ร่าง พ.ร.บ.พืชยาฯ (ฉบับประชาชน) ให้สิทธิผู้ป่วยปลูกกัญชาได้ภายใต้กำกับของรัฐและชุมชน

แม้ว่า พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ ฉบับใหม่ที่ออกมาเมื่อปี 2562 จะเปลี่ยนสถานะทางกฎหมายของกัญชาและกระท่อมให้สามารถนำมาใช้ทางการแพทย์ได้ แต่ในทางกฎหมายพืชทั้งสองชนิดนี้ยังคงมีสถานะเป็นยาเสพติด และแม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงนิยามของคำว่ากัญชง และกัญชาแล้วก็ตาม แต่ผู้ป่วยต้องการที่จะปลูกกัญชามารักษาตนเองยังไม่สามารถทำได้ หรือหากผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์แผนไทยต้องการปลูกกัญชาเพื่อที่ปรุงยาตามตำรับยาแพทย์แผนไทยก็ยังมีข้อจำกัดอยู่ตามกฎหมายใหม่

 
ด้วยเหตุนี้ทำให้เครือข่ายนักวิชาการ ประชาชนและภาคประชาสังคมร่วมกันผลักดัน "ร่าง พ.ร.บ.พืชยา กัญชา กระท่อม" ขึ้นมา เพื่อปลดล็อคกัญชาและกระท่อมจากสถานะยาเสพติดตามพ.ร.บ.ยาเสพติดฯ มาเป็น "พืชยา" ที่สามารถนำไปใช้ทางการแพทย์หรือเพื่อการบริโภคตามวิถีชีวิต โดยมีมาตรการในการควบคุมซึ่งมาจากชุมชนและภาครัฐ โดยร่างกฎหมายดังกล่าวยังอยู่ระหว่างการยกร่างเป็นกฎหมายอย่างเป็นทางการ และจะมีการล่ารายชื่อ 10,000 รายชื่อ เพื่อเสนอเป็นกฎหมายฉบับประชาชนสู่สภา
 
 
 กัญชา กระท่อม คือ "พืชยา" ไม่ใช่ยาเสพติด
 
ในมาตรา 4 ของร่างพ.ร.บ.พืชยา กัญชา กระท่อม ได้ระบุว่า 
“พืชยา” หมายความว่า
(1) กัญชา (Cannabis spp.)
(2) กระท่อม (Mitragyna speciosa)
(3) พืชยาอื่นที่มีฤทธิ์ทางยาซึ่งมีส่วนประกอบของสารที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท และมีสารสําคัญที่สามารถใช้ในการป้องกัน บําบัด บรรเทา รักษาความเจ็บป่วย รวมถึงผลิตภัณฑ์สําเร็จรูปตามที่รัฐมนตรีประกาศ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ
ทั้งนี้ พืชยาตามวรรคหนึ่งไม่รวมถึงผลิตภัณฑ์สมุนไพรตามกฎหมายว่าด้วยผลิตภัณฑ์สมุนไพร
 
ในมาตรา 3  ของร่างพ.ร.บ.พืชยา กัญชา กระท่อม ได้ระบุไว้ว่า 
“ให้พืชยาที่ดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้แล้ว ไม่ถือเป็นยาเสพติดให้โทษหรือ วัตถุออกฤทธิ์ตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษหรือกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท และ ไม่ถือเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรตามกฎหมายว่าด้วยผลิตภัณฑ์สมุนไพร”
 
ร่าง พ.ร.บ.พืชยาฯ มาตรา 4 ได้เปลี่ยนคำนิยามของพืชบางชนิดเสียใหม่ โดยขอบเขตของคำว่าพืชยา ได้แก่ กัญชา (Cannabis) กระท่อม (Mitragyna speciosa) และพืชยาอื่นที่มีฤทธิ์ทางยาซึ่งมีส่วนประกอบของสารที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท และมี "สารสำคัญ" ที่สามารถใช้ป้องกัน บําบัด บรรเทา รักษาความเจ็บป่วย รวมถึงผลิตภัณฑ์ สําเร็จรูปตามที่รัฐมนตรีประกาศ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการร่วมพืชยา กัญชา กระท่อม (คณะกรรมการร่วมพืชยา กัญชา กระท่อมตามร่างกฎหมายฉบับนี้) แต่นิยามพืชยาจะไม่รวมถึงผลิตภัณฑ์สมุนไพรตามกฎหมายว่าด้วยผลิตภัณฑ์สมุนไพร และในมาตรา 3 ตามพ.ร.บ.พืชยาฯ นี้เป็นหัวใจในการปลดล็อคพืชยาทั้งหมดไม่ว่าจะเป็น กัญชาหรือกระท่อมและพืชยาอื่นๆที่อาจจะทำการขออนุญาตตามกฎหมายนี้ในอนาคตเพื่อให้มีสถานะเป็นพืชยา ซึ่งก็จะทำให้พืชยาทุกชนิดตามกฎหมายนี้ไม่อยู่ในความหมายของ “ยาเสพติด” ตามพ.ร.บ.ยาเสพติดอีกต่อไป เพื่อทำให้มีเสรีภาพในการใช้พืชยานั้นๆมากขึ้นในทางการแพทย์และใช้ตามวิถีชีวิตชุมชน
 
