อ่าน

สรุปร่างรัฐธรรมนูญ: ที่มาและอำนาจของ ส.ว. แบบไม่ได้ง้อการเลือกตั้ง

หลายคนอาจจะพอทราบเรื่องที่มาของ ส.ว. 5 ปีแรกที่มาจากการแต่งตั้งโดยคสช. แต่ทว่าหลังจากนั้นที่มาของ ส.ว. จะเปลี่ยนใหม่ ให้มาจากการคัดเลือกกันเองของแต่ละกลุ่มอาชีพโดยไม่มีการเลือกตั้ง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น อำนาจของ ส.ว. ทั้งสองช่วงก็ยังคงเหมือนเดิม 
Budhism
อ่าน

สรุปร่างรัฐธรรมนูญ: กรธ. ไม่เขียน “พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ” แต่สั่งรัฐสนับสนุนเฉพาะพุทธเถรวาท

ร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ฉบับลงประชามติ ไม่เขียนให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ แต่ตัดเรื่องการเสริมสร้างความสมานฉันท์ระหว่างศาสนาออก และเขียนนวัตกรรมใหม่ให้รัฐต้องส่งเสริมและเผยแผ่หลักธรรมของพระพุทธศาสนาเถรวาท และเพิ่มข้อยกเว้นเสรีภาพในการนับถือศาสนาต้อง "ไม่เป็นอันตรายต่อความปลอดภัยของรัฐ"
Review MMA Voting system
อ่าน

สรุปร่างรัฐธรรมนูญ: รีวิว ระบบเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสมของมีชัย

ร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติของมีชัย ฤชุพันธ์ ยังยืนยันในรูปแบบที่คิดค้นขึ้นใหม่ คือระบบเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสม หรือ MMA โดยเชื่อมั่นว่าจะช่วยให้เสียงทุกเสียงมีความหมาย ขณะที่นักวิชาการพรรคการเมืองสะท้อนว่าจะส่งผลให้พรรคการเมืองอ่อนแอ เกิดรัฐบาลผสมที่ไร้เสถียรภาพ มีโอกาสที่จะซื้อเสียงมากขึ้น และไม่สะท้อนเจตนารมณ์ของผู้ออกเสียง ฯลฯ  
อ่าน

สรุปร่างรัฐธรรมนูญ: แก้ไขร่างรัฐธรรมนูญมีชัย ง่ายซะที่ไหน

การแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะมีการตั้งเงื่อนไขหลายข้อ เช่น การแก้ไขบททั่วไป หมวดพระมหากษัตริย์ การแก้ไขรัฐธรรมนูญ อำนาจหน้าที่ของศาลหรือองค์กรอิสระจะต้องผ่านการทำประชามติก่อน ส่วนขั้นตอนในการพิจารณาวาระต่างๆ ก็ต้องใช้เสียงของสมาชิกวุฒิสภา 1 ใน 3 และความเห็นชอบจากพรรคการเมืองไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 
อ่าน

สรุปร่างรัฐธรรมนูญ: ศาลรัฐธรรมนูญกับบทบาท “คนดี” ของมีชัย

หนึ่งในประเด็นที่สังคมให้ความสนใจก็คือเรื่องอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ เพราะนับตั้งแต่ร่างรัฐธรรมนูญของบวรศักดิ์ อุววรณโณ จนถึงมีชัย ฤชุพันธ์ ทั้งสองร่างให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นกลไกหนึ่งที่มีอำนาจควบคุมการบริหารประเทศ ซึ่งจะส่งผลต่อรัฐบาลต่อไปอย่างแน่นอน
Roadmap
อ่าน

สรุปร่างรัฐธรรมนูญ: เห็นร่างรัฐธรรมนูญวันนี้ สิ้นปีหน้าได้เลือกตั้ง

หลังจากที่ได้เห็นร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติแล้ว คำถามต่อไปสำหรับหลายๆ คนที่อาจมองข้ามการทำประชามติไปเลยก็คือ แล้วเมื่อไหร่จะได้เลือกตั้ง? เรารวบรวมระยะเวลาที่ใช้ในระหว่างเดินไปสู่การเลือกตั้ง จนได้ข้อสรุปว่า กว่าจะได้เลือกตั้งต้องใช้เวลาถึง 480 วัน หรือ 16 เดือน นับจากวันลงประชามติ หรือให้ชัดกว่านั้นคือ ประมาณเดือนธันวาคม 2560
อ่าน

สรุปร่างรัฐธรรมนูญ: กรธ.ไม่ ‘ขัดใจ’ ยกให้ คสช. เลือก ส.ว. 250 คนเอง

ร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติ ได้เพิ่มเติมบทเฉพาะกาล กำหนดให้สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ในวาระเริ่มแรกมี 250 คน มาจาการคัดลือกของคณะรักษาความสงบแห่งชาติเกือบทั้งหมด และมี ส.ว.โดยตำแหน่งที่เป็นผู้บัญชาการเหล่าทัพต่างๆ 6 คน ด้วยเหตุว่าจะเข้ามาประคับประคองประเทศไทยในช่วงเปลี่ยนผ่าน 5 ปี
Outside PM
อ่าน

สรุปร่างรัฐธรรมนูญ: เปิดทาง “นายกฯ คนนอก” เฉพาะคนแรกหลังเลือกตั้ง

หนึ่งในข้อถกเถียงต่อร่างรัฐธรรมนูญที่สังคมสนใจ คือ การเปิดช่องให้มีนายกรัฐมนตรีที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง หรือ 'นายกฯ คนนอก' ซึ่งเป็นประเด็นที่สัมพันธ์กับประวัติศาสตร์การต่อสู้ทางการเมืองของไทย สุดท้ายร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่จะนำไปลงประชามติก็เปิดทางให้รัฐสภาตั้ง 'นายกฯ คนนอก' ได้อีกครั้ง สำหรับการเลือกตั้งครั้งที่จะถึงครั้งเดียว  
อ่าน

สรุปร่างรัฐธรรมนูญ: กลไกการปราบ(โกง) “นักการเมือง”

วิธีการปราบโกงที่ดีเป็นอย่างไรนั้น เป็นเรื่องยากที่จะหาคำตอบ แต่ทว่าเมื่อ มีชัย ฤชุพันธ์ ในฐานะประธานกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญได้อวดสรรพคุณร่างรัฐธรรมนูญของตนว่า เป็นฉบับ "ปราบโกง" ดังนั้น มันจึงควรค่าแก่การศึกษาว่าอะไรที่เรียกว่าปราบโกง และมันมีขั้นตอนอย่างไร
Organic Law drafting
อ่าน

ร่างรธน.’มีชัย’: กรธ.ขอเวลาอีก 8 เดือน เขียนกฎหมายลูกเองทุกฉบับ

รัฐธรรมนูญทุกฉบับต้องอาศัยพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายลูกมาขยายความในรายละเอียด ซึ่งร่างรัฐธรรมนูญฉบับ 2559 กำหนดให้ร่างกฎหมายลูกอีก 10 ฉบับ และให้กรธ. มีเวลาอีกแปดเดือนเพื่อร่างเองทั้งหมด จึงนำมาสู่ข้อครหาว่าพยายามอยู่ในอำนาจต่อ โดยเอากฎหมายลูกเป็นข้ออ้าง