เลือกตั้ง 66 : ส.ส.ย้ายพรรคพ่ายเกือบหมด งูเห่าส้มสูญพันธุ์-พรรคทหารปาดเหงื่อ

ปรากฏการณ์ “พลังดูด” และการสลับขั้ว “ย้ายพรรค” เกิดขึ้นต่อเนื่องมายาวนานในระบบการเลือกตั้งไทย เมื่อ ส.ส. หลายคนตั้งเป้าหมายของการเลือกตั้งที่ “ชัยชนะ” มากกว่า “หลักการ” จึงเลือกย้ายกระโดดข้ามฟาก ข้ามไปข้ามมาอย่างไรก็ได้ บ่อยแค่ไหนก็ได้ เพื่อขออยู่ในสังกัดที่มีโอกาสมาก มีแรงสนับสนุนมาก 148 คือ จำนวน ส.ส. ซึ่งได้ที่นั่งในสภาหลังการเลือกตั้ง 2562 และตัดสินใจ “ย้ายพรรค” เพื่อลงสู่สนามการเลือกตั้ง 2566 จากจำนวนนี้แบ่งเป็น ส.ส. เก่าที่ลงสมัครแบบแบ่งเขต 109 คน ชนะการเลือกตั้งในนามพรรคใหม่ 20 คน ลงสมัครในระบบบัญชีรายชื่อ 33 คน ได้เป็น ส.ส. 11 คน ไม่ได้ลงสมัครต่อแล้ว 6 คน

“งูเห่าส้ม” เฟส 1-3 สอบตกตายยกรัง

พรรคอนาคตใหม่-ก้าวไกล มีส.ส.ที่ย้ายออกจากพรรครวม 25 คน โดยเป็นการย้ายพรรคระหว่างที่สภายังต้องการเสียงสนับสนุนอยู่ เรียกว่า “จบไม่สวย” 22 คน ทั้งหมดถูกจดจำในฐานะ “ส.ส.งูเห่า” ต่างกรรมต่างวาระตั้งแต่ “งูเห่าส้ม” ไปจนถึง “งูเห่าฝากเลี้ยง” ในที่นี้ไม่นับรวม ทศพร ทองศิริ, จิรวัฒน์ อรัณยกานนท์และสมเกียรติ ถนอมสินธุ์ ซึ่งอยู่กับพรรคจนหมดสมัยประชุมสภาและย้ายพรรคเพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งใหม่

 “งูเห่า” ชุดนี้ 21 จาก 22 คนลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคใหม่แบ่งเป็นส.ส.แบบแบ่งเขต 19 คนและแบบบัญชีรายชื่อสองคน แต่ผลการเลือกตั้งพบว่า “แพ้เรียบทุกคน” คนที่ได้สัดส่วนคะแนนน้อยที่สุด คือ กวินนาถ ตาคีย์ ลงสมัครในนามพรรคพลังประชารัฐที่เขต 9 จังหวัดชลบุรี ได้ 807 คะแนนหรือคิดเป็นร้อยละ 1.03 จากจำนวนผู้มาออกเสียงทั้งหมด โดยผู้ชนะเขตนี้ คือ ยอดชาย พึ่งพร จากพรรคก้าวไกล ได้คะแนนน้อยรองลงมาคือ ฐิตินันท์ แสงนาค ลงสมัครในนามพรรคภูมิใจไทยที่เขต 1 จังหวัดขอนแก่น ได้ 1,068 คะแนนหรือคิดเป็นร้อยละ 1.1 จากจำนวนผู้มาออกเสียงทั้งหมด เขตนี้ผู้ชนะคือ วีระนันท์ ฮวดศรี  จากพรรคก้าวไกล

ขณะที่คารม พลพรกลางเป็นผู้ที่ได้คะแนนจากระบบแบ่งเขตมากที่สุด เดิมเขาเคยเป็นส.ส.แบบบัญชีรายชื่อของพรรคอนาคตใหม่ ครั้งนี้กระโดดมาลงส.ส.แบบแบ่งเขตที่บ้านเกิด เขต 6 จังหวัดร้อยเอ็ด สังกัดพรรคภูมิใจไทย ได้คะแนน 16,306 คะแนนหรือร้อยละ 18.46 จากจำนวนผู้มาออกเสียงทั้งหมด โดยได้คะแนนเป็นอันดับสอง ตามหลังอันดับหนึ่งอย่างกิตติ สมทรัพย์ เจ้าของพื้นที่จากพรรคเพื่อไทยเกินเท่าตัว จุดสำคัญ คือ คารมทำคะแนนได้ดีกว่าผู้สมัครจากพรรคก้าวไกลในการเลือกตั้ง 2566  ส่วนวิรัช พันธุมะผลและเกษมสันต์ มีทิพย์ ย้ายมาลงสมัครในระบบบัญชีรายชื่อกับพรรคภูมิใจไทย เป็นลำดับที่ 29 และ 30 ตามลำดับ ซึ่งไม่ได้อยู่ใน “เซฟโซน”  หรือลำดับปลอดภัยที่จะได้รับเลือก เป็นไม้ประดับให้กับพรรคแห่งใหม่เท่านั้น