 
ผู้ป่วย-สถานพยาบาล สามารถปลูกกัญชาได้ภายใต้การกำกับ
 
ในมาตรา 36 ตามพ.ร.บ.พืชยาฯ ระบุไว้ว่า
“ใบอนุญาตเก่ียวกับพืชยาแบ่งเป็นประเภท ดังต่อไปนี้
(1) ใบอนุญาตปลูกพืชยาหรือเมล็ดพันธ์ุกัญชาตามปริมาณที่กําหนดไว้ในประกาศที่ออก ตามความในมาตรา 6
(2) ใบอนุญาตผลิตพืชยา ผลิตภัณฑ์กัญชา หรือผลิตภัณฑ์กระท่อม 
(3) ใบอนุญาตนําเข้าพืชยา ผลิตภัณฑ์กัญชา หรือผลิตภัณฑ์กระท่อม 
(4) ใบอนุญาตจําหน่ายพืชยา ผลิตภัณฑ์กัญชา หรือผลิตภัณฑ์กระท่อม 
(5) ใบอนุญาตส่งออกพืชยา ผลิตภัณฑ์กัญชา หรือผลิตภัณฑ์กระท่อม 
ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับแก่ในกรณีต่อไปนี้
(1) การปลูกกัญชาเพื่อใช้ตามวิถีชุมชนตามธรรมนูญชุมชน หรือการปลูกของผู้ป่วยหรือ ผู้ดูแลผู้ป่วยเพื่อใช้ในการป้องกัน บําบัดโรคเบื้องต้น สามารถปลูกได้จํานวนไม่เกินสี่ต้นที่มีช่อดอกต่อครัวเรือน โดยผู้ปลูกกัญชาจะต้องปฏิบัติตามธรรมนูญชุมชน และห้ามนํากัญชาหรือผลิตภัณฑ์กัญชามาใช้ ในทางการค้าหรือดําเนินการใด ๆ ที่ขัดต่อกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด หรือขัดต่อกฎหมายอื่นท่ีเกี่ยวข้อง
(2) การปลูกที่ดําเนินการโดยสถานพยาบาลของรัฐเพื่อใช้ในการบําบัดโรคหรือรักษาผู้ป่วย ท้ังนี้ จะต้องปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับในการปลูกของสถาบัน
ให้สถาบันกําหนดระเบียบหรือแนวปฏิบัติในการปลูกกัญชาตามวรรคสอง และการรายงาน ข้อมูลการปลูกให้แก่สถาบัน”
 
ตามร่าง พ.ร.บ.พืชยาฯ กำหนดให้ผู้ปลูกกัญชาเพื่อใช้ตามวิถีชุมชนตามธรรมนูญชุมชน หรือการปลูกของผู้ป่วยหรือผู้ดูแลผู้ป่วยเพื่อใช้ในการป้องกัน บำบัดโรคเบื้องต้น สามารถจะปลูกได้เอง ในจำนวนไม่เกิน 4ต้นต่อครัวเรือน แต่ในส่วนของกรณีกลุ่มผู้ปลูกกัญชาดังกล่าวต้องปฏิบัติตามธรรมนูญชุมชน และห้ามนำกัญชาหรือผลิตภัณฑ์กัญชามาใช้ในทางการค้า หรือการดำเนินการใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติดหรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง เพราะหากไม่ปฏิบัติตามธรรมนูญชุมชนแล้วนั้นจะต้องทำการขออนุญาตตามหลักเกณฑ์เหมือนผู้ประกอบการ 
 
ในส่วนของผู้ประกอบการที่ต้องการประกอบกิจการเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์กัญชาและกระท่อมในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับใบอนุญาตจากผู้อำนวยการสถาบันพืชยา ซึ่งใบอนุญาตมีด้วยกัน 5 อย่าง ได้แก่ การออกใบอนุญาตปลูกพืชยาหรือเมล็ดพันธุ์กัญชา ใบอนุญาตนำเข้า-ส่งออก ใบอนุญาตจำหน่าย หรือการผลิตพืชยาหรือผลิตภัณฑ์จากพืชยา 
 
