งานเสวนาพ.ร.บ.ชุมนุมฯ กับดักเสรีภาพการแสดงออก

ภายหลังการรัฐประหารของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ประชาชนถูกจำกัดสิทธิเสรีภาพในหลายแง่มุมโดยอาศัยกฎหมายที่ออกโดยคสช.และสภาตรายางของคสช.อย่างสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เป็นเครื่องมือ พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 (พ.ร.บ.ชุมนุมฯ) เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ใช้ในการปราบปรามเสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุม จนถึงปัจจุบันพ.ร.บ.ฉบับนี้ยังคงถูกใช้เป็นเครื่องมือปราบปราม จำกัดเสรีภาพและประชาชนยังคงได้รับผลกระทบในแง่ที่ไม่สามารถใช้เสรีภาพได้อย่างเต็มที่และถูกดำเนินคดีมาจนถึงปัจจุบัน

Human Rights Lawyers Association – #สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน
โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (#iLaw)
คณะรณรงค์เพื่อรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน (#ครช.)

อยากเชิญชวนประชาชนได้ทบทวนข้อมูล – เห็นข้อถกเถียง และร่วมกันติดตามสถานการณ์คดีอันเนื่องมาจาก พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 ในวงเสวนาสาธารณะ “พ.ร.บ. ชุมนุม: กับดักเสรีภาพการแสดงออก”

วันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2568

ณ ห้องประชุมริมน้ำ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

กำหนดการ

เวลา 12:30-13:00 น. ลงทะเบียน

13:00-13:10 น. กล่าวต้อนรับ

เวลา 13:10-13:40 น. วงเสวนาที่ 1 ปัญหาการบังคับใช้พ.ร.บ.ชุมนุมฯ: อดีตถึงปัจจุบัน

โดย บุศรินทร์ แปแนะ เจ้าหน้าที่สิทธิมนุษยชน iLaw

ชล คีรีกูณฑ์ นักนโยบายสาธารณะ WhipX

เวลา 13:45-15:45 น. วงเสวนาที่ 2 ประชาชนในกับดักเสรีภาพการแสดงออก

โดย จำนงค์ หนูพันธ์ ที่ปรึกษาขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (P-MOVE)

กัญญ์วรา หมื่นแก้ว เจ้าหน้าที่ฝ่ายสื่อสาร มูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ

สุนทร บุญยอด อดีตพนักงานยานภัณฑ์

ผู้ดำเนินรายการ ธัชพงศ์ แกดำ

เวลา 15:45-16:30 วงเสวนาที่ 3 ข้อเสนอเกี่ยวกับ พ.ร.บ.ชุมนุม

โดย อัมรินทร์ สายจันทร์ มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (#EnLAW)

เฝาซี ล่าเต๊ะ Amnesty International Thailand

พร้อมกับนิทรรศการขนาดเล็ก นำเสนอข้อมูลและข้อถกเถียงเกี่ยวกับการชุมนุม โดย #iLaw และวัตถุพยานเกี่ยวกับการต่อสู้ของประชาชนในพื้นที่ชุมนุม โดย พิพิธภัณฑ์สามัญชน

RELATED TAGS