เข้าชื่อเพื่อเสนอกฎหมายเป็น “สิทธิ” ทุกคนทำได้ ไม่มีใครห้ามได้

#ทวงคืนสถานการณ์ปกติ #ปลดอาวุธคสช.

 

"การเข้าชื่อเสนอกฏหมาย" ต่างจากการลงชื่อเพื่อร่วมกันแสดงพลังหรือเรียกร้องในประเด็นต่างๆ เช่น การลงชื่อในจดหมายเปิดผนึก หรือการลงชื่อในเว็บไซต์ change.org

 

การเข้าชื่อเสนอกฎหมาย ไม่ใช่กิจกรรมที่ทำเพื่อรณรงค์ในทางสังคมเท่านั้น แต่เป็นการใช้สิทธิของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งรัฐธรรมนูญ 2560 บัญญัติสิทธิการเข้าชื่อเสนอกฏหมายไว้ในมาตรา 133(3) ระบุว่าผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า 10,000 คนเข้าชื่อเสนอกฎหมายตามหมวด 3 สิทธิเสรีภาพของปวงชนชาวไทย หรือหมวด 5 หน้าที่ของรัฐและยังมีพ...ว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย ..2556 กำหนดขั้นตอนในรายละเอียดอีกชั้นหนึ่ง

 

การเข้าชื่อเสนอกฎหมาย จึงเป็นกิจกรรมที่มีกฎหมายรองรับ เป็นช่องทางที่ประชาชนสามารถร่วมมือกันทำ และคาดหมายให้มีผลในทางกฎหมายได้ ซึ่งผลที่คาดหวังก็คือ รัฐสภาที่มีหน้าที่ออกกฎหมาย ต้องรับข้อเสนอของประชาชนไปพิจารณาตามระเบียบวาระการประชุม เช่นเดียวกับ การพิจารณากฎหมายฉบับอื่นๆ ที่เสนอโดยรัฐบาล ในแง่นี้ การเข้าชื่อเสนอกฎหมาย จึงไม่ได้ให้ผลลัพธ์เป็นเพียงแรงกดดันทางสังคมเท่านั้น

 

การที่ประชาชนคนหนึ่ง จะใช้สิทธิของตัวเองเพื่อเข้าชื่อเสนอกฎหมาย จึงเป็นการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ ไม่มีใครมาห้ามได้ และการใช้สิทธิเช่นนี้ไม่ก่อให้เกิดผลร้ายใดๆ นอกจากนี้ ...ว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย มาตรา 13(2) ยังกำหนดด้วยว่า ใครที่หลอกลวง บังคับ ขู่เข็ญ หรือใช้อิทธิพลคุกคามเพื่อให้ร่วมลงชื่อ หรือไม่ให้ลงชื่อมีความผิดและมีโทษจําคุกไม่เกินห้าปีหรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท

 

ระหว่างที่การเข้าชื่อยังไม่ครบ 10,000 ชื่อ และยังไม่ได้นำรายชื่อไปยื่นเสนอต่อรัฐสภา รายชื่อจะถูกเก็บรวบรวมไว้โดยประชาชนผู้ที่ริเริ่มการเข้าชื่อนั้นๆ เป็นความลับ หน่วยงานรัฐหรือผู้ใดก็ไม่อาจเข้าถึงเอกสารรายชื่อทั้งหมดได้

 

 

เมื่อรายชื่อถูกนำไปยื่นต่อรัฐสภาเพื่อเสนอกฎหมายแล้ว เจ้าหน้าที่จะติดต่อกลับไปยังผู้เข้าชื่อทุกคนเพื่อยืนยันอีกครั้งว่า ไม่ได้ถูกแอบอ้างชื่อ และจะจัดทำบัญชีรายชื่อให้เจ้าของรายชื่อมาตรวจสอบได้ที่สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรและผ่านทางเว็บไซต์ โดยต้องใช้หมายเลข 13 หลักของผู้เข้าชื่อเพื่อตรวจสอบ แต่ไม่ได้นำรายชื่อไปติดประกาศไว้ในสถานที่สาธารณะเหมือนเมื่อก่อน ดังนั้น คนไม่เกี่ยวข้องที่ไม่ทราบหมายเลข 13 หลักก็ไม่อาจทราบได้ว่า ผู้ใดลงชื่อเพื่อเสนอกฎหมายฉบับใดบ้าง หรือไม่ได้ลงชื่อ

 

การเข้าชื่อเสนอกฏหมายโดยประชาชนมีมากว่า 20 ปีแล้ว เริ่มตั้งแต่รัฐธรรมนูญ 2540 เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน ในช่วงแรก รัฐธรรมนูญ 2540 ระบุว่าต้องใช้รายชื่อประชาชนอย่างน้อย 50,000 คน และใช้หลักฐานเป็นสำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน แต่ต่อมาในรัฐธรรมนูญ 2560 ให้ใช้รายชื่อ 10,000 คน เท่านั้น และให้ใช้หลักฐานเป็นสำเนาบัตรประชาชนเพียงอย่างเดียว 

