ผลพิพากษาคดีมาตรา 112 ตลอดปี 2566

ปี 2566 ศาลมีคำพิพากษาในคดีมาตรา 112 รวม 97 คดี ไม่มีเดือนไหนที่ไม่มีคำพิพากษาและเดือนตุลาคม  2566 เป็นเดือนที่ศาลมีคำพิพากษามากที่สุดคือ 16 คดี  ผลคำพิพากษาแบ่งเป็นคดีที่ศาลยกฟ้องทุกข้อหา 18 คดี คดีที่ศาลยกฟ้องมาตรา 112 แต่ลงโทษในข้อหาอื่น 5 คดี คดีที่ศาลลงโทษจำคุกไม่รอการลงโทษ 41 คดี คดีที่ศาลลงโทษบางรายยกฟ้องบางราย 2 คดี  คดีที่ศาลให้รอการลงโทษโทษจำคุกไว้ก่อน 29 คดี คดีที่รอการกำหนดโทษ 1 คดี และคดีของเยาวชนที่เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการฝึกอบรม 1 คดี  หากแบ่งเป็นชั้นศาล จะมีคดีที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา 78 คดี ศาลอุทธรณ์  16 คดี ศาลฎีกา 1 คดีและคดีที่ศาลมีคำพิพากษาชั้นต้นและอุทธรณ์ในปีเดียวกัน 2 คดี

ภาพรวมของคำพิพากษา บาส-มงคล ถิระโคตร กลายเป็นจำเลยที่มีโทษจำคุกสูงที่สุดในชุดคดีมาตรา 112 หลังการชุมนุม 2563 จากโพสต์ข้อความ 14 ข้อความ ศาลลงโทษจำคุกกรรมหรือข้อความละ 3 ปีรวม 42 ปี แต่ลดให้เหลือข้อความละ 2 ปี รวม 28 ปี  คดีส่วนใหญ่ที่มีคำพิพากษาเป็นคดีของคนทั่วไป ขณะที่คดีมาตรา 112  ของแกนนำราษฎรเริ่มทยอยมีคำพิพากษาแล้วคือ คดีมาตรา 112 ของอานนท์ นำภา จากการปราศรัยในการชุมนุมเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2563 วันที่ 26 กันยายน 2566 ศาลอาญาพิพากษาจำคุก 4 ปี ไม่รอการลงโทษ และไม่ให้ประกันตัวเขาระหว่างการอุทธรณ์นับแต่นั้น

ในปี 2567 จะมีคำพิพากษาอีกจำนวนไม่น้อยและหลายคดีจะเป็นคำพิพากษาในศาลสูง มีแนวโน้มว่าจะมีคนเข้าไปในเรือนจำมากกว่าเดิม เชิญชวนทุกคนร่วมเป็นกำลังใจให้กับเพื่อน ๆ ที่โดนคดีมาตรา 112 โดยการผูกโบว์ขาวเป็นในวันที่มีการพิพากษาเพื่อแสดงยืนยันเคียงข้างคนที่โดนคดี 112 ตลอดทั้งปี

เดือนมกราคม 2566 อย่างน้อย 7 คดี 

ลำดับ

ชั้นต้น

อุทธรณ์

ชื่อ

คำพิพากษา

1 17ม.ค. 66 สิทธิโชค เศรษฐเศวต
ถูกกล่าวหาว่าราดของเหลวคล้ายน้ำมันลงที่ฐานพระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ 10-ราชินี
จำคุก 3 ปี ตามมาตรา 112 และจำคุกอีก 6 เดือน ตามพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ให้การเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณา ลดโทษให้ 1 ใน 3 คงเหลือโทษจำคุกรวม 2 ปี 4 เดือน
2 17ม.ค. 66 ‘ไลลา’ปลดพระบรมฉายาลักษณ์ระหว่างการชุมนุมในมธ.ลำปาง ยกฟ้อง
3 25ม.ค. 66 28 พ.ย. 66 ‘นคร’
แชร์โพสต์ข้อความ 2 โพสต์
ยกฟ้อง
4-5 26ม.ค. 66 มงคล ถิระโคตร
พิจารณาร่วมกันสองคดี ได้แก่ คดีโพสต์เฟซบุ๊ก 25 ข้อความ และ 2 ข้อความ
พิพากษาว่า มีความผิด 14 กรรม จำคุกกระทงละ 3 ปี จำเลยให้การเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณา ลดโทษให้เหลือกระทงละ 2 ปี รวมโทษจำคุก 28 ปี
6 31 ม.ค. 66 แขวนป้ายผ้า “งบสถาบันกษัตริย์>วัคซีนCOVID19” ยกฟ้อง
7 31 ม.ค. 66 ‘เบนซ์’

