รายงาน สถานการณ์สิทธิมนุษยชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยกลุ่มด้วยใจ

 

รายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชน ประจำปี 2561 จัดทำโดยกลุ่มด้วยใจ เพื่อนำเสนอสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จากการบันทึกข้อมูลโดยกลุ่มด้วยใจและแหล่งข้อมูลต่างๆ ซึ่งประกอบไปด้วย สถานการ์ด้านสิทธิเด็ก สิทธิสตรี การป้องกันการทรมาน การสังหารนอกระบบกฎหมาย และการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ 

 

กลุ่มด้วยใจนำเสนอรายงานนี้ เพื่อให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาในจังหวัดชายแดนใต้ ประชาชนทั่วไป และภาคประชาสังคมได้นำไปใช้่เพื่อแก้ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนในจังหวัดชายแดนใต้และสร้างสันติภาพที่ยั่งยืนต่อไป ไอลอว์สรุปย่อเนื้อหามาบางส่วน และนำรายงานฉบับเต็มมานำเสนอไว้ในไฟล์แนบ

 

 

สถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนใต้จากรายงานของศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ ตั้งแต่เดือนมกราคม 2547 คนถึง 31 ธันวาคม 2561 มีจำนวนเหตุการณ์ไม่สงบเกิดขึ้น 20,163 เหตุการณ์ มีผู้เสียชีวิตจำนวน 6,921 คน และได้รับบาดเจ็บจำนวน 13,511 คน จากจำนวนผู้ได้รับผลกระทบเชิงกายภาพพบว่า สถานการณ์มีแนวโน้มที่ลดลง ทั้งจำนวนเหตุการณ์ ซึ่งในปี 2561 มีเหตุการณ์เกิดขึ้น 548 เหตุการณ์ จำเลยผู้เสียชีวิต 218 คน และจำเนวนผู้ได้รับบาดเจ็บ 265 คน ในปี 2561 ความรุนแรงมีจำนวนเหตุการณ์มากในเดือนพฤษภาคมหรือช่วงเดือนรอมฎอน 

 

เริ่มต้นปี 2561 มีกรณีที่ทำให้เด็กได้รับบาดเจ็บ คือ กรณีระเบิด โดยเฉพาะการเกิดระเบิดหน้าหรือใกล้บริเวณโรงเรียน ทั้งที่อำเภอเมือง อำเภอยะหา จังหวัดยะลา และอำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี ในเดือนกุมภาพันธ์ ผู้กระทำมีเป้าหมาย คือ เจ้าหน้าที่ที่คุ้มครองครูและนักเรียนในช่วงเช้า แต่ก็ส่งผลให้เด็กได้รับบาดเจ็บ เหตุการณ์ทีเด็กเสียชีวิตมีคั้งเดียว คือ การยิงกันที่อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส ตลอดปี 2561 มีเด็กเสียชีวิต 1 คน บาดเจ็บ 5 คน ยังมีเรื่องน่ายินดี คือ ปี 2561 ไม่มีเด็กถูกควบคุมตัวโดยกฎหมายพิเศษ และไม่มีการดำเนินคดีเด็กในคดีความมั่นคง

 

กลุ่มด้วยใจได้เก็บรวบรวมข้อมูลผู้เสียหายจากการถูกซ้อมทรมาน มาตั้งแต่ปี 2551 ได้สัมภาษณ์โดยตรงกับผู้เสียหาย พบว่า ในปี 2560 มีผู้ร้องเรียนเรื่องการทรมานน้อย ส่วนหนึ่งเป็นผลจากผู้เสียหายถูกข่มขู่ ในปี 2561 จำนวนยังไม่ได้ลดลง และวิธีการยังคงเหมือนเดิม และเพิ่มความรุนแรงขึ้นโดยไม่เกรงกลัวว่าจะมีผู้ร้องเรียนหรือไม่ เพราะหน่วยงานภาครัฐตอบโต้การพูดเรื่องการทรมานโดยการดำเนินคดีกับผู้ที่กล่าวหาว่า มีการทรมานเกิดขึ้น

 