ตารางผลคะแนนเลือกตั้งของส.ส.อนาคตใหม่-ก้าวไกลที่ย้ายพรรคในการเลือกตั้ง 2566

 

กลุ่ม

จังหวัด

ชื่อนามสกุล

ผล

คะแนนปี 2566

สัดส่วน

 

เฟส 1

ถูกขับออกปี 2562

เชียงใหม่

ศรีนวล บุญลือ

แพ้

12,847

11.68

จันทบุรี

จารึก ศรีอ่อน

แพ้

10,992

10.18

จันทบุรี

ฐนภัทร กิตติวงศา

แพ้

15,930

13.94

ชลบุรี

กวินนาถ ตาคีย์

แพ้

807

1.06

 

 

 

เฟส 2

ไม่ย้ายเข้าพรรคก้าวไกลหลังจากยุบพรรคอนาคตใหม่ปี 2563

กรุงเทพมหานคร

มณฑล โพธิ์คาย

แพ้

7,283

7.50

กรุงเทพมหานคร

โชติพิพัฒน์ เตชะโสภณมณี

แพ้

2,282

2.25

ปทุมธานี

อนาวิล รัตนสถาพร

แพ้

15,570

15.61

สมุทรสาคร

สมัคร ป้องวงษ์

แพ้

2,962

3.22

ฉะเชิงเทรา

กิตติชัย เรืองสวัสดิ์

แพ้

1,223

1.00

ขอนแก่น

ฐิตินันท์ แสงนาค

แพ้

1,068

1.1

แพร่

กฤติเดช สันติวชิระกุล

แพ้

9,910

10.68

แพร่

เอกการ ซื่อทรงธรรม

แพ้

3,354

5.08

บัญชีรายชื่อ

วิรัช พันธุมะผล

ไม่ได้ที่นั่งบัญชีรายชื่อ

  

บัญชีรายชื่อ

สำลี รักสุทธี

ขาดคุณสมบัติ ไม่ได้สมัครรับเลือกตั้ง

 

 

 

เฟส 3

โหวตสวนพรรคและลาออกปลายปี 2565ก่อนยุบสภา

ชลบุรี

ขวัญเลิศ พานิชมาท

แพ้

4,538

4.45

เชียงราย

พีรเดช คำสมุทร

แพ้

16,011

18.28

เชียงราย

เอกภพ เพียรพิเศษ

แพ้

15,644

14.29

บัญชีรายชื่อ

เกษมสันต์ มีทิพย์

ไม่ได้ที่นั่งบัญชีรายชื่อ

 

 

บัญชีรายชื่อ

คารม พลพรกลาง

แพ้

16,306

18.46

พลังดูด “ภูมิใจไทย” ไร้มนต์ขลัง


พรรคภูมิใจไทยครองแชมป์ “พลังดูด” สูงสุดก่อนการเลือกตั้ง โดยได้ตัว ส.ส. เก่าจากพรรคอื่นมาถึง 53 คน สามารถดึง “ตระกูลการเมือง” ที่มีฐานเสียงแน่นหนาอย่างตระกูลไตรสรณกุลในจังหวัดศรีสะเกษ ตระกูลวันไชยธนวงศ์ในจังหวัดเชียงรายและตระกูลโพธิพิพิธในจังหวัดกาญจนบุรี มาร่วมพรรคได้ อย่างไรก็ตาม ผลการเลือกตั้ง 2566 มีส.ส.ที่ย้ายพรรคมาซบอกภูมิใจไทยชนะเพียงสี่คนเท่านั้น คือ สัมฤทธิ์ แทนทรัพย์ ส.ส. ชัยภูมิ เขต3 ย้ายมาจากพรรคพลังประชารัฐ, มณเฑียร สงฆ์ประชา ส.ส. ชัยนาท เขต 2 ย้ายมาจากพรรคพลังประชารัฐ, เอกราช ช่างเหลา ส.ส.ขอนแก่น เขต 4 ย้ายมาจากพรรคพลังประชารัฐ และแนน บุณย์ธิดา สมชัย ส.ส. อุบลราชธานี  เขต 8 ย้ายมาจากพรรคประชาธิปัตย์ ส่วนส.ส. ตระกูลใหญ่อีกมากที่ต้องแพ้ในการเลือกตั้งครั้งนี้ 

