ร่วมแก้ไขพ.ร.บ.สิ่งแวดล้อมฯ ให้ชุมชนช่วยคิดช่วยสร้าง

เพื่อที่จะสร้างระบบกฎหมายให้สามารถปกป้องคุ้มครองสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประชาชนมีส่วนร่วม ลดปัญหาความขัดแย้งระหว่างประชาชน รัฐ และเจ้าของโครงการ นอกจากจะต้องเร่งจัดตั้งองค์กรกลางผ่านการผลักดัน “ร่างพ...องค์การอิสระด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม พ.…..” แล้ว ภาคประชาชนยังเสนอให้แก้ไข “ร่างพ...แก้ไขพ...ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ..2535” ด้วย

...ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ..2535 (...สิ่งแวดล้อม) เป็นกฎหมายหลักที่ใช้ในการปกป้องคุ้มครองสิ่งแวดล้อมทั้งประเทศ มีเนื้อหาครอบคลุมทั้งเรื่อง มลพิษ น้ำ ดิน อากาศ เสียง ฯลฯ จัดตั้งองค์กร กรรมการ และระบบการกำกับดูแลเรื่องสิ่งแวดล้อมทั้งหมด

แต่พ...สิ่งแวดล้อมฉบับปัจจุบันถูกวิพากษ์ว่ามีเนื้อหาที่ล้าสมัย ไม่สอดคล้องกับบริบทปัญหาสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน และยังเป็นกฎหมายที่วางระบบการกำกับดูแลสิ่งแวดล้อมโดยมีศูนย์กลางที่รัฐส่วนกลางเท่านั้น ไม่เปิดช่องทางให้เกิดการมีส่วนร่วมจากประชาชนในพื้นที่ องค์กรส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน หรือนักวิชาการ อีกทั้งบทบัญญัติบางมาตรายังก่อให้เกิดการตีความของผู้บังคับใช้ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมและเปิดโอกาสให้เกิดการแสวงหาประโยชน์โดยคนบางกลุ่มได้

จากกรณีที่ภาคประชาชนเคลื่อนไหวระดมรายชื่อเพื่อเสนอ ร่างพ...องค์การอิสระด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม พ.….. นั้น เพื่อให้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมมีเนื้อหาสอดคล้องกันอย่างเป็นระบบ จึงจำเป็นต้องเสนอแก้ไข พ...สิ่งแวดล้อมไปพร้อมกันด้วย

 

 

ภาคประชาชน ภายใต้สมัชชาองค์กรเอกชนด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ และเครือข่ายสิ่งแวดล้อมไทย จึงร่วมกันจัดทำ “ร่าง พ...แก้ไขพ...ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.……” มีหลักการที่น่าสนใจ ดังนี้

  1. สร้างช่องทางให้ประชาชน องค์กรเอกชน ชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการดูแลสิ่งแวดล้อม ได้หลายช่องทาง เช่น

  • กำหนดเพิ่มให้ “ชุมชน” มีสิทธิ สามารถมีส่วนร่วมดำเนินการต่างๆ ในกฎหมายนี้ได้ จากเดิมที่ให้สิทธิเฉพาะ “บุคคล” เท่านั้น (มาตรา6)

  • ขยายขอบเขตของ “องค์การเอกชนด้านสิ่งแวดล้อม” ให้รวมถึง “คณะบุคคล” ที่มีกิจกรรมเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมด้วย ไม่จำกัดเฉพาะ “นิติบุคคล” เท่านั้น และยังเพิ่มบทบาทของ “องค์การชุมชนด้านสิ่งแวดล้อม” ให้มีตัวตนในกฎหมายนี้ด้วย (มาตรา7)

  • เพิ่มอำนาจของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ให้มีหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน ชุมชน และองค์การอื่นด้วย (มาตรา14(4))

  • ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์การเอกชน องค์การชุมชน มีอำนาจเสนอการกำหนดเขตอนุรักษ์ และพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมต่อรัฐมนตรี และรัฐมนตรีมีหน้าที่จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นประชาชนก่อนออกประกาศด้วย (มาตรา43)

  1. ปรับปรุงระบบสัดส่วนคณะกรรมการต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายนี้ ให้มีตัวแทนจากภาคประชาชน องค์การเอกชนด้านสิ่งแวดล้อม องค์การชุมชนด้านสิ่งแวดล้อม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ฯลฯ เข้าไปถ่วงดุลกับตัวแทนจากภาครัฐด้วย เช่น

  • คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (มาตรา13)

  • กรรมการกองทุนสิ่งแวดล้อม (มาตรา25)

  • คณะกรรมการควบคุมมลพิษ (มาตรา67)

  1. เปลี่ยนระบบการจัดทำ “รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม” หรือ EIA ใหม่ เรียกชื่อว่า “การประเมินสิ่งแวดล้อม” โดยแบ่งการประเมินเป็นสองระดับ คือ การประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ เพื่อประกอบการจัดทำนโยบาย แผน แผนงาน และโครงการขนาดใหญ่ กับ การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพระดับโครงการหรือกิจกรรม

  2. เพิ่มอำนาจให้พนักงานควบคุมมลพิษมีอำนาจสั่งเพิกถอนในอนุญาต หรือสั่งระงับกิจการบางส่วนหรือทั้งหมด จนกว่าเจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษจะดำเนินการให้ถูกต้อง เพื่อป้องกันการรั่วไหลของมลพิษออกสู่สิ่งแวดล้อม (มาตรา95)

  1. กรณีที่แหล่งกำเนิดมลพิษก่อให้เกิดความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย หรือสุขภาพอนามัยของประชาชน กฎหมายนี้กำหนดให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า แหล่งกำเนิดมลพิษเป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหาย ซึ่งหากความจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้นเจ้าของแหล่งกำเนิดมลพิษมีหน้าที่ต้องพิสูจน์ให้พ้นผิดเอง แต่ไม่ใช่หน้าที่ของประชาชนผู้ได้รับความเสียหายที่ต้องพิสูจน์ว่าความเสียหายนั้นเกิดจากแหล่งกำเนินมลพิษนั้นหรือไม่ (มาตรา109)

 

ผู้ที่สนใจร่วมเป็นหนึ่งในหมื่นชื่อเพื่อเสนอร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.…… ฉบับภาคประชาชน มีขั้นตอนดังนี้

1. กรอกข้อมูลในแบบ ข.ก.๑ ตามไฟล์แนบ ให้ครบถ้วน
2. แนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน พร้อมเซ็นสำเนาถูกต้อง และขีดคร่อมว่า
– เพื่อเสนอร่างพ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ….
3. แนบสำเนาทะเบียนบ้าน พร้อมเซ็นรับรองสำเนาถูกต้องและขีดคร่อมว่า
– เพื่อเสนอร่างพ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ….
 
ส่งเอกสารทั้งหมดไปยัง
ตู้ ปณ. 55 ปณฝ.สุทธิสาร กรุงเทพฯ 10321