ร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม ฉบับประชาชน เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของลูกจ้างและประสิทธิภาพของงานประกันสังคม

แม้การพิจารณาวาระที่หนึ่งของร่างพระราชบัญญัติประสังคมจะสิ้นสุดลงไปแล้ว ซึ่งที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรมีมติเห็นชอบให้รับหลักการ 2 ฉบับคือ ฉบับคณะรัฐมนตรีและฉบับที่เสนอโดยนายเรวัต อารีรอบ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ โดยให้ฉบับคณะรัฐมนตรีเป็นหลักในการพิจารณา และมีมติไม่รับหลักการอีก 2 ฉบับคือ ฉบับประชาชน เสนอโดยนางสาววิไลวรรณ แซ่เตีย และฉบับที่เสนอโดยนายนคร มาฉิม   ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์
เป็นที่น่าเสียดายที่หลักการหลายอย่างในร่างฉบับประชาชน ซึ่งนำเสนอผ่านกระบวนการรวบรวมรายชื่อประชาชน 10,000 ชื่อตามช่องทางรัฐธรรมนูญ ไม่ได้แม้แต่โอกาสในการนำไปพิจารณาตามกระบวนการปกติ และประชาชนไม่ได้รับโอกาสเข้าร่วมในห้องประชุมกรรมาธิการวาระที่ 2
ข้อดีของร่างฉบับประชาชนเปรียบเทียบกับร่างของคณะรัฐมนตรีที่ถูกนำเป็นร่างหลักในการพิจารณามีหลายประการที่ไม่ควรถูกทำให้หายไปโดยการลงมติของสภาผู้แทนราษฎร
ที่มาคณะกรรมการประกันสังคม
พ.ร.บ. ประกันสังคม พ.ศ. 2533 กําหนดให้คณะกรรมการประกันสังคมเป็นคณะกรรมการไตรภาคี โดยมีตัวแทนภาครัฐ ผู้แทนฝ่ายนายจ้างและลูกจ้างโดยรัฐมนตรีเป็นผู้แต่งตั้ง แต่ในร่างฉบับประชาชนและคณะรัฐมนตรีที่กำลังพิจาณาอยู่ในขณะนี้ กำหนดให้ ผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายผู้ประกันตนมาจากการเลือกตั้ง เพื่อให้ตัวแทนของทั้งสองฝ่ายเป็นตัวแทนของกลุ่มตนจริงๆ ทั้งนี้ยังกำหนดให้คณะกรรมการประกันสังคมต้องแสดงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินต่อ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห้งชาติ (ปปช.) เพื่อแสดงความโปร่งใสในการปฏิบัติหน้าที่ด้วย
นอกจากนี้ในร่างฉบับประชาชนได้กำหนดห้ามมิให้คณะกรรมการประกันสังคมดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือกรรมการบริหารพรรคการเมือง เพื่อลดช่องทางในการเข้ามาหาผลประโยชน์ของนักการเมืองและพวกพ้อง ที่สำคัญร่างดังกล่าวได้ เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบมากขึ้น โดยที่ประชาชนจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งพันคน มีสิทธิเข้าชื่อเสนอข้อมูลแก่คณะกรรมการเพื่อพิจารณาถอดถอนกรรมการคนใดคนหนึ่งออกจากตำแหน่งได้ ถือว่าร่างของประชาชนเพิ่มช่องทางการตรวจสอบคณะกรรมการประกันสังคมเพื่อให้มีความโปร่งใสในการบริหารจัดการมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน  
การบริหาร การเงิน การคลัง และงบประมาณ
สำนักงานประกันสังคมเป็นองค์กรของรัฐและมีหน้าที่บริหารจัดการกองทุนที่ได้รับเงินสมทบจากผู้ประกันตน นายจ้าง และรัฐ จึงจำเป็นจะต้องมีความโปร่งใส ในร่างฉบับคณะรัฐมนตรีพบว่ามีการแก้ไขในประเด็นเรื่่องความโปร่งใสโดยให้สำนักงานจัดทำรายการประเมินสถานะของกองทุนโดยแสดงรายรับ รายจ่ายและความสามารถในการดำเนินการในอนาคตเสนอต่อคณะกรรมการเป็นประจำทุกปี แล้วให้เปิดเผยต่อสาธารณชน แต่หากเทียบกับร่างของประชาชนการแก้ไขเพิ่มเติมประเด็นดังกล่าวกลับไม่มีนัยสำคัญเลย 
สำหรับร่างฉบับประชาชนได้เพิ่มบทบัญญัติที่สำคัญต่อความโปร่งใสในการบริหารงานสำนักงานคือให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) หรือบุคคลภายนอกที่คณะกรรมการแต่งตั้งโดยความเห็นชอบของ สตง. เป็นผู้ตรวจสอบบัญชีทรัพย์สิน โดยให้แสดงความคิดเห็นวิเคราะห์การใช้จ่ายที่เกิดขึ้นและให้มีการจัดทำรายงานการเงินอย่างถูกต้องและเปิดเผยตามมาตรฐานบัญชี ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมตรวจสอบการบริหารกองทุนและประชาชนมีโอกาสรับและเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับประกันสังคมมากขึ้น
นอกจากนี้อีกประเด็นที่น่าสนใจจากร่างฉบับประชาชน คือ การปรับเปลี่ยนสถานภาพสำนักงานประกันสังคม จากส่วนราชการสังกัดกระทรวงแรงงานเป็นหน่วยงานของรัฐที่มีรูปแบบการบริหารงานเป็นพิเศษในลักษณะขององค์กรอิสระ เพื่อแก้ไขข้อจำกัดในการบริหารภายใต้ระบบแบบราชการ ที่ขาดความอิสระ ความคล่องตัว ความโปร่งใส และการมีส่วนร่วมของผู้ประกันตน
สิทธิของนายจ้างและผู้ประกันตน 
เมื่อเปรียบเทียบระหว่าง พ.ร.บ.ประกันสังคมฉบับ “คณะรัฐมนตรี” และ “บูรณาการแรงงาน” พบว่าทั้งสองร่างได้ เพิ่มบทบัญญัติเพื่อขยายความคุ้มครองแก่ผู้ประกันตนมากขึ้น ด้วยกันทั้งคู่ โดยขยายความครอบคลุมถึงลูกจ้างทั้งหมดไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไร นอกจากนี้ได้เพิ่มบทบัญญัติให้ ลดหย่อนการออกเงินสมทบในกรณีเกิดภัยพิบัติอย่างร้ายแรง ที่ส่งผลต่อสภาวการณ์การทางเศรษฐกิจเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของนายจ้าง
อย่างไรก็ตามแม้ร่างทั้งสองฉบับจะมีการขยายสิทธิเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน แต่ก็เพิ่มขึ้นในอัตราที่แตกต่างกัน เช่น กรณีของผู้ประกันตนที่เป็นแรงงานนอกระบบ(มาตรา 40) ร่างของคณะรัฐมนตรีเสนอให้รัฐบาลออกเงินสมทบไม่เกินกึ่งหนึ่งของเงินสมทบที่ได้รับจากผู้ประกันตน ในขณะที่ร่างของประชาชน เสนอให้รัฐบาลจ่ายเงินจนสมทบเท่ากับผู้ประกันในกรณีของแรงงานนอกระบบ และในกรณีของผู้ประกันตนที่สิ้นสุดจากการเป็นลูกจ้าง (มาตรา 39) ในร่างฉบับประชาชน ได้ให้รัฐบาลออกเงินสมทบสองเท่าและผู้ประกันตนออกหนึ่งเท่าของอัตราเงินสมทบ ขณะร่างของคณะรัฐมนตรีไม่ปรากฏว่ามีการขยายสิทธิในส่วนนี้ 
social security
ตารางเปรียบเทียบ ร่างพ.ร.บ.ประกันสังคม ฉบับครม.และฉบับประชาชน
ประเด็น/ร่าง ร่าง พ.ร.บ. ประกันสังคม ฉบับคณะรัฐมนตรี ร่าง พ.ร.บ. ประกันสังคม ฉบับประชาชน
ที่มาคณะกรรมการ กรรมการโดยตำแหน่ง ปลัดกระทรวงแรงงาน(ประธาน) ผู้แทนกระทรวงการคลัง กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข และสํานักงานงบประมาณ กับผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายผู้ประกันตนฝ่ายละหกคนซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็น กรรมการ รวม 18 คน (ม.8 วรรคหนึ่ง) รัฐมนตรีแต่งตั้งประธานกรรมการ กรรมการโดยตำแหน่งผู้แทนกระทรวงแรงงาน สํานักงานงบประมาณ กระทรวงการคลัง กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และสำนักนายกรัฐมนตรี กับผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายผู้ประกันตนฝ่ายละแปดคน รวม 24 คน(ม.8)
