ตารางแสดงภาพรวมประวัติการเข้าชื่อเสนอกฎหมายของภาคประชาชน ตั้งแต่รัฐธรรมนูญ 2540 ให้สิทธินี้กับคนไทย มีฉบับไหนบ้าง? สำเร็จหรือไม่? เพียงไร?
ภาพรวมประวัติการเสนอกฎหมายโดยภาคประชาชน
กฎหมายประชาชนที่สิ้นสุดกระบวนการแล้ว
ลำดับ | ชื่อกฎหมาย | วันที่ยื่นต่อรัฐสภา | จำนวนรายชื่อประชาชน | ปลายทางของกฎหมาย |
1. | ร่างพระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. … | 28 ก.พ. 2542 | 52,698 คน | สภาผู้แทนราษฎรลงมติไม่เห็นชอบด้วย อยู่ที่ประชุมวุฒิสภา และต่อมาสิ้นสุดเนื่องจากมีการประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญ ฉบับพ.ศ. 2540 |
2. | ร่างพระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติ พ.ศ. … | 24 ธ.ค. 2542 | 64,368 คน | สภาผู้แทนสิ้นสุดลง และรัฐบาลใหม่ไม่ได้ร้องขอให้รัฐสภาพิจารณาต่อ กฎหมายจึงตกไป |
3. | ร่างพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. … | 26 มี.ค. 2544 | 52,837 คน | คณะรัฐมนตรีเสนอร่างพระราชบัญญัติที่มีหลักการอย่างเดียวกันเป็นเรื่องด่วน และร่างฉบับรัฐบาลผ่านการพิจารณาประกาศใช้เป็นกฎหมาย |
4. | ร่างพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. … | 4 ก.พ. 2546 | 97,135 คน | สภาผู้แทนสิ้นสุดลง และรัฐบาลใหม่ไม่ได้ร้องขอให้รัฐสภาพิจารณาต่อ กฎหมายจึงตกไป |
5. | ร่างพระราชบัญญัติเงินเดือนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. … | 29 ต.ค. 2546 | 54,520 คน | ประธานรัฐสภาวินิจฉัยว่าไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามที่กำหนดในหมวด 3 และ 5 ของรัฐธรรมนูญ (ตกไป) |
6. | ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดภูเวียง พ.ศ. … | 27 พ.ย. 2546 | 56,030 คน | บรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมแล้ว แต่สิ้นสุดเนื่องจากมีการประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญ ฉบับพ.ศ. 2540 |
7. | ร่างพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ | 27 พ.ค. 2547 | 150,000คน | บรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมแล้ว แต่สิ้นสุดเนื่องจากมีการประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญ ฉบับพ.ศ. 2540 |
8. | ร่างพระราชบัญญัติควบคุมการจดทะเบียนและซื้อขายหลักทรัพย์ของกิจการเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และบุหรี่ พ.ศ. … | 20 ก.ค. 2548 | 63,455 คน | อยู่ระหว่างปิดประกาศรายชื่อให้ใช้สิทธิคัดค้าน แต่สิ้นสุดเนื่องจากมีการประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญ ฉบับพ.ศ. 2540 |
9. | ร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน พ.ศ. … | 10 ส.ค. 2548 | 167,101คน | อยู่ระหว่างปิดประกาศรายชื่อให้ใช้สิทธิคัดค้าน แต่สิ้นสุดเนื่องจากมีการประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญ ฉบับพ.ศ. 2540 |
10. | ร่างพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน (ฉบับที่…) พ.ศ. … | 2 ต.ค. 2551 | 11,577 คน | สภาผู้แทนราษฎรรับหลักการไปพิจารณาประกอบร่างที่เสนอโดยรัฐบาล ต่อมาผ่านการพิจารณาประกาศใช้เป็นกฎหมาย |
11. | ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับที่…) พ.ศ. … (ฉบับ คปพร.) | 8 พ.ค. 2551 | 71,543 คน | รัฐสภาลงมติไม่รับหลักการเมื่อวันที่ 25 พ.ย. 2553 ในวาระที่ 1 (ตกไป) |
12. | ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับที่…) พ.ศ. … (ฉบับนปช.) | 9 ก.พ. 55 | 60,000 คน | เนื่องจากหลักการทำนองเดียวกับร่างฉบับอื่นที่เสนอโดยส.ส. และคณะรัฐมนตรี ซึ่งรับหลักการไปก่อนแล้ว จึงไม่สามารถบรรจุระเบียบวาระการประชุมได้ |
12. | ร่างพระราชบัญญัติการจัดทำหนังสือสัญญาระหว่างประเทศ พ.ศ. … | 18 มี.ค. 2552 | 10,378 คน | ประธานรัฐสภาวินิจฉัยว่าไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามที่กำหนดในหมวด 3 และ 5 ของรัฐธรรมนูญ (ตกไป) |
