คดีการเมืองหลังปี 2565 จะไม่ได้รับนิรโทษกรรม หากนิรโทษกรรมผ่านแค่ร่างฉบับ “รวมไทยสร้างชาติ-ครูไทยเพื่อประชาชน”

วาระพิจารณาร่างกฎหมายนิรโทษกรรมเป็นประเด็นร้อนอีกครั้งหลังรัฐบาลประกาศถอยร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจร หรือที่เรียกว่ากฎหมายเอ็นเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์ออกไป ทำให้ร่างกฎหมายนิรโทษกรรมซึ่งค้างอยู่ในวาระการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรทั้งสี่ฉบับอาจได้เลื่อนขึ้นมาพิจารณาแทนในวันที่ 9 กรกฎาคม 2568 

สำหรับร่างกฎหมายนิรโทษกรรมทั้งสี่ฉบับ ประกอบไปด้วย ร่างฉบับพรรคก้าวไกล (ย้ายไปสังกัดพรรคประชาชนหลังศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรคก้าวไกล) ร่างฉบับพรรคครูไทยเพื่อประชาชน (ย้ายไปสังกัดพรรคกล้าธรรม) ร่างฉบับพรรครวมไทยสร้างชาติ และร่าง “นิรโทษกรรมประชาชน” ของภาคประชาชนที่เข้าชื่อ 36,723 คน โดยร่างแต่ละฉบับจะมีเนื้อหาสาระที่แตกต่างกันเช่น กรอบระยะเวลาในการนิรโทษกรรม ฐานความผิดที่เข้าข่ายการนิรโทษกรรม และฐานความผิดที่จะถูกยกเว้นในการนิรโทษกรรม

บทความชิ้นนี้จะมุ่งไปที่ช่องโหว่ของกรอบระยะเวลาในการนิรโทษกรรมของร่างพรรครวมไทยสร้างชาติและครูไทยเพื่อประชาชน โดยร่างกฎหมายนิรโทษกรรมทั้งสี่ฉบับกำหนดกรอบระยะเวลาไว้แตกต่างกัน ดังนี้

 ช่วงเวลาที่เริ่มต้นนิรโทษกรรมช่วงเวลาที่สุดท้ายที่จะนิรโทษกรรม
ร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมประชาชน (เสนอโดยภาคประชาชน)19 กันยายน 2549วันที่กฎหมายประกาศใช้
ร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม (เสนอโดยพรรคก้าวไกล)11 กุมภาพันธ์ 2549วันที่กฎหมายประกาศใช้
ร่างพ.ร.บ.สร้างเสริมสังคมสันติสุข (เสนอโดยพรรคครูไทยเพื่อประชาชน)19 กันยายน 254930 พฤศจิกายน 2565
ร่างพ.ร.บ.สร้างเสริมสังคมสันติสุข (เสนอโดยพรรครวมไทยสร้างชาติ)พ.ศ. 2548พ.ศ. 2565

จากตารางจะเห็นว่า กรอบระยะเวลาที่เข้าข่ายการนิรโทษกรรมจะร่างฉบับพรรคก้าวไกลกว้างกว่าฉบับอื่น โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2549 ซึ่งเป็นวันที่เครือข่ายต่อต้านทักษิณ ชินวัตรยกระดับเป็นกลุ่มที่เรียกว่า “พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย” จนถึงวันที่กฎหมายมีผลบังคับใช้ กฎหมายบังคับใช้เมื่อใดก็ถือว่าวันนั้นเป็นวันสิ้นสุดขอบข่ายตามฉบับพรรคก้าวไกล ส่วนของภาคประชาชนแม้จะระบุคล้ายกันว่าให้วันที่กฎหมายใช้บังคับเป็นวันสุดท้ายของกรอบเวลา แต่กำหนดวันเริ่มต้นไว้เป็นวันรัฐประหารรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549

ขณะที่ในร่างฉบับพรรครวมไทยสร้างชาติและพรรคครูไทยเพื่อประชาชนกำหนดแตกต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง แม้ว่าจะกำหนดระยะเวลาเริ่มต้นไว้ใกล้เคียงกับร่างอีกสองฉบับ โดยร่างพรรครวมไทยสร้างชาติกำหนดให้เริ่มตั้งแต่ปี 2548 ซึ่งเป็นช่วงที่กลุ่มคัดค้านรัฐบาลในเวลานั้นเริ่มก่อตัว ส่วนร่างฉบับพรรคครูไทยเพื่อประชาชนกำหนดเริ่มในวันที่ 19 กันยายน 2549 แต่วันสุดท้ายที่เข้าข่ายการนิรโทษกรรมกลับกำหนดไว้สั้นกว่าอีกสองฉบับ ร่างฉบับรวมไทยสร้างชาติระบุไว้ให้สิ้นสุดในปี 2565 ในขณะที่ร่างฉบับครูไทยเพื่อประชาชนล็อกวันที่ไว้ในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2565