ศรีสะเกษถือเป็นพื้นที่เต็งหนึ่งที่พรรคภูมิใจไทยคาดหมายว่า จะดับแผนแลนด์สไลด์ของพรรคเพื่อไทยและคว้าที่นั่งเพิ่มได้ ในการเลือกตั้ง 2562 ศรีสะเกษมีแปดเขตเลือกตั้ง เพื่อไทยได้ไปหกที่นั่ง อีกสองที่นั่งเป็นของภูมิใจไทย มารอบใหม่ภูมิใจไทย “ดูด” ส.ส.ระดับเอลิสต์ย้ายไปจากเพื่อไทยอย่างตระกูลไตรสรณกุล-เพ็งนรพัฒน์  ที่เคยแยกกันเดินสองพรรคแต่เปลี่ยนมารวมพลังกันที่ภูมิใจไทยพรรคเดียวแล้ว เจ้าของพื้นที่เดิมอย่างเพื่อไทยหวั่นไหวหรือไม่ อาจวัดได้จากการลงพื้นที่ของพรรคในช่วงกลางปี 2565 พร้อมกับชื่ออีเวนท์ขย่มขวัญอย่าง “ไล่หนูตีงูเห่า” ผลการเลือกตั้ง 2566 ปรากฏว่า ภูมิใจไทยไม่ได้ที่นั่งเพิ่ม แม้ ส.ส.เอลิสต์บ้านใหญ่ก็ยังพ่ายแพ้ โดยเป็นส.ส.หน้าเดิมหนึ่งคนคือ อาสพลธ์ สรรณ์ไตรภพ เลขานุการของวิชิต ไตรสรณกุล และหน้าใหม่คือ ธนา กิจไพบูลย์ชัย ซึ่งเอาชนะวิวัฒน์ชัย โหตระไวศยะได้ประมาณห้าพันคะแนน ขณะที่ตระกูลวันไชยธนวงศ์ ในเชียงราย ที่เคยอยู่กับพรรคเพื่อไทยก็แพ้การเลือกตั้งในนามภูมิใจไทยด้วยเช่นกัน การย้ายพรรคไปภูมิใจไทยในรอบนี้อาจเป็นผลมาจากทางแยกในการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงรายเมื่อปลายปี 2563 ที่ตระกูลวันไชยธนวงศ์มีชัยชนะเหนือผู้สมัครที่พรรคเพื่อไทยผลักดันอย่างวิสารดี เตชะธีราวัฒน์ได้ 

นอกจากนี้ยังมีส.ส. “ภูมิใจกรุงเทพ” ซึ่งย้ายมาจากพรรคพลังประชารัฐห้าคน อนาคตใหม่สองคนและเพื่อไทยหนึ่งคน นำโดยพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์เป็นคีย์แมนในการทำแคมเปญ ส.ส. ทั้งแปดคนเป็นส.ส.หน้าใหม่สมัยเดียวเท่านั้น ตัวเต็งที่สุดคือ กรณิศ งามสุคนธ์รัตนาที่ทำพื้นที่เขตคลองเตยเป็นที่รู้จักในวงกว้าง แต่ทั้งหมดแพ้ให้กับส.ส.จากพรรคก้าวไกล ส.ส.กลุ่มนี้ได้คะแนนมากที่สุดคือ กรณิศ น้อยที่สุดคือ โชติพิพัฒน์ เตชะโสภณมณี การเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ 2560 สองครั้งภูมิใจไทยยังไม่สามารถเจาะพื้นที่ในกรุงเทพมหานครได้เลย ปี 2562 ผลคะแนนรวมทั้ง 30 เขตอยู่ที่ 43,558 คะแนน ขณะที่ปี 2566 คะแนนแบบแบ่งเขต 33 เขตได้ 77,532 คะแนน ส่วนคะแนนบัญชีรายชื่อได้เพียง 28,528 คะแนน

 

