มาตรา 190 ตายแล้ว…ความล้มเหลวของระบบรัฐสภาไทย

โดย กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (เอฟทีเอ ว็อทช์) 
ตามที่การประชุมของรัฐสภาได้ลงมติเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม โดยเสียงข้างมากแก้ไขเนื้อหาบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ม.190 โดยมีสาระการแก้ไขที่สำคัญ คือ
1. ตัดลดประเภทหนังสือสัญญาที่จะต้องผ่านกระบวนการพิจารณาของรัฐสภาอย่างมีนัยสำคัญออกไปให้เหลือเพียง  
(หนึ่ง) หนังสือสัญญาที่มีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตดินแดน
(สอง) หนังสือสัญญาที่เปลี่ยนแปลงพื้นที่นอกอาณาเขตซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยหรือมีเขตอำนาจตามหนังสือสัญญาหรือตามกฎหมายระหว่างประเทศ
(สาม) จะต้องออกพระราชบัญญัติเพื่อให้การเป็นไปตามหนังสือสัญญา
(สี่) หนังสือสัญญาที่มีบทให้เปิดเสรีด้านการค้าและการลงทุน
2. เพิ่มอำนาจรัฐบาล ให้ก่อนการดำเนินการเพื่อทำหนังสือสัญญา ไม่ต้องเสนอ “กรอบการเจรจา” ต่อรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบ
ผลสรุปจากการแก้ไขมาตรการ 190 ดังกล่าว สะท้อนถึงความล้มเหลวของระบบรัฐสภาไทยที่มุ่งเป้าหมายการเอาชนะทางการเมืองเป็นที่ตั้งโดยอ้างเสียงข้างมากในรัฐสภาเป็นเครื่องมือสร้างความชอบธรรม ไม่ได้ยึดถือข้อมูล เหตุผล และไม่ได้สำเหนียกถึงสถานการณ์ปัญหา ความเดือดร้อนที่เกิดขึ้นจากการเร่งทำหนังสือสัญญาความตกลงระหว่างประเทศ ซ้ำยังเป็นการทำลายระบบประชาธิปไตยที่เห็นหัวประชาชนอย่างไร้สำนึก
บทบัญญัติในมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 มีเจตนารมณ์เพื่อสร้างธรรมาภิบาลในกระบวนการเจรจา สร้างความโปร่งใส การมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม และเป็นกลไกสร้างระบบการถ่วงดุลและตรวจสอบระหว่างฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติเพื่อให้ผลจากการทำหนังสือสัญญาเกิดประโยชน์โดยรวมมากที่สุดต่อประเทศชาติ นอกจากนี้คณะเจรจายังสามารถใช้ “กรอบเจรจา”ที่ผ่านความเห็นชอบของรัฐสภาเพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองในการเจรจาได้อีกด้วย บทบัญญัติเหล่านี้เป็นสิ่งที่อารยประเทศต่างๆ ได้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ
อนึ่ง ปัญหาความยุ่งยาก ล่าช้า การมีหนังสือสัญญาจำนวนมากต้องเสนอไปสู่รัฐสภาโดยอ้างว่าต้องปฏิบัติตามมาตรา 190 นั้น มีรากฐานสาเหตุสำคัญ 2 ประการ คือ (หนึ่ง) การไม่จัดทำกฎหมายลูกรองรับมาตรา 190 ออกมาใช้บังคับ ซึ่งในรัฐธรรมนูญได้กำหนดไว้อย่างชัดแจ้งแล้วว่าให้ดำเนินการโดยเร็วภายในเวลา 1 ปีนับจากที่รัฐบาลแถลงนโยบายต่อรัฐสภา ซึ่งต้องดำเนินการให้เสร็จตั้งแต่ปี 2552 (สอง) การใช้มาตรา 190 เป็นเครื่องมือต่อสู้กันทางการเมืองมากเกินไป ซึ่งทั้งสองสาเหตุสามารถแก้ไขได้โดยไม่จำเป็นต้องเบียดขับประชาชนออกจากกระบวนการหรือลดทอนความโปร่งใสแต่อย่างใด
