ภายใต้สถานการณ์ที่มาตรา 112 กำลังถูกใช้และส่งคนเข้าเรือนจำเพิ่มขึ้นในทุกๆ เดือนซึ่งศาลและกระบวนการยุติธรรมของไทยก็ทำอะไรไม่ได้มากไปกว่า “บังคับใช้” ตัวบทกฎหมายที่เขียนอยู่ ขณะที่สภาผู้แทนราษฎรที่พยายามจะแก้ไขกฎหมายก็ถูกสั่งห้ามโดยศาลรัฐธรรมนูญ กลไกสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศยังเป็นที่พึ่งพาของผู้ที่ถูกดำเนินคดีทางการเมืองในประเทศไทยได้อยู่บ้างหรือไม่ องค์กรระดับโลกอย่างยูเอ็นยังเหลียวแลสถานการณ์นักโทษทางการเมืองของไทยหรือไม่
นักกิจกรรมทางการเมืองที่ถูกลิดรอนสิทธิเสรีภาพจากการใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงออกหลายคนเลือกที่จะพึ่งพากลไกระหว่างประเทศ โดยใช้ช่องทางการส่งจดหมายไปยังผู้รายงานพิเศษแห่งสหประชาชาติ (Special Rapporteur) เพื่ออธิบายว่าพวกเขาถูกละเมิดสิทธิตามกฎกติการะหว่างประเทศอย่างไร ซึ่งที่ผ่านมากลไกเหล่านี้ก็ไม่ได้ยิ่งเฉย มีการสื่อสารระหว่างสหประชาชาติกับรัฐบาลไทยอยู่ต่อเนื่อง แต่ดูเหมือนว่ารัฐบาลไทยก็เริ่ม “ชินชา” และ “เพิกเฉย” คำถามในวันนี้จึงมีอยู่ว่า กลไกสากลจะยังคงมีประโยชน์ต่อสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยหรือไม่ หรือคนไทยจะเข้าถึงและใช้ประโยชน์กลไกเหล่านี้ได้อย่างไร
ชวนร่วมพูดคุยแสดงความคิดเห็น และร่วมกิจกรรมเสวนาหัวข้อ กลไกสหประชาชาติ เป็นช่องทางสู่ความยุติธรรมได้หรือไม่?
ในวันที่ 19 ตุลาคม 2567 ตั้งแต่เวลา 17.30 – 19.00 น.
ที่ Kinjai Contemporary ( MRT สิรินธร)
17.30 – 17.50 เปิดตัวหน้าเว็บไซต์ข้อมูลผู้ต้องขังทางการเมือง
โดย สหวัฒน์ เทพรพ และวรัญญุตา ยันอินทร์ iLaw
ร่วมทำความรู้จักข้อมูลเกี่ยวกับผู้ต้องขังทางการเมือง และรับฟังความคิดเห็นข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาเว็บไซต์
17.50 – 19.00 วงเสวนาหัวข้อ กลไกสหประชาชาติ เป็นช่องทางสู่ความยุติธรรมได้หรือไม่
โดย อัครชัย ชัยมณีการเกษ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
อันนา อันนานนท์ นักกิจกรรม-นักศึกษา
และยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้อำนวยการ iLaw
ดำเนินรายการโดย ชยพล ดโนทัย iLaw