ตารางผลการเลือกตั้งของส.ส.ที่ชนะการเลือกตั้งปี 2562 แล้วย้ายเข้าพรรคภูมิใจไทย

จังหวัด

ชื่อ-นามสกุล

พรรค 2562

ผล

คะแนนปี 2566

สัดส่วน

ชัยนาท

มณเฑียร สงฆ์ประชา

พลังประชารัฐ

ชนะ

52,205

50.52

ชัยภูมิ

สัมฤทธิ์ แทนทรัพย์

พลังประชารัฐ

ชนะ

35,846

40.06

บัญชีรายชื่อ/ขอนแก่น

เอกราช ช่างเหลา

พลังประชารัฐ

ชนะ

33,104

33.53

อุบลราชธานี

แนน บุณย์ธิดา สมชัย

ประชาธิปัตย์

ชนะ

31,773

32.82

กรุงเทพมหานคร

พัชรินทร์ ซำศิริพงษ์

พลังประชารัฐ

แพ้

5,237

5.40

กรุงเทพมหานคร

กรณิศ งามสุคนธ์รัตนา

พลังประชารัฐ

แพ้

9,643

10.80

กรุงเทพมหานคร

จักรพันธ์ พรนิมิตร

พลังประชารัฐ

แพ้

4,100

3.75

กรุงเทพมหานคร

ภาดาท์ วรกานนท์

พลังประชารัฐ

แพ้

3,361

3.11

กรุงเทพมหานคร

กษิดิ์เดช ชุติมันต์

พลังประชารัฐ

แพ้

2,378

2.37

กรุงเทพมหานคร

มณฑล โพธิ์คาย

อนาคตใหม่

แพ้

7,283

7.50

กรุงเทพมหานคร

โชติพิพัฒน์ เตชะโสภณมณี

อนาคตใหม่

แพ้

2,282

2.25

กรุงเทพมหานคร

ประเดิมชัย บุญช่วยเหลือ

เพื่อไทย

แพ้

9,693

9.77

เชียงใหม่

ศรีนวล บุญลือ

อนาคตใหม่

แพ้

12,847

11.68

กาญจนบุรี

สมชาย วิษณุวงศ์

พลังประชารัฐ

แพ้

7,879

7.45

กาญจนบุรี

สมเกียรติ วอนเพียร

พลังประชารัฐ

แพ้

18,951

17.59

กาญจนบุรี

ธรรมวิชญ์ โพธิพิพิธ

พลังประชารัฐ

แพ้

1,730

2.36

กาญจนบุรี

อัฏฐพล โพธิพิพิธ

พลังประชารัฐ

แพ้

8,270

9.66

ขอนแก่น

วัฒนา ช่างเหลา

พลังประชารัฐ

แพ้

23,515

22.14

ปทุมธานี

อนาวิล รัตนสถาพร

อนาคตใหม่

แพ้

15,570

15.61

ชลบุรี

ขวัญเลิศ พานิชมาท

อนาคตใหม่

แพ้

4,538

4.45

เชียงราย

พีรเดช คำสมุทร

อนาคตใหม่

แพ้

16,011

18.28

เชียงราย

รังสรรค์ วันไชยธนวงศ์

เพื่อไทย

แพ้

27,073

26.17

เชียงราย

เอกภพ เพียรพิเศษ

อนาคตใหม่

แพ้

15,644

14.29

ตาก

ธนัสถ์ ทวีเกื้อกูลกิจ

พลังประชารัฐ

แพ้

21,704

19.43

นครนายก

วุฒิชัย กิตติธเนศวร

เพื่อไทย

แพ้

11,322

12.73

นครปฐม

ปฐมพงศ์ สูญจันทร์

พลังประชารัฐ

แพ้

24,156

22.24

นครราชสีมา

สมศักดิ์ พันธ์เกษม

พลังประชารัฐ

แพ้

30,824

29.51

นครราชสีมา

สุชาติ ภิญโญ

เพื่อไทย

แพ้

12,784

13.08

นครสวรรค์

วีระกร คำประกอบ

พลังประชารัฐ

แพ้

24,844

23.17

นนทบุรี

เจริญ เรี่ยวแรง

พลังประชารัฐ

แพ้

1,037

0.97

บัญชีรายชื่อ/ร้อยเอ็ด

คารม พลพรกลาง

อนาคตใหม่

แพ้

16,306

18.46

ฉะเชิงเทรา

กิตติชัย เรืองสวัสดิ์

อนาคตใหม่

แพ้

1,223

1.00

ขอนแก่น

ฐิตินันท์ แสงนาค

อนาคตใหม่

แพ้

904

0.93

ปทุมธานี

พรพิมล ธรรมสาร

เพื่อไทย

แพ้

30,216

26.82

แพร่

กฤติเดช สันติวชิระกุล

อนาคตใหม่

แพ้

9,910

11.12

พระนครศรีอยุธยา

นพ ชีวานันท์

เพื่อไทย

แพ้

26,804

25.06

พิษณุโลก

นิยม ช่างพินิจ

เพื่อไทย

แพ้

32,818

46.39

พิษณุโลก

อนุชา น้อยวงศ์

พลังประชารัฐ

แพ้

18,460

18.37

เพชรบุรี

กฤษณ์ แก้วอยู่

พลังประชารัฐ

แพ้

10,250

9.78

เพชรบุรี

สุชาติ อุสาหะ

พลังประชารัฐ

แพ้

25,238

22.91

แพร่

เอกการ ซื่อทรงธรรม

อนาคตใหม่

แพ้

3,354

5.08

ลพบุรี

ประทวน สุทธิอำนวยเดช

พลังประชารัฐ

แพ้

16,385

17.16

ลำปาง

เดชทวี ศรีวิชัย

เสรีรวมไทย

แพ้

2,731

2.24

ศรีสะเกษ

ธีระ ไตรสรณกุล

เพื่อไทย

แพ้

25,837

29.42

สุรินทร์

ณัฏฐพล จรัสรพีพงษ์

พลังประชารัฐ

แพ้

35,525

35.08

อุดรธานี

จักรพรรดิ ไชยสาสน์

เพื่อไทย

แพ้

3,178

3.78

อุบลราชธานี

ธนะสิทธิ์ โควสุรัตน์

พลังประชารัฐ

แพ้

4,023

4.53

บัญชีรายชื่อ

เกษมสันต์ มีทิพย์

อนาคตใหม่

ไม่ได้ที่นั่งบัญชีรายชื่อ

  

บัญชีรายชื่อ

นันทนา สงฆ์ประชา

ประชาภิวัฒน์

ไม่ได้ที่นั่งบัญชีรายชื่อ

  

บัญชีรายชื่อ

อนุสรี ทับสุวรรณ

รวมพลัง

ไม่ได้ที่นั่งบัญชีรายชื่อ

  

บัญชีรายชื่อ

อารี ไกรนรา

เพื่อชาติ

ไม่ได้ที่นั่งบัญชีรายชื่อ

  

บัญชีรายชื่อ

วิรัช พันธุมะผล

อนาคตใหม่

ไม่ได้ที่นั่งบัญชีรายชื่อ

  