 
ใช้ "ธรรมนูญชุมชน" กำกับการปลูกและการใช้พืชยา
 
ในมาตรา 10 ของพ.ร.บ.พืชยาฯ ระบุไว้ว่า 
“ชุมชนพืชยาย่อมมีสิทธิและหน้าท่ีดังต่อไปน้ี
(1) ใช้ประโยชน์จากพืชยาในทางการแพทย์ สุขภาพอย่างทั่วถึงและเป็นธรรมผ่านระบบ บริการสาธารณสุข เช่น การปลูก ครอบครอง และใช้ พืชยาตามท่ีกําหนดในธรรมนูญชุมชน เพื่อประโยชน์ใน การป้องกัน บําบัดโรค หรือบรรเทาอาการเจ็บป่วย ชุมชน
(2) กําหนดให้มีคณะกรรมการชุมชน และธรรมนูญชุมชนในการบริหารจัดการพืชยาของชุมชน
(3) รวมตัวกันเป็นเครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคมที่ดําเนินงานเกี่ยวกับพืชยาในด้านต่าง ๆ
(4) ได้รับการส่งเสริม สนับสนุนจากหน่วยงานของรัฐในการศึกษาวิจัย การเข้าถึง หรือการใช้ ประโยชน์อื่น ๆ จากพืชยา
(5) เฝ้าระวัง ติดตาม ตรวจสอบ ป้องกันการฝ่าฝืนธรรมนูญชุมชนหรือการนําพืชยาไปใช้ ในทางที่ขัดต่อกฎหมายอื่น
(6) เสนอความเห็นต่อหน่วยงานในการปรับปรุงมาตรการป้องกันหรือลดผลกระทบจากการ ใช้พืชยาท่ีไม่ถูกต้องหรือฝ่าฝืนกฎหมายอื่น”
 
ในมาตรา 12 ของพ.ร.บ.พืชยา ระบุไว้ว่า
“ธรรมนูญชุมชนที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับพืชยาจะต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อย ดังต่อไปน้ี
(1) การควบคุม เฝ้าระวังเยาวชนและสมาชิกของชุมชน มิให้บริโภคหรือใช้พืชยาที่มีส่วนผสม ของยาเสพติดอื่น หรือมิให้นําไปใช้หรือบริโภคด้วยวิธีการท่ีส่งผลเสียต่อสุขภาพ
(2) แนวปฏิบัติหรือวิธีการปลูก ครอบครอง ใช้ประโยชน์จากพืชยาในปริมาณท่ีกําหนด เพื่อ ประโยชน์ในการป้องกัน บําบัดโรค หรือบรรเทาอาการเจ็บป่วย
(3) การใช้ตามวิถีชีวิต วัฒนธรรม หรือจิตวิญญาณของสมาชิกในชุมชน
(4) การลดอันตรายจากการใช้พืชยา
(5) ข้อกําหนดในการนําพืชยามาใช้ในประโยชน์ในด้านต่าง ๆ เช่น การศึกษาวิจัย การผลิต หรือแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพ
(6) การรายงานการใช้ประโยชน์จากของชุมชนท่ีจัดทําโดยคณะกรรมการชุมชน
ท้ังน้ี ให้คณะกรรมการกําหนดหลักเกณฑ์การปลูก ปริมาณพืชยาหรือผลิตภัณฑ์ที่เก่ียวกับพืช ยาท่ีสามารถใช้หรือครอบครองได้ตามวรรคหนึ่ง
ผู้ท่ีปฏิบัติตามธรรมนูญชุมชนไม่ถือเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติน้ี
 
ในมาตรา 10 ของร่าง พ.ร.บ.พืชยาฯ ยังกำหนดให้บุคคลหลายคนที่มีวิถีชีวิตสอดคล้องเกี่ยวพันกันเป็นชุมชนมีสิทธิรวมตัวกันและจดแจ้งเป็น "ชุมชนพืชยา" กับสถาบันพืชยาในการดำเนินการบริหารจัดการพืชยาเพื่อนำมาใช้ในทางการแพทย์ ไม่ว่าจะเป็นการปลูกการครอบครอง หรือการใช้ตามวิถีชีวิตที่กำหนดในธรรมนูญชุมชน และกำหนดมาตรการเฝ้าระวังการใช้พืชยาที่มีความปลอดภัย ป้องกันและลดผลกระทบจากการใช้กัญชาและกระท่อมที่ไม่เหมาะสม โดยจะต้องจัดให้มีกลไกคณะกรรมการภายในชุมชนเข้ามากำกับดูแล
 
