พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน ประชาชนเสนอกฎหมายได้สำเร็จ?

“การศึกษาคือรากฐานของชีวิต” ในชีวิตของคนเราปฎิเสธไม่ได้ว่าการศึกษานั้นมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะการศึกษาช่วยให้คนคนหนึ่งมีศักยภาพในการทำประโยชน์ต่างๆ ซึ่งก่อให้เกิดการพัฒนา ดังนั้นรัฐจึงได้เข้ามาดูแลเรื่องของการศึกษาให้กับประชาชน โดยเห็นได้จากการที่รัฐได้บรรจุเรื่องสิทธิในการศึกษา ไว้ในรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 50 ดังนี้

 
“มาตรา 43 บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดย ไม่เก็บค่าใช้จ่าย”
 
ด้วยจำนวนประชากรที่เพิ่มสูงมากขึ้นและความซับซ้อนของสังคม ทำให้การศึกษาในระบบที่รัฐจัดให้ประชาชนอาจไม่เพียงพอต่อจำนวนประชากร หรือ อาจมีมาตรฐานทางการศึกษาและแนวทางการจัดการศึกษาที่ไม่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ปกครอง เอกชนจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญในการจัดตั้งโรงเรียนซึ่งเป็นทางเลือกให้กับประชาชน ดังนั้นรัฐจึงต้องออกกฎหมายเพื่อเข้ามาควบคุมดูแลการศึกษาที่จัดโดยเอกชนด้วย โดยในสมัยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้ประกาศใช้ พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550 
 
แต่หลังจากกฎหมายฉบับนี้ประกาศใช้มีข้อวิพากษ์วิจารณ์จากผู้ประกอบการ ครู และลูกจ้างในโรงเรียนเอกชน ว่ามีบทบัญญัติหลายประการที่ทำให้โรงเรียนเอกชนที่ประกอบกิจการอยู่ก่อนแล้วต้องเสียหายอย่างไม่เป็นธรรม ทำให้กลุ่มครูและผู้บริหารโรงเรียนเอกชนต้องลุกขึ้นมาแสดงออก โดยการเข้าชื่อกัน 10,000 ชื่อเพื่อเสนอแก้ไขพระราชบัญญัติ โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2550 ฉบับนี้ 
 
โดยเหตุผลของการเข้าชื่อเสนอกฎหมายครั้งนี้ ระบุไว้ว่า
 
“เนื่องจากผู้ประกอบกิจการโรงเรียนเอกชนที่ก่อตั้งขึ้นก่อนพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ.2550 ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการบังคับใช้พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ.2550 และก่อนออกกฎหมายบังคับใช้ รัฐบาลมิได้ทำประชาพิจารณ์ให้ประชาชนและผู้ประกอบกิจการโรงเรียนเอกชนซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงให้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นแต่อย่างใด ดังนั้นเมื่อกฎหมายมีผลบังคับใช้จึงทำให้ผู้ประกอบกิจการโรงเรียนเอกชน ครู และบุคลากรที่เกี่ยวข้องต้องเสียสิทธิโดยไม่เต็มใจหลายประการ ทำให้เกิดความเดือดร้อนและอาจทำให้ไม่สามารถประกอบกิจการโรงเรียนเอกชนต่อไปได้หรือล้มละลาย…..”
 
 
เนื้อหาของร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ เป็นการแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550 โดยนายยืนยง จิรัฏฐิติกาล ผู้แทนครูเอกชนในกรรมการคุรุสภา พร้อมประชาชนอีกกว่า 12,000 คน ได้เข้าชื่อเสนอต่อประธานรัฐสภา โดยมีข้อเสนอที่สำคัญดังนี้
 