บัญชีรายชื่อ

สำลี รักสุทธี

อนาคตใหม่

ไม่ได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง

  

“ตกปลาในบ่อเพื่อน” ยังไม่รอด สองพรรคนั่งร้านรัฐประหารอ่อนกำลัง แม้ดูดกันวนไปวนมา


พรรคพลังประชารัฐเป็นพรรคทึ่ คสช. ใช้ในการ “ชุบตัว” จากรัฐบาลรัฐประหารสืบทอดอำนาจสู่รัฐบาลเลือกตั้ง ในปี 2562 พรรคพลังประชารัฐเคยใช้พลังดูด ส.ส. จนคว้า ส.ส. แบบแบ่งเขตมาได้ 97 ที่นั่ง และคะแนนถูกคำนวณเป็นส.ส.แบบบัญชีรายชื่ออีก 19 ที่นั่ง รวมเป็น 117 ที่นั่ง จังหวัดที่ได้ส.ส.จำนวนมากเช่น สมุทรปราการ กำแพงเพชร เพชรบูรณ์และนครราชสีมา ขณะที่การเลือกตั้งปี 2566 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพลังประชารัฐขอแยกทางไปเป็นแคนดิเดตพรรครวมไทยสร้างชาติ ซึ่งก็สร้างพรรคขึ้นจากการ “ดูด” ส.ส.เดิมจากพรรคพลังประชารัฐ ตามมาสมทบ 24 คน ขณะเดียวกันก็ได้ส.ส.จากพรรคอื่นๆ เช่น ประชาธิปัตย์ อีก 10 คน รวมแล้วมี ส.ส. จากสภาชุดที่ 25 ย้านมาเข้าพรรคถึง 48 คน นำไปสู่วาทะ “ตกปลาในบ่อเพื่อน”  ของจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ที่สูญเสีย ส.ส.และนักการเมืองคนสำคัญไป เช่น ไตรรงค์ สุวรรณคีรี, เจือ ราชสีห์ และศิริวรรณ ปราศจากศัตรู


พรรครวมไทยสร้างชาติได้ที่นั่งส.ส.แบบแบ่งเขต 23 ที่นั่งและแบบบัญชีรายชื่อ 13 ที่นั่ง โดยเป็นพรรคใหม่ที่ดึงตัวส.ส.ในสภาชุดที่ 25 จากจำนวนส.ส. “พลังดูด” ที่ลงสมัครแบบแบ่งเขต 34 คน มีส.ส.ที่ชนะการเลือกตั้ง 10 คน เช่น สินธพ แก้วพิจิตร จังหวัดนครปฐม, พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล จังหวัดนครศรีธรรมราชและวชิราภรณ์, กาญจนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี (ตามตารางด้านล่าง) ห้าจากสิบคนเป็นส.ส.มาแล้วมากกว่าหนึ่งสมัย ขณะที่ส.ส.สมัยแรกในปี 2562 อีกสามคนก็ต่างมาจากครอบครัวนักการเมือง ได้แก่ สุพล จุลใส เป็นพี่ชายของชุมพล จุลใส ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์สามสมัยและเคยทำงานการเมืองท้องถิ่นมาก่อนหน้าลงเลือกตั้ง 2562 วชิราภรณ์ กาญจนะ ลูกสาวของชุมพลและโสภา กาญจนะ เจ้าของพื้นที่สุราษฎร์ธานี และกุลวลี นพอมรบดี ลูกสาวของมานิตและกอบกุล นพอมรบดี ส.ส. หลายสมัยเช่นกัน

ส.ส. ย้ายพรรคอีก 24 คนที่แพ้ เช่น รังสิมา รอดรัศมี อดีตส.ส. ประชาธิปัตย์ จังหวัดสมุทรสงครามหลายสมัย แพ้ให้กับอานุภาพ ลิขิตอำนวยชัย จากพรรคก้าวไกล แต่ยังกวาดคะแนนแบบบัญชีรายชื่อมาให้พรรคได้เท่าๆกับคะแนนแบบแบ่งเขตที่ 21,953 คะแนน หรือจารึก ศรีอ่อน อดีตส.ส.จันทบุรีสมัยเดียว จากพรรคอนาคตใหม่ ได้คะแนนไปที่ 10,992 คะแนน หรือศรัณย์วุฒิ ศรัณย์เกตุ อดีตส.ส.พรรคเพื่อไทย จังหวัดอุตรดิตถ์หลายสมัย แม้จะได้ไปไม่น้อยที่ 12,896 คะแนน แต่ก็แพ้ให้กับผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย แสดงให้เห็นว่า “คะแนนติดตัว” ของคนที่ย้ายข้ามขั้วเหล่านี้ไม่ได้แข็งแกร่งเพียงพอ

 

ตารางผลการเลือกตั้งของส.ส.ที่ชนะเลือกตั้งปี 2562 และย้ายเข้าพรรครวมไทยสร้างชาติและพลังประชารัฐ