ในมาตรา 11 ของร่าง พ.ร.บ.พืชยาฯ กำหนดให้มีกลไกในการใช้ การครอบครอง หรือการใช้ประโยชน์จากพืชยาผ่าน "ธรรมนูญชุมชน" ซึ่งเป็นกติกาที่ชุมชนตกลงร่วมกัน เพื่อกําหนดแนวทางการใช้ การครอบครอง หรือการใช้ประโยชน์อื่นใดจากพืชยาในทางการแพทย์ รวมถึงการใช้ประโยชน์อื่นใดที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต วัฒนธรรม จารีตประเพณีของสมาชิกของชุมชนและท้องถิ่น และกำหนดให้มีมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในชุมชน 
 
โดย เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2562 งานแถลงข่าว “ร่าง พ.ร.บ.พืชยา กัญชา กระท่อม ฉบับประชาชน” 
รศ.ดร.คนึงนิจ ศรีบัวเอี่ยม คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้กล่าวว่า "ระบบจัดการโดยชุมชนในร่าง พ.ร.บ.นี้เป็นระบบจัดการใหม่ที่กำหนดบทบาทของชุมชนให้มีสัดส่วนเข้มข้นมากกว่าบทบาทของรัฐ หรือ การจัดการร่วมโดยเอาชุมชนเป็นฐาน ชุมชนสามารถออกแบบกฎกติกาให้ตอบสนองและสอดคล้องกับเงื่อนไข ความต้องการ และความจำเป็นของแต่ละพื้นที่ โดยมีรัฐช่วยทำหน้าที่สนับสนุน ส่งเสริม ประสานงาน และดูแลปกป้องผลประโยชน์ของทุกชุมชนในภาพรวม” 
 
ให้มีคณะกรรมการพืชยาที่มาจาก ภาครัฐ-นักวิชาการ-ประชาสังคม 
 
ในมาตรา 15 ของร่างพ.ร.บ.พืชยาฯ ระบุว่า
“ให้มีคณะกรรมการคณะหน่ึงเรียกว่า “คณะกรรมการร่วมพืชยา กัญชา กระท่อม” ประกอบด้วย
(1) นายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ
(2) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นรองประธานกรรมการคนที่หนึ่ง
(3) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิท่ีรัฐมนตรีแต่งต้ังจากกรรมการตาม (5) หรือ (6) เป็นรองประธาน
กรรมการคนท่ีสอง
(4) กรรมการโดยตําแหน่ง ได้แก่ อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา อธิบดีกรมการแพทย์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ อธิบดีกรม สนับสนุนบริการสุขภาพ นายกสภาเภสัชกรรม นายกแพทยสภา นายกสภาการแพทย์แผนไทย
(5) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จํานวนสิบคน ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ซึ่งมีความรู้และความ เช่ียวชาญ หรือประสบการณ์ในด้านเภสัชศาสตร์ เภสัชอุตสาหกรรม พฤกษศาสตร์ พิษวิทยา เวชศาสตร์ชุมชน หรือเวชศาสตร์ครอบครัว การแพทย์แผนไทยด้านเวชกรรมไทย การแพทย์แผนไทยด้านเภสัชกรรมไทย การแพทย์แผนไทยประยุกต์ จิตเวช และด้านกฎหมาย ด้านละหน่ึงคน
(6) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จํานวนสี่คน ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ได้รับการเสนอชื่อ โดยองค์กรเอกชนที่มีวัตถุประสงค์มิใช่เป็นการแสวงหากําไรที่มีสถานะเป็นนิติบุคคลซึ่งมิได้จัดตั้งโดยหน่วยงาน ของรัฐหรือผู้ประกอบธุรกิจ มีผลงานการดําเนินงานไม่น้อยกว่าห้าปี และดําเนินกิจกรรมเกี่ยวกับด้านการ คุ้มครองผู้บริโภค สาธารณสขุ การคุ้มครองภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย และด้านสิทธิชุมชนหรือสิทธิผู้ป่วย ด้าน ละหนึ่งคน จํานวนสี่คน
ให้ผู้อํานวยการสถาบันเป็นกรรมการและเลขานุการ และให้เจ้าหน้าท่ีของสถาบันคนหนึ่ง จํานวนไม่เกินสองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ”
 
