รวมข้อมูลการเลือกตั้ง 2562

 

 

 

วันเลือกตั้งถูกกำหนดว่า คือ วันที่ 24 มีนาคม 2562 หลังการปกครองประเทศอย่างยาวนานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)​ กติกาทั้งหลายสำหรับการเลือกตั้งครั้งนี้ถูกออกแบบไว้โดย คสช. เพื่อสร้างความได้เปรียบให้กับพรรคการเมืองฝ่ายสนับสนุนการสืบทอดอำนาจของ คสช. และสร้างอุปสรรคให้กับพรรคการเมืองที่ต่อต้านการสืบทอดอำนาจของ คสช.

 

ไอลอว์ติตามรวบรวมข้อมูลทางกฎหมายเพื่อให้ประชาชนเข้าใจกติกาการเลือกตั้งใหม่ที่จะใช้เป็นครั้งแรกในปี 2562 เข้าใจกลไกที่สร้างความได้เปรียบเสียเปรียบ เพื่อให้ประชาชนสามารถตัดสินใจได้อย่างมีคุณภาพในการเดินเข้าคูหากำหนดอนาคตประเทศ  

 

 

● สรุปกติกาในการเลือกตั้ง 2562 

 

กติกาการเลือกตั้งถูกเขียนขึ้นเป็นครั้งแรกในรัฐธรรมนูญ 2560 ที่ผ่านการลงประชามติในปี 2559 ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปจากกติกาตามรัฐธรรมนูญ 2550 มาก ต่อมาพ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง และ พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ก็ประกาศใช้ตามมาเพื่อกำหนดรายละเอียดมากขึ้น และระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งก็มากำหนดหลักเกณฑ์อีกชั้นหนึ่ง

 

กติกาที่จะเป็นอุปสรรคทำให้การเลือกตั้งครั้งนี้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบกัน ทำให้ระหว่างการหาเสียงและทำกิจกรรมของพรรคการเมืองมีข้อจำกัดมากมาย ทำให้เสียงของประชาชนไม่มีความหมายอย่างแท้จริง จึงมาจากกฎหมายทั้งสี่ฉบับนี้ ซึ่งพอจะสรุปเป็นประเด็นสำคัญได้ ดังนี้

 

● สรุปบทบาทของ คสช. ต่อการเลือกตั้ง ทำไมการเลือกตั้ง 2562 จึงเป็น "การเลือกตั้งของ คสชโดย คสชเพื่อ คสช."

● สรุปกฎหมายพรรคการเมือง ทำพรรคใหม่เกิดยาก พรรคเดิมยุบได้ง่าย 

 

● สรุปกฎหมายพรรคการเมือง แต่ละพรรคต้องเจอปัญหาอะไรบ้างก่อนการเลือกตั้ง

 

● สรุปกติกาใหม่ บังคับทุกพรรคต้องเสนอ "บัญชีว่าที่นายกฯ" ก่อนเลือกตั้ง

 

● สรุปห้ากลไกตามรัฐธรรมนูญ ที่จะเป็นอาวุธจัดการนักการเมืองให้ออกจากสนามเลือกตั้ง

 

● สรุป 5 เงื่อนไขที่ กกต./คสชอาจสั่งยกเลิกการเลือกตั้งได้

 

● สรุปหลักเกณฑ์ 21 ข้อ ที่ กกต. อาจสั่งยุบพรรคการเมืองได้ 

 

● สรุปข้อจำกัดในการหาเสียงของพรรคการเมือง ตามกฎหมายเลือกตั้ง ระเบียบ กกต.

 

 

 

 

● ข้อมูลที่ประชาชนควรรู้เกี่ยวกับการเลือกตั้ง 

ระบบการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญนี้ กำหนดให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) จำนวน 500 คน แบ่งเป็น ส.ส. จากระบบแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวน 350 คน และ ส.ส. จากระบบแบบบัญชีรายชื่อ 150 คน ซึ่งการเลือกในระบบแบ่งเขตใช้ระบบเลือกแบบ "หนึ่งเขตหนึ่งคน" ประชาชนทุกคนมีสิทธิหนึ่งเสียงที่จะกากบาทเลือกผู้สมัครคนเดียวให้เป็น ส.ส. ตัวแทนของเขตเลือกตั้งนั้นๆ และทุกคะแนนเสียงที่ประชาชนกากบาทไป นอกจากจะใช้ตัดสิน ส.ส. แบบแบ่งเขตแล้วยังเอาไปใช้คำนวนที่นั่ง ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อด้วย

