constituent assembly model
อ่าน

สำรวจจักรวาล สสร. พรรคไหนเคยเสนอที่มาไว้อย่างไรบ้าง

รูปแบบของสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ สสร. ที่เคยมีการพยายามนำเสนอเข้าสู่รัฐสภามาหลังการเลือกตั้งในปี 2562 มีทั้งสิ้นสี่รูปแบบ คือ สสร.ฉบับพรรคเพื่อไทย, สสร.ฉบับที่นำโดยพรรคพลังประชารัฐ, สสร.ฉบับพรรคไทยสร้างไทยที่ใช้วิธีรวบรวมรายชื่อประชาชนเสนอร่างรัฐธรรมนูญ และ สสร.ฉบับสงวนคำแปรญัตติของ ส.ส.จำนวนหนึ่ง ในช่วงพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญของ คณะกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณาศึกษาหลักเกณฑ์และวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 หรือ กมธ.แก้รัฐธรรมนูญฯ     ข้อเสนอการตั้ง สสร. มักอยู่ที่วิธีการได้มา โดยแบ่งออกคร่าวๆ ได้สี่รูปแบบ คือ เลือกตั้งแบบมีจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง เลือกตั้งแบบมีประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง เลือกตั้งผสมกับการแต่งตั้ง และแต่งตั้งทั้งหมด ซึ่งรูปแบบทั้งหมดนี้จะมีความสำคัญมากขึ้นเมื่อสังคมไทยกำลังเดินหน้าเข้าสู่การเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ในปี 2567 ที่กำลังมาถึง
Thailand never have Constituent Assembly elections.
อ่าน

ประเทศไทยเคยมี สสร. สี่ชุด แต่ไม่เคยมีครั้งไหนที่ประชาชนเลือกตั้งมาโดยตรง

ตลอดระยะเวลากว่า 91 ปีในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย มีรัฐธรรมนูญมาแล้ว 20 ฉบับ แต่กลับมีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ สสร. เพียงสี่ครั้งเท่านั้น    ในจำนวนสี่ครั้ง มี สสร. จำนวนสองครั้งที่ถูกเลือกตั้งโดยสมาชิกรัฐสภา ขณะที่จำนวนอีกสองครั้งนั้นมาจากการแต่งตั้งโดยคณะรัฐประหาร ทำให้ไม่เคยมีการเลือกตั้ง สสร. เป็นการทั่วไปโดยประชาชนเลยแม้แต่ครั้งเดียว
Q&A about #Conforall campaign
อ่าน

Q&A ทุกคำถามในแคมเปญ #เขียนใหม่ทั้งฉบับเลือกตั้ง100เปอร์เซ็นต์!!!

เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2566 หลังภาคประชาชนเปิดแคมเปญ “เขียนใหม่ทั้งฉบับ เลือกตั้ง 100%” ชวนประชาชนเข้าชื่อเสนอทำประชามติต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อเป็นขั้นแรกไปสู่การเขียนรัฐธรรมนูญใหม่โดยประชาชน ตามกลไกของ พระราชบัญญัติ ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ. 2564  (พ.ร.บ.ประชามติ) ที่ต้องการรายชื่อของประชาชนผู้สนใจจะมีส่วนร่วมถึง 50,000 รายชื่อ ประชาชนจำนวนมากอาจจะสงสัยว่า ต้องทำอย่างไร หรือมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง   ไอลอว์จึงขอรวมคำถามที่พบได้บ่อยรวมไปถึงข้อมูลพื้นฐานสำคัญสำหรับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการช่วยกันเขียนรัฐธรรมนูญใหม่เอาไว้ดังนี้
drafting election system
อ่าน

แก้รัฐธรรมนูญ: สำรวจข้อเสนอ “ระบบเลือกตั้ง สสร.” ผ่านคำ แปรญัตติ

สาระสำคัญของร่างแก้รัฐธรรมนูญ ฉบับ กมธ. คือ การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ มาจากการเลือกตั้งจำนวน 200 คน โดยใช้จังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง