parliament meeting
อ่าน

จับตา #ประชุมสภา สมัยประชุมสุดท้ายก่อนเลือกตั้งสภาชุดใหม่ในปี 66

ช่วง “โค้งสุดท้าย” ของสภา จึงมีความสำคัญอย่างมากต่อกระบวนการจัดทำและแก้ไขกฎหมายต่างๆ หากพิจารณาร่างกฎหมายไม่ทัน ร่างกฎหมายก็จะตกไปและต้องริเริ่มกันใหม่ในสมัยประชุมหน้า
Decode Voting Result
อ่าน

แก้รัฐธรรมนูญภาคสี่: ถอดรหัสการลงมติ #ตัดอำนาจสว ของ ส.ส. และ ส.ว.

7 กันยายน 2565 ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา มีนัดลงมติเห็นชอบร่างแก้รัฐธรรมนูญจำนวน 4 ฉบับ โดยผลของการลงมติครั้งดังกล่าว พบว่า “ร่างรัฐธรรมนูญทุกฉบับถูกปัดตก” แม้บางฉบับจะได้รับเสียงเห็นชอบเกินกึ่งหนึ่งของรัฐสภา แต่เนื่องจากไม่ผ่านเสียงเห็นชอบจาก ส.ว. ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด 
DC8FF415-8507-4F33-BBBB-551B4199346D
อ่าน

ประชุมสภา: สภาล่มครั้งที่ 19 ร่าง พ.ร.ป.เลือกตั้ง ส.ส. มีแนวโน้มพลิกกลับไปสูตรหาร 100

10 สิงหาคม 2565 ที่ประชุมรัฐสภามีนัดพิจารณา ร่าง พ.ร.ป.เลือกตั้ง ส.ส. ในวาระสอง โดยในวันดังกล่าว สภาได้พิจารณาไปถึงมาตรา 24/1 แต่ทว่า ผลการลงมติในมาตราดังกล่าวมีไม่ถึงจำนวนกึ่งหนึ่งของสมาชิกรัฐสภา ทำให้ พลเพชร วิชิตชลชัย ที่ทำหน้าที่เป็นประธานรัฐสภาสั่งปิดการประชุม และมีแนวโน้มที่รัฐสภาจะพิจารณากฎหมายไม่ทัน 180 วัน และถือว่ารัฐสภาให้ความเห็นชอบ ร่าง พ.ร.ป.เลือกตั้ง ส.ส. ฉบับ ครม. ที่ใช้สูตรคำนวณที่นั่ง ส.ส. แบบสูตรหาร 100
Torture and enforced disappearance prevention bill
อ่าน

ร่างพ.ร.บ.ป้องกันทรมานอุ้มหายฯ ยังไม่เสร็จ เหตุส.ว. มีมติแก้ไข ต้องส่งกลับให้ ส.ส. เห็นชอบ

9 ส.ค. 2565 ที่ประชุมวุฒิสภาลงมติเห็นชอบกับการแก้ไขเพิ่มเติมร่างพ.ร.บ.ป้องกันการทรมานและอุ้มหายฯ ด้วยคะแนนเสียงเห็นด้วย 121 เสียง ไม่เห็นด้วย 8 เสียง งดออกเสียง 6 เสียง ส่งผลให้ต้องส่งร่างกลับไปให้สภาผู้แทนราษฎรลงมติว่าเห็นด้วยกับการแก้ไขหรือไม่
election bill
อ่าน

จับตาโค้งสุดท้ายกฎหมายลูกเลือกตั้ง หากรัฐสภาพิจารณาไม่ทัน พลิกกลับเป็นสูตร “หาร 100”

10 ส.ค. 2565 ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา  มีวาระพิจารณาร่างพ.ร.ป.การเลือกตั้งส.ส. ซึ่งรัฐสภาต้องพิจารณาให้เสร็จภายใน 15 ส.ค. หากไม่เสร็จ ให้ถือว่ารัฐสภาให้ความเห็นชอบตามร่างพ.ร.ป.ที่ใช้เป็นหลักในการพิจารณาวาระสอง พลิกเนื้อหาหลายอย่างกับไปเป็นแบบเดิม
Parliament cannot work
อ่าน