จังหวัด

ชื่อนามสกุล

พรรค 2562

พรรค 2566

ผล

คะแนนปี 2566

สัดส่วน

นครปฐม

สินธพ แก้วพิจิตร

ประชาธิปัตย์

รวมไทยสร้างชาติ

ชนะ

33,770

33.83

นครศรีธรรมราช

พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล

ประชาธิปัตย์

รวมไทยสร้างชาติ

ชนะ

44,233

46.09

ราชบุรี

อัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์

ประชาธิปัตย์

รวมไทยสร้างชาติ

ชนะ

54,815

47.14

สุราษฎร์ธานี

วชิราภรณ์ กาญจนะ

ประชาธิปัตย์

รวมไทยสร้างชาติ

ชนะ

46,456

50.17

ชัยนาท

อนุชา นาคาศัย

พลังประชารัฐ

รวมไทยสร้างชาติ

ชนะ

43,935

43.02

นครสวรรค์

สัญญา นิลสุพรรณ

พลังประชารัฐ

รวมไทยสร้างชาติ

ชนะ

32,100

29.43

นราธิวาส

วัชระ ยาวอหะซัน

พลังประชารัฐ

รวมไทยสร้างชาติ

ชนะ

29,006

29.36

ราชบุรี

กุลวลี นพอมรบดี

พลังประชารัฐ

รวมไทยสร้างชาติ

ชนะ

52,941

48.33

สงขลา

ศาสตรา ศรีปาน

พลังประชารัฐ

รวมไทยสร้างชาติ

ชนะ

20,553

23.77

ชุมพร

สุพล จุลใส

รวมพลังประชาชาติไทย

รวมไทยสร้างชาติ

ชนะ

41,231

40.62

ราชบุรี

ชัยทิพย์ กมลพันธ์ทิพย์

ประชาธิปัตย์

พลังประชารัฐ

ชนะ

44,253

38.55

กำแพงเพชร

ไผ่ ลิกค์

พลังประชารัฐ

เศรษฐกิจไทย/พลังประชารัฐ

ชนะ(พรรคเดิม)

36,187

34.13

ชลบุรี

สะถิระ เผือกประพันธุ์

พลังประชารัฐ

เศรษฐกิจไทย/พลังประชารัฐ

ชนะ(พรรคเดิม)

27,461

29.45

ตาก

ภาคภูมิ บูลย์ประมุข

พลังประชารัฐ

เศรษฐกิจไทย/พลังประชารัฐ

ชนะ(พรรคเดิม)

31,550

31.93

พะเยา

ธรรมนัส พรหมเผ่า

พลังประชารัฐ

เศรษฐกิจไทย/พลังประชารัฐ

ชนะ(พรรคเดิม)

53,963

53.06

พะเยา

จีรเดช ศรีวิราช

พลังประชารัฐ

เศรษฐกิจไทย/พลังประชารัฐ

ชนะ(พรรคเดิม)

34,720

33.62

บัญชีรายชื่อ

พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค

ประชาธิปัตย์

รวมไทยสร้างชาติ

ได้ที่นั่งบัญชีรายชื่อ

  

บัญชีรายชื่อ

ชัชวาลล์ คงอุดม

พลังท้องถิ่นไท

รวมไทยสร้างชาติ

ได้ที่นั่งบัญชีรายชื่อ

  

ฉะเชิงเทรา

ชัยวัฒน์ เป้าเปี่ยมทรัพย์

พลังประชารัฐ

รวมไทยสร้างชาติ

ได้ที่นั่งบัญชีรายชื่อ

  

บัญชีรายชื่อ

พิชชารัตน์ เลาหพงศ์ชนะ

พลังประชารัฐ

รวมไทยสร้างชาติ

ได้ที่นั่งบัญชีรายชื่อ

  

บัญชีรายชื่อ

ธนกร วังบุญคงชนะ

พลังประชารัฐ

รวมไทยสร้างชาติ

ได้ที่นั่งบัญชีรายชื่อ

  

ชลบุรี

สุชาติ ชมกลิ่น

พลังประชารัฐ

รวมไทยสร้างชาติ

ได้ที่นั่งบัญชีรายชื่อ

  

บัญชีรายชื่อ

จุติ ไกรฤกษ์

ประชาธิปัตย์

รวมไทยสร้างชาติ

ได้ที่นั่งบัญชีรายชื่อ

 

 

ปัตตานี

อันวาร์ สาและ

ประชาธิปัตย์

พลังประชารัฐ

แพ้

26,554

 