ปลดพระบรมฉายาลักษณ์ระหว่างการชุมนุมในมธ.ลำปาง

จำคุก 3 ปี ลดโทษครึ่งหนึ่ง เหลือจำคุก 1 ปี 6 เดือน รอการลงโทษ

เดือนมกราคม 2566 คดีมาตรา 112 ของบาส-มงคล ถิระโคตรกลายเป็นคดีที่มีโทษจำคุกสูงที่สุดในยุคการชุมนุมราษฎร เป็นคดีที่เขาถูกฟ้องจากการโพสต์เฟสบุ๊ค 25 ข้อความหนึ่งคดีและโพสต์เฟสบุ๊ค 2 ข้อความอีกหนึ่งคดี ศาลพิพากษาว่าเขามีความผิด 14 กรรมจากการโพสต์ข้อความเกี่ยวกับรัชกาลที่ 10 และยกฟ้องอีก 13 กรรมที่เป็นข้อความเกี่ยวกับอดีตกษัตริย์หรือไม่สามารถระบุตัวบุคคลได้ ศาลลงโทษจำคุกกรรมละ 3 ปี แต่จำเลยให้การเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณา ลดโทษให้เหลือกรรมละ 2 ปี รวมโทษจำคุก 28 ปี

เดือนกุมภาพันธ์ 2566 อย่างน้อย 4 คดี 

ลำดับ

ชั้นต้น

ชั้นอุทธรณ์

ชื่อ

คำพิพากษา

1 15 กพ. 66

สิริชัย นาถึง
พ่นสีสเปรย์ข้อความ “ยกเลิก 112 และ “ภาษีกู” บนรูปพระราชวงศ์บริเวณย่านคลองหลวง

จำคุก 3 ปี โทษจำคุกจึงให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี
2 16 ก.พ. 66

อุกฤษฏ์ สันติประสิทธิ์กุล
แชร์โพสต์เฟซบุ๊ก 1 ข้อความ ลงในกลุ่มรอยัลลิสต์มาร์เกตเพลส

จำคุก 4 ปี จำเลยให้การรับสารภาพ ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง เหลือจำคุก 2 ปี
3 20 ก.พ. 66 24 ต.ค. 66

สุรีมาศ
แชร์ลิงก์คลิปผู้ทำพิธีขับไล่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จากกลุ่มเฟซบุ๊ก ‘รอยัลลิสต์มาร์เก็ตเพลส-ตลาดหลวง’

ยกฟ้อง
4 17 ก.พ. 65 14 ก.พ. 66

ธนพร

คอมเมนต์ท้ายโพสต์ของเพจที่เผยแพร่ภาพตัดต่อรัชกาลที่8 และ 9

ศาลชั้นต้นจำคุก 4 ปี ให้การรับสารภาพ ลดโทษเหลือ 2 ปี ให้รอการลงโทษ แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษาเปลี่ยนให้ไม่รอการลงโทษ

หนึ่งในคดีของเดือนนี้ คือ คดีก้อง-อุกฤษฏ์ สันติประสิทธิ์ นักกิจกรรมจากเครือข่ายรามคำแหงเพื่อประชาธิปไตย ถูกดำเนินคดีนี้จากการแชร์โพสต์เฟซบุ๊ก 1 ข้อความลงกลุ่มรอยัลลิสต์มาร์เก็ตเพลส ศาลจังหวัดสมุทรปราการพิพากษาจำคุก 4 ปี แต่จำเลยให้การรับสารภาพจึงลดโทษกึ่งหนึ่ง เหลือโทษจำคุก 2 ปี ไม่รอการลงโทษ

เดือนมีนาคม 2566 อย่างน้อย 9 คดี 

ลำดับ

ชั้นต้น

ชื่อ

คำพิพากษา

1

2 มี.ค. 23

สองนักศึกษาชูป้ายในคาร์ม็อบ #ด่วนนครพิงค์เจียงใหม่ไล่ขึดประยุทธ์ เมื่อวันที่1 ส.ค. 2564 จำคุก 3 ปี จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพ ลดโทษเหลือจำคุก 1 ปี 6 เดือน

2

7 มี.ค. 23

จัดจำหน่ายปฏิทินตั้งโต๊ะ รูปเป็ดเหลือง ประจำปี 2564ในเพจเฟซบุ๊ก “ราษฎร” จำคุก 3 ปี ให้การเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณา ลดโทษเหลือจำคุก 2 ปี โดยไม่รอการลงโทษ