การกำหนดกรอบระยะเวลาวันสุดท้ายที่เข้าข่ายนิรโทษกรรมที่สั้นและตายตัวในลักษณะนี้อาจเหมาะสมสำหรับการคลี่คลายความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้นในระยะสั้น ๆ และจบลงไปแล้ว ต่างกับบริบทความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้นนับตั้งแต่ปี 2549 ที่มีการชุมนุมทางการเมืองขนาดใหญ่เกิดขึ้นเป็นห้วงเวลาและชะลอตัวลงตามบรรยากาศทางการเมือง โดยแม้การชุมนุมทางการเมืองขนาดใหญ่ห้วงล่าสุดในปี 2563 จะจบลงแล้วแต่ยังมีการแสดงออกเพื่อคัดค้านหรือต่อต้านอำนาจรัฐ หรือเรียกร้องการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างต่อเนื่อง ทำให้หลังจากปี 2565 ยังคงมีคดีความทางการเมืองเกิดขึ้นใหม่

หากร่างฉบับพรรครวมไทยสร้างชาติและครูไทยเพื่อประชาชน ประกาศบังคับใช้จะมีคดีทางการเมืองที่เข้าข่ายต้องได้รับการนิรโทษกรรมตามบัญชีท้ายของร่างทั้งสองฉบับ ถูกทอดทิ้งเนื่องจากอยู่นอกกรอบเวลานิรโทษกรรม ข้อมูลจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนระบุว่า ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2566จนถึงวันที่ 1 เมษายน 2568 มีคดีความทางการเมืองอย่างน้อย 24 คดีหรือจำเลย 92 คนที่ถูกกล่าวหาในความผิดที่จะได้รับการนิรโทษกรรมตามบัญชีท้าย แต่ช่วงเวลาที่เกิดเหตุอยู่หลังปี 2565 รายละเอียดดังนี้


กลุ่มที่ 1: ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 – 3 คดี

ลำดับวันที่เหตุการณ์ผู้ถูกดำเนินคดีข้อหาสถานะ
124/6/2566กิจกรรม “แห่ไม้ค้ำประชาธิปไตย ปักหมุดกระจายอำนาจ” ที่จ.เชียงใหม่4 คนมาตรา 116,พ.ร.บ.คอมฯและพ.ร.บ.ชุมนุมฯชั้นสอบสวน
213/1/2566เพจทะลุฟ้าเผยแพร่ภาพชุดพาเหรดงานกีฬาสีของโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร1 คนมาตรา 116และพ.ร.บ.คอมฯชั้นสอบสวน
34/2/2567ถูกกล่าวหาบีบแตรยาวใส่ขบวนเสด็จของพระเทพฯ บริเวณทางด่วนมักกะสัน2 คนมาตรา 116,พ.ร.บ.คอมฯ, ดูหมิ่นเจ้าพนักงาน, ฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานและพ.ร.บ.จราจรฯศาลชั้นต้น

