เก็บอาวุธทหาร: ยกเลิกกฎหมายความมั่นคง

ในช่วงที่มีการชุมนุมต่อต้านรัฐบาลครั้งใหญ่ จะมีชื่อของกฎหมายสองฉบับที่ผู้ชุมนุมไม่ค่อยอยากได้ยิน คือ พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน (พรก.ฉุกเฉิน)และ พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (พรบ.ความมั่นคง)

กฎหมายทั้งสามฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันภัยที่กระทบต่อความมั่นคงของประเทศ การประกาศใช้กฎหมายเป็นการให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐหลายประการที่ในภาวะปกติไม่มีอำนาจกระทำได้ เพื่อให้สามารถเข้าดำเนินการป้องกัน ปราบปราม รับมือกับสถานการณ์ต่างๆ ได้หากเกิดเหตุการณ์ไม่สงบขึ้น
 
นอกจากกฎหมายสองฉบับดังที่กล่าวมาแล้ว ยังมีกฎหมายเก่าอีกฉบับหนึ่งซึ่งยังมีผลใช้บังคับอยู่จนถึงปัจจุบัน และมีเงื่อนไขของการบังคับใช้กับที่คล้ายคลึงกันควรนำมากล่าวถึงไว้ด้วยนั่นก็คือ พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก
 
เป็นที่แน่นอนว่าเนื้อหาของกฎหมายบางส่วนมีลักษณะที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ สวนทางกับหลักสิทธิมนุษยชนและระบบการปกครองโดยกฎหมาย แต่ขณะเดียวกันในทางการปกครอง ก็จำเป็นที่รัฐจะต้องมีกฎหมายหรือมีมาตรการสำรองไว้เป็นเครื่องมือให้กับเจ้าหน้าที่รัฐ ในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ไม่สงบขึ้นในบ้านเมือง
 
การศึกษาถึงประวัติการประกาศใช้กฎหมาย และเนื้อหาบางส่วนที่สำคัญ น่าจะช่วยให้เห็นภาพมากขึ้นว่า กฎหมายเหล่านี้มีเจตนารมณ์และลักษณะการใช้เพื่อสร้างความมั่นคงให้กับรัฐ หรือเป็นปฏิปักษ์กับสิทธิเสรีภาพของประชาชนมากกว่ากัน
 
พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ..2548
  • นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีมีอำนาจประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ระยะเวลาครั้งละไม่เกินสามเดือน ในกรณีเร่งด่วนนายรัฐมนตรีคนเดียวมีอำนาจประกาศไปก่อน แล้วมาขอความเห็นชอบภายหลังได้ (มาตรา 5)
  • เมื่อประกาศแล้ว อำนาจหน้าที่ของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและแก้ไขสถานการณ์ให้โอนมาเป็นอำนาจของนายกรัฐมนตรี (มาตรา 7)
  • นายกรัฐมนตรี มีอำนาจออกข้อกำหนดเพื่อ ห้ามมิให้บุคคลใดออกนอกเคหสถานในเวลาที่กำหนด ห้ามมิให้มีการชุมนุมหรือมั่วสุมกัน ณ ที่ใดๆ ห้ามการเสนอข่าว การจำหน่าย ทำให้แพร่หลายซึ่งหนังสือหรือสื่ออื่นใด ที่อาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัวหรือเกิดความไม่สงบ ห้ามใช้เส้นทางคมนาคมหรือยานพาหนะที่กำหนด ห้ามใช้อาคารหรืออยู่ในสถานที่ใดๆ หรืออพยพประชาชนออกจากพื้นที่ที่กำหนด (มาตรา 9)
  • ในกรณีที่สถานการณ์ฉุกเฉินมีการก่อการร้าย หรือใช้กำลังประทุษร้าย กระทบต่อความมั่นคง นายกรัฐมนตรีมีอำนาจประกาศให้เป็นสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง โดยให้เจ้าหน้าที่ของรัฐมีหน้าที่เพิ่มเติมขึ้น สามารถจับกุมบุคคลใดที่ต้องสงสัย ออกคำสั่งเรียกบุคคลใดมาให้ข้อมูล ออกคำสั่งยึดอาวุธ หรือสินค้าใดๆที่ต้องสงสัย ออกคำสั่งตรวจค้น รื้อ ทำลายอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง ตรวจสอบจดหมาย โทรเลข โทรศัพท์ ยับยั้งการสื่อสารใดๆ ห้ามผู้ใดเดินทางออกนอกราชอาณาจักร ออกคำสั่งให้ใช้กำลังทหารเพื่อช่วยเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ ฯลฯ (มาตรา 11)
  • สามารถควบคุมตัวบุคคลที่ต้องสงสัยไว้ได้ไม่เกินเจ็ดวัน (มาตรา 12) (ในกรณีปกติกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาให้ควบคุมตัวได้ไม่เกินสี่สิบแปดชั่วโมง)
  • ข้อกำหนด ประกาศ คำสั่งหรือการกระทำตามพระราชกำหนดนี้ ไม่อยู่ในอำนาจการตรวจสอบของศาลปกครอง (มาตรา 16)
  • เจ้าหน้าที่ที่ใช้อำนาจตามพระราชกำหนดนี้ไม่ต้องรับผิดทั้งทางแพ่ง ทางอาญา และทางวินัย หากเป็นการกระทำที่สุจริตและไม่เกินสมควรแก่เหตุ (มาตรา 17)
พระราชกำหนดฉบับนี้ประกาศใช้เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2548 ในยุคที่ พ... ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลเคยอาศัยอำนาจตามพระราชกำหนดนี้ออกข้อกำหนดเพื่อประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ทั้งหมด 5 ครั้ง ดังนี้
 

ในยุคที่พ... ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2548 เพียง 4 วันหลังประกาศใช้พระราชกำหนด รัฐบาลประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และมีคำสั่งให้ขยายระยะเวลาต่อมาอีกหลายครั้งจนถึงปัจจุบัน
ในยุคที่นายสมัคร สุนทรเวชเป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2551 รัฐบาลประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ในสถานการณ์ที่ผู้ชุมนุมกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยปะทะกับผู้ชุมนุมกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการแห่งชาติ บริเวณถนนราชดำเนิน
ในยุคที่นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2551 รัฐบาลประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ในสถานการณ์ที่ผู้ชุมนุมกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยบุกยึดสนามบินและสถานที่ราชการเพื่อขับไล่รัฐบาล
ในยุคที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2552 รัฐบาลประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในท้องที่จังหวัดชลบุรี ในสถานการณ์ที่กลุ่มผู้ชุมนุมเสื้อแดงบุกเข้าไปในบริเวณที่มีการจัดการประชุมสุดยอดอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา
ในยุคที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2552 รัฐบาลประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตกุรงเทพมหานครและหลายจังหวัดใกล้เคียง ในสถานการณ์ที่กลุ่มผู้ชุมนุมเสื้อแดงปิดถนนในกรุงเทพมหานครเพื่อขับไล่รัฐบาล
ครั้งที่ 6
ในยุคที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะเป็นนายกรัฐมนตรี ในสถานการณ์ที่มีการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงที่สะพานผ่านฟ้าและแยกราชประสงค์ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2553 รัฐบาลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในพื้นที่กรุงเทพฯและหลายจังหวัด และตั้งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ขึ้น แล้วประกาศให้การชุมนุมดังกล่าวเป็นการชุมนุมที่ผิดกฎหมาย หลังจากนั้นในวันที่ 10 เมษายน 2553 เกิดการปะทะกันรุนแรงขึ้นที่สะพานผ่านฟ้า และถัดมาในวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 รัฐบาลสั่งสลายการชุมนุม (กระชับพื้นที่ / ขอพื้นที่คืน) ทั้งยังประกาศเคอร์ฟิวเวลากลางคืนต่อเนื่องกัน 10 คืน และถือเป็นการประกาศเคอร์ฟิวเป็นครั้งแรกในรอบ 18 ปี ปัจจุบัน พื้นที่กรุงเทพมหานครและหลายจังหวัดยังอยู่ภายใต้พ.ร.ก.ฉุกเฉิน (ข้อมูลล่าสุดวันที่ 2 กรกฎาคม 2553)
ครั้งที่ 7
ในช่วงที่นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรเป็นรักษาการนายกรัฐมนตรี การประกาศใช้พระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน เกิดขึ้นหลังกลุ่มมวลชนในนาม คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข.(กปปส) ประกาศปิดกรุงเทพในวันที่ 13 มกราคม 2557 และมีการเคลื่อนมวลชนไปปิดสถานที่ราชการบางแห่งเพื่อไม่ให้ข้าราชการเข้าทำงาน พ.ร.ก.ฉุกเฉินครั้งนี้มีผลบังคับใช้ในวันที่ 22 มกราคม 2556 ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานคร และอำเภอบางพลีของจังหวัดสมุทรปราการกับอำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี หลังมีการประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินมีการจัดตั้งศูนย์รักษาความสงบเรียบร้อย (ศรส) ขึ้นมาเพื่ออำนวยการตามพ.ร.ก.ฉุกเฉินโดยมี ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเป็นผู้อำนวยการ        
 