 

จนถึงปัจจุบัน ไอลอว์รวบรวมข้อมูลการเข้าชื่อเพื่อเสนอ กฎหมายฉบับประชาชน’’ ได้แล้วทั้งหมด 67 ฉบับ กับอีกหลายสิบฉบับที่อยู่ระหว่างการรวบรวมรายชื่อยังได้ไม่ครบ และเท่าที่ติดตามการคุกคามปิดกั้นการใช้เสรีภาพการแสดงออกก็ไม่เคยพบข้อมูลว่า ใครถูกคุกคามหรือได้รับผลกระทบจากการใช้สิทธิเข้าชื่อเสนอกฎหมาย 

 

 

นับตั้งแต่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) รัฐประหารและยึดอำนาจการปกครอง ได้ออกประกาคสช. คำสั่งคสช. และคำสั่งหัวหน้า คสช. รวมกันมากกว่า 525 ฉบับ ทั้งสามเป็นกฎหมายพิเศษซึ่งไม่ใช่การใช้อำนาจของรัฐตามปกติและประชาชนไม่มีส่วนร่วมเลย ประกาศ คสช. และคำสั่ง คสช. ออกโดยการอ้างฐานะรัฏฐาธิปัตย์" ของคสช. ส่วนคำสั่งหัวหน้าคสช. ออกโดยอำนาจพิเศษมาตรา 44” อีกทั้ง ประกาศและคำสั่งเหล่านี้ถูกรับรองและคุ้มครองโดย มาตรา 279 ของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน 

 

อย่างไรก็ดี มาตรา 279 ก็ได้เขียนช่องทางยกเลิกประกาศและคำสั่งเหล่านี้ไว้ด้วย โดยให้ตรากฎหมายออกมาเพื่อยกเลิกได้ ต้นปีที่ผ่านมา เครือข่ายภาคประชาชน 23 เครือข่าย จึงได้ร่วมกันรณรงค์ให้ประชาชนช่วยกันใช้สิทธิ "การเข้าชื่อเสนอกฎหมาย" เพื่อเสนอร่างพ...ยกเลิกประกาศและคำสั่ง คสช. จำนวน 35 ฉบับ ครอบคลุม 4 ประเด็น ได้แก่ 1) เสรีภาพการแสดงออก 2) เสรีภาพสื่อ 3) สิทธิในกระบวนการยุติธรรม 4) สิทธิชุมชนและสิ่งแวดล้อม 

 

ตั้งแต่ทำกิจกรรมมากว่า 7 เดือน เดินสายพบปะประชาชนทั่วประเทศ และตั้งโต๊ะในที่สาธารณะเพื่ออำนวยความสะดวกด้านเอกสารให้ประชาชนมาช่วยกันเข้าชื่อ ก็ไม่มีอุปสรรค ไม่เคยถูกรบกวน หรือถูกห้ามปรามแต่อย่างใด

เครือข่ายภาคประชาชนตั้งใจจะรวบรวมรายชื่อให้ครบ 10,000 และยื่นร่างกฎหมายฉบับนี้ต่อรัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้ง โดยหวังให้เป็นกฎหมายที่ต้องถูกเร่งพิจารณาในวาระแรกของรัฐบาลใหม่ ก่อนจะถึงวันนั้นรายชื่อและเอกสารทั้งหมดจะถูกเก็บไว้โดยไม่มีผู้ใดเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้สิทธิทุกคนได้

 

สำหรับผู้สนใจใช้สิทธิทันทีตอนนี้ สามารถลงชื่อจากที่บ้านง่ายๆ ก็ได้ มีขั้นตอนดังนี้

 

1. ดาวน์โหลด แบบแสดงรายละเอียดเพื่อเข้าชื่อเสนอกฎหมาย หรือ แบบ ... (คลิก) และพิมพ์ลงกระดาษ A4 

 

2. กรอกข้อมูลในแบบ .. ให้ครบถ้วน 

 

3. แนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนที่หมดอายุ หรือ สำเนาบัตรหรือหลักฐานอื่นใดของทางราชการที่มีรูปถ่ายสามารถแสดงตนได้ พร้อมเซ็นสำเนาให้ถูกต้อง และขีดคร่อมว่าใช้เพื่อเข้าชื่อเสนอกฎหมายยกเลิกประกาศ คำสั่ง คสช. เท่านั้น

 

4. ตรวจสอบลายเซ็นต์บน "แบบ .." และ "สำเนาบัตรประชาชน" ให้เหมือนกัน

 

5. ส่งเอกสารทั้งหมดมายัง ตู้ปณ.79 ปณศ.สามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400

 

ข้อมูลเพิ่มเติมhttps://ilaw.or.th/10000sign