Meechai
อ่าน

สรุปร่างรัฐธรรมนูญ: “หมวดปฏิรูป” และ “ยุทธศาสตร์ชาติ” ภาพฝันที่ คสช. เร่ขาย

"หมวดปฏิรูป" ถูกเขียนอย่างสวยงามไว้ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติ พร้อมกำหนดให้มี "แผนยุทธศาสตร์ชาติ" ร่างโดยรัฐบาล คสช. มีผลผูกพันรัฐบาลหน้าไปด้วย แต่หากย้อนดูผลงาน คสช. ที่เคยลั่นวาจาไว้ว่าจะปฏิรูปประเทศก็ยังไม่เห็นว่าภาพฝันอันนี้จะเป็นจริงอย่างไร
senate after transition
อ่าน

สรุปร่างรัฐธรรมนูญ: ที่มาและอำนาจของ ส.ว. แบบไม่ได้ง้อการเลือกตั้ง

หลายคนอาจจะพอทราบเรื่องที่มาของ ส.ว. 5 ปีแรกที่มาจากการแต่งตั้งโดย คสช. แต่ทว่าหลังจากนั้นที่มาของ ส.ว. จะเปลี่ยนใหม่ ให้มาจากการคัดเลือกกันเองของแต่ละกลุ่มอาชีพโดยไม่มีการเลือกตั้ง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น อำนาจของ ส.ว. ทั้งสองช่วงก็ยังคงเหมือนเดิม
NCPO still in power
อ่าน

สรุปร่างรัฐธรรมนูญ: รัฐธรรมนูญผ่าน คสช.ยังอยู่ต่อเบื้องหน้าและเบื้องหลัง

แม้ว่าร่างรัฐธรรมนูญมีชัยจะผ่านการออกเสียงประชามติ ในเบื้องหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ยังจะอยู่กับเราอย่างน้อยก็ 15 เดือน และในเบื้องหลังบรรดาประกาศ/คำสั่ง และวุฒิสภาจากการแต่งตั้งโดย คสช.ยังอยู่หลังจากเลือกตั้ง
List of topics in 2015 Draft
อ่าน

สรุปร่างรัฐธรรมนูญ และคำถามพ่วง เพื่อเตรียมพร้อมก่อนลงประชามติ

สรุปรวมเนื้อหาสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับลงประชามติ ในหลากหลายประเด็น รวมทั้งคำถามพ่วง เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจลงประชามติ ในวันที่ 7 ส.ค. นี้
02
อ่าน

สรุปร่างรัฐธรรมนูญ: สิทธิทางสาธารณสุข เพิ่มสิทธิมารดา คำว่า “สิทธิเสมอกัน” หายไป

สิทธิทางด้านสาธารณสุขในร่างรัฐธรรมนูญ เป็นประเด็นที่กระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนทุกคน ขณะที่คนร่างโปรโมตร่างรัฐธรรมนูญนี้ว่า คุ้มครอง “ตั้งแต่ท้องแม่จนถึงแก่เฒ่า” ข้อกังวลของสังคมคือ ถ้าหากร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ผ่านจะเปิดทางให้ “ยกเลิกบัตรทอง” ในอนาคตหรือไม่
Budhism
อ่าน

สรุปร่างรัฐธรรมนูญ: กรธ. ไม่เขียน “พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ” แต่สั่งรัฐสนับสนุนเฉพาะพุทธเถรวาท

ร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ฉบับลงประชามติ ไม่เขียนให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ แต่ตัดเรื่องการเสริมสร้างความสมานฉันท์ระหว่างศาสนาออก และเขียนนวัตกรรมใหม่ให้รัฐต้องส่งเสริมและเผยแผ่หลักธรรมของพระพุทธศาสนาเถรวาท และเพิ่มข้อยกเว้นเสรีภาพในการนับถือศาสนาต้อง "ไม่เป็นอันตรายต่อความปลอดภัยของรัฐ"
อ่าน

สรุปร่างรัฐธรรมนูญ: ศาลรัฐธรรมนูญกับบทบาท “คนดี” ของมีชัย

หนึ่งในประเด็นที่สังคมให้ความสนใจก็คือเรื่องอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ เพราะนับตั้งแต่ร่างรัฐธรรมนูญของบวรศักดิ์ อุววรณโณ จนถึงมีชัย ฤชุพันธ์ ทั้งสองร่างให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นกลไกหนึ่งที่มีอำนาจควบคุมการบริหารประเทศ ซึ่งจะส่งผลต่อรัฐบาลต่อไปอย่างแน่นอน
Roadmap
อ่าน

สรุปร่างรัฐธรรมนูญ: เห็นร่างรัฐธรรมนูญวันนี้ สิ้นปีหน้าได้เลือกตั้ง

หลังจากที่ได้เห็นร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติแล้ว คำถามต่อไปสำหรับหลายๆ คนที่อาจมองข้ามการทำประชามติไปเลยก็คือ แล้วเมื่อไหร่จะได้เลือกตั้ง? เรารวบรวมระยะเวลาที่ใช้ในระหว่างเดินไปสู่การเลือกตั้ง จนได้ข้อสรุปว่า กว่าจะได้เลือกตั้งต้องใช้เวลาถึง 480 วัน หรือ 16 เดือน นับจากวันลงประชามติ หรือให้ชัดกว่านั้นคือ ประมาณเดือนธันวาคม 2560
อ่าน

สรุปร่างรัฐธรรมนูญ: กรธ.ไม่ ‘ขัดใจ’ ยกให้ คสช. เลือก ส.ว. 250 คนเอง

ร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติ ได้เพิ่มเติมบทเฉพาะกาล กำหนดให้สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ในวาระเริ่มแรกมี 250 คน มาจาการคัดลือกของคณะรักษาความสงบแห่งชาติเกือบทั้งหมด และมี ส.ว.โดยตำแหน่งที่เป็นผู้บัญชาการเหล่าทัพต่างๆ 6 คน ด้วยเหตุว่าจะเข้ามาประคับประคองประเทศไทยในช่วงเปลี่ยนผ่าน 5 ปี
Outside PM
อ่าน

สรุปร่างรัฐธรรมนูญ: เปิดทาง “นายกฯ คนนอก” เฉพาะคนแรกหลังเลือกตั้ง

หนึ่งในข้อถกเถียงต่อร่างรัฐธรรมนูญที่สังคมสนใจ คือ การเปิดช่องให้มีนายกรัฐมนตรีที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง หรือ 'นายกฯ คนนอก' ซึ่งเป็นประเด็นที่สัมพันธ์กับประวัติศาสตร์การต่อสู้ทางการเมืองของไทย สุดท้ายร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่จะนำไปลงประชามติก็เปิดทางให้รัฐสภาตั้ง 'นายกฯ คนนอก' ได้อีกครั้ง สำหรับการเลือกตั้งครั้งที่จะถึงครั้งเดียว