วิธีการทรมานที่พบในปี 2561 มีทั้งการทรมานทางร่างกาย ได้แก่ ใช้หนังสือทุบที่หัว มือ หน้าอก เหยียบหลัง หัว น้อง ต้นขา เตะบริเวณหน้าอก หน้าท้อง ให้เอามือไขว้หลังและมัดมือ ให้ยืนกางแน ยืนขาเดียว ยืนบนเก้าอี้ เป็นเวลาสองวันสองคืน อดหลับอดนอน ให้อยู่ห้องแอร์เย็น ตากพัดลม แช่น้ำซึ่งมีกลิ่นเหม็นมาก และการทรมานทางจิตใจ ได้แก่ การข่มขู่ ขู่ว่าจะจับพ่อ ภรรยา หรือทำร้ายครอบครัว ขู่ว่าจะให้กินขี้และน้ำฉี่ การสอบสวนทั้งกลางวันและกลางคืน การบังคับให้เปลือยกายเหลือกางเกงในตัวเดียวในห้องแอร์ที่อากาศหนาว

 

การฆ่านอกระบบกฎหมาย หรือการที่เจ้าพนักงานฆ่าผู้อื่นตายโดยอ้างว่า เป็นการปฏิบัติหน้าที่ ในปี 2561 พบกรณีที่เป็นที่คลางแคลงในของประชาชน คือ กรณีนายอี” (นามสมมติ) ในเดือนมิถุนายน ที่ถูกยิงในสถานที่มีประชาชนอยู่ในเหตุการณ์จำนวนมาก รวมแล้วบันทึกข้อมูลการฆ่านอกระบบกฎหมายได้ 8 กรณี

 

ในรายงานฉบับนี้ ยังหยิบยกกรณีการคุกคามนักป้องป้องสิทธิมนุษยชน หรือนักกิจกรรมในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ขึ้นมากล่าวถึงด้วย อันได้แก่ กรณีกลุ่มชาวพุทธร้องเรียนให้ทำความเข้าใจกับกลุ่มสหพันธ์นิสิตนักศึกษานักเรียนและเยาวชนปาตานี หรือ เปอร์มัส กรณีอิสมาแอ เต๊ะ ออกรายการโทรทัศน์ช่องไทยพีบีเอส เล่าเรื่องที่ถูกซ้อมทรมาน และถูกแจ้งความดำเนินคดี กรณีบุกค้นบ้านของโซรยา จามจุรี และกรณีการดำเนินคดีกับผู้จัดการออนไลน์

 

 

 

อ่านรายงานฉบับเต็มของกลุ่มด้วยใจได้ ตามไฟล์แนบ

 

 

 

ไฟล์แนบ
You May Also Like
อ่าน

เปิด 10 อันดับ คดีมาตรา 112 ที่ลงโทษ “หนัก” ที่สุด

ตลอดช่วงเวลาของความขัดแย้งทางการเมือง มาตรา 112 ถูกนำมาใช้ดำเนินคดีในปริมาณมากอย่างมีนัยยะสำคัญ และในช่วงเวลาที่มีนโยบายการบังคับใช้กฎหมายอย่างรุนแรง ก็เป็นผลให้มีประชาชนที่ถูกพิพากษาว่า มีความผิดในข้อหามาตรา 112 ถูกตัดสินจำโทษมากที่สุด ดังนี้
อ่าน

ศาลอนุญาตฝากขังตะวัน – แฟรงค์ต่อ 12 วัน อ้างตำรวจรอผลตรวจกล้องหน้ารถในจุดเกิดเหตุ

วันที่ 20 มีนาคม 2567 เวลา 9.00 น. ศาลอาญา รัชดาฯ นัดไต่สวนคำร้องคัดค้านการฝากขังทานตะวัน ตัวตุลานนท์ หรือ ตะวันและณัฐนนท์ ไชยมหาบุตร หรือแฟรงค์ ผู้ต้องหาคดีตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 จากเหตุการณ์บีบแตรใส่ตำรวจท้ายขบวนเสด็จของกรมพระเทพฯเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2567 โดยในการไต่สวนนัดนี้ พนักงานสอบสวน สน.ดินแดงยื่นคำร้องขอฝากขังผู้ต้องหาทั้งสองต่ออีกเป็นครั้งที่สี่ ระหว่างวันที่ 21 – 1 เมษายน 2567 หลังการไต่สวนคัดค้านการฝากขัง ศาลอนุญาตให้ฝากขังทั้งสองต่อ ตามคำร้องที่พนักงานสอบสวนอ้างว่าจำเป็นต้องรอผลตรวจคลิปวิดีโอที่ติดหน้ารถยนต์ของประชาชนที่อยู่ในบริเวณที่เกิดเหตุว่ามีการแก้ไขหรือตัดต่อหรือไม่ แม้พนักงานสอบสวนจะยอมรับว่าผู้ต้องหาทั้งสองไม่สามารถจะยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐานได้ก็ตาม