 
 
ที่มาภาพ thaigov
 
พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ..2551
  • พระราชบัญญัติฉบับนี้เป็นกฎหมายจัดตั้งและเป็นที่มาของอำนาจของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) โดยให้เป็นองค์กรที่ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี (มาตรา 5) ตามปกติแล้วมีหน้าที่ติดตามตรวจสอบ สถานการณ์ที่อาจเป็นภัยต่อความมั่นคง เสริมการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และดำเนินการอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย (มาตรา 7)
  • ในกรณีที่ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร แต่ยังไม่มีความจำเป็นต้องประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน และเหตุการณ์นั้นมีแนวโน้มว่าจะอยู่ต่อไปเป็นเวลานาน ทั้งอยู่ในอำนาจของหน่วยงานหลายหน่วย ให้คณะรัฐมนตรีมีอำนาจมอบหมายให้กอ.รมน. เป็นผู้รับผิดชอบในการป้องกัน ปราบปรามเหตุการณ์ดังกล่าว (มาตรา 15)
  • ผู้อำนวยการ กอ.รมน. โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจออกข้อกำหนด ห้ามเข้าไปในบริเวณพื้นที่ อาคาร หรือสถานที่ที่กำหนด ห้ามออกนอกเคหสถาน ห้ามใช้เส้นทางคมนาคมหรือการใช้ยานพาหนะ ให้ปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งเกี่ยวกับเครื่องมืออิเล็กทรอนิคส์ (มาตรา 18)
  • ข้อกำหนด ประกาศ คำสั่งหรือการกระทำตามกฎหมายนี้ไม่อยู่ในอำนาจการตรวจสอบของศาลปกครอง แต่อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม (มาตรา 23)
พระราชบัญญัตินี้ประกาศใช้เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2551 ในยุคที่ พล..สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่ประกาศใช้คณะรัฐมนตรีมีมติให้ประกาศเขตพื้นที่ที่ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักรและมอบอำนาจให้กอ.รมน. ควบคุมดูแลทั้งหมด 5 ครั้ง
 
ในยุครัฐบาลนาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะประกาศพื้นที่ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตและทะเลอาณาเขต 5 กิโลเมตรรอบจังหวัดภูเก็ต ระหว่างวันที่ 10 – 24 กรกฎาคม 2550 ซึ่งเป็นช่วงเวลาการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนและประเทศคู่เจรจา
นยุครัฐบาลนาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะประกาศพื้นที่ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ในพื้นที่เขตดุสิต ระหว่างวันที่ 29 สิงหาคม ถึง 1 กันยายน 2552 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่กลุ่มผู้ชุมนุมเสื้อแดงจะทำการเคลื่อนไหวครั้งใหญ่
ในยุครัฐบาลนาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะประกาศพื้นที่ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ในพื้นที่เขตดุสิต เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2552 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่กลุ่มผู้ชุมนุมเสื้อแดงจะทำการเคลื่อนไหวครั้งใหญ่
ในยุครัฐบาลนาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะประกาศพื้นที่ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ในพื้นที่หลายอำเภอในจังหวัดเพชรบุรี และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ระหว่างวันที่ 12 ถึง 27 ตุลาคม 2552 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่กำลังจะมีการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนและการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง
ในยุครัฐบาลนาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะประกาศพื้นที่ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ในพื้นที่เขตดุสิต ระหว่างวันที่ 15-25 ตุลาคม 2552 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่กลุ่มผู้ชุมนุมเสื้อแดงจะทำการเคลื่อนไหวครั้งใหญ่ในกรุงเทพมหานครขณะที่มีการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนอยู่ที่อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ครั้งที่ 6
ในยุครัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะเริ่มประกาศบังคับใช้พ.ร.บ.ความมั่นคงภายในในเขตกรุงเทพฯ และหลายจังหวัดใกล้เคียง ตั้งแต่วันที่ 11 – 23 มี.ค. 2553 และตั้งศูนย์อำนวยการรักษาความสงบ (ศอ.รส.) การประกาศนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมการชุมนุมใหญ่ของคนเสื้อแดงที่คาดว่าจะมีขึ้นในวันที่ 14 มี.ค. 53 จากนั้นมีการประกาศขยายเวลาต่ออายุ พ.ร.บ.ความมั่นคงต่อไปอีก 7 วัน ตั้งแต่วันที่ 24 – 30 มี.ค. 2553 ในเขตกรุงเทพฯ และบางอำเภอในจังหวัดปริมณฑล ถัดจากนั้น ก็มีการขยายเวลาประกาศพ.ร.บ.ความมั่นคงต่อ ตั้งแต่วันที่ 2 – 5 เม.ย. 53 ด้วยเหตุผลเรื่องความสะดวกในการดูแลความปลอดภัยการประชุมผู้นำประเทศในลุ่มน้ำโขง โดยระหว่างนั้น เมื่อวันที่ 4 มิ.ย. ศอ.รส. ก็ได้ออกประกาศห้ามเข้าออกบริเวณที่ชุมนุมละแวกราชประสงค์ จากนั้นคณะรัฐมนตรีมีการประชุมในวันที่ 7 เม.ย. ประกาศจะต่ออายุพ.ร.บ.ความมั่นคงออกไปจนถึงวันที่ 20 เม.ย. ก่อนที่คืนวันเดียวกันนั้นรัฐบาลจะตัดสินใจประกาศพ.ร.ก.สถานการณ์ฉุกเฉินแทน
ในยุคที่นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีประกาศพื้นที่ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ในพื้นที่เขตพระนคร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย และเขตดุสิต ระหว่างวันที่ 22-30 พฤศจิกายน 2555 จากกรณีที่จะมีการจัดการชุมนุมของกลุ่มองค์การพิทักษ์สยาม "แช่แข็งนักการเมือง" บริเวณหน้าทำเนียบรัฐบาล
ในยุคที่นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศพื้นที่ปรากฎเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ในพื้นที่เขตดุสิตเฉพาะแขวงดุสิตและแขวงจิิตรลดา เขตพระนครเฉพาะแขวงพระบรมมหาราชวัง แขวงตลาดยอด แขวงบวรนิเวศ แขวงบ้านพานถม และแขวงบางขุนพรหม และเขตป้อมปราบศัตรูพ่ายเฉพาะแขวงวัดโสมนัส กรุงเทพมหานคร โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่9-18ตุลาคม 2556 การประกาศครั้งนี้เกิดขึ้นระหว่างการชุมนุมของกลุ่มกองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณ (กปท.) หลังมีการประกาศใช้พ.ร.บ.ความมั่นคงก็มีการจัดตั้ง ศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) ขึ้นมาอำนวยการตามประกาศ โดยมีพล.ต.อ. อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นผู้อำนวยการศูนย์ ต่อมาวันที่ 18 ตุลาคม 2556 มีการขยายระยะเวลาบังคับใช้พ.ร.บ.ความมั่นคงออกไปถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2556 ต่อมาในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2556 รัฐบาลประกาศขยายเวลาการบังคับใช้พ.ร.บ.ความมั่นคงออกไปจากวันที่ 30 พฤศจิกายน ไปถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2556 พร้อมทั้งขยายพื้นที่การประกาศใช้ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี และอำเภอบางพลี สมุทรปราการ      
 