  • ยกเว้นค่าธรรมเนียมและภาษีทุกชนิดในการโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดิน สิ่งปลูกสร้างและทรัพย์สินซึ่งใช้ในกิจการของโรงเรียนให้แก่โรงเรียน รวมถึงยกเว้นในกรณีที่โอนกลับคืนให้แก่ผู้รับใบอนุญาตจัดตั้งโรงเรียนเมื่อโรงเรียนเลิกกิจการด้วย (แก้ไขมาตรา 27)  เหตุเพราะว่า ส่วนใหญ่เจ้าของโรงเรียนมักใช้ทรัพย์สินของตนในการจัดตั้งโรงเรียน จึงต้องเสียภาษีโดยไม่จำเป็นเมื่อนำทรัพย์สินมาใช้กับกิจการของโรงเรียน และเดิมพ.ร.บ. โรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550 ยกเว้นให้เฉพาะค่าธรรมเนียมและภาษีที่กฎหมายกำหนดไว้เท่านั้น ก่อให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติ โดยผู้โอนถูกเรียกเก็บภาษีสิ่งปลูกสร้างและทรัพย์สิน โดยอ้างว่าเป็นภาษีที่กฎหมายไม่ได้บัญญัติไว้ ดังนั้นจึงเสนอแก้ไขเป็นยกเว้น “ภาษีทุกชนิด”
  • ให้โรงเรียนเอกชนในระดับอาชีวศึกษา อาจใช้คำว่า “วิทยาลัย” (College) ได้เช่นเดียวกับสถานศึกษาอาชีวะของภาครัฐ ซึ่งจะมีผลให้นักศึกษาสามารถเทียบโอนรายวิชากับสถานศึกษาอื่นในระดับ College ของต่างประเทศได้ (แก้ไขมาตรา 28)
  • ให้ยกเลิก การกำหนดเพดานผลตอบแทนของผู้ประกอบกิจการโรงเรียนเอกชน (ยกเลิกมาตรา 32 วรรคสอง)
  • ยกเลิกข้อกำหนดที่เคยกำหนดให้จัดสรรผลกำไรของโรงเรียนเอกชนให้แก่ผู้รับใบอนุญาตไม่เกินร้อยละ 40 (ยกเลิกมาตรา 45(3)) 
  • กำหนดให้เฉพาะผู้อำนวยการ ครู บุคลากรทางการศึกษาไม่อยู่ภายใต้กฎหมายคุ้มครองแรงงาน แรงงานสัมพันธ์ และสวัสดิการสังคม ทั้งนี้เพื่อให้ลูกจ้างอื่นๆ เช่น พนักงานขับรถ แม่ครัว คนงาน ภารโรง เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดในโรงเรียนยังได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายแรงงาน เช่น ได้สิทธิประกันสังคม ได้ประกันอัตราค่าจ้างขั้นต่ำและวันหยุด เป็นต้น (แก้ไขมาตรา 86)
 
ร่างพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชนที่มาจากการเข้าชื่อของประชาชน ถูกยื่นเข้าสู่การพิจารณารัฐสภาเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2551   และผ่านกระบวนการพิจารณาของรัฐสภาโดยมีตัวแทนของผู้เสนอกฎหมายเข้าไปเป็นกรรมาธิการ จนกระทั่งประกาศใช้เป็นกฎหมายเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2554 ใช้ชื่อว่า “พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน (ฉบับที่2) พ.ศ. 2554” ถือเป็นกฎหมายที่มาจากการเข้าชื่อเสนอกฎหมายโดยประชาชนฉบับหนึ่งที่สามารถผลักดันจนถึงปลายทาง คือ ออกเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับได้จริง
 
แต่พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน (ฉบับที่2) พ.ศ. 2554 ที่ประกาศใช้ก็ไม่ได้มีเนื้อหาเหมือนกันทุกประการกับร่างฉบับที่ประชาชนเข้าชื่อกันเสนอต่อรัฐสภา เพราะในชั้นการพิจารณาได้ถูกแก้ไขในหลายประเด็นให้แตกต่างไป แต่ข้อเสนอส่วนใหญ่ของภาคประชาชนก็ยังคงอยู่ 
 
ดูตารางเปรียบเทียบ ระหว่าง พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550, ร่างพ.ร.บ.โรงเรียนเอกชนที่เสนอโดยประชาชน และพ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2554 ในประเด็นสำคัญๆ ที่มีการเสนอให้แก้ไข 
ประเด็น พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550 ร่างพ.ร.บ.โรงเรียนเอกชนที่เสนอโดยประชาชน พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2554
นิยามของ “ผู้อนุญาต” “ผู้อนุญาต” หมายความว่า เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนหรือผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ซึ่งเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนมอบหมาย  เสนอเปลี่ยนจาก ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เป็น ผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนมอบหมาย 
ผู้อนุญาต หมายถึง
(๑) เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
(๒) ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาซึ่งเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนมอบหมาย หรือ
(๓) ผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนมอบหมาย
องค์กรผู้ควบคุมดูแลโรงเรียนเอกชนในต่างจังหวัด 
มาตรา ๑๕ เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมการจัดการศึกษาเอกชน ในจังหวัดหนึ่งนอกจากกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ให้มีกลุ่มส่งเสริมสถานศึกษาเอกชนเป็นส่วนราชการในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเขตใดเขตหนึ่ง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษาเอกชนที่อยู่ในจังหวัดนั้น 
 
