สภาเห็นชอบ พ.ร.ก.กู้เงิน 1.9 ล้านล้าน: ส.ส. มีเสียงค้าน แต่ ส.ว.ผ่านฉลุย!

เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2563 ที่ผ่านมา ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้ลงมติเกี่ยวกับพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) เงินกู้ สามฉบับ หลังจากมีการอภิปรายกันในสภายาวนานถึงห้าวัน ผลการลงมติคือ สภาผู้แทนราษฎรเห็นชอบให้ผ่าน พ.ร.ก.เงินกู้ทั้งสามฉบับ และได้ส่งต่อไปให้วุฒิสภาพิจารณา และลงมติอีกครั้ง ในวันที่ 1 มิถุนายน 2563 ซึ่งที่ประชุมวุฒิสภาใช้เวลาอภิปรายทั้งหมดสองวัน และลงมติเห็นชอบ พ.ร.ก.ทั้งสามฉบับ โดยไม่มีสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) คนใดลงคะแนนเสียงไม่เห็นชอบเลย

Parliament approved loan decree.

เนื้อหาโดยสรุปของ พ.ร.ก.เงินกู้ สามฉบับ

พ.ร.ก.เงินกู้ทั้งสามฉบับ มีเนื้อหาโดยสรุป ดังนี้

ฉบับที่ 1 พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 (พ.ร.ก.เงินกู้ วงเงิน 1 ล้านล้านบาท) กำหนดให้เงินกู้ตาม พ.ร.ก.นี้ในวงเงินหนึ่งล้านล้านบาท จะต้องเป็นไปเพื่อแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคโควิด 19 เพื่อช่วยเหลือ เยียวยา และชดเชยให้ภาคประชาชน เกษตรกร และผู้ประกอบการ และเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ สังคมที่ได้รับผลกระทบ

ฉบับที่ 2 พ.ร.ก.การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 (พ.ร.ก. Soft Loan ช่วยเหลือ SMEs) กำหนดให้ธนาคารแห่งประเทศไทยมีอำนาจให้กู้ยืมเงินแก่สถาบันการเงินเป็นการเฉพาะคราว ภายในวงเงินไม่เกินห้าแสนล้านบาท เพื่อให้สถาบันการเงินให้กู้ยืมเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจ ซึ่งเป็นกรณีนอกเหนือจากการให้กู้ยืมเงินตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารแห่งประเทศไทย

ฉบับที่ 3 พ.ร.ก.การรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินและความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ พ.ศ. 2563 (พ.ร.ก. BSF ดูแลตลาดตราสารหนี้) กำหนดให้เป็นหน้าที่และอำนาจของกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทยร่วมกันดำเนินการ จัดตั้งกองทุนรวมขึ้นกองทุนหนึ่ง เรียกว่า “กองทุนเพื่อรักษาสภาพคล่องของการระดมทุนในตลาดตราสารหนี้” มีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาเสถียรภาพและสภาพคล่องของตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชน ที่ได้รับผลกระทบอันเนื่องมาจากการระบาดของโรคโควิด 19 ด้วยวิธีการลงทุนในตราสารหนี้ภาคเอกชนที่ออกใหม่ วงเงินไม่เกิน 4 แสนล้านบาท

ที่ประชุมสภา ส.ส. อภิปรายยาว 5 วัน ฝ่ายค้านลงคะแนนงดออกเสียง และไม่เห็นด้วยทั้งสามฉบับ

จากการอภิปราย พบว่า ส.ส.ของพรรคฝ่ายค้านและรัฐบาลบางส่วน อาทิ สาธิตย์ วงศ์หนองเตย ส.ส. ตรัง พรรคประชาธิปัตย์ และ ภราดร ปริศนานันทกุล ส.ส. อ่างทอง พรรคภูมิใจไทย ได้เสนอญัตติตั้ง กมธ.วิสามัญติดตามตรวจสอบการใช้จ่ายเงินจากการกู้เงินตาม พ.ร.ก ตามที่ชัยธวัช ตุลาธน เลขาธิการพรรคก้าวไกล ได้เสนอไว้ก่อนหน้านี้ อย่างไรก็ตามประธาน ส.ส.พรรคแกนนำรัฐบาลอย่าง สุชาติ ชมกลิ่น ส.ส.ชลบุรี พรรคพลังประชารัฐ ได้ออกมาแสดงความไม่เห็นด้วย โดยให้เหตุผลว่ามีหน่วยงานราชการที่น่าเชื่อถือพิจารณาและกลั่นกรองอยู่แล้ว อาทิ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง โดยทาง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ได้กล่าวอภิปรายสรุปภาพรวมในประเด็นนี้ว่า ยินดีให้ตรวจสอบ เพราะเป็นเงินของแผ่นดิน ต้องดำเนินตามกฎหมายทุกประการ พร้อมทั้งเน้นย้ำว่า รัฐบาลเข้าใจสถานการณ์ความยากลำบากของประชาชนทุกกลุ่มทั่วประเทศ โดยในส่วนของการจ่ายเงินเยียวยา 5,000 บาท ก็เพื่อบรรเทาการขาดรายได้ของประชาชนในช่วงนี้ 