ที่มาตัวแทนฝ่ายนายจ้างและผู้ประกันตน ผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายประกันตนมาจากการเลือกตั้ง โดยหลักเกณฑ์และการเลือกตั้งให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด(ม.8) ผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายประกันตนมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของนายจ้างและผู้ประกันตน โดยหลักการเลือกตั้งให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกำหนด(ม.8 ทวิ)
สัดส่วนหญิง/ชายในคณะกรรมการ ไม่ปรากฏหลักการในร่างฉบับนี้ กรรมการที่มิใช่โดยตำแหน่งต้องคำนึงถึงการมีส่วนร่วมหญิงชาย (ม.8(5))
เงื่อนไขผู้สมัครรับเลือกตั้งคณะกรรมการ ไม่ปรากฏหลักการในร่างฉบับนี้ องค์กรภาคเอกชนหรือองค์กรด้านแรงงานไม่ว่าจะจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลหรือไม่ สามารถเสนอชื่อผู้ลงสมัครเลือกตั้งได้ แต่ต้องดำเนินกิจกรรมแรงงานไม่น้อยกว่าห้าปี หรือผู้ประกันตนมีสิทธิลงสมัครรับการเลือกตั้งโดยอิสระ (ม.8 ทวิ)
คุณสมบัติของคณะกรรมการ* คุณสมบัติของคณะกรรมการซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง 2.ไม่เป็นตนวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ (ม.8/2) คุณสมบัติของกรรมการผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้ประกันตน อายุไม่ต่ำกว่าสามสิบปี ไม่ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือมีหน้าที่รับผิดชอบในพรรคการเมือง กรรมการฝ่ายผู้ประกันตนต้องเป็นผู้ประกัน และกรรมการฝ่ายนายจ้างตั้งขึ้นทะเบียนมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน (ม.8 ตรี)
หน้าที่แสดงบัญชีทรัพย์สินหนี้สิน กรรมการต้องแสดงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิ้นต่อ ป.ป.ช. (ม.8/3) กรรมการต้องแสดงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิ้นต่อ ป.ป.ช. (ม.8 เบญจ)
วาระการดำรงตำแหน่ง กรรมการที่แต่งตั้งมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสองปี (ม.10) กรรมการที่มิใช้กรรมการโดยตำแหน่งดำรงวาระได้ 4ปี แต่ต้องไม่ติดต่อเกิน 2 วาระ (ม.10)
การพ้นจากตำแหน่งของคณะกรรมการ การพ้นจากตำแหน่งเหมือนกับร่างประชาชนเว้นแต่บ้างข้อที่ไม่ได้กำหนด(ม.11) พ้นจากตำแหน่งเมื่อ ขาดการประชุม 3 ครั้งติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันควร วิกลจริตสติฟั่นเฟือน ได้รับโทษโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่ความผิดโดยประประมาท และผู้ประกันตนจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งพันคน เข้าชื่อเสนอข้อมูลแก่คณะกรรมการเพื่อพิจารณาถอดทอนกรรมการคนใดคนหนึ่งออกจากตำแหน่ง (ม.11)