ขอนแก่น

บัลลังก์ อรรณพพร

เพื่อไทย

พลังประชารัฐ

แพ้

24,296

26.33

ชลบุรี

กวินนาถ ตาคีย์

อนาคตใหม่

พลังประชารัฐ

แพ้

807

1.06

สมุทรสาคร

สมัคร ป้องวงษ์

อนาคตใหม่

ภูมิใจไทย/รวมไทยสร้างชาติ

แพ้

2,962

3.22

บัญชีรายชื่อ/สงขลา

เจือ ราชสีห์

ประชาธิปัตย์

รวมไทยสร้างชาติ

แพ้

17,509

17.12

สมุทรสงคราม

รังสิมา รอดรัศมี

ประชาธิปัตย์

รวมไทยสร้างชาติ

แพ้

21,953

18.18

บัญชีรายชื่อ/กรุงเทพมหานคร

ศิลัมพา เลิศนุวัฒน์

พลเมืองไทย

รวมไทยสร้างชาติ

แพ้

18,320

17.77

กรุงเทพมหานคร

ฐิติภัสร์ โชติเดชาชัยนันท์

พลังประชารัฐ

รวมไทยสร้างชาติ

แพ้

29,106

28.57

กรุงเทพมหานคร

ประสิทธิ์ มะหะหมัด

พลังประชารัฐ

รวมไทยสร้างชาติ

แพ้

13,518

13.63

ชลบุรี

รณเทพ อนุวัฒน์

พลังประชารัฐ

รวมไทยสร้างชาติ

แพ้

33,814

30.38

นครศรีธรรมราช

สายัณห์ ยุติธรรม

พลังประชารัฐ

รวมไทยสร้างชาติ

แพ้

17,473

17.71

พิจิตร

สุรชาติ ศรีบุศกร

พลังประชารัฐ

รวมไทยสร้างชาติ

แพ้

24,821

23.47

เพชรบุรี

สาธิต อุ๋ยตระกูล

พลังประชารัฐ

รวมไทยสร้างชาติ

แพ้

33,901

29.84

ระยอง

สมพงษ์ โสภณ

พลังประชารัฐ

รวมไทยสร้างชาติ

แพ้

16,204

17.52

ลำปาง

วัฒนา สิทธิวัง

พลังประชารัฐ

รวมไทยสร้างชาติ

แพ้

14,884

12.19

สงขลา

พยม พรหมเพชร

พลังประชารัฐ

รวมไทยสร้างชาติ

แพ้

13,247

12.29

สงขลา

อรุณ สวัสดี

พลังประชารัฐ

รวมไทยสร้างชาติ

แพ้

10,857

10.56

สมุทรปราการ

ไพลิน เทียนสุวรรณ

พลังประชารัฐ

รวมไทยสร้างชาติ

แพ้

27,455

24.13

สระบุรี

สมบัติ อำนาคะ

พลังประชารัฐ

รวมไทยสร้างชาติ

แพ้

32,412

29.53

อุตรดิตถ์

ศรัณย์วุฒิ ศรัณย์เกตุ

เพื่อไทย

รวมไทยสร้างชาติ

แพ้

12,896

13.94

บัญชีรายชื่อ/กรุงเทพมหานคร

เขตรัฐ เหล่าธรรมทัศน์

รวมพลังประชาชาติไทย

รวมไทยสร้างชาติ

แพ้

12,992

14.56

บัญชีรายชื่อ/กรุงเทพมหานคร

ศุภดิช อากาศฤกษ์

เศรษฐกิจใหม่

รวมไทยสร้างชาติ

แพ้

7,658

7.46

บัญชีรายชื่อ/กรุงเทพมหานคร

ภาสกร เงินเจริญกุล

เศรษฐกิจใหม่

รวมไทยสร้างชาติ

แพ้

6,973

6.89

จันทบุรี

จารึก ศรีอ่อน

อนาคตใหม่

รวมไทยสร้างชาติ

แพ้

10,992

10.18

กรุงเทพมหานคร

ทศพร ทองศิริ

อนาคตใหม่

รวมไทยสร้างชาติ

แพ้

12,264

13.20

จันทบุรี

ฐนภัทร กิตติวงศา

อนาคตใหม่

รวมไทยสร้างชาติ

แพ้

15,930

13.94

นครสวรรค์

นิโรธ สุนทรเลขา

พลังประชารัฐ

รวมไทยสร้างชาติ

แพ้

22,428

23.05

ขอนแก่น

สมศักดิ์ คุณเงิน

พลังประชารัฐ

เศรษฐกิจไทย/พลังประชารัฐ

แพ้

22,490

22.93

นครราชสีมา

ทัศนาพร เกษเมธีการุณ

พลังประชารัฐ

เศรษฐกิจไทย/พลังประชารัฐ

แพ้

18,070

18.04

บัญชีรายชื่อ/สุพรรณบุรี

ยุทธนา โพธสุธน

พลังประชารัฐ

เศรษฐกิจไทย/พลังประชารัฐ

แพ้

20,400

19.00

พิจิตร

พรชัย อินทร์สุข

พลังประชารัฐ

เศรษฐกิจไทย/พลังประชารัฐ

แพ้

12,282

11.25

สมุทรสาคร

จอมขวัญ กลับบ้านเกาะ

พลังประชารัฐ

เศรษฐกิจไทย/พลังประชารัฐ

แพ้

20,527

17.99

นครราชสีมา

เกษม ศุภรานนท์

พลังประชารัฐ

เศรษฐกิจไทย/พลังประชารัฐ

แพ้(พรรคเดิม)

5,452

5.42

บัญชีรายชื่อ

ไพบูลย์ นิติตะวัน

ประชาชนปฏิรูป

พลังประชารัฐ

ไม่ได้ที่นั่งบัญชีรายชื่อ

  

บัญชีรายชื่อ

ศรีสมร รัศมีฤกษ์เศรษฐ์

ประชาธิปัตย์

พลังประชารัฐ

ไม่ได้ที่นั่งบัญชีรายชื่อ

  