เสนอเปลี่ยนเป็น มาตรา ๑๕ เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมการจัดการศึกษาเอกชน ในจังหวัดหนึ่งนอกจากกรุงเทพมหานครให้มีสำนักส่งเสริมโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน  มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษาเอกชนที่อยู่ในจังหวัดนั้น  ไม่ผ่านการพิจารณา
การยกเว้นค่าธรรมเนียมกรณีโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน มาตรา ๒๗ การโอนกรรมสิทธิ์และสิทธิครอบครองในที่ดินให้แก่โรงเรียนในระบบเพื่อประโยชน์ในการจัดการศึกษา ให้ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมทั้งปวงตามประมวลกฎหมายที่ดินและภาษีอากรตามที่จะได้มีพระราชกฤษฎีกาออกตามประมวลรัษฎากรกำหนดไว้  เสนอเปลี่ยนเป็น มาตรา ๒๗ การโอนกรรมสิทธิ์และ สิทธิครอบครองในที่ดิน สิ่งปลูกสร้างพร้อมทรัพย์สินให้แก่โรงเรียนในระบบเพื่อประโยชน์ในการจัดการศึกษา ให้ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมและภาษีทุกชนิดอันเกิดจากการโอนกรรมสิทธิ์ดังกล่าว รวมถึงการโอนกรรมสิทธิ์กลับคืนให้กับผู้รับใบอนุญาตเมื่อโรงเรียนในระบบเลิกกิจการ 
มาตรา ๒๗ การโอนกรรมสิทธิ์ สิทธิครอบครองในที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นส่วนควบของที่ดินตามมาตรา ๒๕ (๑) รวมทั้งทรัพย์สินใด ๆ ที่จะต้องใช้ในกิจการของโรงเรียนให้แก่โรงเรียนในระบบเพื่อประโยชน์ในการจัดการศึกษา ให้ผู้โอนและผู้รับโอนได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสงหาริมทรัพย์ และได้รับยกเว้นภาษีอากรตามที่จะได้มีพระราชกฤษฎีกาออกตามประมวลรัษฎากรกำหนดไว้ 
โรงเรียนระดับอาชีวะศึกษาใช้คำว่า "วิทยาลัย" ได้ มาตรา ๒๘ ชื่อของโรงเรียนในระบบต้องใช้อักษรไทยขนาดใหญ่พอสมควรติดไว้ที่บริเวณโรงเรียนในระบบ ณ ที่ซึ่งเห็นได้ง่าย โดยต้องมีคำว่า “โรงเรียน” ประกอบชื่อด้วย ในกรณีที่มีอักษรต่างประเทศกำกับ ต้องไม่มีขนาดใหญ่กว่าอักษรไทย  เสนอเพิ่มวรรคสอง ในมาตรา 28 ว่า โรงเรียนเอกชนระดับอาชีวศึกษาอาจใช้คำว่า “วิทยาลัย” เพิ่มข้อความใน มาตรา 28 วรรคแรก ว่า และสำหรับโรงเรียนในระบบที่จัดการศึกษาประเภทอาชีวศึกษาทั้งระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพและระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงอาจใช้คำว่า “วิทยาลัยอาชีวศึกษา” หรือ “วิทยาลัยเทคโนโลยี” ประกอบชื่อแทนคำว่า “โรงเรียน” ก็ได้
ยกเลิกการกำหนดเพดานผลตอบแทนของผู้ประกอบการโรงเรียนเอกชน
 
มาตรา ๓๒ การกำหนดค่าธรรมเนียมการศึกษาและค่าธรรมเนียมอื่นของโรงเรียนในระบบให้คำนึงถึงค่าใช้จ่ายในการจัดการการศึกษา ค่าตอบแทนครูที่มีความรู้และความสามารถที่ดี และค่าใช้จ่ายอื่นซึ่งรวมถึงค่าใช้จ่ายในการขยายกิจการและผลตอบแทน
ผลตอบแทนตามวรรคหนึ่งต้องไม่เกินอัตราที่คณะกรรมการกำหนด

ยกเลิก ววรคสอง ของมาตรา 32 

ยกเลิก ววรคสอง ของมาตรา 32 
ยกเลิกการกำหนดว่า ผลกำไรของโรงเรียนเอกชนต้องจัดสรรให้แก่ผู้รับใบอนุญาตไม่เกินร้อยละสี่สิบ 
 