3

13 มี.ค. 23

พรชัย วิมลศุภวงศ์
โพสต์ข้อความ รวม 4 โพสต์
จำคุกกรรมละ 3 ปี รวม 4 กรรม รวมจำคุก 12 ปี

4

14 มี.ค. 23

‘ใจ’
ทวีตรูปภาพและข้อความเกี่ยวกับรัชกาลที่ 9
จำคุก 3 ปี ให้การเป็นประโยชน์ ลดโทษ 1 ใน 3 คงจำคุก 2 ปี

5

27 มี.ค. 23

ฉัตรมงคล วัลลีย์
คอมเมนต์ข้อความในโพสต์ของเพจ “ศรีสุริโยไท”
ยกฟ้อง

6

28 มี.ค. 23

‘สมพล’
ปาสีน้ำสีแดงใส่พระบรมฉายาลักษณ์ ร.10 ในพื้นที่ สภ.ปากคลองรังสิต
ยกฟ้องมาตรา 112

7

28 มี.ค. 23

‘สมพล’
ปาสีน้ำสีแดงใส่พระบรมฉายาลักษณ์ ร.10 ในพื้นที่ สภ.เมืองปทุมธานี
ยกฟ้องมาตรา 112

8

30 มี.ค. 23

สายน้ำ
ถูกกล่าวหาแปะกระดาษ “CANCEL LAW 112” และใช้สีสเปรย์สีดำพ่นทับข้อความ “ทรงพระเจริญ” บนรูปรัชกาลที่ 10
ยกฟ้องมาตรา 112

9

30 มี.ค. 23

สองนักศึกษา ม.บูรพา ติดป้ายข้อความที่หอระเบียงหอพัก ขณะเกิดเหตุมีอายุไม่เกิน 20 ปี ให้ลดโทษ 1 ใน 3 ลงโทษจำคุกคนละ 4 ปี ให้การรับสารภาพ ลดเหลือจำคุกคนละ 2 ปี  ขณะกระทำผิดอายุยังน้อย โทษจำคุกจึงให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี

คดีที่น่าสนใจในเดือนนี้คือคดีของ ‘ต้นไม้’ เขาถูกดำเนินคดีจากการจำหน่ายปฏิทินตั้งโต๊ะรูปเป็ดเหลืองประจำปี 2564 ในเพจเฟซบีกราษฎร พยานฝ่ายโจทย์เบิกไปในทำนองเดียวกันว่าเป็ดในปฏิทินสื่อถึงรัชกาลที่ 10 เป็นการด้อยค่า หมิ่นประมาท สร้างความเสื่อมเสียศรัทธาต่อพระมหากษัตริย์ ศาลลงโทษจำคุก 3 ปี แต่จำเลยให้การเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาลดโทษจำคุกเหลือ 2 ปีโดยไม่รอการลงโทษ

เดือนเมษายน 2566 อย่างน้อย 2 คดี 

ลำดับ

ชั้นต้น

ชั้นอุทธรณ์

ชื่อ

คำพิพากษา

1

26 เม.ย. 66

ณวรรษ เลี้ยงวัฒนา

ปราศรัยในการชุมนุม#ม็อบ13กุมภา

จำคุก 3 ปี ฐานทำให้เสียทรัพย์ จำคุก 2 เดือน และปรับ 2,000 บาท ข้อหา พ.ร.บ.เครื่องขยายเสียงฯ ลงโทษปรับ 1,000 บาท ให้การรับสารภาพ ลดโทษกึ่งหนึ่ง เหลือโทษจำคุก 1 ปี 7 เดือน และปรับ 1,500 บาท เนื่องจากจำเลยกระทำการในลักษณะเดียวกันหลายคดี จึงไม่รอการลงโทษ

2

25 มี.ค. 66 27 เม.ย. 66 ‘วุฒิภัทร’

โพสต์คอมเมนต์ข้อความเกี่ยวกับ 3 จำเลยกรณีสวรรคต ร.8

ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องมาตรา 112 แต่ลงโทษตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯจำคุก 1 ปี ให้การเป็นประโยชน์ ลดโทษเหลือจำคุก 8 เดือน โดยไม่รอการลงโทษ ต่อมาศาลอุทธรณ์พิพากษากลับว่า มีความผิดตามมาตรา 112 จำคุก 5 ปี ให้การเป็นประโยชน์ ลดเหลือจำคุก 3 ปี 4 เดือน โดยไม่รอการลงโทษ