ผลจากการแก้ไขมาตรา 190 จะทำให้หนังสือจะมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง หรือมีผลผูกพันด้านการค้า การลงทุนหรืองบประมาณของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ ตัวอย่างเช่น การเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรี (FTA) ความตกลงเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ความตกลงด้านสิ่งแวดล้อม ความตกลงด้านสิทธิมนุษยชน ฯลฯ ไม่ต้องผ่านกระบวนการเสนอ “กรอบการเจรจา”  เป็นการทำลายกระบวนการตรวจสอบถ่วงดุล การมีส่วนร่วม ระหว่างฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และภาคประชาสังคม ซึ่งเป็นหลักการสำคัญข้อหนึ่งในระบอบการเมืองประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมที่ทุกฝ่ายกำลังเรียกร้อง เป็นการจำกัดพื้นที่การมีส่วนร่วมทางการเมืองของภาคส่วนต่างๆ  ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ผลักดันให้ประชาชน ผู้เดือดร้อนต้องใช้ท้องถนนหรือพื้นที่สาธารณะต่างๆ เป็นพื้นที่แสดงออกทางการเมืองแทน
การแก้ไขมาตรา 190 ครั้งนี้ เป็นเพียงผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างนัก (การเมือง) ประชาธิปไตยแต่ปาก กลุ่มทุนครอบชาติ และฝ่ายข้าราชการประจำล้าหลัง ที่ต้องการปลดเปลื้องภาระในการปฏิบัติตามกฎกติกาเพื่อการสร้างธรรมาภิบาลในกระบวนการเจรจาจัดทำหนังสือสัญญาระหว่างประเทศ
ขอไว้อาลัยแด่มาตรา 190 ระบบรัฐสภา และประชาธิปไตยไทย
ตารางเปรียบเทียบการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 190
  ร่างกรรมาธิการ ร่างที่เสนอให้แก้ไข ร่างที่ผ่านวาระสอง ปัญหาสำคัญของร่างตามวาระสอง
วรรค ๑ มาตรา ๑๙๐ พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการทำหนังสือสัญญาสันติภาพ สัญญาสงบศึก และ สัญญาอื่น กับนานาประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ (คงเดิม) (คงเดิม) (คงเดิม)
วรรค ๒ หนังสือสัญญาใดมีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยหรือมีเขตอำนาจตามหนังสือสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศโดยชัดแจ้ง หรือต้องออกพระราชบัญญัติเพื่อให้การเป็นไปตามหนังสือสัญญา หรือ มีบทให้เปิดเสรีด้านการค้าการลงทุน ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา   หนังสือสัญญาใดมีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยหรือมีเขตอำนาจตามหนังสือสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศโดยชัดแจ้ง หรือต้องออกพระราชบัญญัติเพื่อให้การเป็นไปตามหนังสือสัญญา หรือ มีบทให้เปิดเสรีหรือคุ้มครองด้านการค้าการลงทุน  หรือมีบทเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ในการคุ้มครองหรือจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ พลังงาน หรือสังคม ที่มิใช่ความร่วมมือทางวิชาการ ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา หนังสือสัญญาใดมีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตของไทยหรือเขตพื้นที่นอกอาณาเขตซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยหรือมีเขตอำนาจตามหนังสือสัญญาหรือตามกฎหมายระหว่างประเทศโดยชัดแจ้ง หรือจะต้องออกพระราชบัญญัติเพื่อให้การเป็นไปตามหนังสือสัญญา หรือมีบทให้เปิดเสรีด้านการค้าและการลงทุน ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา หนังสือสัญญาเกือบทั้งหมดจะไม่เข้าตามมาตรา 190 ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรทางธรรมชาติ พลังงาน รวมถึงการเจรจาทางเศรษฐกิจที่สำคัญส่วนใหญ่นับจากนี้
วรรค ๓

