Marriage Equality
อ่าน

#สมรสเท่าเทียม: สำรวจหลักกฎหมายและร่าง พ.ร.บ.แก้ไขกฎหมายแพ่งว่าด้วยการสมรส

เนื่องจากมีการเผยแพร่ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และเปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ชวนทุกคนมาสำรวจหลักกฎหมายแพ่งว่าด้วยการสมรสที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันว่า มีเนื้อหาอย่างไร และร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวจะทำให้เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางไหน เพื่อที่จะได้ส่งเสียงออกไปด้วยความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้อง
civil partnership act and civil code
อ่าน

Pride Month: สำรวจ ร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต-กฎหมายแพ่งว่าด้วยการสมรส

มิถุนายนถูกกำหนดให้เป็น Pride Month แต่ไทยก็ยังไม่มีกฎหมายรับรอง 'สิทธิในการก่อตั้งครอบครัว' ของผู้มีความหลากหลายทางเพศ หลายกลุ่มได้เริ่มผลักดันกฎหมายโดยมีอยู่ 2 แนวทางหลัก เสนอให้ยกร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต ออกมาเป็นกฎหมายแยก และแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
lawyers' dressing
อ่าน

ขอปลดล็อกการแต่งกายทนายความ ข้ามผ่านข้อจำกัดเรื่องเพศ

10 มิถุนายน 2563 ทนายความจากสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนเข้าพบตัวแทนสภาทนายความ เพื่อยื่นหนังสือเสนอให้แก้ไขข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ. 2529 เนื่องจากข้อบังคับดังกล่าวได้กำหนดให้ทนายความเพศหญิงต้องใส่กระโปรง และมีโทษหากไม่ปฏิบัติตาม
Court on Abortion
อ่าน

ศาลรัฐธรรมนูญชี้ กฎหมายอาญาห้ามทำแท้งขัดรัฐธรรมนูญ สั่งแก้ไขใน 360 วัน

คดีจากการยื่นคำร้องของกลุ่มอาสาไทย ส่งให้ผู้ตรวจการแผ่นดินแล้วแต่ไม่ส่งเรื่องต่อ จึงยื่นตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญเอง จนศาลชี้ว่า กฎหมายห้ามทำแท้ง มาตรา 301 ขัดรัฐธรรมนูญ แต่ผลที่จะเกิดต่อไปยังไม่ชัด เนื่องจากให้คำวินิจฉัยมีผลบังคับในอีก 360 วันให้หลัง
อ่าน

ไม่มีพื้นที่สำหรับเยาวชนและ LGBT ร่วมกำหนดกฎหมาย-นโยบาย

งานเสวนาสาธารณะสตรี ที-ทอล์ค ครั้งที่ 2 วรรณพงษ์ ยอดเมือง กล่าวว่า เป็นไปไม่ได้เลยที่จะมีเยาวชนอยู่ใน สนช. อีกทั้งสัดส่วนของ สนช. ก็มีผู้หญิงเพียง 12 คน จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะมีความหลากหลายทางเพศอยู่ในนั้น
ILGA 2016
อ่าน

ปัญหาการกีดกันกลุ่ม LGBT ทั่วโลกยังหนัก

นักกิจกรรมชี้ ผู้ลี้ภัย LGBT จากซีเรียถูกกระทำหนัก ด้าน LGBT ในอินเดียประสบปัญหาได้รับค่าจ้างน้อยกว่าค่าแรงขั้นต่ำ ต้องจ่ายค่าส่วยให้ผู้มีอิทธิพล มีความเสี่ยงต่อหลักประกันชีวิตที่ไม่แน่นอน ข้อมูลสำรวจจาก UN พบมีแค่ 20 ประเทศที่มีกฎหมายห้ามเลือกปฏิบัติต่อ LGBT
Varaporn Chamsanit
อ่าน

ทำไมความรุนแรงทางเพศที่เกิดขึ้นกับผู้หญิง ผู้หญิงกลับเป็นฝ่ายถูกตั้งคำถาม

จากข่าวข่มขืนนักศึกษาธรรมศาสตร์ นำมาสู่การวิเคราะห์ปัญหาความรุนแรงทางเพศว่า ความรุนแรงเรื่องเพศต่อผู้หญิง ถูกล้อมด้วย ‘อคติ’ ทางเพศของสังคม ไม่ใช่ ‘ปัญหาส่วนตัว’  แต่เป็นปัญหา ‘โครงสร้างของรัฐ’ และชวนคิดถึงหญิงที่พิการ หรือหญิงเป็นแรงงานข้ามชาติ ที่จะยิ่งพบอุปสรรคในกระบวนการยุติธรรมของไทย
Dr.Kittipong
อ่าน

สถิติสธ.พบหญิงตายเพราะทำแท้ง 25-30 คนต่อปี บาดเจ็บ 30,000 – อายุต่ำกว่า 15 ปีทำแท้งได้ไม่ผิดกฎหมาย

หมอเปิดสถิติกระทรวงสาธารณสุข ปี 2555 พบแนวโน้มคนมีเพศสัมพันธ์อายุน้อยลงเรื่อยๆ มีหญิงอายุ 15-19 ปีคลอดบุตร กว่า 120,000 คน หนึ่งในสามของคนที่มาทำแท้งเป็นนักเรียนนักศึกษา รศ.กฤตยา ชี้ทำแท้งผิดกฎหมาย แต่มีข้อยกเว้นหากถูกข่มขืน,แม่อายุไม่เกิน 15 ปี,เพื่อสุขภาพของแม่และเด็ก                              
gaymarry
อ่าน

คนรักเพศเดียวกัน อยู่ตรงไหนในระบบกฎหมายไทย

  คนรักเพศเดียวมีตัวตนอยู่ในรัฐไทยมานานแล้ว ทว่าด้วยปัจจัยทั้งทางการเมืองและทางวัฒนธรรม พวกเขากลับไม่มีตัวตนอยู่ในระบบกฎหมาย ทำให้คนรักเพศเดียวกันไม่สามารถเข้าถึงสิทธิประโยชน์พึงได้หลายประการ การเสวนาครั้งนี้น่าจะจุดประกายให้สังคมตระหนักรู้ถึงปัญหาที่กลุ่มคนรักเพศเดียวกันต้องเผชิญ จนนำไปสู้การแก้ไขปัญหาในอนาคตอันใกล้