ในเดือนนี้มีนัดฟังคำพิพากษา 1 คดี เป็นคดีของ ‘วุฒิภัทร’ เขาแสดงความคิดเห็นในโพสต์เกี่ยวกับ 3 จำเลยกรณีสวรรคตของรัชกาลที่ 8 คดีนี้ถูกศาลชั้นต้นตัดสินไปแล้วในปี 2565 ศาลให้ยกฟ้องในข้อหามาตรา 112 และลงโทษตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ โดยลงโทษจำคุก 1 ปี ลดโทษเหลือ 8 เดือนโดยไม่รอการลงโทษ ถัดมาในเดือนเมษายน 2566 ศาลอุทธรณ์แก้คำพิพากษาให้มีความผิดตามมาตรา 112 เห็นว่า การดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ ย่อมกระทบต่อกษัตริย์องค์ปัจจุบันด้วย พิพากษาจำคุก 5 ปี ให้การเป็นประโยชน์ ลดโทษเหลือจำคุก 3 ปี 4 เดือน โดยไม่รอการลงโทษ

เดือนพฤษภาคม 2566 อย่างน้อย 8 คดี 

ลำดับ

ชั้นต้น

ชั้นอุทธรณ์

ชื่อ

คำพิพากษา

1 8 พ.ค. 66 รามิล-ศิวัญชลี วิธญเสรีวัฒน์
แสดง Performance Art ที่ป้ายหน้ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ยกฟ้อง
2 10 พ.ค. 66  ‘สายชล’
เผยแพร่คลิป TikTok ลิปซิงค์เพลง
จำคุก 3 ปี ให้การรับสารภาพ ลดโทษเหลือ 1 ปี 6 เดือน โทษจำคุกให้รอการลงโทษ 2 ปี
3 11 พ.ค. 66  ‘ไวรัส’
โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก 3 ข้อความ และติ๊กต็อก 2 ข้อความ มีเนื้อหาเกี่ยวกับรัชกาลที่ 9 และ 10
ลงโทษจำคุกกรรมละ3 ปี รวม 5 กระทง เป็น 15 ปี จำเลยให้การรับสารภาพ ลดโทษเหลือจำคุก 5 ปี 30 เดือน โทษจำคุกให้รอการลงโทษ 3 ปี
4 19 พ.ค. 66 เวหา แสนชนชนะศึก
ใช้ทวิตเตอร์ “ฟ้าฝา ver.เกรี้ยวกราด” ทวีตข้อความเล่าประสบการณ์การถูกคุมขังในคุกวังทวีวัฒนา
จำคุกกระทงละ 3 ปี ให้การรับสารภาพ ลดโทษเหลือกระทงละ 1 ปี 6 เดือน รวม 3 กระทง ลงโทษจำคุก 3 ปี 18 เดือน โดยไม่รอการลงโทษ
5 23 พ.ค. 66 ปาฏิหาริย์
แสดงความคิดเห็นบนโพสต์เฟซบุ๊กของ Somsak Jeamteerasakul เกี่ยวกับข่าวลือการประชวรของรัชกาลที่ 10
จำคุก 3 ปี ให้การรับสารภาพ ลดโทษลงกึ่งหนึ่ง คงจำคุก 1 ปี 6 เดือน
6 23 พ.ค. 66 ประชาชน 1 ราย
คอมเมนต์แสดงความคิดเห็นท้ายไลฟ์สดเพจ “ศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน”
จำคุก 3 ปี ให้การรับสารภาพ ลดโทษกึ่งหนึ่ง เหลือโทษจำคุก 1 ปี 6 เดือน
7 26 พ.ค. 66 สุภิสรา
โพสต์เฟซบุ๊ก 4 ข้อความ
จำคุกกรรมละ 3 ปี ให้การรับสารภาพ ลดเหลือกรรมละ 1 ปี 6 เดือน รวมจำคุก 4 ปี 24 เดือน จากรายงานสืบเสาะของแพทย์ระบุว่า ช่วงเวลาใกล้เคียง จำเลยมีอาการป่วยทางจิตในระดับสูง ควบคุมตนเองไม่ได้ จึงให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี คุมประพฤติกำหนด 1 ปี
8 4 มี.ค. 65 2 พ.ค. 66 นรินทร์

แปะสติกเกอร์ “กูkult” คาดตาบนรูปรัชกาลที่ 10

จำคุก 3 ปี ให้การเป็นประโยชน์ลดโทษจำคุก 1 ใน 3 เหลือจำคุก 2 ปี โดยไม่รอการลงโทษ ต่อมาศาลอุทธรณ์พิพากษากลับเป็นยกฟ้อง