นอกจากนี้ ในการพิจารณา พ.ร.ก.เงินกู้ วงเงิน 1 ล้านล้านบาท ฉบับแรก ส.ส.ฝ่ายค้านเห็นด้วยกับเป้าหมายของรัฐบาลที่จะเร่งนำเงินไปฟื้นฟูและเสริมความแข็งแกร่งโดยเฉพาะในด้านสาธารณสุข แต่พบว่ายังมีข้อบกพร่องในเรื่องระบบการตรวจสอบการใช้งบประมาณที่ยังไม่มีประสิทธิภาพ จึงงดออกเสียง 207 เสียง แต่อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมสภาได้ลงมติเห็นชอบผ่าน พ.ร.ก.ฉบับแรกนี้ด้วยคะแนนเสียง 274 เสียง

ส่วน พ.ร.ก.ฉบับที่สอง จากการพิจารณา ฝ่ายค้านเห็นว่าการที่รัฐบาลตั้งเป้าหมายสำหรับช่วยเหลือ SMEs นับว่าเป็นทิศทางที่ถูกต้องแต่ไม่เห็นด้วยกับวิธีการ เนื่องจากเห็นว่าระบบการตรวจสอบไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้ไม่อาจนำไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ได้ ฝ่ายค้านจึงงดออกเสียงอีกครั้ง ด้วยจำนวน 205 เสียง ไม่เห็นด้วย 1 เสียง ทั้งนี้ ที่ประชุมสภาได้ลงมติเห็นชอบด้วยคะแนน 275 เสียง

ขณะที่ พ.ร.ก.ฉบับที่สาม ที่มีการท้วงติงของ ส.ส.ฝ่ายค้านมากที่สุด โดยเห็นว่ายังไม่มีความเร่งรีบในการออก พ.ร.ก.ฉบับดังกล่าวเหมือนกับสองกรณีก่อนหน้า เนื่องจากการช่วยเหลือผู้ประกอบการรายใหญ่นั้น ยังสามารถกระทำได้ด้วยวิธีอื่นและยังมีระยะเวลาอยู่พอสมควร นอกจากนี้ การที่ พ.ร.ก.ให้อำนาจธนาคารแห่งประเทศไทยมาเป็นผู้ดำเนินการ ฝ่ายค้านมองว่าไม่เหมาะสม จึงลงมติไม่เห็นชอบกับ พ.ร.ก.ฉบับนี้ ด้วยคะแนน 195 เสียง แต่ทั้งนี้ ที่ประชุมสภาได้ลงมติเห็นชอบด้วยคะแนน 274 เสียง งดออกเสียง 12 เสียง และไม่ลงคะแนน 1 เสียง

ที่ประชุม ส.ว. โหวตไม่แตกแถว เห็นชอบ พ.ร.ก.กู้เงินสามฉบับ

ในที่ประชุมวุฒิสภา เห็นชอบให้รวมการพิจารณา พ.ร.ก.ทั้งสามฉบับไปในคราวเดียวกัน เนื่องจากเนื้อหามีความเกี่ยวเนื่องกัน การประชุมเป็นไปอย่างราบรื่นโดยที่ประชุมส่วนใหญ่เห็นว่า การออก พ.ร.ก.กู้เงินเป็นเรื่องจำเป็นที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ รวมถึงมีการท้วงติงให้รัฐบาลมีความระมัดระวังในการใช้เงินกู้ และควรจัดให้มีกลไกการตรวจสอบที่โปร่งใส

โดย พล.อ.ต.เฉลิมชัย เครืองาม ได้อภิปรายว่า เป็นห่วงว่าการใช้งบประมาณจากเงินกู้จะเป็นแค่ปรากฏการณ์ปืนฉีดน้ำ คือ ยิงไปเรื่อยแต่หกเรี่ยราด ยิงไปแล้วได้แค่เปียก แต่ไม่เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ประชาชนไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย โดยทราบว่า ขณะนี้เริ่มมีการจับคู่ฮั้วกันแล้วในโครงการตาม พ.ร.ก.กู้เงิน โดยเฉพาะการใช้งบประมาณในการจัดซื้อจัดจ้างต่างๆ

