เปิดข้อบังคับประชุม ส.ว. ใครลงมติอย่างไร ไม่ต้องเปิดเผยบนเว็บไซต์

ระยะเวลาหนึ่งปีของการทำงานของสมาชิกวุฒิสภา 250 คน ได้ทำอะไรหรือตัดสินใจอะไรไปบ้าง ย่อมเป็นสิ่งที่ประชาชนอย่างเราควรได้รู้ เพราะนอกจากบุคคลเหล่านี้จะลงมติตัดสินใจเรื่องที่กระทบต่อประชาชนแล้ว บุคคลทั้ง 250 คนยังมาจากการคัดเลือกของ คสช. ทั้งหมด ประชาชนจึงย่อมอยากรู้ว่า ระหว่างที่รับเงินเดือนจากงบประมาณภาษีประชาชน พวกเขาลงมติตัดสินใจอย่างไร (หรือไม่มาทำงานเลย)

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ในการผ่านกฎหมายทุกฉบับ หรือการแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งเพื่อตรวจสอบรัฐบาล เป็นอำนาจหน้าที่ของ ส.ว. ที่ต้องลงคะแนนเสียงให้ความเห็นชอบ ซึ่งโดยหลักแล้ว เพื่อความโปร่งใส ผลการลงมติที่ละเอียดพอที่จะเปิดเผยว่า ส.ว. คนไหนลงมติอย่างไรบ้าง จึงเป็นข้อมูลที่ควรต้องเปิดเผยให้โปร่งใสที่สุด

เปิดข้อบังคับประชุม ส.ว. ใครลงมติอย่างไร ไม่ต้องเปิดเผยบนเว็บไซต์

จากที่ได้พยายามค้นหาบันทึกการลงคะแนนของ ส.ว. ในมติต่างๆ ไม่พบข้อมูลดังกล่าวบนเว็บไซต์ของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาเลย 

ซึ่งตามข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. 2562 ในข้อ 76 กำหนดไว้ว่า “ให้เลขาธิการวุฒิสภาจัดทำบันทึกการลงมติการออกเสียงลงคะแนนของสมาชิกแต่ละคน และเปิดเผยบันทึกการลงมติดังกล่าวไว้ ณ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา เพื่อให้ประชาชนทราบได้ทั่วไป เว้นแต่กรณีการออกเสียงลงคะแนนเป็นการลับ” 

เมื่อข้อบังคับดังกล่าวกำหนดให้เปิดเผยที่สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ในทางปฏิบัติจึงมีการนำแผ่นกระดาษไปติดบอร์ดไว้ให้ประชาชนสามารถไปตรวจสอบดูได้เอง แต่ก็ต้องผ่านการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยก่อนจึงเข้าไปได้ และข้อบังคับข้อ 76 นี้เองเป็นเหตุผลที่ทำให้ไม่มีการเปิดเผยใบประมวลผลการลงคะแนนของ ส.ว. แต่ละคนบนเว็บไซต์ของรัฐสภา 

การเขียนข้อบังคับข้อ 76 เช่นนี้ แตกต่างจากกรณีขอดูบันทึกการลงคะแนนของ ส.ส. ที่สามารถค้นหาได้จาก ระบบฐานข้อมูลรายงานและและบันทึกการประชุมบนเว็บไซต์ของรัฐสภาโดยตรง

ซึ่งจะแสดงทั้งบันทึกการประชุม บันทึกการออกเสียงและการลงคะแนน ซึ่งของ ส.ส. ยังได้มีการเปิดเผยใบประมวลผลการลงมติเป็นรายบุคคลอีกด้วย 

ทั้งนี้เนื่องจากข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562 ข้อ 89 ระบุว่า “ให้เลขาธิการจัดทำบันทึกการออกเสียงลงคะแนนของสมาชิกแต่ละคนและเปิดเผยบันทึกดังกล่าวไว้ ณ บริเวณสภา รวมทั้งสื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทอื่นเพื่อให้ประชาชนทราบได้ทั่วไป เว้นแต่การออกเสียงลงคะแนนเป็นการลับตามข้อ 84” 

You May Also Like
อ่าน

รวมตารางกิจกรรม ทำเดินสายอธิบายกติกา ชวนมาร่วมเปลี่ยนสว.

พร้อมแล้ว!! เดินสายทั่วประเทศ ชวนทุกคนมาทำความรู้จักระบบการเลือกสว. ชุดใหม่ จากการ “แบ่งกลุ่มอาชีพ” และ “เลือกกันเอง” อันซับซ้อน มาทำความเข้าใจขั้นตอน วิธีการเลือก ตรวจสอบคุณสมบัติผู้สมัคร รวมถึงช่องทางการมีส่วนร่วมที่ประชาชนสามารถทำได้ ใกล้ที่ไหนไปที่นั่น มาร่วมเปลี่ยนสว. กันเถอะ
ConCourt Judges
อ่าน

ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญพร้อมหน้า ร่วมยินดีสว. สมชาย แสวงการ รับป.เอก

ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ร่วมแสดงความยินดีที่สว. สองคนได้รับปริญญาเอก เรื่องนี้มีที่มาเพราะสมชาย แสวงการ สว. ที่รับปริญญาผ่านการคัดเลือกโดยศาลรัฐธรรมนูญให้มาเรียน และกรรมการสอบเล่มจบก็ไม่ใช่ใครอื่น