คดีที่น่าสนใจในเดือนพฤษภาคม 2566 คือ คดีของรามิล-ศิวัญชลี วิธญเสรีวัฒน์ จากการแสดงทางศิลปะที่หน้าป้ายมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2564 โดยถูกกล่าวหาจากการแสดงท่าทางคล้ายครุฑและใช้เท้าชี้ไปที่พระบรมฉายาลักษณ์ ศาลจังหวัดเชียงใหม่พิพากษายกฟ้องเห็นว่า พยานหลักฐานโจทก์ยังชี้ไม่ได้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นการอาฆาตมาดร้าย ดูหมิ่น หรือหมิ่นประมาท อีกทั้งการแสดงของจำเลยไม่ได้เจาะจงตัวบุคคล ประกอบกับป้ายหน้ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นสถานที่ชุมนุมอยู่เป็นประจำ อีกทั้งพยานโจทก์ได้เบิกความถึงคลิปวิดีโอภาพเคลื่อนไหวซึ่งเป็นพยานหลักฐานในคดี แต่ก็ไม่ปรากฏว่า มีการนำส่งเข้ามาในการพิจารณาคดีนี้ จึงทำให้พยานหลักฐานโจทก์ยังมีข้อสงสัย

เดือนมิถุนายน 2566 อย่างน้อย 12 คดี 

ลำดับ

ชั้นต้น

ชื่อ

คำพิพากษา

1 1 มิ.ย. 66 ศิระพัทธ์ คดีโยนกรอบพระบรมฉายาลักษณ์ ยกฟ้อง
2 8 มิ.ย. 66 ภูมิ หัวลำโพงถือป้ายข้อความเรียกร้องให้ปล่อยตัวผู้ต้องขังทางการเมือง จำคุก 2 ปี (ลดมาตราส่วนเนื่องจากขณะเกิดเหตุจำเลยอายุ 18 ปีเศษ) ให้การรับสารภาพ ลดเหลือจำคุก 1 ปี โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี
3 12 มิ.ย. 66 ประสงค์ โคตรสงคราม
โพสต์เฟซบุ๊ก 2 กระทง
จำคุก 6 ปี ให้การรับสารภาพ ลดเหลือจำคุก 3 ปี ไม่รอการลงโทษ
4 13 มิ.ย. 66 ‘ธิดา’ เผยแพร่คลิป TikTok ลิปซิงค์เพลง จำคุก 3 ปี ให้การรับสารภาพ ลดโทษเหลือ 1 ปี 6 เดือน โทษจำคุกให้รอการลงโทษ 2 ปี
5 14 มิ.ย. 66 ‘พลเมือง’
ส่งข้อความในกรุ๊ปไลน์มีสมาชิก 5 คน
จำคุก 3 ปี ให้การรับสารภาพ ลดโทษเหลือ 1 ปี 6 เดือน โทษจำคุกให้รอการลงโทษ 2 ปี
6 15 มิ.ย. 66 ชูเกียรติถูกกล่าวหาแปะกระดาษที่มีข้อความ “ที่ทิ้งขยะ สิ่งปฏิกูล!” ยกฟ้อง
7 19 มิ.ย. 66 ทีปกร
โพสต์ข้อความและแชร์คลิปจากยูทูบ ตั้งคำถามและวิจารณ์กษัตริย์
จำคุก 3 ปี
8 26 มิ.ย. 66 ‘พงษ์’
โพสต์เฟซบุ๊ก 6 ข้อความ
จำคุก 18 ปี รับสารภาพ ลดโทษลงกึ่งหนึ่ง เหลือ 6 ปี 36 เดือน โทษจำคุกให้รอการลงโทษ 2 ปี
9 27 มิ.ย. 66 ชูเกียรติปราศรัยในม็อบวงเวียนใหญ่ วันที่ 6 ธ.ค. 2563 จำคุก 4 ปี ทางนำสืบจำเลยให้การเป็นประโยชน์อยู่บ้าง ลดโทษลงหนึ่งในสาม คงโทษจำคุกคนละ 2 ปี 8 เดือน
10 27 มิ.ย. 66 ‘ธัญวดี’โพสต์เฟซบุ๊กเกี่ยวกับการบินไทย จำคุก 4 ปี รับสารภาพ ลดเหลือจำคุก 2 ปี  โทษจำคุกให้รอการลงโทษ 2 ปี
11 28 มิ.ย. 66 วารุณีโพสต์ภาพตัดต่อการเปลี่ยนเครื่องทรงพระแก้วมรกต จำคุก 3 ปี รับสารภาพ ลดเหลือจำคุก 1 ปี 6 เดือน
12 29 มิ.ย. 66 ประชาชนทวีตข้อความ จำคุก 4 ปี โดยให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี

หนึ่งคดีที่ตัดสินในเดือนนี้คือคดีของคุณวารุณี จากการถูกกล่าวหาว่าผิดมาตรา 112 จากการโพสต์ภาพตัดต่อการเปลี่ยนเครื่องทรงพระแก้วมรกต วันที่ 28 มิถุนายน 2566 ศาลอาญารัชดาพิพากษาจำคุก 3 ปี จำเลยรับสารภาพ ศาลลดโทษให้เหลือ 1 ปี 6 เดือน เห็นว่าจำเลยกระทำความผิดต่อพระมหากษัตริย์อันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดไม่ได้ กระทบต่อความรู้สึกของประชาชน จำเลยมีเหตุสุขภาพจิต ไม่เป็นเหตุให้รอการลงโทษ ปัจจุบันวารุณียังถูกขังอยู่ในเรือนจำ

เดือนกรกฎาคม 2566 อย่างน้อย 5 คดี 

ลำดับ

ชั้นต้น

ชั้นอุทธรณ์

ชื่อ

คำพิพากษา

1

10 ก.ค. 66

คดีอนุชา
ชูแผ่นป้ายไวนิลขนาดใหญ่ใน #ม็อบตำรวจล้มช้าง
จำคุก 3 ปี จำเลยให้การรับสารภาพ ลดโทษลงกึ่งหนึ่ง คงจำคุก 1 ปี 6 เดือน

2

12 ก.ค. 66

เบลล์โพสต์รูปภาพถ่ายจุดต่างๆ ในพัทลุง ลงโทษจำคุกกระทงละ 1 ปี 6 เดือน รวมโทษจำคุก 2 ปี12 เดือน โดยให้เปลี่ยนจากโทษจำคุกเป็นนำตัวไปฝึกอบรมที่ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน เป็นระยะเวลา 2 ปี

3

17 ก.ค. 66

‘วัฒน์’โพสต์เฟซบุ๊กชื่นชมการทรงงานของรัชกาลที่9 แต่วิพากษ์วิจารณ์รัชกาลที่ 10 จำคุก 3 ปี จำเลยให้การรับสารภาพ ลดโทษเหลือจำคุก 1 ปี 6 เดือน ไม่รอการลงโทษ

4

20 ก.ค. 66

สายน้ำแต่งครอปท็อปเข้าร่วมเดินแฟชั่นโชว์ และเขียนข้อความบนร่างกาย จำคุก 3 ปี ขณะเกิดเหตุยังเป็นเยาวชนจึงลดโทษกึ่งหนึ่ง เหลือจำคุก 1 ปี 6 เดือน เนื่องจากให้การเป็นประโยชน์อยู่บ้าง จึงลดโทษอีก 1 ใน 3 คงเหลือโทษจำคุก 12 เดือน ให้รอการลงโทษจำคุกไว้ มีกำหนด 2 ปี และให้รายงานตัวต่อคุมประพฤติทุกๆ 3 เดือน

5

16 มี.ค. 65

26 ก.ค. 66

อิศเรศ อุดานนท์

โพสต์กรณียังไม่แต่งตั้งกษัตริย์ใหม่ หลังการสวรรคต

ยกฟ้อง

หนึ่งในคดีที่พิพากษาในเดือนกรกฎาคม 2566 คือคดีของ ‘วัฒน์’ โพสต์เฟสบุ๊คชื่นชมการทรงงานของรัชกาลที่ 9 แต่วิพากษ์วิจารณ์รัชกาลที่ 10 แม้ว่าจะชื่อชมรัชกาลที่ 9 โดยจากคำฟ้อง จำเลยโพสต์โดยมีใจความว่า จำเลยเคารพนับถือเพียงรัชกาลที่ 9 แม้จะเคยอ่านข้อมูลเรื่องสาเหตุการสวรรคตของรัชกาลที่ 8 แต่ก็เชื่อครึ่งไม่เชื่อครึ่ง และเห็นว่ารัชกาลที่ 9 ทรงทำงานหนักเพื่อประชาชน แต่จำเลยไม่เห็นว่ารัชกาลที่ 10 ได้ทรงงาน จึงไม่จำเป็นต้องเคารพ จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลพิพากษาจำคุก 3 ปี ลดโทษเหลือ 1 ปี 6 เดือน ไม่รอการลงโทษ