ในมาตรา 21 ของพ.ร.บ.พืชยาฯ ระบุว่า
“คณะกรรมการมีหน้าท่ีและอํานาจ ดังต่อไปน้ี
(1) กําหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์หรือแผนงานเพื่อส่งเสริม สนับสนุนการใช้ประโยชน์ในทาง การแพทย์ สุขภาพ การพัฒนาภูมิปัญญาด้านการแพทย์แผนไทย การศึกษาวิจัย การสร้างความมั่นคงด้านยา ของประเทศ การใช้ตามวิถีชีวิตชาวบ้าน รวมท้ังการใช้ประโยชน์ด้านอื่น ๆ เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี
(2) กํากับดูแลการดําเนินงานของสถาบันให้เกิดการจัดการที่ดีมีประสิทธิภาพและบรรลุ วัตถุประสงค์ตามอํานาจหน้าที่
(3) ส่งเสริม สนับสนุนการทดลองหรือวิจัยเก่ียวกับพืชยา การใช้ตามวิถีชีวิตชาวบ้าน
(4) กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในกระบวนการพิจารณาอนุญาตและการขึ้นทะเบียนตํารับยาตามพระราชบัญญัตินี้
(5) ให้ความเห็นชอบในการออกประกาศตามมาตรา 6
(6) ให้ความเห็นหรือคําแนะนําต่อผู้อนุญาตและหน่วยงานที่มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับพืชยาใน การปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติน้ี
(7)กําหนดหลักเกณฑ์การพักใช้ใบอนุญาต การเพิกถอนใบอนุญาตหรือส่ังให้ผู้รับอนุญาต ยุติการดําเนินการใดๆ
(8) กําหนดคุณสมบัติของผู้อํานวยการ และดําเนินการคัดเลือกผู้อํานวยการตามระเบียบท่ีคณะกรรมการกําหนด
(9) ปฏิบัติการอื่นตามที่พระราชบัญญัติน้ีหรือกฎหมายอ่ืนกําหนดให้เป็นหน้าท่ีและอํานาจของคณะกรรมการ
คณะกรรมการอาจมีมติมอบหมายให้ผู้อํานวยการสามารถดําเนินการข้อใดข้อหน่ึงตามวรรค หน่ึงตามความเหมาะสม
 
 
ในมาตรา 15 ตามร่าง พ.ร.บ.พืชยาฯ กำหนดให้มีคณะกรรมการร่วมพืชยา กัญชา กระท่อม โดยมีคณะกรรมการทั้งหมดจำนวน 25 คน ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นรองประธานคณะกรรมการคนที่หนึ่ง และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่รัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นรองประธานกรรมการคนที่สอง 
 
และกำหนดให้มีกรรมการโดยตำแหน่ง ได้แก่ อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา อธิบดีกรมการแพทย์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ นายกสภาเภสัชกรรม นายกแพทยสภา นายกสภาการแพทย์แผนไทย รวมแล้วมีกรรมการโดยตำแหน่งทั้งสิ้น 8 คน
 
และกำหนดให้มีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 10 คน โดยการแต่งตั้งของรัฐมนตรีจากบุคคลที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญหรือประสบการณ์ ด้านเภสัชศาสตร์ เภสัชอุตสาหกรรม พฤกษศาสตร์ พิษวิทยา เวชศาสตร์ชุมชนหรือเวชศาสตร์ครอบครัว การแพทย์แผนไทยด้านเวชกรรมไทย การแพทย์แผนไทยด้านเภสัชกรรมไทย การแพทย์แผนไทยประยุกต์ จิตเวช และด้านกฎหมาย 
 
และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 4 คนโดยการแต่งตั้งของรัฐมนตรีจากบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อโดยภาคเอกชนที่ทำงานโดยไม่แสวงหาผลกำไร(Ngos)ที่มีประสบการณ์ทำงานมากกว่า 5 ปี และทำงานในด้านการคุ้มครองผู้บริโภค สาธารณสุข การคุ้มครองภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย และด้านสิทธิมนุษยชนหรือสิทธิผู้ป่วย โดยกำหนดให้ผู้อำนวยการสถาบันพืชยา กัญชา กระท่อมแห่งชาติ เป็นกรรมการและเลขานุการ
 
ในมาตรา 21 ของพ.ร.บ.พืชยาฯ ได้กำหนดขอบเขตอำนาจของคณะกรรมการร่วมพืชยาไว้ว่าคณะกรรมการร่วมมีอำนาจหน้าที่ในการจัดทำนโยบายส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาพืชยา กัญชา กระท่อม มีอำนาจหน้าที่ในการบริหารงานและกำกับดูแลการดำเนินงานของสถาบันเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ ทำการส่งเสริม สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากกัญชา กระท่อม ทำการส่งเสริมการพัฒนาภูมิปัญหาการแพทย์แผนไทย มีอำนาจในการขึ้นทะเบียนตำรับยาที่มีส่วนผสมของพืชยา การให้คำแนะนำต่อผู้ได้รับใบอนุญาตพืชยารวมถึงการพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาต
 
