11
อ่าน

#ส่องประชามติ: กกต.แจกเพียงข้อดีร่างรัฐธรรมนูญ ประชาสัมพันธ์นอกเขตฯ ไม่ทั่วถึง

แม้ว่ากกต.จะมีแนวทางการประชาสัมพันธ์หลากหลายรูปแบบแต่จากการรวบรวมข้อมูลยังพบข้อบกพร่องบางประการที่ส่งผลให้ประชาชนจำนวนมากต้องตกขบวนรถไฟประชามติครั้งนี้
อ่าน

สรุปร่างรัฐธรรมนูญ: ตัดขั้นตอนรับฟังประชาชน ก่อนการทำข้อตกลงระหว่างประเทศ

ก่อนหน้านี้ ถ้ารัฐบาลจะลงนามในข้อตกลงระหว่างประเทศที่มีผลต่อเศรษฐกิจและสังคม ต้องให้ข้อมูลประชาชนและจัดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนประก่อนการดำเนินการ แต่ตามร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับลงประชามติ ไม่มีขั้นตอนนี้คอยบังคับรัฐบาลแล้ว
Community Rights
อ่าน

สรุปร่างรัฐธรรมนูญ: ตัด ‘สิทธิในสิ่งแวดล้อมที่ดี’ โบกมือลา องค์กรอิสระด้านสิ่งแวดล้อม

ยังมีความเห็นที่แตกต่างกันในสังคมว่า ร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับลงประชามติ จะช่วยคุ้มครองและทำให้สิทธิของชุมชนใช้ได้จริงในทางปฏิบัติมากขึ้นหรือน้อยลง เนื่องจากร่างนี้ ‘ตัดสิทธิ’ การแสดงความคิดเห็นของประชาชนต่อโครงการของรัฐ และตัดขั้นตอนการขอความเห็นชอบจากองค์กรอิสระด้านสิ่งแวดล้อมก่อนดำเนินโครงการต่างๆ 
Decentralization
อ่าน

สรุปร่างรัฐธรรมนูญ: กระจายอำนาจถอยหลัง บางท้องถิ่นไม่ต้องเลือกตั้ง และลดการมีส่วนร่วมประชาชน

ประเด็นการกระจายอำนาจเป็นสิ่งที่พัฒนาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่รัฐธรรมนูญ 2540 ถึงรัฐธรรมนูญ 2550 เป็นต้นมา ปัจจุบัน การกระจายอำนาจสู่ระดับท้องถิ่นต้องหยุดชะงักลงอย่างไม่มีกำหนด เมื่อ คสช.รัฐประหาร นอกจากนี้ในร่างรัฐธรรมนูญปี 2559 ที่จะถูกนำไปออกเสียงประชามติก็ไม่มีการบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญอย่างชัดเจนถึงการกระจายอำนาจสู่ระดับท้องถิ่น เมื่อเปรียบเทียบกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับก่อนหน้า
Cabinet
อ่าน

สรุปร่างรัฐธรรมนูญ: ตีกรอบนโยบายให้คณะรัฐมนตรีทำงานเหมือนข้าราชการประจำ

ประเด็นครม.ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับมีชัย ฤชุพันธุ์ พรรคเพื่อไทยและนักวิชาการบางส่วน วิจารณ์ว่าให้อำนาจกับองค์กรตุลาการ และองค์กรอิสระ ตรวจสอบฝ่ายรัฐบาลซึ่งมีที่มาจากประชาชนแต่งเพียงฝ่ายเดียวเท่านั้น ซึ่งขัดแย้งหลักตรวจสอบถ่วงดุล ในทางตรงข้าม กรธ.อธิบายว่าเป็นเพียงแต่เพิ่มกลไกในการตรวจสอบการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเท่านั้น
อ่าน

สรุปร่างรัฐธรรมนูญ: เมื่อที่มาองค์กรอิสระไม่เน้น “ตัวแทนประชาชน”

การทำงานขององค์กรอิสระหลายครั้งก่อให้เกิดการตั้งคำถามจากประชาชน จนมีการเรียกร้องให้องค์กรอิสระและศาลรัฐธรรมนูญยึดโยงกับประชาชนให้มากขึ้น แต่ทว่า ที่มาของ "คณะกรรมการสรรหา" ตามร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติ กลับมีสัดส่วนตัวแทนที่ยึดโยงกับประชาชนเป็นเสียงส่วนน้อยอยู่เสมอ ถึงแม้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ยังมีการเพิ่มอำนาจขององค์กรอิสระให้มากกว่าเดิมก็ตาม  
อ่าน

สรุปร่างรัฐธรรมนูญ: การศึกษาไม่เป็น “สิทธิ” รัฐต้องจัดเรียนฟรี 12 ปี จากอนุบาล 1 ถึง ม.3

ที่ผ่านมารัฐธรรมนูญของไทยรับรองสิทธิการศึกษาฟรี 12 ปี ป.1-ม.6 ร่างฉบับใหม่คงสิทธิ 12 ปีไว้เท่าเดิมแต่ให้ร่นมาเริ่มเร็วขึ้นตั้งแต่ก่อนวัยเรียน จึงจบเรียนฟรีที่ม.3 และให้มีกองทุนช่วยเหลือผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ แนวทางจัดการศึกษามุ่งให้เป็นคนดีมีวินัย ภูมิใจในชาติ 
อ่าน

สรุปร่างรัฐธรรมนูญ: สิทธิแรงงานแบบกลับไม่ได้-ไปไม่ถึง

ทันทีที่ร่างรัฐธรรมนูญมีชัยเผยโฉมออกมา มันได้ส่งแรงกระเพื่อมไปยังกลุ่มคนหลายกลุ่มในสังคม ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ กลุ่มผู้ใช้แรงงาน เนื่องจากมีความกังวลกันว่าสิทธิที่เคยได้รับการคุ้มครองในอดีตจะหายไปหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องค่าจ้างที่เป็นธรรม การจัดสวัสดิการโดยเสมอภาค และการรวมตัวกันเป็นสหภาพ
อ่าน

สรุปร่างรัฐธรรมนูญ: ประชาชนมีสิทธิถ้ากฎหมายไม่ห้าม และไม่กระทบความมั่นคง

ร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับลงประชามติ เขียนชัดเจนว่า อะไรที่ไม่ได้ห้ามไว้ในกฎหมายประชาชนมีสิทธิเสรีภาพที่จะทำได้ เท่าที่ไม่กระทบ "ความมั่นคง" เงื่อนไขจำกัดสิทธิข้อนี้ไม่เคยมีในฉบับปี 2540 และ 2550 ส่วนสถานะ "ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์" ก็ถูกจัดวางใหม่  
อ่าน

สรุปร่างรัฐธรรมนูญ: สิทธิของผู้บริโภคและการจัดตั้งองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคที่เป็นอิสระจากรัฐอาจจะยากขึ้นไปอีก

19 ปี ของความพยายามจัดตั้งองค์การคุ้มครองผู้บริโภคที่เป็นอิสระจากรัฐอาจจะต้องสะดุดลง เนื่องจากร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติ เขียนใหม่ให้การจัดตั้งองค์กรเป็นสิทธิที่จะตั้งหรือไม่ก็ได้ รวมทั้งยังย้ายการรับรู้ข้อมูลข่าวสารจาก "สิทธิ" ไปเป็นหน้าที่ของรัฐ และตัดสิทธิร้องเรียนเมื่อได้รับความเสียหายออก