ปัจจัยอีกอย่างหนึ่งที่สำคัญต่อผลการเลือกตั้ง คือ จำนวนสมาชิกวุฒิสภาที่ คสช. เลือกมา 250 คน จะร่วมโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีด้วย ดังนั้น ในรัฐสภาหลังการเลือกตั้งจะมีสมาชิกที่ออกเสียงเลือกนายกรัฐมนตรี 750 คน ผู้ที่จะได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีต้องมีเสียงสนับสนุนไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่ง คือ 376 เสียง หากพรรคการเมืองใดต้องการจัดตั้งรัฐบาลก็ต้องหา ส.ส. มาสนับสนุนให้ได้ 376 เสียง แต่หาก คสช. จะกลับมาเป็นรัฐบาลก็มีเสียงของ ส.ว. อยู่ในมือแล้ว 250 เสียง ต้องอาศัยเสียง ส.ส. สนับสนุนอีกเพียง 126 เสียงเท่านั้น
รายละเอียดเกี่ยวกับกติกาการเลือกตั้งที่ประชาชนควรทำความเข้าใจ ได้แก่

●  สำรวจจุดยืน พรรคไหนไม่เอา คสช.

 

 

 

 

● องค์กรที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง 

 

ในการจัดการเลือกตั้ง องค์กรที่มีบทบาทสำคัญที่สุด คือ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ซึ่งต้องทำหน้าที่ทั้งบริหารจัดการ ควบคุม และตรวจสอบการทุจริต สถาบันตุลาการอย่าง ศาลรัฐธรรมนูญ และศาลยุติธรรม ก็มีบทบาทในหลายกรณีที่ต้องชี้ขาดว่า การเลือกตั้งเป็นไปโดยบริสุทธิ์ยุติธรรมหรือไม่

 

แต่ผู้เล่นทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งครั้งนี้ ล้วนมีที่มาเกี่ยวข้องกับ คสช. และมีขอบเขตการใช้อำนาจตามกติกาที่ คสช. เขียนขึ้นไว้แล้ว

 

รู้จักที่มา ขั้นตอนการคัดเลือก และประวัติของ กกต. ชุดปัจจุบัน 

ทำความเข้าใจบทบาทของศาลฎีกา ศาลรัฐธรรมนูญ และศาลอื่นๆ ในการกำกับการเลือกตั้ง

 

● 'ผู้ตรวจการเลือกตั้ง' คือใคร ทำไมการเลือกตั้งต้องใช้งบสูงถึงห้าพันล้านบาท 
 

● เลือกตั้ง 62: มีใครอยู่ในหน่วยเลือกตั้งบ้าง

 

 

 

 

● การใช้อำนาจนอกระบบแทรกแซงการเลือกตั้ง 

 

ระหว่างการเดินหน้าสู่การเลือกตั้ง คสช. ยังคงถืออำนาจสูงสุดในการบริหารประเทศอยู่พร้อมกับอำนาจพิเศษ "มาตรา 44" ที่จะสั่งอะไรเมื่อใดก็ได้ตามที่ต้องการ ขณะที่รัฐมนตรี 4 คน ที่จับมือกันตั้งพรรคพลังประชารัฐก็ยังไม่ลาออกจากตำแหน่งระหว่างการหาเสียง พร้อมประกาศชูธงสืบทอดนโยบาย คสช. ให้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรี

 

ประกาศและคำสั่งพิเศษ กับกฎหมายต่างๆ ที่ออกโดย คสช. ยังใช้บังคับอยู่ระหว่างการเลือกตั้ง การจับกุมดำเนินคดีกับคนแสดงความเห็นตรงข้ามกับ คสช. การส่งทหารไปคุกคามประชาชนตามบ้าน ยังไม่ลดลงแม้ประเทศกำลังจะกลับสู่ประชาธิปไตย ทำให้การทำกิจกรรมของพรรคการเมืองเป็นไปอย่างจำกัด และการเลือกตั้งขาดบรรยากาศที่เสรีเป็นธรรม

 

 

● คสช. เตรียมเลือก ส.ว. เอง 250 คน มาเลือกพล.อ.ประยุทธ์ กลับเป็นนายกฯ. 

 

● คสช. ใช้ .44 อย่างน้อยสามครั้งเพื่อเปลี่ยนกติกาการเลือกตั้ง

 

● คสช. ใช้ .44 แบ่งเขตเลือกตั้งใหม่เปิดทาง คสช. มีส่วนร่วม

 

● คสช. ใช้ ม.44 ห้ามหาเสียงออนไลน์ยกเลิกไพรมารี่โหวต

 

● คสชใช้ .44 แก้ ...พรรคการเมืองฯ ระบุปลดล็อคเมื่อประกาศกฎหมายลูก ..-..

● คสช. ใช้ .44 ปลดล็อคให้พรรคการเมืองประชาชนทำกิจกรรมทางการเมืองได้ เมื่อ 11 ธันวาคม 2561 

 

● คสช. และ กกตอาจใช้อะไรเป็นเครื่องมือคุมนักการเมืองบ้าง?