เดือนสิงหาคม 2566 อย่างน้อย 11 คดี

ลำดับ

ชั้นต้น

ชั้นอุทธรณ์

ชื่อ

คำพิพากษา

1 8 ส.ค. 66 ‘อาร์ม’
เผยแพร่คลิป Tiktok คุยหยอกแมว
จำคุก 3 ปี จำเลยให้การรับสารภาพ ลดโทษเหลือจำคุก 1 ปี 6 เดือน เนื่องจากมีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง และไม่เคยต้องโทษจำคุกมาก่อน จึงให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี
2 15ส.ค. 66 ‘แต้ม’ ผู้ป่วยจิตเวช
ทุบทำลายป้ายพระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ 10
ยกฟ้องมาตรา 112
3 15ส.ค. 66 ‘สมพล’
พ่นสีสเปรย์ที่มีข้อความเกี่ยวกับกษัตริย์ ทับป้ายบอกทางสองจุดในจังหวัดปทุมธานี
มาตรา 112 จำคุก 4 ปี และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จำคุก 2 ปี ปรับ 8 หมื่นบาท รวมจำคุก 6 ปี ปรับ 8 หมื่นบาท ให้การรับสารภาพ ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 3 ปี ปรับ 4 หมื่นบาท ให้รอการลงโทษจำคุกไว้ 4 ปี
4 16ส.ค. 66  ‘พชร’
โพสต์ข้อความในกลุ่มเฟซบุ๊ก “รอยัลลิสต์มาร์เกตเพลส” 2 ข้อความ
ยกฟ้อง
5 21ส.ค. 66 ธนาธร วิทยเบญจางค์
อ่านแถลงการณ์และปราศรัย ในคาร์ม็อบเชียงใหม่ “ล้านนาต้านศักดินาทัวร์”
จำเลยให้การรับสารภาพ ลงโทษจำคุก 3 ปี รับสารภาพ ลดเหลือจำคุก 1 ปี 6 เดือน
6 24ส.ค. 66 เก็ท-โสภณ สุรฤทธิ์ธำรง
ปราศรัยในกิจกรรม #ทัวร์มูล่าผัว
จำคุก 3 ปี
7 28ส.ค. 66  รามิลและเท็นแสดงงานศิลปะคล้ายธงชาติที่ไม่มีสีน้ำเงิน จำคุก 4 ปี และ พ.ร.บ.ธง จำคุก 8 เดือน ปรับคนละ 2,000 บาท ให้การเป็นประโยชน์อยู่บ้าง ลดโทษให้ 1 ใน 4 เหลือจำคุกรวม 3 ปี 6 เดือน ปรับคนละ 1,500 บาท จำเลยทั้งสองยังเป็นนักศึกษา และไม่เคยต้องโทษจำคุกมาก่อน ใหัรอการลงโทษจำคุกไว้ 3 ปี และคุมประพฤติ 2 ปี
8 29ส.ค. 66 ‘สมพล’ปาสีน้ำสีแดงใส่พระบรมฉายาลักษณ์ ร.10บริเวณหน้าห้างโลตัส สาขารังสิต ยกฟ้องมาตรา 112
9 29ส.ค. 66  ‘ปีเตอร์’
ปราศรัยเกี่ยวกับการพระราชทานยศสุนัขทรงเลี้ยง และงบสถาบันกษัตริย์
ยกฟ้อง
10 31ส.ค. 66 ปริญญาโพสต์และแชร์ข้อความ  รอการลงโทษ (ไม่มีรายละเอียดโทษและจำนวนกรรม)
11 26ก.ค. 65 30 ส.ค. 66 อุดมจากการโพสต์เฟซบุ๊๊ก 7 โพสต์ จำคุก 6 ปี จำเลยให้การเป็นประโยชน์ ลดโทษเหลือโทษจำคุก 4 ปี

คดีที่มีประเด็นน่าสนใจในเดือนสิงหาคม 2566 คือคดีของ เก็ท-โสภณ สุรฤทธิ์ธำรง จากกิจกรรมการปราศรัยใน #ทัวร์มูล่าผัว ที่บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2565 โดยจำเลยปราศรัยวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์ ศาลมองว่าเป็นการใส่ความทำให้รัชกาลที่ 10 และพระราชินิทรงเสื่อมเสียพระเกียรติยศ ถูกดูหมิ่น หรือเกลียดชัง ลงโทษจำคุก 3 ปี และลงโทษจำคุก 6 เดือนจากกข้อหาใช้เครื่องขยายเสียง ซึ่งประเด็นคือ ข้อหาจากการใช้เครื่องขยายเสียงมีโทษเพียงการปรับไม่เกิน 200 บาท ปัจจุบันเก็ตยังคงถูกขังอยู่ในเรือนจำและเป็นอีกหนึ่งคนที่จะอยู่ในเรือนจำข้ามปี