จัดตั้ง "สถาบันพืชยา กัญชา กระท่อมแห่งชาติ" ส่งเสริมการวิจัย
 
ในมาตรา 24 ของพ.ร.บ.พืชยาฯ ระบุไว้ว่า
“ให้จัดต้ังสถาบันพืชยา กัญชา กระท่อมแห่งชาติ ข้ึนเป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณหรือกฎหมายอ่ืน
ให้สถาบันมีฐานะเป็นนิติบุคคลและอยู่ในกํากับของนายกรัฐมนตรี”
 
ในมาตรา 25 ของพ.ร.บ.พืชยาฯ ระบุไว้ว่า
“ให้สถาบันมีหน้าที่และอํานาจ ดังต่อไปนี้
(1) รับผิดชอบงานธุรการของคณะกรรมการ และคณะอนุกรรมการ
(2) จัดทํานโยบายส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาพืชยา เพื่อเสนอแก่คณะกรรมการ
(3) ประสานงานกับหน่วยงาน องค์กรที่เก่ียวข้องกับการดําเนินกิจกรรมเกี่ยวกับพืชยา
(4) ส่งเสริม สนับสนุนการศึกษาวิจัยเก่ียวกับพืชยา การใช้ประโยชน์จากพืชยาหรือการ
พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง และศึกษาผลกระทบด้านต่าง ๆ
(5) รับจดแจ้งชุมชนพืชยาและพิจารณาอนุมัติธรรมนูญชุมชน
(6) รวบรวมและจัดทําฐานข้อมูลการขออนุญาตเก่ียวกับพืชยาและการขึ้นทะเบียนตํารับยา
(7) เผยแพร่ข้อมูลผลการดําเนินงานของสถาบัน ความรู้เก่ียวกับการปลูก การใช้พืชยาท่ี ถูกต้องแก่ประชาชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
(8) มอบให้องค์กรอื่นหรือบุคคลอื่นทํากิจการที่อยู่ภายในอํานาจหน้าท่ีของสถาบัน
(9) ปฏิบัติหน้าท่ีอื่นตามท่ีกําหนดไว้ในพระราชบัญญัติน้ี หรือตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
เพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของสถาบันตามวรรคหนึ่ง สถาบันอาจมีความร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐวิสาหกิจชุมชนซึ่งจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน สหกรณ์การเกษตรซึ่งจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ หรือองค์กรเอกชนที่ไม่แสวงหากำไรซึ่งมีสถานะเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ด้านการแพทย์หรือการคุ้มครองผู้บริโภค” 
 
ในมาตรา 24 ของร่าง พ.ร.บ.พืชยาฯ กำหนดให้มี "สถาบันพืชยา กัญชา กระท่อมแห่งชาติ" เป็นหน่วยงานในกับกำของรัฐสังกัดนายกรัฐมนตรี 
และในมาตรา 25 ของร่างพ.ร.บ.เดียวกันนี้ ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของสถาบันพืชยาฯไว้ว่า ให้มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบงานธุรการและปฏิบัติตามภาระงานที่ได้รับมอบหมายของคณะกรรมการร่วมพืชยาฯ จัดทำโยบายเพื่อเสนอแก่คณะกรรมการ ส่งเสริม สนับสนุนการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับพืชยา รับจดแจ้งชุมชนพืชยาและพิจารณาอนุมัติธรรมนูญชุมชน รวบรวมและจัดทำฐานข้อมูลการขออนุญาตเกี่ยวกับพืชยาและการขึ้นทะเบียนตำรับยา เผยแพร่ข้อมูลผลการดำเนินงานของสถาบันและความรู้ในการปลูกพืชยา การใช้พืชยาที่ถูกต้องแก่ประชาชน
 
ห้ามการโฆษณากัญชาและผลิตภัณฑ์กัญชา และมีการควบคุมราคายา
 
ในมาตรา 64 ของร่างพ.ร.บ.พืชยาฯ ระบุไว้ว่า
“เพื่อป้องกันการกําหนดราคาซื้อหรือราคาขายยาท่ีไม่เป็นธรรม หรือเพื่อความ มั่นคงด้านยาของประเทศกําหนดให้มีการควบคุมราคายา ให้รัฐมนตรีประกาศรายชื่อยาที่จําหน่ายได้ไม่เกิน ราคาที่กําหนดไว้”
 
ใมาตรา 69 ของร่างพ.ร.บ.พืชยาฯ ระบุไว้ว่า
“ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณากัญชา กระท่อม ผลิตภัณฑ์กัญชา ผลิตภัณฑ์กระท่อม หรือ ผลิตภัณฑ์พืชยาอื่นในสื่อสิ่งพิมพ์ ทางวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต หรือสื่ออื่นใดท่ีใช้เป็นการ โฆษณาได้ ยกเว้นการโฆษณายาสามัญประจําบ้าน
การโฆษณาตามวรรคหนึ่ง ต้องแสดงช่ือสามัญทางยาเป็นลําดับต้นและมีความชัดเจนกว่าการ แสดงช่ือทางการค้า ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขท่ีรัฐมนตรีประกาศกําหนด”
 
