรณชาติ กลุ่มที่ 7 จากอำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์

145.                       สาลี สิงห์คำ กลุ่มที่ 5 จากอำเภอโนนนารายณ์ จังหวัดสุรินทร์

146.                       วิรัตน์ ลิ้มสุวัฒน์ กลุ่มที่ 8 จากอำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย

147.                       วุฒิชาติ กัลยาณมิตร กลุ่มที่ 11 จากอำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู

148.                       สรชาติ สุวรรณพรหม กลุ่มที่ 13 จากอำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู

149.                       สุเทพ สังข์วิเศษ กลุ่มที่ 3 จากอำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง

150.                       นิทัศน์ อารีย์วงศ์สกุล กลุ่มที่ 10 จากอำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง

151.                       ขวัญชัย แสนหิรัณย์ กลุ่มที่ 13 จากอำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง

152.                       วีระศักดิ์ วิจิตร์แสงศรี กลุ่มที่ 1 จากอำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง

153.                       สืบศักดิ์ แววแก้ว กลุ่มที่ 2 จากอำเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทอง

154.                       แดง กองมา กลุ่มที่ 10 จากอำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ

155.                       เพลินจิต ขันแก้ว กลุ่มที่ 4 จากอำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ

156.                       สมทบ ถีระพันธ์ กลุ่มที่ 3 จากอำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ

157.                       สมพาน พละศักดิ์ กลุ่มที่ 10 จากอำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ

158.                       สุวิช จำปานนท์ กลุ่มที่ 16 จากอำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ

159.                       อลงกต วรกี กลุ่มที่ 20 จากอำเภอเมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี

160.                       จรุณ กลิ่นตลบ กลุ่มที่ 6 จากอำเภอสว่างอารมณ์ จังหวัดอุทัยธานี

161.                       วันชัย แข็งการเขตร กลุ่มที่ 4 จากอำเภอทัพทัน จังหวัดอุทัยธานี

162.                       สายฝน กองแก้ว กลุ่มที่ 17 จากอำเภอหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี

163.                       สุทนต์ กล้าการขาย กลุ่มที่ 18 จากอำเภอหนองขาหย่าง จังหวัดอุทัยธานี

164.                       ธารนี ปรีดาสันติ์ กลุ่มที่ 12 จากอำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี

สว. ที่ลงมติไม่เห็นด้วย 21 คน ได้แก่

1.       อภินันท์ เผือกผ่อง สว. กลุ่มที่ 1 จากอำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช

2.       เปรมศักดิ์ เพียยุระ สว. กลุ่มที่ 4 จากอำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น

3.       กัลยา ใหญ่ประสาน สว. กลุ่มที่ 5 จากอำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน

4.       เศรณี อนิลบล สว. กลุ่มที่ 6 จากอำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์

5.       แล ดิลกวิทยรัตน์ สว. กลุ่มที่ 7 จากเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

6.       เกียรติชาย ไมตรีวงษ์ สว. กลุ่มที่ 8 จากอำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ

7.       มณีรัฐ เขมะวงค์ สว. กลุ่มที่ 9 จากอำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย

8.       นรเศรษฐ์ ปรัชญากร สว. กลุ่มที่ 9 จากเขตคันนายาว กรุงเทพมหานคร

9.       ประทุม วงศ์สวัสดิ์ สว. กลุ่มที่ 11 จากอำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี

10.   กมล สุขคะสมบัติ สว. กลุ่มที่ 11 จากอำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี

11.   วีรยุทธ สร้อยทอง สว. กลุ่มที่ 12 จากอำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา

12.   รัชนีกร ทองทิพย์ สว. กลุ่มที่ 16 จากอำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา

13.   ประภาส ปิ่นตบแต่ง สว. กลุ่มที่ 17 จากอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม

14.   ประหยัด จตุพรพิทักษ์กุล สว. กลุ่มที่ 17 จากอำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่

15.   อังคณา นีละไพจิตร สว. กลุ่มที่ 17 จากอำเภอเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร

16.   นันทนา นันทวโรภาส สว. กลุ่มที่ 18 จากอำเภอเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

17.   ชิบ จิตนิยม สว. กลุ่มที่ 18 จากอำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี

18.   เทวฤทธิ์ มณีฉาย สว. กลุ่มที่ 18 จากอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม

19.   พรชัย วิทยเลิศพันธุ์ สว. กลุ่มที่ 19 เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร

20.   นวลนิจ หงส์วิวัฒน์ สว. กลุ่มที่ 19 จากอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี

21.   สุนทร พฤกษพิพัฒน์ สว. กลุ่มที่ 19 จากอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

สว. ที่ลงมติงดออกเสียง 9 คน ได้แก่

1.       มงคล สุระสัจจะ ประธานวุฒิสภา  สว. กลุ่มที่ 1 จากอำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์

2.       พล.อ.เกรียงไกร ศรีรักษ์ รองประธานวุฒิสภา คนที่หนึ่ง สว. กลุ่มที่ 1 จากอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี

3.       พล.ต.ต.อังกูร คล้ายคลึง สว. กลุ่มที่ 2 จากอำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก

4.       ปริญญา วงษ์เชิดขวัญ สว. กลุ่มที่ 3 จากอำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร

5.       นิชาภา สุวรรณนาค สว. กลุ่มที่ 5 จากอำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

6.       ปฏิมา จีระแพทย์ สว. กลุ่มที่ 8 จากเขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร

7.       นิคม มากรุ่งแจ้ง สว. กลุ่มที่ 10 จากอำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร

8.       ณภพ ลายวิเศษกุล สว. กลุ่มที่ 11 จากอำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี

9.       ประเทือง มนตรี สว. กลุ่มที่ 15 จากอำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง

สส. ภูมิใจไทย มองต่าง เห็นด้วยใช้เสียงข้างมากสองชั้น ชี้คล้ายร่างที่ภูมิใจไทยเสนอ

หลังจากเสียงข้างมากของ สว. ลงมติแก้ไขร่างพ.ร.บ.ประชามติฯ เป็นเหตุให้ต้องส่งร่างกลับไปยังสภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้ลงมติว่าเห็นชอบกับการแก้ไขเพิ่มเติมของวุฒิสภาหรือไม่ ตามรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 137 (3) ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรเมื่อ 9 ตุลาคม 2567 สภาผู้แทนราษฎรลงมติ “ไม่เห็นชอบ” กับการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าว ด้วยคะแนนเสียง เห็นชอบ 0 เสียง ไม่เห็นชอบ 348 เสียง งดออกเสียง 65 เสียง ไม่ลงคะแนนเสียง 1 เสียง ส่งผลให้ต้องตั้งคณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพ.ร.บ.ประชามติฯ ต่อ จากจำนวนผู้ได้รับการเสนอชื่อจากสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา จำนวนเท่าๆ กัน หลังจากกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาร่างแล้วเสร็จจะต้องส่งกลับให้สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาลงมติว่าเห็นชอบกับร่างที่ผ่านการพิจารณาของกรรมาธิการหรือไม่

จากการลงมติดังกล่าวที่เสียงของ สส. ไม่ว่าจะพรรคร่วมรัฐบาลหรือพรรคฝ่ายค้านต่างเห็นพ้องต้องกันว่าไม่เห็นด้วยที่ สว. แก้ไขนำเงื่อนไขเสียงข้างมากสองชั้นกลับมาใช้กับการทำประชามติบางกรณี เมื่อดูผลการลงมติรายบุคคล พบว่า พรรคภูมิใจไทยลงมติแตกต่างออกไป โดยสส. พรรคภูมิใจไทย 63 คนพร้อมใจกันโหวต “งดออกเสียง” ด้านภราดร ปริศนานันทกุล รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่สอง ซึ่งนั่งเป็นประธานในที่ประชุมขณะพิจารณาร่างพ.ร.บ.ประชามติฯ ด้วย เป็นหนึ่งเสียงที่ลงมติ ไม่ลงคะแนนเสียง ขณะที่เสียงงดออกเสียงอีกสองเสียง มาจาก สส. พรรคไทยสร้างไทย คือ หรั่ง ธุระพล และอดิศักดิ์ แก้วมุงคุณทรัพย์

