cats-crop_344
อ่าน

“16 คดีไทรทอง” ศาลชี้ชาวบ้านผิด “บุกรุกป่า” แต่การคิดค่าเสียหายยังมีสองแนว

ปี 2557 คสช.ออกคำสั่งคสช. ที่ 64/2557 ทวงคืนผืนป่าจากชาวบ้านทั่วประเทศ แต่หลังการยึดคืนที่ดินปรากฏว่า มีชาวบ้านยากไร้ ไม่มีที่ทำกินกลับเข้าไปทำประโยชน์ในพื้นที่ที่คสช.ทำการยึดคืนไปแล้วส่งผลให้ถูกกล่าวหาในคดีบุกรุกป่า กรณีล่าสุดคือ คดีทวงคืนผืนป่าที่อุทยานแห่งชาติไทรทอง จังหวัดชัยภูมิ ศาลอุทธรณ์ภาคสาม แผนกคดีสิ่งแวดล้อมได้มีคำพิพากษาออกมาทั้งสิ้น 16 คดี โดยศาลมีคำพิพากษาพ้องกันว่า จำเลยกระทำความผิดฐานรุกป่าจากการเข้าไปทำประโยชน์ในที่ดินที่เซ็นคืนให้รัฐ แต่เห็นไม่ตรงกันในประเด็นค่าเสียหายที่กรมป่าไม้เรียกตามคำฟ้อง
Saithong People
อ่าน

รวมบทสัมภาษณ์ ชาวบ้าน “คดีไทรทอง”

อุทยานแห่งชาติไทรทอง ดำเนินคดีกับชาวบ้าน 14 คน ในพื้นที่อำเภอหนองบัวระเหว จังหวัดชัยภูมิ ในข้อหาบุกรุกป่า โดยกล่าวหาว่าชาวบ้านได้ทำการเกษตรในที่ดินที่อยู่ในพื้นที่อุทยาน ฝั่งของชาวบ้านมีข้อต่อสู้ว่าได้ทำกินในที่ดินพิพาทมาตั้งแต่บรรพบุรุษ และไม่ได้ทำการบุกรุกพื้นที่อุทยาน พบกับสัมภาษณ์ของชาวบ้านที่ถูกดำเนินคดีที่ได้ให้สัมภาษณ์ไว้ในช่วงก่อนที่ศาลอุทธรณ์จะอ่านคำพิพากษา และตัดสินว่าชาวบ้านมีความผิด 
Forest Seminar all
อ่าน

ชาวบ้านเสนอ “แผนจัดการร่วม” แทนปฏิบัติการ “ทวงคืนผืนป่า” และเอาเกษตรกรเข้าคุก

เกษตรกรถูกพิพากษาให้จำคุกจากกรณีประกาศเขตป่าทับที่เป็นปัญหาเรื้อรังและยิ่งรุนแรงภายใต้นโยบายของ คสช. ด้านชาวบ้านเสนอ "แผนจัดการร่วม" เพื่อเพิ่มพื้นที่ป่าโดยไม่ต้องดำเนินคดี ฝ่ายรัฐยังตัดสินใจล่าช้าทั้งที่มีมติคณะรัฐมนตรีรองรับ คณิต ณ นคร ยังเสนอว่า อัยการอาจสั่งไม่ฟ้องคดีได้แต่ไม่มีใครกล้า นักสิทธิเสนอ ต้องนั่งคุยกันใหม่มีกระบวนการแก้ไขเยียวยา
Saithong
อ่าน

สรุปสถานการณ์หลังศาลอุทธรณ์อ่านคำพิพากษา 14 ชาวบ้าน คดีไทรทอง

ศาลอุทธรณ์ภาค 3 แผนกคดีสิ่งแวดล้อม เริ่มอ่านคำพิพากษาคดีไทรทอง ตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม 2562 โดยเริ่มจากคดีของนิตยา ม่วงกลาง แกนนำต่อสู้สิทธิที่ดินในชุมชนดังกล่าว จนกระทั่งอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ครบหมดทุกคดี เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2562 โดยทุกคดีศาลอุทธรณ์ยังตัดสินให้ชาวบ้านมีความผิด และสั่งลงโทษจำคุก 13 คดี และรอลงอาญาเพียงหนึ่งคดี 
saithong
อ่าน

ไล่เรียงข้อเท็จจริง กรณีปัญหาอุทยานแห่งชาติไทรทองทับที่ดินของชาวบ้าน

เกษตรกรหลายครัวเรือนเข้าบุกเบิกพื้นที่ตั้งแต่ช่วงปี 2500-2520 จนกลายเป็นหมู่บ้าน ปี 2535 มีการประกาศเขตอุทยานแห่งชาติไทรทองรวมเอาพื้นที่ทำเกษตรและที่อยู่อาศัยของชาวบ้านเข้าไปด้วย ชาวบ้านเรียกร้องให้มีการแก้ไขปัญหาระดับนโยบายแต่ยังไม่คืบหน้า ชาวบ้านอย่างน้อย 14 คนถูกดำเนินคดี และถูกจำคุกในข้อหา "บุกรุกป่า"
Saithong Villagers
อ่าน

“19 คดีไทรทอง” เมื่อชาวบ้านจ.ชัยภูมิ เตรียมเรียงหน้าเข้าคุก ตามนโยบาย “ทวงคืนผืนป่า”

ชาวบ้านในพื้นที่ อ.หนองบัวระเหว จ.ชัยภูมิ ได้รับผลกระทบจากนโยบาย "ทวงคืนผืนป่า" และการประกาศเขตอุทยานแห่งชาติไทรทองทับพื้นที่ของชาวบ้าน ระหว่างการเจรจาหาทางออก มีชาวบ้านถูกดำเนินคดีอย่างน้อย 14 คน แยกเป็น 19 คดี ทุกคดีจำเลยให้การปฏิเสธและต่อสู้คดียืนยันถึงสิทธิที่อยู่อาศัยในที่ดินมาก่อน