กลุ่มที่ 2: พ.ร.บ.ชุมนุมฯ – 10 คดี

ลำดับวันที่เหตุการณ์ผู้ถูกดำเนินคดีข้อหาสถานะ
117/4/2566ทำกิจกรรม 9 ปี บิลลี่ พอละจี ใส่ชุดนักโทษขึ้นรถไฟฟ้าบีทีเอส8 คนพ.ร.บ.ชุมนุมฯอัยการสั่งไม่ฟ้อง
21/5/2566กิจกรรมวันแรงงานสากล “สาปส่งรัฐปีศาจ สร้างชาติด้วยรัฐใหม่”2 คนพ.ร.บ.ชุมนุมฯสิ้นสุดแล้ว ศาลลงโทษปรับ
36/8/2566ทำกิจกรรม #กระชากกวีซีไรต์ เรียกร้องให้ถอดถอนเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ จาก สว.18 คนพ.ร.บ.ชุมนุมฯ, ม.215, ทำให้เสียทรัพย์และร่วมกันบุกรุกโดยไม่มีเหตุอันควร เข้าไปในอาคารของผู้อื่นชั้นสอบสวน
49/5/2566ขี่รถจักรยานยนต์พร้อมโบกธง #saveหยก, ปล่อยเพื่อนเรา และอนาคิสต์5 คนพ.ร.บ.ชุมนุมฯระหว่างพิจารณาศาลชั้นต้น
53/9/2566แต่งกายชุดนักโทษแสดงออกบริเวณสยามพารากอน-สยามสแควร์2 คนพ.ร.บ.ชุมนุมฯและฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานชั้นสอบสวน
63/10/2566การชุมนุมของเครือข่าย P-move บริเวณทำเนียบรัฐบาล ถูกแจ้งเรื่องไม่แจ้งล่วงหน้า1 คนพ.ร.บ.ชุมนุมฯศาลชั้นต้น
702/2567การชุมนุมของเครือข่าย P-move #พีมูฟทวงสิทธิ บริเวณทำเนียบรัฐบาล 3 คดี2 คนพ.ร.บ.ชุมนุมฯชั้นสอบสวน
88/10/2567ชุมนุมติดตาม #พีมูฟทวงสิทธิ์ บริเวณข้างทำเนียบรัฐบาล 3 คดี5 คนพ.ร.บ.ชุมนุมฯชั้นสอบสวน
91/4/2568สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ (สกน.) และสมัชชาชุมชนคนอยู่กับป่า (สชป.) ชุมนุมที่ทำเนียบรัฐบาล7 คนพ.ร.บ.ชุมนุมฯชั้นสอบสวน
101/4/2568อดีตแรงงานบริษัทยานภัณฑ์ ชุมนุมติดตามเงินค่าชดเชยที่หน้าทำเนียบรัฐบาล4 คนพ.ร.บ.ชุมนุมฯชั้นสอบสวน

กลุ่มที่ 3: ต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน/บุกรุก/ฝ่าฝืนคำสั่ง – 4 คดี

ลำดับวันที่เหตุการณ์ผู้ถูกดำเนินคดีข้อหาสถานะ
113/3/2566ตะโกนด่าและชูสามนิ้วขับไล่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ระหว่างลงพื้นที่อ.บ้านโป่ง1 คนต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานและฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานชั้นฎีกา ศาลอุทธรณ์ยกฟ้อง
210/5/2566ชุมนุม #Saveหยก ที่หน้า สน.สำราญราษฎร์ มีการสาดสี ทำลายทรัพย์สิน และปะทะกับเจ้าหน้าที่9 คนต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน, ทำให้เสียทรัพย์และร่วมกันบุกรุกโดยไม่มีเหตุอันควร เข้าไปในอาคารของผู้อื่น ในเวลากลางคืนชั้นอุทธรณ์ ชั้นต้นลงจำคุก 2 ปี 10 วัน
314/6/2566ถูกกล่าวหาว่าบุกรุกเข้าไปในโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนา กรณีของหยก3 คนร่วมกันบุกรุกและฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานชั้นสอบสวน เหลือผู้ต้องหา 2 คน
41/8/2566ติดใบปลิวมีข้อความไล่ สว. -ประกาศจับ สว. รับใช้เผด็จการหรือทำตามเสียงประชาชน6 คนทำให้เสียทรัพย์และฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงาน(ไม่นิรโทษกรรมหมิ่นประมาท)ชั้นสอบสวน

กลุ่มที่ 4: ละเมิดอำนาจศาล – 4 คดี

ลำดับวันที่เหตุการณ์ผู้ถูกดำเนินคดีข้อหาสถานะ
130/3/2566ถูกตั้งเรื่องละเมิดอำนาจศาล โดยถูกกล่าวหาว่าขัดขวางไม่ให้นำตัวธัญศิษฐ์ไปไต่สวน4 คนละเมิดอำนาจศาลสิ้นสุดแล้ว ศาลยกฟ้อง
219/10/2566ถูกตั้งเรื่องละเมิดอำนาจศาลจากความวุ่นวายระหว่างรอการประกันตัว “โฟล์ค” สหรัฐ สุขคำหล้า1 คนละเมิดอำนาจศาลสิ้นสุดแล้ว จำคุก 1 เดือน ผู้ถูกกล่าวหาเสียชีวิต
325/12/2566แต่งชุดซานต้าชูป้ายคำว่า “พระราชทาน” ให้สื่อมวลชนถ่ายภาพ1 คนละเมิดอำนาจศาลระหว่างอุทธรณ์
427/11/2567อานนท์ นำภา ถอดเสื้อประท้วงศาลในห้องพิจารณาคดีม็อบแฮร์รี่ พอตเตอร์ 11 คนละเมิดอำนาจศาลระหว่างอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุก 6 เดือน

กลุ่มที่ 5: พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์เป็นข้อหาหลัก – 1 คดี

ลำดับวันที่เหตุการณ์ผู้ถูกดำเนินคดีข้อหาสถานะ
128/3/2567ไม่ให้ตำรวจเข้าถึงข้อมูลในโทรศัพท์ หลังถูกจับกุมคดีพ่นสีสเปรย์1 คนพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯชั้นสอบสวน

