31 มกราคม 2562 สภานิติบัญญัติแห่งชาติ มีมติเห็นชอบ ‘ร่าง พ.ร.บ.มาตรฐานจริยธรรม’ โดยร่างกฎหมายดังกล่าวสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญที่กำหนดให้รัฐต้องจัดให้มีมาตรฐานจริยธรรม และเพื่อให้ประมวลจริยธรรมเป็นมาตรฐานเดียวกันจึงต้องมีการออกกฎหมายนี้เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์การจัดทำ กระบวนการรักษาจริยธรรม
จริยธรรมข้าราชการ ต้องรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ซื่อสัตย์ ตั้งใจทำงาน
พ.ร.บ.มาตรฐานจริยธรรม มาตรา 5 กำหนดให้มาตรฐานจริยธรรมคือ หลักเกณฑ์การประพฤติปฏิบัติอย่างมีคุณธรรมของเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งจะต้องประกอบไปด้วย
- ยึดมั่นในสถาบันหลักของชาติ ได้แก่ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
- ซื่อสัตย์สุจริต มีจิตสำนึกที่ดี และรับผิดชอบต่อหน้าที่
- กล้าตัดสินใจและกระทำในสิ่งที่ถูกต้องชอบธรรม
- คำนึงถึงประโยชน์ส่วนร่วมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว และมีจิตสำนึก
- มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน
- ปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นธรรมและไม่เลือกปฏิบัติ
- ดำรงตนเป็นแบบอย่างที่ดีและรักษาภาพลักษณ์ของทางราชการ
ตั้งคณะกรรมการมาตรฐานจริยธรรม ให้นายกฯ เป็นประธาน
มาตรา 8 ของกฎหมายนี้กำหนดให้มีคณะกรรมการหนึ่งชุดเรียกว่า ‘คณะกรรมการมาตรฐานจริยธรรม’ หรือ “ก.ม.จ.” มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานและมีคณะกรรมโดนคำแหน่ง 6 คน ได้แก่ ผู้แทนจากคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน(ก.พ.), ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา, ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา, ข้าราชการตำรวจ, ข้าราชการส่วนท้องถิ่น และสภากลาโหม รวมถึงให้มีคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่นายกฯ แต่งตั้งอีกไม่เกิน 5 คน และให้เลขาธิการ ก.พ. เป็นกรรมการและเลขานุการ
ให้นักการเมือง ทหาร พนักงานรัฐวิสาหกิจ จัดทำจริยธรรมของตัวเอง
ก.ม.จ. มีหน้าที่ เสนอ-ส่งเสริม-ติดตาม มาตรฐานจริยธรรม
ให้หน่วยงานรัฐกำกับจริยธรรมกันเอง-ให้ องค์กรกลางฯ กำหนดหลักสูตฝึกอบรม
มาตรฐานจริยธรรมต้องทบทวนทุก 5 ปี
RELATED POSTS
No related posts