จากเหตุการณ์ความรุ นแรงทางการเมืองของไทย ผู้สูญเสียจำนวนมากยังคงไม่ได้ รับการเยียวยา ความจริงยังไม่ปรากฏ ผู้ก่อให้เกิดความเสียหายยังไม่ ถูกลงโทษ มีเสียงร้อง เมื่อความรุนแรงคลี่คลายจึงมี เสียงเรียกร้องหาความยุติ ธรรมจากทุกฝ่าย เมื่อวันที่ 4 พ.ย. 2553 ที่คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รั บผลกระทบจากการสลายการชุมนุ มกรณี เม.ย.-พ.ค.53 (ศปช.) จึงจัดเวทีสัมมนาเรื่อง ความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่ านหลังกรณี เม.ย.-พ.ค. 53
การอภิปรายในช่วงเช้า หัวข้อ “ความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน : กรณีศึกษาจากต่างประเทศ” มีนักวิชาการจากหลายสาขาสะท้ อนบทเรียนจากหลายประเทศ เพื่อศึกษาบทเรียนการจัดการกั บผู้กระทำความผิด ความขัดแย้ง ผู้เสียหาย และมีแนวการปฏิรูประบอบอย่ างไรภายหลังเหตุการณ์การละเมิ ดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง
การเสวนาในช่วงบ่าย หัวข้อ “ความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่ านแบบไทยๆ” โดย ดร.กิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ตัวแทนคณะกรรมการอิ สระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่ อแนวทางความปรองดองแห่งชาติ (คอป.) กล่าวถึงแนวคิดของคอป. ต่อการแสวงหาความยุติธรรมว่า เพียงแค่กระบวนการยุติธรรมอย่ างเดียวอาจจะไม่พอ เพราะขนาดของปัญหาใหญ่ มีความซับซ้อน มีผู้ถูกละเมิดและผู้ กระทำความผิดเยอะมาก ทำให้ศาลยุติธรรมปกติไม่ สามารถเข้ามาจัดการได้ เพราะอำนาจรัฐอาจจะเข้ามาเกี่ ยวข้อง ไม่อาจใช้แนวคิดเรื่ องการลงโทษอย่างเดียว ต้องดูแลเหยื่ออย่ างครบกระบวนการ ต้องพัฒนาทางโครงสร้าง
“คนเหล่านั้นทำผิดต้องรับผิดชอบ แต่สังคมต้องช่วยกันคิดว่ารับผิ ดชอบแบบไหนจึงเหมาะสม การลงโทษเชิงแก้แค้นอาจจะไม่ใช่ ทางออกอย่างเดียว ถ้าเหยื่อ ถ้าสังคมร่วมกันหาทางออกที่ เหมาะสม อาจนำไปสู่สันติภาพที่ยั่งยื นกว่าได้” ดร..กิตติพงษ์กล่าว
ดร..กิตติพงษ์ยังกล่าวต่อไปอีกว่า ในแต่ละประเทศ แม้ว่าความขัดแย้งต่างกัน ก็จะมีข้อจำกัดเกี่ยวกั บกระบวนการยุติธรรมปกติเหมือนกั น ดังนั้นการแสวงหาความยุติ ธรรมในระยะเปลี่ยนผ่ านควรจะประกอบไปด้วย กลไกต่างๆ กลไกแรก คือ การฟ้องคดีผู้ละเมิด กลไกที่สอง คือ คณะกรรมการที่เข้าไปค้ นหาความจริง แต่ต้องไม่มีลักษณะเป็นองค์ กรลงโทษแบบศาล กลไกที่สาม คือ การเยียวยาเหยื่อ กลไกที่สี่ คือ การนำเสนอทางออกเพื่อนำไปสู่ การอยู่ร่วมกันได้ เช่น การปรองดอง นำเสนอการปฏิรูปองค์กรเพื่อไม่ ให้เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นอีก
ทางด้าน ดร.ศรีประภา เพชรมีศรี นักสิทธิมนุษยชนกล่าวว่า ไม่ได้หมายถึงความยุติธรรมในรู ปแบบพิเศษ แต่หมายถึงบทบาทของกระบวนการยุ ติธรรมที่ออกมารองรับและปรับใช้ กับสังคมที่กำลังจะเปลี่ยนผ่าน หรือเพิ่งผ่านเหตุการณ์ความขั ดแย้ง หรือผ่านการละเมิดสิทธิมนุ ษยชนอย่างรุนแรง
แต่ ดร..ศรีประภา เห็นว่า ประเทศไทยในยุคปัจจุบันยังไม่ ใช่ยุคเปลี่ยนผ่าน จึงยังไม่จำเป็นต้องนำเรื่ องกระบวนการยุติธรรมในยุคเปลี่ ยนผ่านมาใช้กับสังคมไทย
“ในปัจจุบัน ไม่แน่ใจว่าจะพูดเรื่องนี้กับสั งคมไทยได้หรือไม่ เพราะประเทศไทยไม่ได้อยู่ในช่ วงเปลี่ยนผ่าน ความขัดแย้งยังไม่ได้สิ้นสุดลง จะพูดว่าเป็นความยุติธรรมหลั งความขัดแย้งไม่ได้ สังคมไทยไม่ใช่ยุคหลังเผด็ จการเปลี่ยนผ่านไปเป็นประชาธิ ปไตย”
“ปัจจุบันรัฐไทยไม่ได้ พยายามหามาตรการป้องกันการละเมิ ดสิทธิมนุษยชนไม่ให้เกิดขึ้นอีก นอกจากนั้น รัฐไทยยังมีเครื่องมือ ทั้งเครื่องมือทางกฎหมาย เช่น พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เครื่องมือทางนโยบาย ที่ทำให้การละเมิดสิทธิมนุ ษยชนอาจเกิดขึ้นได้อีก” ดร..ศรีประภากล่าว
ดร.ศรีประภาเสนอด้วยว่า ความยุติธรรมในช่วงเปลี่ยนผ่ านจะสำเร็จได้ต้องมีเงื่ อนไขบางอย่าง เช่น การแก้ไขความขัดแย้งที่รากเหง้า ให้ทุกฝ่ายมีโอกาสเข้ามาเป็นส่ วนหนึ่งของกระบวนการ การเยียวยาความเจ็บปวดของเหยื่ อด้วยการขอโทษและให้อภัย และการป้องกันการกระทำความผิ ดโดยให้ชุมชนมีส่วนร่วม