คนเล่นเน็ตสน “ภาษีมรดก-ต้านซ้อมทรมาน-เรียนฟรีถึงป.ตรี”

จากผลการสำรวจผู้ตอบแบบสอบถาม 496 คน เรื่อง “ความสนใจของประชาชนในการผลักดันกฎหมาย” ที่ iLaw สำรวจเมื่อปลายเดือนเม..ที่ผ่านมา โพลล์สะท้อนชัด คนเล่นเน็ตสนใจเปลี่ยนแปลงสังคม เน้นเรื่องความเท่าเทียมและความเป็นธรรม

 
เมื่อปลายเดือนเม.. ที่ผ่านมา iLaw ทำแบบสำรวจเรื่อง “ความสนใจของประชาชนในการผลักดันกฎหมาย” โดยตั้งประเด็นคำถามเกี่ยวกับเรื่องสิทธิผู้หญิง ความเท่าเทียมทางเพศ ความมั่นคง รัฐสวัสดิการ กระบวนการยุติธรรม เสรีภาพในการแสดงความเห็น
 
ส่วนของคำถามปลายปิด มีคำถาม 9 ข้อ แต่ละข้อมีตัวเลือกให้ตอบตามความสนใจ ตัวเลือกคำตอบได้แก่ เห็นว่าสำคัญและสนใจมาก / สนใจพอสมควร / ไม่เห็นด้วย / เห็นด้วยแต่ไม่ค่อยสนใจ และ ไม่สนใจ
 
เรื่องสิทธิผู้หญิง คำถามถามว่า “ผู้หญิงทำแท้งได้ถูกต้องตามกฎหมายในเงื่อนไขที่เปิดโอกาสมากกว่าในปัจจุบัน”
ที่มาของคำถามนี้ สืบเนื่องมาจากปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีผลกระทบทั้งด้านอนามัยเจริญพันธ์และทางเลือกในชีวิตของผู้ที่เกิดเป็นหญิง เดิม สังคมส่วนใหญ่มีกรอบทางศีลธรรมผ่านการปลูกฝังทัศนคติเรื่องการมีเพศสัมพันธ์ การย้ำเตือนเรื่องความผิดบาปต่อชีวิต อีกทั้งยังมีกฎหมายอาญาเป็นอีกกลไกในการต่อต้านการทำแท้ง อย่างไรก็ดี ความเข้มข้นของปัญหาในเรื่องนี้ยังคงอยู่คู่กับสังคมไทย
 
ผลการสำรวจพบว่า ร้อยละ 43.92 ตอบว่า เห็นว่าสำคัญและสนใจมาก ร้อยละ 23.24 ตอบว่าสนใจพอสมควร ร้อยละ 16.84 ตอบว่า ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 13.22 และร้อยละ 2.77 ตอบว่า เห็นด้วยแต่ไม่ค่อยสนใจ และ ไม่สนใจ ตามลำดับ
 
เรื่องความเท่าเทียมทางเพศ คำถามถามว่า “คนทุกเพศสามารถจดทะเบียนสมรสได้โดยไม่จำกัดเฉพาะชายหญิง” โดยคำถามนี้เป็นส่วนหนึ่งในข้อเรียกร้องของคนรักเพศเดียวกันที่ต้องการใช้ชีวิตที่มีทางเลือกและไม่ถูกตีกรอบ
 
ผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 28.14 ตอบว่า เห็นด้วยแต่ไม่ค่อยสนใจ ร้อยละ 25.37 ตอบว่า เห็นว่าสำคัญและสนใจมาก ร้อยละ 19.19 ตอบว่า ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 18.34 ตอบว่า สนใจพอสมควร และร้อยละ 8.96 ตอบว่า ไม่สนใจ
 
เรื่องความมั่นคง คำถามถามว่า “ยกเลิกกฎหมายพ...ความมั่นคงแห่งชาติ และ/หรือ กฎหมายการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน” ทั้งนี้เพราะกฎหมายทั้งสองฉบับถือเป็นกฎหมายความมั่นคงรุ่นใหม่ พ...การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินเกิดขึ้นเมื่อปี 2548 ในสมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ส่วนพ...ความมั่นคงแห่งชาติ เกิดขึ้นเมื่อปี 2550 โดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เนื้อหามีความคล้ายคลึงกันเรื่องการให้อำนาจเฉพาะเป็นกรณีพิเศษต่อเจ้าหน้าที่รัฐให้สามารถละเมิดสิทธิมนุษยชนบางข้อได้
 
ผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 36.89 ตอบว่า ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 34.12 ตอบว่า เห็นว่าสำคัยและสนใจมาก ร้อยละ 20.26 ตอบว่าสนใจพอสมควร ร้อยละ 5.33 และร้อยละ 3.41 ตอบว่า เห็นด้วยแต่ไม่ค่อยสนใจ และ ไม่สนใจ ตามลำดับ
 
เรื่องรัฐสวัสดิการ คำถามถามว่า “นักเรียนนักศึกษาทุกคนจากครอบครัวที่มีรายได้น้อย ได้รับทุนการศึกษาเรียนฟรีถึงขั้นปริญญาตรี” สืบเนื่องต่อจากกฎหมายปัจจุบันที่รับรองสิทธิการเข้าถึงการศึกษาสูงสุดไว้ที่ระดับมัธยมปลายหรืออาชีวะ
 
ผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 70.79 ตอบว่า เห็นว่าสำคัญและสนใจมาก รองลงมาคือร้อยละ 15.35 ตอบว่า สนใจพอสมควร ร้อยละ 6.40, 5.76 และ 1.71 ตอบว่า เห็นด้วยแต่ไม่ค่อยสนใจ ไม่เห็นด้วย และไม่สนใจ ตามลำดับ
 
นอกจากเรื่องการศึกษาแล้ว อีกประเด็นคำถามในหมวดของรัฐสวัสดิการ ถามว่า “เก็บภาษีจากคนรวยมากขึ้น ผ่านภาษีมรดก ภาษีทรัพย์สิน เพื่อสวัสดิการสังคมต่างๆ สำหรับประชาชน” คำถามนี้อิงจากข้อเสนอจากบางกลุ่มในสังคมที่มีข้อเสนอต่อการสร้างความเท่าเทียมกันในสังคมด้วยการใช้ระบบอัตราภาษีแบบก้าวหน้า
 
ผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 73.99 ตอบว่าสำคัญและสนใจมาก รองลงมาคือร้อยละ 13.01 ตอบว่า สนใจพอสมควร ร้อยละ 6.40 ตอบว่าไม่เห็นด้วย ร้อยละ 5.76 และ 0.85 ตอบว่า เห็นด้วยแต่ไม่ค่อยสนใจ และ ไม่สนใจ ตามลำดับ
เรื่องกระบวนการยุติธรรมนั้น คำถามคือ “การออกกฎหมายเพื่อลงโทษเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ซ้อมทรมานผู้ต้องหาให้เป็นความผิดเฉพาะที่มีโทษสูงกว่าการทำร้ายร่างกายทั่วไป” ที่มาของเรื่องนี้เกิดขึ้นบนความรับรู้ทั่วไปของสังคมที่รู้ว่าในกระบวนการยุติธรรมไทย มีการสอบสวนด้วยการกระทำที่รุนแรง เช่น ช็อตไข่ ฉี่รด ฯลฯ เพื่อบังคับให้สารภาพ ซึ่งอาจทำให้บุคคลนั้นต้องจำใจสารภาพในเรื่องที่ตนไม่ได้ก่อ ปัจจุบัน การกระทำเช่นนี้ของเจ้าหน้าที่ มีโทษเหมือนพลเรือนทำร้ายร่างกายระหว่างบุคคลตามปกติ
 
ผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 70.79 ตอบว่า เห็นว่าสำคัญและสนใจมาก รองลงมาคือ ร้อยละ 15.78 ตอบว่าสนใจพอสมควร ร้อยละ 9.59, 2.99 และ 0.85 ตอบว่าเห็นด้วยแต่ไม่ค่อยสนใจ ไม่เห็นด้วย และไม่สนใจ ตามลำดับ
 
เรื่องเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น คำถามระบุว่า “ยกเลิกการเซ็นเซอร์ภาพยนตร์” ซึ่งเรื่องนี้มีความเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องมาจากทั้งฝ่ายผู้ผลิตภาพยนตร์และผู้บริโภคภาพยนตร์ แต่ พ...ภาพยนตร์ ฉบับล่าสุด พ.. 2551 ยังคงมีมาตราที่เปิดให้มีการแบนภาพยนตร์ได้
 
