ค้านแก้กม.จาก “คุ้มครองผู้เสียหาย” เป็น “ส่งเสริมความสัมพันธ์อันดี”

 

สารี อ๋องสมหวัง
มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
 
เครือข่ายประชาชนผู้สิทธิเข้าชื่อ เสนอ(ร่าง) ... คุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุข พ.. ……. ๑๐,๐๐๐ รายชื่อ ประกอบด้วย เครือข่ายผู้บริโภค เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวีเอดส์ประเทศไทย เครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ ชมรมผู้ป่วยโรคไต เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพภาคประชาชน มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ ศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์ ซึ่งได้ร่วมกันผลักดันร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุข พ.. โดยมีเป้าหมายสำคัญเพื่อชดเชยผู้ เสียหายจากระบบบริการสาธารณสุข ลดการฟ้องร้องระหว่างแพทย์และ คนไข้ รวมทั้งพัฒนาคุณภาพ มาตรฐานระบบบริการสาธารณสุขในประเทศไทย
 
โดยที่รัฐบาลนี้ก็ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าว โดยร่างกฎหมายของรัฐบาลได้ผ่านการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่ได้ถูกปรับเปลี่ยนหลักการและสาระสำคัญหลายประการ โดยพอจะสรุปความแตกต่างของร่างกฎหมายทั้งสองฉบับได้ดังนี้
 
.. เปลี่ยนแปลงชื่อกฎหมาย
จาก “ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.. … ” เป็น ”ร่างพระราชบัญญัติสร้างเสริมความสัมพันธ์ที่ดีในระบบบริการสาธารณสุข พ.. …” ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงเจตนารมณ์ และหลักการของร่างกฎหมายที่ผ่านการอนุมัติของคณะรัฐมนตรีแล้ว จากเดิมที่มุ่งเน้นการชดเชยความเสียหายเพื่อเยียวยาความเดือดร้อนของผู้เสียหาย เป็นมุ่งเน้นการสร้างเสริมความสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้บริการและผู้รับบริการ โดยลดทอนความสำคัญของการชดเชยความเสียหายลงไป ทำให้เป็นกฎหมายที่แปลกประหลาดไม่มีในโลกนี้ เพราะการสร้างความสัมพันธ์ต้องออกกฎหมายมาบังคับให้มีความสัมพันธ์ที่ดี
 
.. เพิ่มขั้นตอนการไกล่เกลี่ย
หลักการดำเนินการเดิมมุ่งเน้นการชดเชยความเสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขอย่างรวดเร็ว และเป็นธรรมโดยไม่ต้องพิสูจน์ความรับผิด แต่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ปรับเพิ่มกระบวนการไกล่เกลี่ย
 
.. ปรับให้สำนักงานอยู่ภายใต้กระทรวงสาธารณสุข
ตามร่างเดิมเสนอให้มีสำนักงานคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข แต่ได้มีการปรับแก้ในร่างใหม่ให้กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุขเป็นสำนักงานเลขานุการ
 
.. ปรับเปลี่ยนองค์ประกอบของคณะกรรมการจ่ายเงินชดเชยความเสียหาย
ตามร่างเดิมเสนอให้มีองค์ประกอบของคณะกรรมการเพียง จำนวน คน แต่ได้ปรับแก้องค์ประกอบให้มีสัดส่วนของผู้ประกอบวิชาชีพเพิ่มขึ้น ซึ่งในปัจจุบันคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุขที่มีผู้ประกอบวิชาชีพจำนวนมาก เป็นปัญหาในการพิจารณาความเสียหายและทำให้ผู้เสียหายไม่ได้รับการช่วยเหลือเบื้องต้นตามสิทธิในกฎหมาย
 
.. สิทธิกรณีผู้เสียหายฟ้องคดีต่อศาล
ตามร่างเดิมหากผู้เสียหายหรือทายาทฟ้องคดีต่อศาล ให้ยกเลิกการพิจารณาคำร้อง แต่ในร่างใหม่ปรับแก้เป็นให้ยุติการดำเนินการและตัดสิทธิที่จะยื่นคำขอตามพระราชบัญญัตินี้อีก และเพิ่มเติมในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ผู้ให้บริการสาธารณสุขชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ให้พิจารณาว่าจะจ่ายเงินจากกองทุนตามพระราชบัญญัตินี้แทนผู้ถูกฟ้องคดีหรือไม่
 
 
 
 
 
กรอบแนวคิด หลักการ กฎหมายคุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุข
 
โดย เครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ /เครือข่ายศูนย์ประสานงานหลักประกัน สุขภาพ ภาคประชาชน
และมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
 
วัตถุประสงค์ ๑
เพื่อชดเชยผู้ได้รับความเสียหาย จากการใช้บริการสาธารณสุข
ครอบคลุมบุคคลที่ใช้บริการจากสถานพยาบาลที่เปิดดำเนินการอย่างถูกต้องตามกฎหมาย (รวมร้านยาและสถานพยาบาลที่ไม่มีแพทย์)
ครอบคลุมรายการการชดเชยที่ผู้เสียหายพึงได้รับตามกฎหมายแพ่ง แต่มีเพดานวงเงิน (และอาจจะรวมการชดเชยค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลหากความเสียหายเกิดขึ้นไม่สามารถใช้จากระบบประกันสุขภาพที่มีอยู่)
ชดเชยทั้งการบาดเจ็บกรณีทั้งเหตุสุดวิสัย (mishap) หรือเกิดจากความผิดพลาดทางการแพทย์ (medical error) โดยไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ความผิด
 
วัตถุประสงค์ ๒
เพื่อลดการฟ้องร้องของผู้ป่วยต่อแพทย์ และสถานพยาบาล และความขัดแย้งในปัจจุบัน
ไม่จำกัดสิทธิในการฟ้องร้องทางแพ่ง แต่ไม่จ่ายเงินจนกว่าคดีจะสิ้นสุด
ไม่เกี่ยวข้องกับความผิดในคดีอาญา
การมีบทเฉพาะการให้ครอบคลุมบุคคลที่ดำเนินการฟ้องร้องต่อแพทย์ หรือสถานพยาบาล(ใช้สิทธิทางศาลในปัจจุบัน)ให้สามารถใช้กระบวนตามกฎหมายนี้ได้ภ ายใน ๑๒๐ วัน
 
วัตถุประสงค์ ๓
เพื่อสนับสนุนการยกระดับมาตรฐานการรักษา และเพื่อความปลอดภัยผู้ป่วย (patient safety) ในระยะยาว
การจัดทำ non punitive error report โดยสถานพยาบาลที่มีผู้ร้องขอค่าชดเชย
การตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมโดยคณะ กรรมการ (claim panel) เพื่อสรุปความเกี่ยวข้องกับการใช้บริการ
การเผยแพร่ข้อมูลกับหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องเพื่อการป้องกัน
การใช้เงินกองทุนเพื่อส่งเสริม สนับสนุนการเรียนรู้ระหว่าง สถานพยาบาลและประชาชน