ให้มีกฎหมายว่าด้วยการให้ประชาชนสามารถเข้าถึงรายละเอียดและการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน เกี่ยวกับหนังสือสัญญาตามวรรคสอง และในกรณีที่เป็นหนังสือสัญญาที่มีบทให้เปิดเสรีด้านการค้าหรือการลงทุน กฎหมายดังกล่าวต้องมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการเสนอกรอบการเจรจาต่อรัฐสภา การศึกษาถึงประโยชน์ของหนังสือสัญญาและผลกระทบต่อประชาชนหรือผู้ประกอบการ และการดำเนินการแก้ไขหรือเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากหนังสือสัญญาดังกล่าวด้วย

ให้มีกฎหมายว่าด้วยการกําหนดลักษณะ กรอบการเจรจา ขั้นตอนและวิธีการจัดทําหนังสือสัญญา รวมทั้งการให้ข้อมูลและจัดรับฟังความคิดเห็นประชาชน และการให้ประชาชนสามารถเข้าถึงรายละเอียดของหนังสือสัญญาตามวรรคสอง กฎหมายดังกล่าวต้องมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการศึกษาถึงประโยชน์ของหนังสือสัญญาและผลกระทบต่อประชาชนหรือผู้ประกอบการ และการดำเนินการแก้ไขหรือเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยคำนึงถึงความเป็นธรรมระหว่างผู้ที่ได้ประโยชน์กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติตามหนังสือสัญญาดังกล่าวด้วย ให้มีกฎหมายว่าด้วยการให้ประชาชนสามารถเข้าถึงรายละเอียดของหนังสือสัญญา และแก้ไขหรือเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติตามหนังสือสัญญาโดยคำนึงถึงความเป็นธรรมระหว่างผู้ที่ได้รับประโยชน์กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติตามหนังสือสัญญานั้นและประชาชนทั่วไป
ไม่มีการเสนอกรอบการเจรจา ส่งผลให้ความโปร่งใส แทบจะหายไปโดยสิ้นเชิง ลดทอนความชอบธรรมและอำนาจต่อรองในการเจรจา ในทางปฏิบัติคือประชาชนและรัฐสภาจะรับรู้ข้อมูลเพียงพอในการมีส่วนร่วมก็ต่อเมื่อการเจรจาจบสิ้นไปแล้ว ซึ่งแทบไม่มีความหมายแต่อย่างใด
ตัดการศึกษาผลกระทบออกไปซึ่งตรงกับความต้องการของธุรกิจข้ามชาติ ส่งผลให้สังคม รวมถึงผู้เจรจราและฝ่ายนโยบายเอง ขาดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงผลดีผลเสีย ง่ายต่อการถูกกดคันจากคู่เจรจาและกลุ่มทุน การเจรจาของรัฐบาลและการพิจารณาของรัฐสภาจึงไม่ขึ้นอยู่กับฐานองค์ความรู้และปัญญา
วรรค ๔ ก่อนแสดงเจตนาให้มีผลผูกพันในหนังสือสัญญาตามวรรคสอง คณะรัฐมนตรีต้องให้ประชาชนสามารถเข้าถึงรายละเอียดของหนังสือสัญญานั้น และจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนด้วย (คงเดิม) (ตัดทิ้ง) เสียงของประชาชนไม่จำเป็นต้องถูกได้ได้ยินอีกต่อไป ยังผลให้ความตึงเครียดและความไม่เข้าใจกับรัฐบาลจะเพิ่มสูงขึ้น ง่ายต่อการฉกฉวยโอกาศของฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง นำไปสู่ภาระของรัฐบาลเองและประสิทธิภาพการเจรจาในที่สุด
วรรค ๕ ในกรณีที่มีปัญหาว่าหนังสือสัญญาใดเป็นหนังสือสัญญาที่จะต้องเสนอรัฐสภาให้ความเห็นชอบตามวรคสอง ให้เป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญที่จะวินิจฉัยชี้ขาดโดยให้นำบทบัญญัติตามมาตรา ๑๕๔(๑) และ (๒) มาใช้บังคับกับการเสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญโดยอนุโลม  ทั้งนี้ ให้ศาลรัฐธรรมนูญชี้ขาดให้แล้วเสร็จในสิบห้าวันนับแต่วันที่รับเรื่อง
ในกรณีที่จำเป็นต้องวินิจฉัยว่าหนังสือสัญญาใดเข้าลักษณะหนังสือสัญญาตามวรรคสาม ให้เป็นอํานาจของคณะกรรมการวินิจฉัยหนังสือสัญญา ซึ่งประธานรัฐสภาจะได้แต่งตั้งขึ้น ประกอบด้วยประธานสภาผู้แทนราษฎร ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา นายกรัฐมนตรี และประธานศาลฎีกา  
ให้นำข้อบังคับการประชุมของรัฐสภามาใช้บังคับกับการประชุมของคณะกรรมการวินิจฉัยหนังสือสัญญาโดยอนุโลม
คำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยหนังสือสัญญาตามมาตรานี้ให้มีผลทั่วไปและเป็นเด็ดขาด ผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และหน่วยงานทั้งปวงของรัฐ
ในกรณีที่มีปัญหาว่าหนังสือสัญญาใดเป็นหนังสือสัญญาที่จะต้องเสนอรัฐสภาให้ความเห็นชอบตามวรรคสอง ให้เป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญที่จะวินิจฉัยชี้ขาดโดยให้นำบทบัญญัติตามมาตรา ๑๕๔ (๑) และ (๒) มาใช้บังคับกับการเสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญโดยอนุโลม ทั้งนี้ ให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยชี้ขาดให้แล้วเสร็จภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่รับเรื่อง กลไกการตรวจสอบจะไม่มีความหมายอีกต่อไป
วรรค ๖
ให้ดำเนินการจัดให้มีกฎหมายตามมาตรา ๑๙๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญนี้ ภายในหนึ่งปีนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้