13. | ร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่…) พ.ศ. … | 28 ส.ค. 2552 | 12,602 คน | สภาผู้แทนราษฎรรับหลักการไปพิจารณาประกอบร่างที่เสนอโดยรัฐบาล ต่อมาผ่านการพิจารณาประกาศใช้เป็นกฎหมาย |
14. | ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ฉบับที่…) พ.ศ. … | 28 ส.ค. 2552 | 13,812 คน | สภาผู้แทนราษฎรรับหลักการไปพิจารณาประกอบร่างที่เสนอโดยรัฐบาล ต่อมาผ่านการพิจารณาประกาศใช้เป็นกฎหมาย |
15. | ร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับที่…) พ.ศ. … | 28 ส.ค. 2552 | 13,940 คน | สภาผู้แทนราษฎรรับหลักการไปพิจารณาประกอบร่างที่เสนอโดยรัฐบาล ต่อมาผ่านการพิจารณาประกาศใช้เป็นกฎหมาย |
16. | ร่างพระราชบัญญัติหลักประกันชราภาพแห่งชาติ พ.ศ. … | 9 มี.ค. 2553 | 19,819 คน | ประธานสภาฯ เห็นว่าเป็นร่างกฎหมายเกี่ยวด้วยการเงิน จึงส่งให้นายกรัฐมนตรีรับรอง แต่นายกรัฐมนตรีไม่รับรอง (ตกไป) |
17. | ร่างพระราชบัญญัติกองทุนสินไหมผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. … | 2 เม.ย. 2553 | 10,446 คน | ประธานสภาฯ เห็นว่าเป็นร่างกฎหมายเกี่ยวด้วยการเงิน จึงส่งให้นายกรัฐมนตรีรับรอง แต่นายกรัฐมนตรีไม่รับรอง (ตกไป) |
18. | ร่างพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่…) พ.ศ. … | 9 มิ.ย. 2553 | 10,028 คน | |
19. | ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่…) พ.ศ. … (แก้ไขมาตรา112 ตามข้อเสนอคณะนิติราษฎร์) | 29 พ.ค. 2555 | 26,968 คน | ประธานรัฐสภาวินิจฉัยว่าไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามที่กำหนดในหมวด 3 และ 5 ของรัฐธรรมนูญ (ตกไป) |
20. | ร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่…) พ.ศ. … | 24 พ.ย. 2553 | 14,264 คน | สภาผู้แทนราษฎรลงมติไม่รับหลักการในวาระที่ 1 เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2556 (ตกไป) |
21. | ร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพการสาธารณสุข พ.ศ. … | 25 ก.พ. 2553 | 14,812 คน | สภาผู้แทนราษฎรรับหลักการไปพิจารณาประกอบร่างที่เสนอโดยรัฐบาล ต่อมาผ่านการพิจารณาประกาศใช้เป็นกฎหมาย |
22. | ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ. … (ฉบับมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ) | 14 ต.ค. 2553 | 10,751 คน | สภาผู้แทนราษฎรรับหลักการไปพิจารณาประกอบร่างที่เสนอโดยรัฐบาลและร่างที่เสนอโดยสถาบันพระปกเกล้า ต่อมาผ่านการพิจารณาประกาศใช้เป็นกฎหมาย |
23. | ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ. … (ฉบับสถาบันพระปกเกล้า) | 3 มิ.ย. 2554 | สภาผู้แทนราษฎรรับหลักการไปพิจารณาประกอบร่างที่เสนอโดยรัฐบาลและร่างที่เสนอโดยมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ ต่อมาผ่านการพิจารณาประกาศใช้เป็นกฎหมาย | |
24. | ร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพ แพทย์แผนไทย พ.ศ. … | 17 มิ.ย. 2551 | 10,227 คน | สภาผู้แทนราษฎรรับหลักการไปพิจารณาประกอบร่างที่เสนอโดยรัฐบาลและร่างที่เสนอโดยมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ ต่อมาผ่านการพิจารณาประกาศใช้เป็นกฎหมาย |
กฎหมายที่กำลังอยู่ในกระบวนการของรัฐสภา
กฎหมายที่กำลังอยู่ในระหว่างการรวบรวมรายชื่อ
ลำดับ | ชื่อกฎหมาย | องค์กรเจ้าภาพ |
1. | ร่างพระราชบัญญัติยกเลิกกฎหมายด้านความมั่นคงที่ขัดต่อสิทธิเสรีภาพตามระบอบประชาธิปไตย พ.ศ. … | โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) |
2. | ร่างพระราชบัญญัติสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. … | สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย |
3. | ร่างพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. … | แผนงานพัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยา (กพย.) |
4. | ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. … | สมัชชาองค์กรเอกชนด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ |
5. | ร่างพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่…) พ.ศ. … | เครือข่ายส่งเสริมสถานภาพทางกฎหมายของภิกษุณีสงฆ์เพื่อเติมเต็มพุทธบริษัท 4 |
6. | ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่…) พ.ศ. … (ยกเลิกมาตรา 112) | เครือข่ายประชาธิปไคย (คปต.) |
7. | ร่างพระราชบัญญัติผู้ลี้ภัย พ.ศ. … | มูลนิธิไทยเพื่อคนมีปัญหาสิทธิและสถานะบุคคล |
8. | ร่างพระราชบัญญัติการประมง (ฉบับที่…) พ.ศ. … | สมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย |
9. | ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการสาธารณสุขและบุคลากรสาธารณสุข พ.ศ…. | สหพันธ์ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขแห่งประเทศไทย |
10. | ร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการปัตตานีมหานคร พ.ศ. … | เครือข่ายประชาชนเพื่อพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการปกครองในจังหวัดชายแดนใต้และองค์กรเครือข่าย |
11. | ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิอนามัยการเจริญพันธุ์และสุขภาพทางเพศ พ.ศ. … | มูลนิธิสร้างความเข้าใจเรื่องสุขภาพผู้หญิง |
12. | ร่างพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำแห่งชาติ พ.ศ. … | สมัชชาองค์กรเอกชนด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ |
13. | ร่างพระราชบัญญัติขจัดการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล พ.ศ. … | สมาคมสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย |
14. | ร่างพระราชบัญญัติกิจการสลากเพื่อสังคม พ.ศ. … | มูลนิธิเครือข่ายครอบครัว |
15. | ร่างพระราชบัญญัติกองทุนส่งเสริมการพัฒนาภาคประชาสังคม พ.ศ. … | มูลนิธิเครือข่ายครอบครัว |
16. | ร่าง พ.ร.บ.กองทุนสนับสนุนการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. … | สำนักงานปฏิรูปเพื่อสังคมไทยที่เป็นธรรม (สปร.) |
17. | ร่าง พ.ร.บ.สลากเพื่อสังคม พ.ศ. … (ฉบับประชาชน) | เครือข่ายประชาชนปฏิรูปสลาก |
(ปรับปรุงเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2556)
อธิบายเพิ่มเติม
1. ภายใต้รัฐธรรมนูญ ฉบับ พ.ศ.2540 ร่างพระราชบัญญัติที่เสนอโดยภาคประชาชน ต้องใช้รายชื่อประชาชนอย่างน้อย 50,000 คน ภายใต้รัฐธรรมนูญ ฉบับ พ.ศ.2550 ร่างพระราชบัญญัติที่เสนอโดยภาคประชาชน ต้องใช้รายชื่อประชาชนอย่างน้อย 10,000 คน และร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ต้องใช้รายชื่อประชาชนอย่างน้อย 50,000 คน
2. ร่างพระราชบัญญัติที่มีคำว่า “(ฉบับที่…)” หมายถึง เสนอร่างพระราชบัญญัติเพื่อแก้ไขพระราชบัญญัติฉบับเดิมที่มีอยู่แล้ว ส่วนร่างพระราชบัญญัติที่ไม่มีคำว่า “(ฉบับที่…)” หมายถึง เสนอร่างพระราชบัญญัติขึ้นใหม่เป็นครั้งแรก
3. ร่างพระราชบัญญัติที่ผ่านการพิจารณาของรัฐสภา และประกาศบังคับใช้เป็นกฎหมายได้ เป็นกรณีที่ร่างฉบับที่เสนอโดยการเข้าชื่อกันของประชาชน ถูกพิจารณารวมกับร่างที่เสนอโดยรัฐบาล และสุดท้ายกฎหมายที่ประกาศใช้บังคับเป็นการนำหลักการของหลายร่างมาผสมกัน จึงอาจกล่าวได้ว่า กฎหมายที่เสนอโดยภาคประชาชนสามารถออกเป็นกฎหมายใช้บังคับได้จริง แต่ไม่สมบูรณ์ทั้งหมด
4. ข้อมูลนี้เป็นข้อมูลเท่าที่ไอลอว์รวบรวมได้เท่านั้น ยังอาจจะไม่ใช่ความเคลื่อนไหวทั้งหมดในการผลักดันกฎหมายโดยภาคประชาชน
ขอขอบคุณ ข้อมูลจาก งานวิจัยโดย โครงการปรับปรุงกระบวนการนิติบัญญัติของประเทศไทยเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) และข้่อมูลจากเว็บไซต์ของรัฐสภา