ทางด้าน วันชัย สอนศิริ อภิปรายว่า ปฏิเสธไม่ได้ว่า พ.ร.ก.ทั้งสามฉบับมีความเป็นจำเป็น เพื่อรักษาความปลอดภัยสาธารณะของประเทศ วิกฤตินี้ยิ่งกว่าสงคราม คนเดือดร้อนกันทั้งแผ่นดิน การแก้ไขปัญหาจึงจำเป็นต้องใช้เงิน แต่การกู้เงินหนึ่งล้านล้านบาท จะทำให้พวกเราเป็นลูกหนี้ร่วม ส่งมรดกหนี้ให้คนรุ่นหลัง จึงจำเป็นมากที่คนรุ่นเรา โดยเฉพาะรัฐบาลต้องใช้เงินกู้มาแก้ไขวิกฤติให้ตรงเป้า ไม่ให้ทุจริต เพื่อไม่ให้เด็กรุ่นหลังมาชี้หน้าด่าว่าเราสร้างภาระให้พวกเขา

จากรายงาน สรุปผลการประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ 4 (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง) เป็นพิเศษ วันอังคารที่ 2 มิถุนายน 2563

ที่ประชุม ส.ว. เห็นชอบ พ.ร.ก. เงินกู้ วงเงิน 1 ล้านล้านบาท ด้วยคะแนน 242 เสียง งดออกเสียง 4 เสียง และไม่เห็นด้วย 0 เสียง

พ.ร.ก. Soft Loan ช่วยเหลือ SMEs ที่ประชุม ส.ว.เห็นชอบด้วยคะแนน 244 เสียง งดออกเสียง 3 เสียง และไม่เห็นด้วย 0 เสียง

เช่นเดียวกับ พ.ร.ก. BSF ดูแลตลาดตราสารหนี้ ส.ว.เห็นชอบด้วยคะแนน 243 เสียง งดออกเสียง 4 เสียง และไม่เห็นด้วย 0 เสียง

พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 วงเงิน 1 ล้านล้านบาท (พ.ร.ก.เงินกู้ วงเงิน 1 ล้านล้านบาท)

การลงมติสภาผู้แทนราษฎรวุฒิสภา
เห็นชอบ274242
ไม่เห็นชอบ00
งดออกเสียง 2074
ไม่ลงคะแนน0
จำนวนผู้เข้าประชุม481246
จำนวนวันอภิปราย52

พระราชกำหนดการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 วงเงินไม่เกิน 5 แสนล้านบาท (พ.ร.ก. Soft Loan ช่วยเหลือ SMEs)

การลงมติสภาผู้แทนราษฎรวุฒิสภา
เห็นชอบ275244
ไม่เห็นชอบ10
งดออกเสียง 2053
ไม่ลงคะแนน0
จำนวนผู้เข้าประชุม481247
จำนวนวันอภิปราย52

พระราชกำหนดการรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินและความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ พ.ศ. 2563 วงเงินไม่เกิน 4 แสนล้านบาท (พ.ร.ก. BSF ดูแลตลาดตราสารหนี้)

การลงมติสภาผู้แทนราษฎรวุฒิสภา
เห็นชอบ274243
ไม่เห็นชอบ1950
งดออกเสียง 124
ไม่ลงคะแนน1
จำนวนผู้เข้าประชุม482247
จำนวนวันอภิปราย52
You May Also Like
อ่าน

รวมตารางกิจกรรม ทำเดินสายอธิบายกติกา ชวนมาร่วมเปลี่ยนสว.

พร้อมแล้ว!! เดินสายทั่วประเทศ ชวนทุกคนมาทำความรู้จักระบบการเลือกสว. ชุดใหม่ จากการ “แบ่งกลุ่มอาชีพ” และ “เลือกกันเอง” อันซับซ้อน มาทำความเข้าใจขั้นตอน วิธีการเลือก ตรวจสอบคุณสมบัติผู้สมัคร รวมถึงช่องทางการมีส่วนร่วมที่ประชาชนสามารถทำได้ ใกล้ที่ไหนไปที่นั่น มาร่วมเปลี่ยนสว. กันเถอะ
อ่าน

อยากสมัคร สว. 67 ดูด่วน กกต. ออกระเบียบ สร้างเงื่อนไขการแนะนำตัวผู้สมัคร

กกต. ออกระเบียบการแนะนำตัวผู้สมัคร สว. 67 วางเงื่อนไขในการแนะนำตัวของผู้สมัครอย่างเข้มข้น โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 27 เมษายน 2567 เป็นต้นไป