ในระหว่างที่ยังไม่มีการตรากฎหมายตามวรรคหนึ่งขึ้นใช้บังคับ ให้คณะรัฐมนตรีจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในการจัดทำหนังสือสัญญาตามมาตรา ๑๙๐ วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญนี้ และในกรณีที่เป็นหนังสือสัญญาที่มีบทให้เปิดเสรีด้านการค้าหรือการลงทุน  ให้เสนอกรอบการเจรจาให้ รัฐสภาเห็นชอบ  และ เสนอผลกระทบของหนังสือสัญญา และ  แนวทางในการเยียวยาให้รัฐสภาทราบ ตามความเหมาะสม
ให้ดำเนินการจัดให้มีกฎหมายตามมาตรา ๑๙๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญนี้ ภายในหนึ่งปีนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้
(วรรคหนึ่ง คงเดิม)
ในระหว่างที่ยังไม่มีการตรากฎหมายตามวรรคหนึ่งขึ้นใช้บังคับ ให้คณะรัฐมนตรีจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในการจัดทำหนังสือสัญญาตามมาตรา ๑๙๐ วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญนี้ และในกรณีที่เป็นหนังสือสัญญาที่มีบทให้เปิดเสรีด้านการค้าหรือการลงทุน  ให้เสนอกรอบการเจรจาให้ รัฐสภาเห็นชอบ  และ เสนอผลกระทบของหนังสือสัญญา และ  แนวทางในการเยียวยาให้รัฐสภาทราบ
ให้ดำเนินการจัดให้มีกฎหมายตามมาตรา ๑๙๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญนี้ ภายในหนึ่งปีนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้
(วรรคสอง ถูกตัดออกทั้งหมด)
รัฐบาลสามารถเตะถ่วงการออกกฏหมายลูก ส่งผลให้การบังคับใช้มาตรา 190 มีความสับสนอยู่ต่อไป
ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ๑๙๐ ที่ผ่านรัฐสภาวาระ ๒ ข้ามเที่ยงคืนเข้าสู่วันที่ ๑๗ ต.ค.๕๖
มาตรา ๑ รัฐธรรมนูญนี้เรียกว่า “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่…) พุทธศักราช…”
มาตรา ๒ รัฐธรรมนูญนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๙๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พุทธศักราช ๒๕๕๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“มาตรา ๑๙๐ พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการทำหนังสือสัญญาสันติภาพ สัญญาสงบศึก และสัญญาอื่นๆ กับนานาประเทศหรือองค์กรระหว่างประเทศ
หนังสือสัญญาใดมีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตของไทยหรือเขตพื้นที่นอกอาณาเขตซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยหรือมีเขตอำนาจตามหนังสือสัญญาหรือตามกฎหมายระหว่างประเทศโดยชัดแจ้ง หรือจะต้องออกพระราชบัญญัติเพื่อให้การเป็นไปตามหนังสือสัญญา หรือมีบทให้เปิดเสรีด้านการค้าและการลงทุน ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา
ให้มีกฎหมายว่าด้วยการให้ประชาชนสามารถเข้าถึงรายละเอียดของหนังสือสัญญา และแก้ไขหรือเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติตามหนังสือสัญญาโดยคำนึงถึงความเป็นธรรมระหว่างผู้ที่ได้รับประโยชน์กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติตามหนังสือสัญญานั้นและประชาชนทั่วไป
(ร่างคณะกรรมาธิการฯ ที่ถูกตัดทิ้ง –ให้มีกฎหมายว่าด้วยการให้ประชาชนสามารถเข้าถึงรายละเอียดและการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับหนังสือสัญญาตามวรรคสอง และในกรณีที่เป็นหนังสือสัญญาที่มีบทให้เปิดเสรีด้านการค้าหรือการลงทุน กฎหมายดังกล่าวต้องมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการเสนอกรอบการเจรจาต่อรัฐสภา การศึกษาถึงประโยชน์ของหนังสือสัญญาและผลกระทบต่อประชาชนหรือผู้ประกอบการ และการดำเนินการแก้ไขหรือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากหนังสือสัญญาดังกล่าวด้วย โดยคำนึงถึงความเป็นธรรมระหว่างผู้ที่ได้รับประโยชน์กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติตามหนังสือสัญญานั้นและประชาชนทั่วไป)
ในกรณีที่มีปัญหาว่าหนังสือสัญญาใดเป็นหนังสือสัญญาที่จะต้องเสนอรัฐสภาให้ความเห็นชอบตามวรรคสอง ให้เป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญที่จะวินิจฉัยชี้ขาดโดยให้นำบทบัญญัติตามมาตรา ๑๕๔ (๑) และ (๒) มาใช้บังคับกับการเสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญโดยอนุโลม ทั้งนี้ ให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยชี้ขาดให้แล้วเสร็จภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่รับเรื่อง
มาตรา ๔ ให้ดำเนินการจัดให้มีกฎหมายตามมาตรา ๑๙๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญนี้ ภายในหนึ่งปีนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้
(ร่างคณะกรรมาธิการฯที่ถูกตัดทิ้ง – ในระหว่างที่ยังไม่ได้มีการตรากฎหมายตามวรรคหนึ่งขึ้นใช้บังคับ ให้คณะรัฐมนตรีจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในการจัดทำหนังสือสัญญาตามมาตรา ๑๙๐ วรรคสองของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดดยรัฐธรรมนูญนี้ และในกรณีที่เป้นหนังสือสัญญาที่มีบทให้เปิดเสรีด้านการค้าหรือการลงทุนให้เสนอกรอบการเจรจาเพื่อขอความเห็นชอบของรัฐสภาและผลการศึกษาถึงประโยชน์และผลกระทบของหนังสือสัญญาดังกล่าวต่อรัฐสภาเพื่อทราบด้วย ทั้งนี้ตามความเหมาะสม)

