เลือกตั้ง66: กกต.แบ่งเขตเลือกตั้ง กทม. ใครได้ใครเสีย?

ศาลปกครองสูงสุดมีคำวินิจฉัยยกฟ้องคดี ให้เพิกถอนประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เรื่องการแบ่งเขตเลือกตั้ง กรุงเทพมหานคร สกลนคร และสุโขทัย ทำให้การเลือกตั้งยังคงเดินหน้าต่อไปได้ โดยไม่มีการแบ่งเขตเลือกตั้งใหม่

ประเด็นของการแบ่งเขตเลือกตั้งที่สลับซับซ้อนเกิดจาก กกต.กำหนด ผลต่างจากจำนวนเฉลี่ยราษฎรต่อ ส.ส.หนึ่งคนของแต่ละเขต ต้องไม่ต่างกันเกิน 10% โดยเฉพาะในพื้นที่ 33 เขต ของกรุงเทพมหานคร ที่การแบ่งเขตเลือกตั้งครั้งนี้แตกต่างจากทุกครั้งที่ผ่านมา

ซึ่งทำให้มีคนได้เปรียบและเสียเปรียบจากการเลือกตั้งครั้งนี้

1. ผู้สมัครที่มีฐานคะแนนนิยมในพื้นที่อาจเสียเปรียบ

เกณฑ์อย่างหนึ่งที่กฎหมายเลือกตั้ง ส.ส. กำหนดไว้เพื่อการแบ่งเขตเลือกตั้ง คือ การเคยอยู่ในเขตเลือกตั้งเดียวกัน ทำให้ก่อนการแบ่งเขตเลือกตั้งในแต่ละครั้งว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.จะพอคาดการณ์ล่วงหน้าจากการเลือกตั้งในอดีตได้ว่า พื้นที่เขตเลือกตั้งของตัวเองอยู่ตรงไหน ทำให้สามารถลงพื้นที่แนะนำตัวต่อประชาชนได้ล่วงหน้า ก่อนประกาศวันเลือกตั้งจริง

จากการแบ่งเขตเลือกตั้ง 33 เขตของกรุงเทพมหานคร พบว่ามีเพียงสี่เขตเลือกตั้งที่เหมือนเขตเลือกตั้งเดิมเมื่อปี 2554 ส่วนอีก 29 เขตเลือกตั้งเปลี่ยนไป ทำให้อดีต ส.ส. หรือผู้สมัคร ส.ส.ที่ทำพื้นที่มาก่อนอาจเสียพื้นที่เดิม และต้องเริ่มต้นทำพื้นที่ใหม่พร้อมกับผู้สมัครหน้าใหม่

2. ผู้สมัครที่เน้นกระแสพรรคหรือกระแสผู้นำพรรคได้เปรียบ

อย่างไรก็ตาม การแบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ของ กกต. ใน กทม.ส่งผลดีต่อผู้สมัคร ส.ส.หน้าใหม่ โดยเฉพาะผู้สมัครที่สังกัดพรรคที่มีคะแนนนิยมและมีคนรู้จักจำนวนมาก เพราะจะเสียเปรียบผู้สมัคร ส.ส.หน้าเดิมไม่มากเนื่องจากบ้างพื้นที่ผู้สมัครแต่ละคนต่างต้องเริ่มแนะนำตัวกับประชาชนใหม่ทั้งหมด

3. ประชาชนสับสนเขตเลือกตั้ง

การแบ่งเขตเลือกตั้งของ กกต. นอกจากจะทำให้ผู้สมัคร ส.ส.ในแต่ละเขตมีความได้เปรียบเสียเปรียบกันแล้ว ยังส่งผลให้ประชาชนสับสนเขตเลือกตั้งของตัวเอง ซึ่งเกณฑ์การแบ่งเขตเลือกตั้งในกฎหมายเลือกตั้ง ส.ส. ก็ได้กำหนดวิธีการเพื่อลดความสับสนไว้แล้ว

โดยกำหนดหลักเกณฑ์ ให้รวมอำเภอต่างๆ เป็นเขตเลือกตั้ง และให้ดำเนินการแบ่งเขตเลือกตั้งตามสภาพของชุมชนที่ประชาชนมีการติดต่อกันเป็นประจำในลักษณะที่เป็นชุมชนเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน ซึ่งการแบ่งเขตเลือกตั้งกรุงเทพมหานคร มีจำนวน 13 เขตเลือกตั้ง จากทั้งหมด 33 เขตเลือกตั้ง ที่เอาแขวงของหลายเขตมารวมกันโดยไม่มีเขต (อำเภอ) หลัก

การแบ่งเขตเลือกตั้งกรุงเทพมหานครในการเลือกตั้ง 2566 จะส่งผลให้ ส.ส. ในแต่ละพื้นที่ ไม่มีความยึดโยงกับประชาชน อีกทั้งการรวมแขวงข้ามเขตแบบนี้ จะกระทบสิทธิประชาชน ทำให้เกิดความสับสนในการใช้สิทธิเลือกตั้ง

You May Also Like
อ่าน

ศาลรธน. ไม่รับคำร้อง ปมรัฐสภาถามเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ทำประชามติกี่ครั้ง ทำตอนไหน

17 เมษายน 2567 ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเไม่รับคำร้องที่รัฐสภาขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยปัญหาอำนาจหน้าที่ของรัฐสภาว่า รัฐสภาจะมีอำนาจในการพิจารณาแก้รัฐธรรมนูญได้เลยหรือต้องทำประชามติก่อน
อ่าน

เศรษฐาแถลง ประชามติ 3 ครั้งสู่รัฐธรรมนูญใหม่ “ห้ามแตะหมวดทั่วไป-หมวดพระมหากษัตริย์” ย้ำพร้อมแก้ พ.ร.บ.ประชามติ

23 เมษายน 2567 เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ระบุว่ารัฐบาลมีความเห็นสอดคล้องกับข้อสรุปของคณะกรรมการประชามติ ที่เห็นว่าควรมีการทำประชามติสู่รัฐธรรมนูญใหม่ทั้งสิ้นสามครั้ง ไม่แตะหมวดทั่วไปและหมวดพระมหากษัตริย์ และเน้นย้ำว่าควรมีการแก้ไข พ.ร.บ. ประชามติ ควบคู่กันไปด้วย