 

● รวมเหตุการณ์ที่พรรคพลังประชารัฐทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง แต่ยังไม่ถูกดำเนินการ

 

 

● รวมปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในการเลือกตั้ง 

 

การจัดการเลือกตั้งโดย กกต. ในปี 2562 ถือเป็นการเลือกตั้งที่วุ่นวายอย่างมาก มีความผิดพลาดในการจัดการ แสดงให้เห็นถึงความไม่มีประสิทธิภาพและความไม่มีมาตรฐานที่เกิดขึ้นในหน่วยเลือกตั้งต่างๆ เมื่อบวกกับความระแวงที่การเลือกตั้งเกิดขึ้นภายใต้การควบคุมและอำนาจเต็มของ คสช. ก็ย่ิงทำให้ประชาชนรู้สึก ไม่ไว้วางใจการทำงานของ กกต.​ และผลการเลือกตั้งที่ออกมา

 

● การเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร เป็นไปอย่างวุ่นวาย ต้องรอคิวนาน บัตรเลือกตั้งส่งไม่ถึง/ไม่ทัน

 

● วันเลือกตั้งล่วงหน้า 17 มีนาคม 2562 คนลงทะเบียนจำนวนมาก เกิดเหตุการณ์แจกบัตรผิดเขต

 

● พบความผิดพลาดมากมายบนบอร์ดนับคะแนนเลือกตั้งในวันที่ 24 มีนาคม 

 

● สูตรคำนวณ ส.ส.​ ปาร์ตี้ลิสต์ยังมีปัญหา แม้เลือกตั้งเสร็จแล้วก็ยังคำนวณไม่ได้

 

 

 

 

● รวมมุมมองต่อผลการเลือกตั้ง 

 

ท่ามกลางการนับคะแนนที่มีข้อกังขามากมาย ผลการเลือกตั้งที่ประกาศออกมาโดย กกต. คือ พรรคเพื่อไทยได้ที่นั่ง ส.ส. สูงที่สุด 137 ที่นั่ง พรรคพลังประชารัฐได้อันดับสอง 116 ที่นั่ง พรรคอนาคตใหม่ได้อันดับสาม 81 ที่นั่ง ซึ่งต่อมาพรรคพลังประชารัฐก็เสนอ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีได้สำเร็จ ขณะที่จำนวนที่นั่งก็ปรับเปลี่ยนไปบ้างตามการถูกตัดสิทธิ และลาออกของ ส.ส. โดยภาพรวม คือ ได้รัฐบาลผสม 18 พรรค ซึ่งมีเสียงในสภาเกินกึ่งหนึ่งมา "หลักหน่วย" แม้จะขาดเสถียรภาพแต่ก็ยังมีพรรคของ "250 ส.ว." ที่หนุนหลังอยู่ตลอดเวลา

 

ไอลอว์พบข้อสังเกตต่อผลการเลือกตั้ง จากข้อมูลที่มีอยู่ ดังนี้

● เมื่อพิจารณาคะแนนรวมทั้งประเทศของพรรคที่ประกาศ "สนับสนุนประยุทธ์" เทียบกับพรรคที่ประกาศ "ไม่เอา คสช." พบว่า กลุ่มหลังได้คะแนนรวมมากกว่าเกือบเท่าตัว

● เมื่อพิจารณาคะแนนจากพรรคที่ "สนับสนุนประยุทธ์"​ เทียบกับพรรคที่ "ไม่เอา คสช." ในเขตที่พรรคพลังประชารัฐชนะ พบว่า มากกว่าครึ่งประชาชนลงคะแนน "ไม่เอา คสช." มากกว่า

 

● หากนับเฉพาะคะแนนดิบ เมื่อรวมทุกเขตในกรุงเทพมหานครพบว่า พรรคอนาคตใหม่ ได้คะแนนสูงที่สุด

 

● สำรวจ ส.ส. แบบแบ่งเขต 97 คนของพรรคพลังประชารัฐ มาจาก "พลังดูด" 37 คน นักการเมืองท้องถิ่น 35 คน และเป็นคนหน้าใหม่ 19 คน 

 

● สำรวจผลงาน ส.ส. "พลังดูด" บางคนย้ายพรรคแล้วยังได้แชมป์ บางคนสอบตก

 

● การเปลี่ยนสูตรคำนวนที่นั่ง ส.ส.​ ปาร์ตี้ลิสต์เพื่อเปลี่ยนผลการเลือกตั้ง

 

การแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ ในยุค "คสช.2" ซึ่ง 16 คนไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง

 

● เปิดรายงาน "คะแนนที่ถูกจัดการ" ระหว่างการรายงานผลการเลือกตั้ง'62

 

หลังการเลือกตั้ง 24 มีนาคม 2562 ผ่านไป พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็ยังดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้ต่อไป พร้อมกับพรรคพวก ไอลอว์ซึ่งติดตามการเลือกตั้งครั้งนี้ ตั้งแต่การร่างกฎกติกา การบังคับใช้กฎกติกาต่างๆ และติดตามผลการเลือกตั้ง สรุปสิบเหตุผลที่ พล.อ.ประยุทธ์ ไม่ควรอ้างว่า เป็นนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้ง คลิกที่นี่