มาตรา ๔๕ ผลกำไรที่ได้จากการดำเนินกิจการของโรงเรียนในระบบในแต่ละปี ให้คณะกรรมการบริหารจัดสรร ดังต่อไปนี้ 
(๓) จัดสรรให้แก่ผู้รับใบอนุญาตไม่เกินร้อยละสี่สิบ 
เสนอเปลี่ยนเป็น มาตรา ๔๕ (๓) จัดสรรให้แก่ผู้รับใบอนุญาตไม่น้อยกว่าร้อยละสี่สิบ  ยกเลิกมาตรา๔๔ และ ๔๕ ทั้งมาตรา
ยกเลิกการจัดสรรเงินเข้ากองทุนอื่น
มาตรา ๔๔  ให้โรงเรียนในระบบจัดให้มีกองทุนสำรอง และจะจัดให้มีกองทุนอื่นตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้โดยเฉพาะตามที่คณะกรรมการบริหารกำหนดด้วยก็ได้ 
มาตรา ๔๕ ผลกำไรที่ได้จากการดำเนินกิจการของโรงเรียนในระบบในแต่ละปี ให้คณะกรรมการบริหารจัดสรร ดังต่อไปนี้ 
(๔) ในกรณีที่มีกองทุนอื่น ให้จัดสรรกำไรส่วนที่เหลือเข้ากองทุนอื่นนั้น ในกรณีที่ไม่มีกองทุนอื่นให้จัดสรรกำไรส่วนที่เหลือเข้ากองทุนสำรอง 
เสนอให้ยกเลิก มาตรา ๔๕ (๔)  ยกเลิกมาตรา๔๔ และ ๔๕ ทั้งมาตรา
ระยะเวลาในการจัดทำงบการเงินของโรงเรียนเพื่อให้ตรวจสอบ มาตรา ๔๗  ให้คณะกรรมการบริหารดำเนินการให้มีการตรวจสอบบัญชีของโรงเรียนในระบบเพื่อตรวจสอบและแสดงความเห็นต่องบการเงินของโรงเรียนในระบบภายในหกสิบวันนับแต่วันสิ้นรอบปีบัญชี  ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๔๗ ให้คณะกรรมการบริหารดำเนินการให้มีการตรวจสอบบัญชีของโรงเรียนในระบบ เพื่อตรวจสอบและแสดงความเห็นต่องบการเงินของโรงเรียนในระบบภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันสิ้นรอบปีบัญชี  ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด  มาตรา ๔๗ ให้คณะกรรมการบริหารดำเนินการให้มีการตรวจสอบบัญชีของโรงเรียนในระบบ เพื่อตรวจสอบและแสดงความเห็นต่องบการเงินของโรงเรียนในระบบภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันสิ้นรอบปีบัญชี  ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด 
ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับผลกำไรจากกิจการโรงเรียนเอกชน 
มาตรา ๔๘  รัฐพึงให้การอุดหนุนและส่งเสริมโรงเรียนในระบบนอกเหนือจากเงินอุดหนุนตามมาตรา ๓๕ ได้ตามที่คณะกรรมการเสนอแนะ โดยเฉพาะในเรื่อง ดังต่อไปนี้ 
(๔) ลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินที่ได้รับจากการจัดสรรตามมาตรา ๔๕ (๓)  ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในประมวลรัษฎากร 
เสนอเปลี่ยนมาตรา ๔๘ เป็น (๔)  ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินที่ได้รับจากการจัดสรรตามมาตรา ๔๕ (๓)  ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในประมวลรัษฎากร
มาตรา ๔๘  รัฐพึงให้การอุดหนุนและส่งเสริมโรงเรียนในระบบนอกเหนือจากเงินอุดหนุนตามมาตรา ๓๕ ได้ตามที่คณะกรรมการเสนอแนะ โดยเฉพาะในเรื่อง ดังต่อไปนี้ 
(๔) ลดหย่อนหรือยกเว้นเงินภาษีเงินได้ของผู้รับใบอนุญาต  ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในประมวลรัษฎากร
สิทธิตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน กฎหมายแรงงานสัมพันธ์ กฎหมายประกันสังคม และกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน มาตรา ๘๖  กิจการของโรงเรียนในระบบไม่อยู่ภายใต้บังคับกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม และกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน แต่ผู้ปฏิบัติงานของโรงเรียนต้องได้รับประโยชน์ตอบแทนไม่น้อยกว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน 
มาตรา ๘๖ กิจการของโรงเรียนในระบบในส่วนของผู้อำนวยการ ครูและบุคลากรทางการศึกษาไม่อยู่ภายใต้บังคับกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม และกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน แต่ผู้อำนวยการ ครู และบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนต้องได้รับประโยชน์ตอบแทนไม่น้อยกว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน 
 