 

You May Also Like
อ่าน

รวมตารางกิจกรรม ทำเดินสายอธิบายกติกา ชวนมาร่วมเปลี่ยนสว.

พร้อมแล้ว!! เดินสายทั่วประเทศ ชวนทุกคนมาทำความรู้จักระบบการเลือกสว. ชุดใหม่ จากการ “แบ่งกลุ่มอาชีพ” และ “เลือกกันเอง” อันซับซ้อน มาทำความเข้าใจขั้นตอน วิธีการเลือก ตรวจสอบคุณสมบัติผู้สมัคร รวมถึงช่องทางการมีส่วนร่วมที่ประชาชนสามารถทำได้ ใกล้ที่ไหนไปที่นั่น มาร่วมเปลี่ยนสว. กันเถอะ
ConCourt Judges
อ่าน

ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญพร้อมหน้า ร่วมยินดีสว. สมชาย แสวงการ รับป.เอก

ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ร่วมแสดงความยินดีที่สว. สองคนได้รับปริญญาเอก เรื่องนี้มีที่มาเพราะสมชาย แสวงการ สว. ที่รับปริญญาผ่านการคัดเลือกโดยศาลรัฐธรรมนูญให้มาเรียน และกรรมการสอบเล่มจบก็ไม่ใช่ใครอื่น