ในมาตรา 70 ของร่างพ.ร.บ.พืชยาฯ ระบุไว้ว่า
“การโฆษณายาสามัญประจําบ้านทางเครื่องขยายเสียง วิทยุกระจายเสียง วิทยุ โทรทัศน์ ภาพน่ิง ภาพยนตร์ ส่ิงพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือการโฆษณาด้วยวิธีการอ่ืนใด จะต้องได้รับอนุมัติ ข้อความ เสียง ภาพ หรือวิธีการที่ใช้ในการโฆษณาจากพนักงานเจ้าหน้าท่ี
การอนุญาตตามวรรคหน่ึง พนักงานเจ้าหน้าท่ีจะกําหนดเงื่อนไขเฉพาะในการโฆษณาไว้ด้วยก็
ได้”
 
ในมาตรา 69 ของร่าง พ.ร.บ.พืชยาฯ ได้กำหนดหลักเกณฑ์เรื่องการโฆษณา กล่าวคือ ห้ามไม่ให้โฆษณากัญชาและกระท่อมแต่หากเป็นกรณีตามมาตรา 70 ของร่างพ.ร.บ.พืชยาฯนี้ กล่าวคือถ้าเป็นพืชยาที่เป็นตำรับยาสามัญประจำบ้านก็สามารถทำการโฆษณาได้ แต่ห้ามโฆษณาเกินจริงหรือโฆษณาอันเป็นเท็จ และนอกจากนั้นตามมาตรา 64 ของร่างพ.ร.บ.พืชยาฯได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการควบคุมราคายาเพื่อไม่ให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการกำหนดราคาซื้อราคาขาย หรือ ขาดแคลนยา 
 
ให้ เลขาธิการ อย. ขึ้นทะเบียนตำรับยาแผนปัจจุบันที่มีพืชยาเป็นสาระสำคัญ
 
ในมาตรา 41 ของร่างพ.ร.บ.พืชยาฯ ได้ระบุไว้ว่า
“ผู้ใดประสงค์จะผลิตหรือนําเข้าเพ่ือขายผลิตภัณฑ์กัญชา ผลิตภัณฑ์กระท่อม หรือผลิตภัณฑ์พืชยาอื่น หรือผลิตภัณฑ์สมุนไพรท่ีมีกัญชา กระท่อม หรือพืชยาอ่ืนเป็นสารสําคัญต้องนําตํารับ ยาหรือผลิตภัณฑ์น้ันมาขอข้ึนทะเบียนตํารับกับผู้อนุญาตก่อน และเม่ือได้รับใบสําคัญการขึ้นทะเบียนตํารับแล้วจึงจะผลิตหรือนําเข้าเพื่อขายได้
การขอขึ้นทะเบียนตํารับยาและการออกใบสําคัญการข้ึนทะเบียนตํารับยาตามวรรคหนึ่ง ให้ เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขท่ีคณะกรรมการประกาศกําหนด โดยให้กําหนดออกเป็นประเภท ดังต่อไปนี้
(1) การขอขึ้นทะเบียนตํารับยาแผนปัจจุบัน ตํารับยาแผนไทยท่ีมีส่วนผสมของกัญชา กระท่อม หรือพืชยาอ่ืน ผู้อนุญาตคือเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา หรือผู้ท่ีเลขาธิการคณะกรรมการ อาหารและยามอบหมาย
(2) การขอข้ึนทะเบียนกัญชา กระท่อม หรือพืชยาอ่ืนที่ไม่เข้ากรณีตาม (1) รวมทั้งการผลิต นําเข้าเภสัชเคมีภัณฑ์ การแปรรูปพืชยาเป็นวัตถุดิบยาหรือวัตถุดิบยาก่ึงสําเร็จรูปผู้อนุญาตคือผู้อํานวยการ หรือผู้ที่ผู้อํานวยการมอบหมาย
การพิจารณาออกใบสําคัญตาม (1) (2) ให้ผู้ขอขึ้นทะเบียนตํารับเป็นผู้รับผิดชอบชําระ ค่าใช้จ่ายในการตรวจวิเคราะห์หรือประเมินเอกสารทางวิชาการ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการ กําหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
 