กลุ่มที่ 6: ทำให้เสียทรัพย์เป็นข้อหาหลัก – 1 คดี

ลำดับวันที่เหตุการณ์ผู้ถูกดำเนินคดีข้อหาสถานะ
131/3/2566พ่นสีสเปรย์เป็นตัวเลข 112 พร้อมขีดฆ่าทับ และภาพเครื่องหมายอนาคิสต์ หลายจุดในกรุงเทพฯ2 คนทำให้เสียทรัพย์(ไม่นิรโทษกรรมพ.ร.บ.ความสะอาดฯ)คดีสิ้นสุดหมดแล้ว มีทั้งลงโทษปรับและให้รอลงอาญา

กลุ่มที่ 7: คดีทำร้ายร่างกายเป็นข้อหาหลัก – 1 คดี

ลำดับวันที่เหตุการณ์ผู้ถูกดำเนินคดีข้อหาสถานะ
11/4/2566ถูกทีมการ์ดเวทีปราศรัยพรรคพลังประชารัฐกล่าวหาว่าทำร้ายร่างกาย2 คนร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้อื่น จนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายและจิตใจชั้นสอบสวน

ทั้งนี้ร่างฉบับครูไทยเพื่อประชาชน มาตรา 3 ที่กำหนดว่า “ให้บรรดาการกระทำใดๆ ของบุคคลที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมทางการเมืองหรือการแสดงออกทางการเมือง หรือบุคคลซึ่งไม่ได้เข้าร่วมการชุมนุมทางการเมือง แต่กระทำการนั้นมีมูลเหตุเกี่ยวข้องหรือเกี่ยวเนื่องกับความขัดแย้งทางการเมือง โดยการกล่าวหาด้วยวาจาหรือโฆษณาด้วยวิธีการใด เพื่อเรียกร้องหรือให้มีการต่อต้านรัฐ การป้องกันตน การต่อสู้ขัดขืนการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือการชุมนุม การประท้วง หรือการแสดงออกด้วยวิธีการใดๆ อันอาจเป็นการกระทบต่อชีวิต ร่างกายสุขภาพ ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดของบุคคลอื่น ซึ่งเป็นเหตุการณ์สืบเนื่องจากการชุมนุมทางการเมือง หรือการแสดงออกทางการเมืองตามที่ระบุในบัญชีแนบท้ายพระราชบัญญัตินี้” หากตีความตามตัวบทนี้จะทำให้ร่างฉบับครูไทยเพื่อประชาชนอาจครอบคลุมข้อหาความผิดทางการเมืองอื่นๆที่ไม่ได้ระบุในบัญชีแนบท้าย ซึ่งจะทำให้มีคดีการเมืองอีกอย่างน้อย 5 คดีหรือจำเลย 12 คน ไม่ได้รับประโยชน์จากการนิรโทษกรรมครั้งนี้

 ลำดับวันที่เหตุการณ์ผู้ถูกดำเนินคดีข้อหาสถานะคดี
128/3/2566พ่นสีสเปรย์บนกำแพงพระบรมมหาราชวัง ข้อความยกเลิก 112 และเครื่องหมายอนาคิสต์1 คนพ.ร.บ.โบราณสถานและพ.ร.บ.ความสะอาดฯชั้นอุทธรณ์ ชั้นต้นลงจำคุก 8 เดือน
231/3/2566พ่นสีสเปรย์ที่ฐานอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เป็นตัวเลข 112 พร้อมขีดฆ่าทับ และภาพเครื่องหมายอนาคิสต์2 คนพ.ร.บ.โบราณสถานและพ.ร.บ.ความสะอาดฯชั้นอุทธรณ์ ชั้นต้นลงจำคุก 1 ปี
35/4/2566จุดพลุไฟเสียงดัง ในกิจกรรมไปสถานีพินิจบ้านปรานี เยี่ยม “หยก”2 คนส่งเสียงดังอื้ออึงโดยไม่มีเหตุอันควรคดีสิ้นสุดแล้ว จำคุก 1 เดือน ปรับรวม3,000 บาท
47/8/2566ทำกิจกรรมหน้าพรรคเพื่อไทย โดยมีการจุดพลุไฟ2 คนจุดพลุขึ้นไปในอากาศ โดยไม่ได้รับอนุญาตชั้นสอบสวน
528/3/2566ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้สนับสนุน “บังเอิญ” กรณีไปพ่นกำแพงวัดพระแก้ว5 คนพ.ร.บ.โบราณสถาน,พ.ร.บ.ความสะอาดฯชั้นสอบสวน