ผลการสำรวจพบว่า ร้อยละ 35.39 ตอบว่า เห็นว่าสำคัญและสนใจมาก รองลงมา ร้อยละ 26.01 ตอบว่า ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 22.17 ตอบว่า สนใจพอสมควร ร้อยละ 13.65และ 2.77 ตอบว่า เห็นด้วยแต่ไม่ค่อยสนใจ และ ไม่สนใจ ตามลำดับ
ยังมีคำถามเรื่อง “แก้กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ให้มีการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพในการแสดงความเห็น” โดยกฎหมายฉบับดังกล่าวประกาศใช้เมื่อปี 2550 ซึ่งมีเจตนารมณ์ในการออกกฎหมายที่มุ่งแก้ปัญหาอันเกี่ยวเนื่องจากพ...คอมพิวเตอร์ แต่เนื่องจากเรื่องนี้เป็นเรื่องใหม่ และมีข้อคิดเห็นและวิพากษ์ต่อแนวทางการร่างกฎหมายฉบับที่ประกาสใช้อยู่
 
ผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 55.65 ตอบว่า เห็นว่าสำคัญและสนใจมาก ร้อยละ 20.04 ตอบว่า สนใจพอสมควร ร้อยละ 11.30 ตอบว่า เห็นด้วยแต่ไม่ค่อยสนใจ ร้อยละ 11.09 และ 1.92 ตอบว่า ไม่เห็นด้วย และ ไม่สนใจ ตามลำดับ
 
นอกจากเรื่องการเซ็นเซอร์ภาพยนตร์และความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์แล้ว ในหมวดของเสรีภาพในการแสดงความเห็น ยังมีคำถามที่ระบุว่า “การแก้ไขกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ให้สอดคล้องกับหลักการเรื่องสิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น” เรื่องนี้อยู่ในมาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญา โดยมีข้อสังเกตหนึ่งที่ว่า ในความขัดแย้งทางการเมือง ฝ่ายที่คิดเห็นต่างไม่ว่าฝ่ายใดก็ตาม มักยกเอากฎหมายมาตรานี้ขึ้นมาใช้เป็นเครื่องมือในการเล่นงานอีกฝ่ายเสมอ
 
ผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 57.14 ตอบว่า เห็นว่าสำคัญและสนใจมาก ร้อยละ 17.06 ตอบว่า สนใจพอสมควร ร้อยละ 16.42 ตอบว่า ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 6.61, 2.77 ตอบว่า เห็นด้วยแต่ไม่ค่อยสนใจ และ ไม่สนใจ ตามลำดับ
 
 
ทั้งนี้ ในบรรดาประเด็นคำถามทั้งหมด ประเด็นที่มีผู้ตอบ “เห็นว่าสำคัญและสนใจมาก” สูงสุดคือเรื่อง การเก็บภาษีมรดกและภาษีทรัพย์สิน (73.99) ตามมาด้วยเรื่อง ลงโทษเจ้าหน้าที่ที่ซ้อมทรมานผู้ต้องหา (70.79) เรียนฟรีถึงปริญญาตรี (70.79) แก้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ (57.14) แก้กฎหมายคอมพิวเตอร์ (55.65) การทำแท้ง (43.92) ยกเลิกเซ็นเซอร์ภาพยนตร์ (35.59) ยกเลิกพ...มั่นคงฯ และพ...ฉุกเฉินฯ (34.12) และ คนเพศเดียวกันจดทะเบียนสมรสได้ (25.37)
 
สำหรับประเด็นที่มีผู้ตอบว่า “ไม่สนใจ” สูงสุดคือ คนเพศเดียวกันจดทะเบียนสมรสได้ (8.96) ตามมาด้วยเรื่อง ยกเลิกพ...มั่นคงฯ และพ...ฉุกเฉินฯ (3.41) การทำแท้ง (2.77) แก้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ (2.77) ยกเลิกเซ็นเซอร์ภาพยนตร์ (2.77) แก้กฎหมายคอมพิวเตอร์ (1.92) เรียนฟรีถึงปริญญาตรี (1.71) ลงโทษเจ้าหน้าที่ที่ซ้อมทรมานผู้ต้องหา (0.85) และ การเก็บภาษีมรดกและภาษีทรัพย์สิน (0.85)

 

ไฟล์แนบ