มาตรา ๘๖ กิจการของโรงเรียนในระบบเฉพาะในส่วนของผู้อำนวยการ ครูและบุคลากรทางการศึกษาไม่อยู่ภายใต้บังคับกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม และกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน แต่ผู้อำนวยการ ครู และบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนต้องได้รับประโยชน์ตอบแทนไม่น้อยกว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน 
สิทธิและหน้าที่ของโรงเรียนเอกชนที่จัดตั้งขึ้นก่อน พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550 ใช้บังคับ 
มาตรา ๑๕๙ ให้โรงเรียนที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๒๕ ซึ่งมีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นโรงเรียนในระบบหรือโรงเรียนนอกระบบ แล้วแต่กรณี ตามพระราชบัญญัตินี้ และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตเป็นผู้แทนของนิติบุคคลตามพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ ให้ผู้รับใบอนุญาตดำเนินการจัดทำตราสารจัดตั้งของโรงเรียนในระบบตามมาตรา ๑๘ วรรคสอง ให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันและดำเนินการให้มีคณะกรรมการบริหารตามมาตรา ๓๐ ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ 
 
เสนอเปลี่ยนมาตรา ๑๕๙ เป็น โรงเรียนที่จัดตั้งก่อนพระราชบัญญัตินี้บังคับใช้ให้ถือโดยอนุโลมไม่ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญตินี้ในเรื่องที่ดินและทรัพย์สิน หากแต่มีความประสงค์จะปฏิบัติตามก็ให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ได้ ไม่ผ่านการพิจารณา
กรณีการใช้สิทธิในกองทุนประกันสังคมของลูกจ้างโรงเรียนเอกชน ไม่มีบทบัญญัติให้ลูกจ้างของโรงเรียนเอกชนได้รับสิทธิในกองทุนประกันสังคมเช่นเดียวกับลูกจ้างของเอกชนแห่งอื่น  ไม่ได้มีข้อเสนอในประเด็นนี้ มาตรา ๒๔ ให้ผู้ปฏิบัติงานที่มิใช่ครูใหญ่หรือผู้อำนวยการ หรือครูของโรงเรียนนานาชาติ ซึ่งเป็นโรงเรียนในระบบตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐ ซึ่งเคยเป็นผู้ประกันตนและส่งเงินสมทบกองทุนประกันสังคมตามกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคมมาก่อนวันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ดำเนินการส่งเงินสมทบกองทุนประกันสังคมต่อไปนับตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ โดยให้นับระยะเวลาในการส่งเงินสมทบต่อเนื่องกับระยะเวลาที่ได้ส่งมาแล้ว และให้มีสิทธิตามที่กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคมกำหนด 

จะเห็นว่า พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2554 ที่ออกมาบังคับใช้นั้น มีบางประเด็นที่แก้ไขตามข้อเสนอของภาคประชาชนทุกประการ โดยเอาข้อความในร่างฉบับที่ภาคประชาชนเสนอมาใช้เลยโดยตรง มีบางประเด็นที่นำหลักการที่ภาคประชาชนเสนอมาใช้ แต่เขียนถ้อยคำหรือข้อความใหม่ มีบางประเด็นที่ภาคประชาชนเสนอแล้วไม่ผ่านการพิจารณา จึงไม่ได้นำประเด็นนั้นมาบรรจุอยู่ในกฎหมายที่ประกาศใช้ 

มีบางประเด็นที่เนื้อหาของกฎหมายที่ประกาศใช้ไปไกลกว่าข้อเสนอของภาคประชาชนด้วยซ้ำ เช่น ประเด็นยกเลิกการจัดสรรเงินเข้ากองทุนอื่น เป็นต้น และยังมีบางประเด็นที่ภาคประชาชนไม่ได้เสนอไว้ แต่ในชั้นพิจารณาก็ได้ใส่หลักการที่เป็นประโยชน์กับประชาชนเข้ามาด้วย เช่น ประเด็นเรื่องการใช้สิทธิในกองทุนประกันสังคม เป็นต้น
 
การเสนอแก้ไข พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชนในครั้งนี้ นอกจากจะเป็นตัวอย่างที่ดีที่ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากกฎหมายลุกขึ้นมาใช้สิทธิที่ตัวเองมีแสดงออกว่ากฎหมายที่มีอยู่มีปัญหาอย่างไรและกฎหมายควรจะเป็นอย่างไรแล้ว ยังเป็นตัวอย่างที่ดีที่แสดงให้เห็นว่าข้อเสนอของประชาชนสามารถผลักดันไปสู่การออกเป็นกฎหมายบังคับใช้ได้จริง แม้จะไม่สำเร็จทั้ง 100 เปอร์เซ็นต์ แต่ก็มีทั้งส่วนที่ได้มากขึ้นและส่วนที่เสียไปบ้างระหว่างกระบวนการพิจารณาของรัฐสภา