บัญชีรายชื่อ

อภิชัย เตชะอุบล

ประชาธิปัตย์

พลังประชารัฐ

ไม่ได้ที่นั่งบัญชีรายชื่อ

  

บัญชีรายชื่อ

บุญสิงห์ วรินทร์รักษ์

พลังประชารัฐ

พลังประชารัฐ

ไม่ได้ที่นั่งบัญชีรายชื่อ

  

บัญชีรายชื่อ

มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ

เศรษฐกิจใหม่

พลังประชารัฐ

ไม่ได้ที่นั่งบัญชีรายชื่อ

  

บัญชีรายชื่อ

ศิริวรรณ ปราศจากศัตรู

ประชาธิปัตย์

รวมไทยสร้างชาติ

ไม่ได้ที่นั่งบัญชีรายชื่อ

  

บัญชีรายชื่อ

ภาคิน สมมิตรธนกุล

พลังประชารัฐ

รวมไทยสร้างชาติ

ไม่ได้ที่นั่งบัญชีรายชื่อ

  

บัญชีรายชื่อ

บุญญาพร นาตะธนภัทร

รวมแผ่นดิน

รวมไทยสร้างชาติ

ไม่ได้ที่นั่งบัญชีรายชื่อ

  

บัญชีรายชื่อ

โกวิท พวงงาม

รวมพลังท้องถิ่นไทย

รวมไทยสร้างชาติ

ไม่ได้ที่นั่งบัญชีรายชื่อ

  

บัญชีรายชื่อ

วินท์ สุธีรชัย

อนาคตใหม่

รวมไทยสร้างชาติ

ไม่ได้ที่นั่งบัญชีรายชื่อ

  

บัญชีรายชื่อ

ยงยุทธ เทพจำนงค์

ประชานิยม

เศรษฐกิจไทย/พลังประชารัฐ

ไม่ได้ที่นั่งบัญชีรายชื่อ

  

แม่ฮ่องสอน

ปัญญา จีนาคำ

พลังประชารัฐ

เศรษฐกิจไทย/พลังประชารัฐ

ไม่ได้ที่นั่งบัญชีรายชื่อ

  

ปัตตานี

อนุมัติ ซูสารอ

ประชาชาติ

รวมไทยสร้างชาติ

ไม่ได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง

  

ชุมพร

ชุมพล จุลใส

ประชาธิปัตย์

รวมไทยสร้างชาติ

ไม่ได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง

  

พิษณุโลก

มานัส อ่อนอ้าย

พลังประชารัฐ

รวมไทยสร้างชาติ

ไม่ได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง

  

บัญชีรายชื่อ

วิเชียร ชวลิต

พลังประชารัฐ

สร้างอนาคตไทย/พลังประชารัฐ

ไม่ได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง

  

 

ตารางผลคะแนนแบบบัญชีรายชื่อลำดับ 1-20 ของพรรครวมไทยสร้างชาติ

 

จังหวัด

เขต

ส.ส.ที่ชนะเลือกตั้งแบบเขต

คะแนนบัญชีรายชื่อ

ชุมพร

1

วิชัย สุดสวาสดิ์ (36,222)

49,903

ชุมพร

2

สันต์ แซ่ตั้ง (32,501)

44,992

นครศรีธรรมราช

3

นนทิวรรธน์ นนทภักดิ์

(แพ้ 10,670)

42,181

ระนอง

1

ดนัยณัฏฐ์ โชคอำนวย

(แพ้ 22,853)

39,075

ชุมพร

3

สุพล จุลใส (41,231)

38,123

นครศรีธรรมราช

2

สายัณห์ ยุติธรรม

(แพ้ 17,413)

37,891

พัทลุง

2

นิติศักดิ์ ธรรมเพชร (41,201)

37,393

นครศรีธรรมราช

10

พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล (44,233)

35,939

สงขลา

4

อรุณ สวัสดี

(แพ้ 10,857)

35,878

สงขลา

1

เจือ ราชสีห์

(แพ้ 17,509)

35,792

นครศรีธรรมราช

4

พงศ์สินธุ์ เสนพงศ์

(แพ้ 15,297)

34,814

นครศรีธรรมราช

1

พูน แก้วภราดัย

(แพ้ 13,139)

34,578

ตรัง

1

ถนอมพงศ์ หลีกภัย (25,965)

34,380

สุราษฎร์ธานี

3

วชิราภรณ์ กาญจนะ (46,456)

32,543

นครศรีธรรมราช

5

สนั่น พิบูลย์

(แพ้ 23,827)

31,626

สงขลา

5

ปรีชา สุขเกษม

(แพ้ 9,804)

31,462

พัทลุง

1

กิตติ สัตรัตน์ 

(แพ้ 2,658)

30,896

สุราษฎร์ธานี

1

กานต์สินี โอภาสรังสรรค์ (27,978)

30,439

พัทลุง

3

ปรัชญา นวลเปียน 

(แพ้ 5,691)

30,118

สงขลา

3

พยม พรหมเพชร

(แพ้ 13,247)

29,963