ในมาตรา 41 ของร่าง พ.ร.บ.พืชยา ได้กำหนดให้มีการขึ้นทะเบียนตำรับยาที่มีพืชยาเป็นสารสำคัญ โดยหากเป็นทะเบียนตำรับยาแผนปัจจุบัน ตำรับยาแผนไทยที่มีส่วนผสมของกัญชา กระท่อม หรือพืชยาอื่น ผู้อนุญาตคือเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) หรือผู้ที่เลขาธิการ อย. มอบหมาย แต่สำหรับกรณีทะเบียนกัญชา กระท่อม หรือพืชยาอื่นๆ ที่ไม่อยู่ในอำนาจของเลขาธิการ อย. ผู้อนุญาต คือ ผู้อำนวยการสถาบันพืชยาหรือผู้ที่ผู้อำนวยการพืชยามอบหมาย
 
ในประเด็นนี้เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2562 งานแถลงข่าว “ร่าง พ.ร.บ.พืชยา กัญชา กระท่อม ฉบับประชาชน” ผศ.ภญ.ดร.สุนทรี ท. ชัยสัมฤทธิ์โชค คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า “แนวทางการขึ้นทะเบียนตำรับ การอนุญาตผลิต นำเข้า และจำหน่ายผลิตภัณฑ์กัญชา กระท่อม หรือพืชยาอื่นๆว่า ควรมีการกำหนดบทบัญญัติการออกใบอนุญาตเพื่อประกอบกิจการผลิตภัณฑ์กัญชา และกระท่อม หรือพืชยาอื่น โดยควบคุมดูแลในทำนองเดียวกันกับยา ซึ่งต้องสั่งใช้โดยแพทย์แผนปัจจุบันหรือแพทย์แผนไทย และจ่ายยาโดยเภสัชกรเท่านั้น" 
 
"อีกหนึ่งในสาระสำคัญของร่างกฎหมายฉบับนี้ เสนอให้เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา มอบอำนาจให้ สถาบันพืชยา กัญชา กระท่อมแห่งชาติ จัดระบบพืชยาทุกประเภท เพื่อสร้างความสมดุลในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากพืชยา" ผศ.ภญ.ดร.สุนทรี กล่าว
 
โอนบางหน่วยงานของ ป.ป.ส. ไปเป็นสำนักงานตามกฎหมายพืชยา
 
 
มาตรา 102 ของบทเฉพาะกาลในร่างพ.ร.บ.พืชยาฯ ระบุไว้ว่า
“ให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ หน้ีสิน และเงินงบประมาณของสํานักงาน ป.ป.ส. ในส่วนของ ไปเป็นของสถาบันตามพระราชบัญญัตินี้
ให้โอนพนักงานของ สํานักงาน ป.ป.ส. ไปเป็น พนักงานของสถาบันตามพระราชบัญญัติน้ี
ข้าราชการและลูกจ้างผู้ใดซ่ึงปฏิบัติงานที่สถาบันสํารวจและติดตามการปลูกพืชเสพ ติด สํานักงาน ป.ป.ส. อยู่ในวันท่ีพระราชบัญญัติน้ีประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อได้แสดงความจํานงเป็น หนังสือต่อผู้อํานวยการภายในหกสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้โอนมาเป็นพนักงานหรือ ลูกจ้างของสถาบันนับแต่วันที่แสดงความจำนง” 
 
ในบทเฉพาะกาลมาตรา 102 ของร่างพ.ร.บ.นี้ ได้เสนอในเรื่องของกําหนดให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ หนี้สิน และเงินงบประมาณของสํานักงาน ป.ป.ส. ใน ส่วนของสถาบันสำรวจและติดตามการปลูกพืชเสพติดไปเป็นของสถาบันตามพระราชบัญญัตินี้ และให้โอน พนักงานของสถาบันสำรวจและติดตามการปลูกพืชเสพติดสํานักงาน ป.ป.ส. ไปเป็นพนักงานของสถาบันตามพระราชบัญญัตินี้
 
 
สำหรับผู้ที่เห็นด้วยกับร่างพ.ร.บ.พืชยา กัญชา กระท่อม และอยากสนับสนุนสามารถมีส่วนร่วมในการ่วมเข้าชื่อเสนอกฎหมายได้โดยการทำตามขั้นตอนต่อไปนี้ 
2.แนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (หรือบัตรประจำตัวประชาชนที่หมดอายุ หรือบัตรหรือหลักฐานอื่นใดของทางราชการที่มีรูปถ่ายสามารถแสดงตนได้และมีหมายเลขประจำตัวประชาชน) พร้อมเซ็นสำเนาถูกต้อง และเซ็นชื่อกำกับ และเขียนคร่อมเขียนกำกับว่า "เพื่อเสนอร่างพระราชบัญญัติพืชยา กัญชา กระท่อม พ.ศ. …
3.ส่งแบบฟอร์มที่กรอกข้อมูลแล้วพร้อมสำเนาบัตรข้างต้น มาที่ ศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 254 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กทม. 10330