รัฐธรรมนูญเขียนชัด องคมนตรีตั้งตามพระราชอัธยาศัย ต้องมีผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ

เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2566 ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง แต่งตั้งองคมนตรี โดยมีใจความว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีตหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และอดีตนายกรัฐมนตรี เป็นองคมนตรี โดยประยุทธ์นับเป็นองคมนตรีคนที่ 18 ตามที่รัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 10 วรรคหนึ่ง กำหนดให้ พระมหากษัตริย์สามารถแต่งตั้งองคมนตรีได้ไม่เกิน 18 คนและประธานอีกหนึ่งคน รวมเป็น 19 คน

ขณะที่เรื่องการแต่งตั้งองคมนตรีแม้จะเป็นส่วนหนึ่งของงานราชการในพระองค์ที่พระมหากษัตริย์แต่งตั้งได้ตามพระราชอัธยาศัยเช่นกัน แต่ตำแหน่งสำคัญนี้ไม่ได้เป็นไปตามมาตรา 15 เท่านั้น เพราะยังมีมาตรา 11 ที่กำหนดให้การแต่งตั้งหรือการให้องคมนตรีพ้นจากตำแหน่ง ต้องมีผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ

รัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 11 กำหนดไว้ว่า

มาตรา 11  การเลือกและแต่งตั้งองคมนตรีหรือการให้องคมนตรีพ้นจากตำแหน่ง ให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย

ให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานองคมนตรีหรือให้ประธานองคมนตรีพ้นจากตำแหน่ง

ให้ประธานองคมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งองคมนตรีอื่นหรือให้องคมนตรีอื่นพ้นจากตำแหน่ง

ก่อนหน้านี้ ภายใต้รัฐธรรมนูญ 2560 เมื่อวันที่ 2 มกราคม 2563 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นประธานองคมนตรี จะเห็นได้ว่า พระบรมราชโองการฉบับนี้ก็มีชื่อของ ชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ ครบถ้วนตามมาตรา 11

หากย้อนดูพระบรมราชโองการแต่งตั้งองคมนตรีหรือให้องคมนตรีพ้นจากตำแหน่ง ที่เกิดขึ้นภายใต้ช่วงรัฐธรรมนูญ 2560 บังคับใช้ อย่างน้อยแปดฉบับ คือ

  1. เมื่อ 19 มิถุนายน 2561 โปรดเกล้าฯ ให้ พล.อ.ธีรชัย นาควานิช พ้นจากตำแหน่ง เนื่องจากขอลาออก
  2. มื่อ 2 ตุลาคม 2561 โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง อำพน กิตติอำพน พล.อ.เฉลิมชัย สิทธิสาท และ พล.อ.อ.จอม รุ่งสว่าง
  3. เมื่อ 29 พฤศจิกายน 2566 โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

จะพบว่า ฉบับที่หนึ่งถึงฉบับที่ห้า มีผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ คือ ประธานองคมนตรี ตรงตามที่มาตรา 11 กำหนดไว้ ขณะที่สามฉบับหลัง คือ แต่งตั้งเกษม แต่งตั้ง พล.อ.บัณฑิตย์ และแต่งตั้งพล.อ.ประยุทธ์ กลับไม่มีผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ ทั้งๆ ที่มีผู้ปฏิบัติหน้าที่ประธานองคมนตรีอยู่ซึ่งก็คือ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นอกจากนี้ พล.อ.สุรยุทธ์ ในฐานะประธานองคมนตรี ก็เคยลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ แต่งตั้งองคมนตรีมาแล้ว ได้แก่ ฉบับที่โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนุรักษ์ มาประณีต

พระบรมราชโองการการแต่งตั้งหรือให้องคมนตรีพ้นจากตำแหน่งไม่มีผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการนั้น ผลจะเป็นอย่างไรต่อไป บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ 2560 หมวด 2 พระมหากษัตริย์ ไม่ได้เขียนเรื่องนี้ไว้โดยตรง แต่ในรัฐธรรมนูญ 2560 หมวด 1 บททั่วไป รับรองหลักความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ (Supremacy of Constitution) เอาไว้ว่า

มาตรา 5  รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติใดของกฎหมาย กฎหรือข้อบังคับ หรือการกระทำใด ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ บทบัญญัติหรือการกระทำนั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้

เมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้กระทำการนั้นหรือวินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

You May Also Like
อ่าน

รวมตารางกิจกรรม ทำเดินสายอธิบายกติกา ชวนมาร่วมเปลี่ยนสว.

พร้อมแล้ว!! เดินสายทั่วประเทศ ชวนทุกคนมาทำความรู้จักระบบการเลือกสว. ชุดใหม่ จากการ “แบ่งกลุ่มอาชีพ” และ “เลือกกันเอง” อันซับซ้อน มาทำความเข้าใจขั้นตอน วิธีการเลือก ตรวจสอบคุณสมบัติผู้สมัคร รวมถึงช่องทางการมีส่วนร่วมที่ประชาชนสามารถทำได้ ใกล้ที่ไหนไปที่นั่น มาร่วมเปลี่ยนสว. กันเถอะ
อ่าน

อยากสมัคร สว. 67 ดูด่วน กกต. ออกระเบียบ สร้างเงื่อนไขการแนะนำตัวผู้สมัคร

กกต. ออกระเบียบการแนะนำตัวผู้สมัคร สว. 67 วางเงื่อนไขในการแนะนำตัวของผู้สมัครอย่างเข้มข้น โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 27 เมษายน 2567 เป็นต้นไป