สภาล่ม: จากความบกพร่องสู่ความตั้งใจของฝ่ายรัฐบาล

นับตั้งแต่เปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎรและรัฐสภาตั้งแต่ปี 2562 มีเหตุการณ์สภาล่มเกิดขึ้นรวมกัน อย่างน้อย 18 ครั้ง โดยจากสถิติการเข้าประชุมสภาสะท้อนว่า ฝ่ายรัฐบาลซึ่งไปด้วยไปด้วยพรรครัฐบาลและสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการแต่งตั้งไม่สามารถรักษาองค์ประชุมได้ อีกทั้ง ในช่วงหลังฝ่ายรัฐบาลพยายามใช้เหตุการณ์สภาล่มเพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองของตนเอง
parliament meeting 3 aug 2022
อ่าน

กฎหมายลูกเลือกตั้งค้างท่ออีกสัปดาห์ หลัง #สภาล่ม เหตุองค์ประชุมไม่ครบ

3 ส.ค. 2565 เกิดเหตุสภาล่ม องค์ประชุมไม่ครบ ขณะพิจารณาร่างพ.ร.บ.กำหนดระยะเวลาดำเนินงานในกระบวนการยุติธรรม ร่างกฎหมายดังกล่าวยังพิจารณาไม่เสร็จ ส่งผลให้ร่างพ.ร.ป.การเลือกตั้งส.ส. ซึ่งอยู่ในลำดับพิจารณาถัดไป ค้างท่อต้องยกยอดไปพิจารณาต่อในการประชุมรัฐสภาครั้งหน้า
parliament meeting 1-4 aug 2022
อ่าน

จับตา! ประชุมสภา โหวตกฎหมายลูกเลือกตั้ง-เคาะกรรมการป.ป.ช.

1-4 ส.ค. 2565 มีการประชุมสภาหลายนัด ทั้งวุฒิสภา นัดลงมติให้ความเห็นชอบผู้ได้รับการเสนอชื่อดำรงตำแหน่งป.ป.ช. สภาผู้แทนราษฎร พิจารณาร่างกฎหมาย เช่น ร่างพ.ร.บ.ฉุกเฉินฯ ที่เสนอมาเพื่อใช้แทนพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และรัฐสภา (ส.ส. + ส.ว.) พิจารณาร่างพ.ร.ป.การเลือกตั้งส.ส. 
election bill
อ่าน

กฎหมายลูกเลือกตั้งส.ส. ส่อแววช้า วุ่นสืบเนื่องปมแก้สูตรคำนวณส.ส.บัญชีรายชื่อ “หาร 500”

26 กรกฎาคม 2565 ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา มีมติให้กมธ. ร่างพ.ร.ป.การเลือกตั้งส.ส. นำร่างกลับไปทบทวนใหม่ สืบเนื่องจากปมการโหวตพลิกขั้ว แก้ไขร่างจากสูตรคำนวณส.ส.แบบบัญชีรายชื่อจาก "หาร 100" เป็น "หาร 500"
ืno-confidence debate
อ่าน

อภิปรายไม่ไว้วางใจ 65 ประมวล “บาดแผล” รัฐบาลก่อนสภาลงมติ

19-22 กรกฎาคม 2565 สภาผู้แทนราษฎรมี #อภิปรายไม่ไว้วางใจ รมต. 11 คน และลงมติวันที่ 23 พรรคฝ่ายค้านแบ่งการอภิปรายสองวันแรกเป็นการอภิปรายพรรคร่วมรัฐบาลที่ถูกมองว่า "นั่งร้าน" ของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ และสองวันสุดท้าย เป็นการล็อกเป้าไปที่กลุ่ม 3 ป. โดยเฉพาะ พล.อ.ประยุทธ์