ไม่เพียงแต่ผลการลงมติที่แตกต่างจากเสียงข้างมากส่วนใหญ่ของสภา แต่จากภาพรวมการอภิปรายในวันที่ 9 ตุลาคม 2567 สส. จากพรรคภูมิใจไทยสองคน คือมัลลิกา จิระพันธุ์วาณิช และแนน บุณย์ธิดา สมชัย ต่างก็อภิปรายไปในทิศทางว่าเห็นด้วยกับการใช้เกณฑ์เสียงข้างมากสองชั้นโดยเฉพาะในเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยตอนหนึ่งของการอภิปราย มัลลิการะบุว่า การปรับมาใช้เกณฑ์เสียงข้างมากสองขั้น “คล้าย” กับร่างพ.ร.บ.ประชามติฯ ของพรรคภูมิใจไทยที่เคยเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรในวาระหนึ่งด้วย

สว. ยื้อเวลา ชิงงดประชุมเลี่ยงนัดตั้งกรรมาธิการร่วม

หลังการลงมติเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2567 ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรกำหนดจำนวนกรรมาธิการร่วมกันไว้ 28 คน แบ่งเป็นเป็นผู้ได้รับการเสนอชื่อจากวุฒิสภา 14 คน และผู้ได้รับการเสนอชื่อจากสภาผู้แทนราษฎร 14 คน โดยฝั่งสภาผู้แทนราษฎรได้กำหนดรายชื่อกรรมาธิการร่วมทั้ง 14 คนแล้ว จึงเหลือฝั่งวุฒิสภาที่ต้องนัดหมายประชุมเพื่อกำหนดรายชื่อกรรมาธิการ

โดยวุฒิสภากำหนดวันประชุมไว้ทุกวันจันทร์และอังคาร อย่างไรก็ดี วันจันทร์ที่ 14 ตุลาคม 2567 เป็นวันหยุดราชการ ประธานวุฒิสภาจึงสั่งงดการประชุมวันดังกล่าว เท่ากับว่า ยังเหลือวันที่สามารถนัดหมายประชุมได้คือวันที่ 15 ตุลาคม 2567

อย่างไรก็ดี ประธานวุฒิสภา ก็สั่งงดประชุมวุฒิวภาวันที่ 15 ตุลาคม 2567 ด้วย โดยในหนังสืองดประชุมระบุว่า “ไม่มีเรื่องที่สมควรจะบรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุม”  

สมัยประชุมสภากำลังจะหมดในวันที่ 30 ตุลาคม 2567 และจะเปิดสมัยประชุมอีกทีในวันที่ 12 ธันวาคม 2567 วุฒิสภาจึงเหลือเวลาในการประชุมอีกสี่วันเท่านั้นเพื่อพิจารณาเรื่องนี้ คือวันที่ 21-22 และ 28-29 ตุลาคม 2567 หากวุฒิสภายื้อเวลาไม่กำหนดชื่อกรรมาธิการร่วมกัน ก็จะยิ่งทำให้กระบวนการพิจารณาร่างพ.ร.บ.ประชามติฯ ล่าช้ามากขึ้นไปอีก และส่งผลต่อการทำประชามติเกี่ยวกับการเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ ตามแผนของรัฐบาลที่ตั้งเป้าจะทำประชามติพร้อมไปกับการเลือกตั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2568 อาจเป็นไปไม่ได้

อย่างไรก็ดี หนทางสู่รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ยังไม่ปิดตายเสียทีเดียว เพราะรัฐบาลและรัฐสภายังมีทางเลือกสุดท้ายที่สามารถเดินหน้าสู่รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้เร็วขึ้น คือ เริ่มกระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ โดยพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 256 ให้มีการจัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ชุดใหม่ขึ้นมายกร่างรัฐธรรมนูญ แล้วค่อยทำประชามติภายหลัง ซึ่งจะเป็นการทำประชามติเพียงสองครั้ง ไม่ต้องทำประชามติครั้งแรก และสามารถเริ่มกระบวนการนี้โดยไม่ต้องรอความเห็นของ สว. ในการพิจารณาร่างพ.ร.บ.ประชามติฯ

ไฟล์แนบ

📍ร่วมรณรงค์

JOIN : ILAW CLUB

ช่องทางการติดตาม

FACEBOOK PAGE

บทความยอดนิยม

วิดีโอแนะนำ

Amnestypeople.com
Join iLaw club
Facebook Fanpage