ที่มาของคณะกรรมการการแพทย์* รัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการการแพทย์ และให้มีวาระดำรงตำแหน่งคราวละสองปี (ม.14) คณะกรรมการสรรหาคณะกรรมการการแพทย์ต้องประกอบด้วยกรรมการฝ่ายผู้ประกันตน กรรมการฝ่ายนายจ้าง กรรมการโดยตำแหน่งและผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย ฝ่ายละ 2 คน (ม.14)
คุณสมบัติของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ* เหมือนกับคณะกรรมการประกันสังคม (ม.8/2) ต้องไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ไม่เป็นข้าราชการที่มีตำแหน่งหรืองานเดือนประจำ เว้นแต่เป็นข้าราชการในสถาบันอุดมศึกษา (มาตรา 8 จัตวา)
สถานะของสำนักงานประกันสังคม หน่วยราชการ สังกัดกระทรวงแรงงาน ให้มีสำนักงานประกันสังคม เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่ใช่และรัฐวิสาหกิจส่วนราชการ อยู่ในกำกับของนายกรัฐมนตรี (ม.19)
ความชัดเจนและประสิทธิภาพในการจัดทำระบบบัญชีของกองทุนประกันสังคม กองทุนต้องวางและถือไว้ซึ่งระบบบัญชีที่เหมาะสมแก่กิจการตรมหลักสากล มีการลงรายรับรายจ่ายเงินสินทรัพย์ และหนี้สินตามความเป็นจริงและให้มีการตรวจสอบบัญชีภายในประจำ (ม.24/1) สำนักงานประกันสังคมต้องจัดทำบัญชีตามหลักสากลและมีการตรวจสอบภายในเกี่ยวกับการเงินการ บัญชีและพัสดุ และเสนอผลการตรวจสอบอย่างน้อยปีละครั้ง (ม.19)
การจัดทำรายงานประมาณการรายรับและรายจ่ายของกองทุนประกันสังคม คณะกรรมการประกันสังคมจัดทำรายการประเมินสถานะของกองทุน โดยแสดงรายรบรายจ่าย และความสามารถในการดำเนินงานในอนาคต แล้วให้เปิดเผยต่อสาธารณชน(ม.27/1) คณะกรรมการประกันสังคมทำรายงานประจำปีกล่าวถึงผลงานที่ผ่านมาและแผนงานในปีต่อไป และผู้ประกันตนสามารถเข้าถึงข้อมูลนี้ (ม.19)
การตรวจสอบการใช้จ่ายของคณะกรรมการประกันสังคม ไม่ปรากฏหลักการในร่างฉบับนี้ ให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินหรือบุคคลภายนอกที่คณะกรรมการแต่งตั้งโดยความเห็นชอบของ สตง. เป็นผู้ตรวจสอบบัญชีทรัพย์สิน (ม.19)
ส่งเสริมความรู้เรื่องประกันสังคม ไม่ปรากฏหลักการในร่างฉบับนี้ เสริมสร้างการมีส่วนร่วมของผู้ประกันตนในการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจด้านประกันสังคมอย่างกว้างขวาง (ม.19)
สิทธิของผู้รับงานไปทำที่บ้าน ไม่ปรากฏหลักการในร่างฉบับนี้ ผู้ประกันตนมาตรา 39 ให้รัฐบาลออกสองเท่าและผู้ประกันตนออกหนึ่งเท่าของอัตราเงินสมทบ (ม.46)
สิทธิของผู้รับงานไปทำที่บ้าน นิยามลูกจ้าง หมายความว่า ผู้ซึ่งทำงานให้นายจ้างโดยรับค่าจ้าง (ม.4) นิยามลูกจ้าง ให้หมายรวมถึงผู้มี่รับงานไปทำที่บ้านตามกฎหมายด้วย (ม.5)
สิทธิประโยชน์ทดแทนจากกองทุน ผู้ประกันตนได้รับสิทธิเพิ่ม คือ ประโยชน์ในกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย รวมทั้งการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค  (ม.54) ไม่มีการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค (ม.45)
สิทธิของแรงงานนอกระบบ รัฐบาลร่วมจ่ายสมทบกับผู้ประกันตนแต่ไม่เกินกึ่งหนึ่งของเงินสมทบที่ได้รับจากผู้ประกันตน (ม.40) ให้รัฐบาลจ่ายเงินจนสมทบเท่ากับผู้ประกันตน (ม.40)

*โดยรวมจะมีเนื้อหาเหมือนกันแต่ในตารางจะนำเสนอเฉพาะเนื้อหาที่แต่ต่างกันเท่านั้น

ไฟล์แนบ