ช้อมูลโดย เครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน (คปอ.)
แก้ไขเพิ่มเติมโดย iLaw
เกษตรกรหลายครัวเรือนเข้าบุกเบิกพื้นที่เพื่อทำกินตั้งแต่ช่วงปี 2500-2520 จนกลายเป็นหมู่บ้าน และเมื่อมีการประกาศเขตอุทยานแห่งชาติไทรทองปี 2535 ก็รวมเอาพื้นที่ทำเกษตรและที่อยู่อาศัยของชาวบ้านบางส่วนเข้าไปด้วย การบังคับให้ชาวบ้านออกจากพื้นที่และดำเนินคดีเกิดขึ้นเป็นระยะตามนโยบายรัฐบาล แม้มีการสำรวจพื้นที่แต่ก็ยังขาดตกบกพร่อง ชาวบ้านเรียกร้องให้มีการแก้ไขปัญหาระดับนโยบายแต่ยังไม่คืบหน้า ทำให้ชาวบ้านอย่างน้อย 14 คนถูกจับกุมดำเนินคดี และถูกจำคุกในข้อหา "บุกรุกป่า"
เป็นกลุ่มบ้านของบ้านห้วยยางดี หมู่ที่ 5 ตำบลห้วยแย้ เรียกชื่อมาจากถ้ำหิน ที่สามารถเดินทะลุถึงกันได้ พื้นที่ดังกล่าวได้เข้ามาบุกเบิกทำกินตั้งแต่ปี พ.ศ. 2512 โดยนายลม สามารถ ซึ่งเป็นอาสาสมัครรักษาดินแดน ได้เข้ามาเก็บหาของป่า และจับจอง ทำกินในเวลาต่อมา หลังจากนั้น นายชะอ้อน สุจริยา ซึ่งเป็นลูกบุญธรรมนายลมได้ตามเข้ามา กระทั่งมีการสัมปทานตัดไม้ในบริเวณนี้ จึงมีผู้คนเข้ามาบุกเบิก ทำกินมากขึ้น และจัดตั้งเป็นหมู่บ้านในปี พ.ศ. 2518 ในวันที่ 5 ธันวาคม 2530 ชุมชนได้ร่วมกันสร้างวัด แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2533
เป็นกลุ่มบ้านของบ้านห้วยยางดี หมู่ที่ 5 ต.ห้วยแย้ บ้านซับสเลเต ตั้งชื่อตามต้นสเลเตที่เกิดอยู่บริเวณน้ำซับ จึงเป็นที่มาของหมู่บ้าน โดยมี นายน้อย เป็นคนก่อตั้งบ้าน ซึ่งอพยพมาจาก อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี ในช่วงแรกเป็นพรานป่ามาเที่ยวป่า เห็นพื้นที่สมบูรณ์ ภายหลังการสัมปทานป่าไม้ จึงได้เข้ามาจับจองพื้นที่ และก็มีชาวบ้านจากจังหวัดลพบุรีอพยพตามมาอีก 20 ครอบครัว ปลาย ปี 2534 โดนอพยพจากโครงการ คจก. ให้ไปอยู่ที่บ้านซับแซออ ตำบลท่ากูบ อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ ต้นปี พ.ศ. 2535 ทางผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิในขณะนั้น ได้เรียกนายอำเภอ 5 อำเภอ เข้าประชุม มีอำเภอจัตุรัส อำเภอหนองบัวระเหว อำเภอหนองบัวแดง อำเภอบำเหน็จณรงค์ และอำเภอเทพสถิต พร้อมกับเจ้าหน้าที่ป่าไม้ และออกคำสั่งให้ผู้ที่ถูกอพยพกลับคืนพื้นที่ทำกินเดิมได้ ในวันที่ 2 มีนาคม 2535 เนื่องจากไม่สามารถจัดหาที่ทำกินรองรับได้