 
 
 
 
พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.. 2457
 

เมื่อมีเหตุจำเป็นเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยจากภัย ให้มีพระบรมราชโองการประกาศใช้กฎอัยการศึก (มาตรา2) เมื่อมีสงครามหรือการจลาจลเกิดขึ้นที่ใด ให้ผู้บังคับบัญชาทหารซึ่งมีกำลังอยู่ใต้บังคับบัญชาไม่น้อยกว่าหนึ่งกองพัน มีอำนาจประกาศใช้กฎอัยการศึก ในเขตอำนาจของทหารนั้น (มาตรา4) แต่การจะยกเลิกกฎอัยการศึกต้องอาศัยพระบรมราชโองการเท่านั้น (มาตรา 5)

  • ในพื้นที่ที่ประกาศใช้กฎอัยการศึก ให้ฝ่ายทหารมีอำนาจเหนือเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนในส่วนที่เกี่ยวกับการยุทธ การระงับปราบปราม หรือการรักษาความสงบเรียบร้อย (มาตรา 6)
  • เมื่อประกาศใช้กฎอัยการศึกในพื้นที่ใด เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอำนาจเต็มที่จะตรวจค้น เกณฑ์ ห้าม ยึด เข้าอาศัย ทำลายหรือเปลี่ยนแปลงสถานที่ และขับไล่(มาตรา 8)

    กล่าวโดยเฉพาะ เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอำนาจค้นตัวบุคคล ยานพาหนะ จดหมาย สิ่งพิมพ์ เคหสถาน หรือที่ใดๆ ไม่ว่าเวลาใดๆ ทั้งสิ้น (มาตรา 9) มีอำนาจที่จะเกณฑ์พลเมือง ยวดยาน เสบียงอาหาร ให้ช่วยในราชการทหาร (มาตรา 10) มีอำนาจสั่งห้ามมั่วสุมกัน ห้ามเผยแพร่สิ่งพิมพ์ วิทยุ ห้ามใช้ทางสาธารณะ (มาตรา 11) มีอำนาจเผาบ้านและสิ่งซึ่งเห็นว่าจะเป็นกำลังแก่ราชศัตรูได้ (มาตรา 14)

  • ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารจะเรียกร้องขอค่าเสียหายหรือค่าปรับอย่างหนึ่งอย่างใดไม่ได้เลย (มาตรา 16)
พระราชบัญญัตินี้ประกาศใช้เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2457 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 หลังจากนั้นเป็นต้นมา เคยมีการประกาศกฎอัยการศึกขึ้นในประเทศไทย หลายครั้ง
ในสมัยพระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นนายกรัฐมนตรีและผู้บัญชาการทหารบก เนื่องมาจากเหตุการณ์กบฏบวรเดช ประกาศกฎอัยการศึกในวันที่ 12 ตุลาคม 2576 และยกเลิกในวันที่ 21 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน
ในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรีครั้งที่สอง เนื่องมาจากเหตุการณ์กบฏแมนฮัตตัน จึงมีการประกาศใช้กฎอัยการศึกในวันที่ 30 มิถุนายน 2494 และยกเลิกในวันที่ 6 กันยายน ปีเดียวกัน
เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2500 เมื่อจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทำรัฐประหารโค่นล้มรัฐบาลของจอมพลป. พิบูลสงคราม และจึงประกาศใช้กฎอัยการศึก
เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2501 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ประกาศใช้กฎอัยการศึกอีกครั้ง เพื่อทำรัฐประหาร (ที่เรียกกันว่ารัฐประหารเงียบ) โค่นล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง และขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีเอง
เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2514 จอมพลถนอม กิตติขจร ทำรัฐประหารยึดอำนาจจากตัวเอง และประกาศใช้กฎอัยการศึก
เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ประกาศใช้กฎอัยการศึกเนื่องมาจากเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบขึ้นจากการเข้าปราบปรามการชุมนุมของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534 คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ หรือ รสช. นำโดย พล.. สุนทร คงสมพงษ์ ทำรัฐประหารยึดอำนาจจากรัฐบาล พล..ชาติชาย ชุณหะวัณ และจึงประกาศใช้กฎอัยการศึก ต่อมามีการประกาศยกเลิกการใช้กฎอัยการศึกเฉพาะบางพื้นที่ แต่ยังคงใช้บังคับอยู่ในบางอำเภอในจังหวัดที่เป็นเขตชายแดน ด้วยเหตุผลของการป้องกันยาเสพย์ติด การหลบหนีเข้าเมือง การค้าของเถื่อน จนเมื่อปี 2548 ได้ประกาศยกเลิกการใช้กฎอัยการศึกในเขตพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่ในจังหวัดชายแดนอื่นๆ ยังให้มีผลใช้บังคับอยู่
 เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ทำรัฐประหารยึดอำนาจจากรัฐบาลรักษาการของ พ...ทักษิณ ชินวัตร และประกาศใช้กฎอัยการศึก ต่อมามีการยกเลิกการใช้กฎอัยการศึกในบางพื้นที่ คงไว้เฉพาะพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้และ 5 อำเภอในจังหวัดสงขลาจนถึงปัจจุบัน
 
โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชนและองค์กรเครือข่าย สังเกตว่าจากประวัติการประกาศให้กฎหมายเหล่านี้มีผลบังคับใช้เป็นพิเศษ เป็นไปในทางเพื่อรักษาเสถียรภาพของผู้มีอำนาจในรัฐบาล มากกว่าเพื่อการรักษาความสงบเรียบร้อยและอธิปไตยของชาติ และกฎหมายทั้งสามฉบับก็มีลักษณะที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประชาธิปไตย เพราะมีเนื้อหาขัดต่อหลักสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานอย่างร้ายแรง
 
อีกทั้งมีความเห็นว่ากฎหมายฉบับอื่นที่มีอยู่ในปัจจุบันและมีลักษณะเคารพสิทธิของปัจเจกบุคคลมากกว่านั้นเพียงพออยู่แล้วสำหรับการดำเนินการแก้ปัญหาความไม่สงบต่างๆ ที่เกิดขึ้นหรืออาจจะเกิดขึ้นได้
 
เพราะฉะนั้น โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน และองค์กรเครือข่าย จึงมีข้อเสนอให้ออกพระราชบัญญัติเพื่อแก้ไขกฎหมายที่มีลักษณะขัดต่อสิทธิเสรีภาพและประชาธิปไตยดังกล่าว โดยยกเลิกทั้งสามฉบับ หรือยกเลิกบางฉบับ หรือยกเลิกเนื้อหาบางส่วน และต้องการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนทั่วไปในประเด็นดังนี้
 
 
ไฟล์แนบ