เป็นกลุ่มบ้านของบ้านสำนักตูมกา หมู่ที่ 5 ตำบลวังตะเฆ่ อำเภอหนองบัวระเหว จ.ชัยภูมิ โดยในช่วงปี พ.ศ.2519 นายฉ่ำ โผล่กระโทก นายจันทร์ โผล่กระโทก และนายแดง สีมาวงศ์ ทั้ง 3 คนได้มารู้จักกับนายกอบ ใจรักดี ได้มาจับจองที่ทำกินหลังจากโรงเลื่อยป้อมพันธุ์ สัมปทานป่า ครั้งที่ 2 ต่อมา ทั้ง 3 คนได้ชักชวนพี่น้องและเพื่อนบ้านเข้ามาจับจองพื้นที่เพิ่มมากขึ้น กระทั่งพัฒนาเป็นชุมชนขนาดใหญ่ โดยเรียกชื่อตามสภาพพื้นที่ ที่พบไม้ตะเคียนใหญ่ในลำธารใกล้ๆหมู่บ้าน ช่วงแรกเรียกว่า “บ้านซับตะเคียน” ต่อมา เมื่อไม้ตะเคียนถูกตัดไปเป็นจำนวนมากในช่วงสัมปทานตัดไม้ จึงเรียกว่า “ซอกตะเคียน” ในปัจจุบัน
ผู้ก่อตั้งหมู่บ้านคนแรก คือ ปู่เมิ้ง ชื่นสบาย ซึ่งอาศัยอยู่ ต.ห้วยแย้ อ.หนองบัวระเหว จ.ชัยภูมิ ได้รับราชการเป็นทหารผ่านศึก เมื่อปลดประจำการ ก็เป็นนายพรานเดินเที่ยวป่า ได้เห็นทำเลที่อุดมสมบูรณ์ จึงได้จับจองพื้นที่ และบุกเบิกทำกิน นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2501 เป็นต้นมา จากนั้น จึงได้ชักชวนญาติพี่น้อง เพื่อนบ้านจากหลายพื้นที่เข้ามาจับจองพื้นที่เพิ่มขึ้น
การดำเนินการทางกฎหมาย โดยการจับกุมดำเนินคดีเกิดขึ้นมาโดยตลอด นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2556 เป็นต้นมา มีทั้งการข่มขู่ให้ชาวบ้านเซ็นยินยอมออกจากพื้นที่ การตัดฟันทำลายผลอาสิน ได้แก่ ตัดต้นยางพารา การจำกัดสิทธิการทำประโยชน์ที่ดิน และการแจ้งความดำเนินคดี มีการแจ้งความต่อนิตยา ม่วงกลาง มารดา และน้องสาว รวม 3 คน ในข้อหาบุกรุกเขตอุทยานแห่งชาติ ในวันที่ 3 กรกฎาคม 2559
- ให้ยกเลิกแผนการทวงคืนผืนป่าในพื้นที่พิพาทอุทยานแห่งชาติไทรทอง ต.ห้วยแย้ ต.วังตะเฆ่ อ.หนองบัวระเหว จ.ชัยภูมิ
- ให้ตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่างชาวบ้านผู้เดือดร้อน กับผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการถือครองทำประโยชน์ที่ดิน โดยมีสัดส่วนของราษฎรที่เดือดร้อนในจำนวนที่เท่าเทียมกัน
- ในระหว่างกระบวนการแก้ไขปัญหา ให้ยุติการดำเนินการใดๆ ที่ส่งผลกระทบ และสร้างความเดือดร้อนแก่ราษฎรในพื้นที่ และผ่อนผันให้สามารถทำประโยชน์ได้ตามปกติสุข
- การขอคืนพื้นที่ จำแนกเป็น พื้นที่คดีถึงที่สุด ระหว่างการดำเนินคดี พื้นที่ ส.ป.ก. พื้นที่ตามมติครม. 30 มิถุนายน 2541 และพื้นที่บุกรุกใหม่ รวมพื้นที่ทั้งสิ้น 55,405.87 ไร่
- การฟื้นฟูสภาพป่า
- การควบคุมป้องกันพื้นที่
- การเฝ้าระวังพื้นที่มิให้ปัญหาย้อนกลับ
33) วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2560 คำสั่งจังหวัดชัยภูมิ ที่ 636/2560 เรื่อง แต่งตั้งคณะทำงานตรวจสอบข้อเท็จจริงและแก้ไขปัญหา กรณีการทับซ้อนของที่ดินระหว่างอุทยานแห่งชาติไทรทอง ที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยของราษฎร ตำบลวังตะเฆ่ และตำบลห้วยแย้ อำเภอหนองบัวระเหว จังหวัดชัยภูมิ