เดือนกันยายน 2566 อย่างน้อย 6 คดี

ลำดับ

ชั้นต้น

ชั้นอุทธรณ์

ชื่อ

คำพิพากษา

1

6 ก.ย.66

พิมชนก ใจหงษ์โพสต์ข้อความ ‘รัฐบาลส้นตีน สถาบันก็ส้นตีน จำคุก 3 ปี ให้การเป็นประโยชน์ ลดโทษเหลือจำคุก 2 ปี ไม่รอการลงโทษ

2

26 ก.ย.66

อานนท์ นำภาปราศรัยใน #ม็อบ14ตุลา2563 ลงโทษจำคุก 4 ปี ไม่รอการลงโทษ

3

28 ก.ย.66

วีรภาพ วงษ์สมานพ่นสีสเปรย์ข้อความปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ให้อยู่ใต้รัฐธรรมนูญบริเวณแยกดินแดง จำคุก 3 ปี ไม่รอการลงโทษ

4

28 ก.ย.66

ธีรวัช ยอดสิงห์แชร์ข้อความจากเพจ KonthaiUk เรื่องการการแต่งกายของกษัตริย์ ขณะกระทำความผิดจำเลยมีอายุไม่เกิน 20 ปี เห็นสมควรลดมาตราส่วนโทษให้หนึ่งในสาม ให้จำคุก 2 ปี 8 เดือน ให้การรับสารภาพ ลดโทษกึ่งหนึ่ง เหลือจำคุก 1 ปี 4 เดือน รอการลงโทษไว้สองปี

5

26เม.ย. 65

13 ก.ย.66

สมบัติ ทองย้อยโพสต์ “เก่งมาก กล้ามาก ขอบใจ” และข้อความกล่าวถึงการทำตัวใกล้ชิดประชาชน จำคุก 4 ปี ไม่รอการลงโทษ

6

18 ก.ค.65

27 ก.ย.66

มีชัยโพสต์วิจารณ์การใช้ภาษีของสถาบันกษัตริย์ จำเลยให้การเป็นประโยชน์ ลดโทษเหลือจำคุก 2 ปี 8 เดือน โดยไม่รอการลงโทษ           จำเลยให้การเป็นประโยชน์ ลดโทษเหลือจำคุก 2 ปี 8 เดือน โดยไม่รอการลงโทษ

เดือนกันยายนนี้เป็นเดือนที่มีนัดฟังคำพิพากษาคดีมาตรา 112 จำนวนไม่มาก แต่ไม่มีการยกฟ้องเกิดขึ้นเลยเช่นกัน คดีหนึ่งที่น่าสนใจคือคดี #ม็อบ14ตุลา2563 ทนายอานนท์ นำภา แกนนำราษฎรในการต่อสู้ช่วง 2563 และเป็นทนายในคดีการเมืองหลายคดี เขาปราศรัยในวันดังกล่าวเป็นเหตุให้ถูกดำเนินคดีตามาตรา 112 และเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2566 ศาลพิพากษาจำคุก 4 ปี ไม่รอการลงโทษ โดยศาลเห็นว่า การกระทำของจำเลยเป็นการทำให้กษัตริย์เสื่อมเสีย เจตนาของจำเลยรับฟังไม่ได้ว่าเป็นการป้องกันผู้นุมนุมหรือป้องกันเหตุการณ์สลายการชุมนุมอย่างไร พิพากษาลงโทษจำคุก 4 ปี ไม่รอการลงโทษ ปัจจุบันเขายังอยู่ในเรือนจำและถูกเบิกตัวมาดำเนินคดีในศาลทั้งในฐานะจำเลยและทนายความ เขาเป็นอีกคนหนึ่งที่ต้องอยู่ในเรือนจำข้ามปี

เดือนตุลาคม 2566 อย่างน้อย 16 คดี

ลำดับ

ชั้นต้น

ชั้นอุทธรณ์

ชื่อ

คำพิพากษา

1

4 ต.ค. 66

เซ็นเตอร์โพสต์ข้อความกรณีสลายการชุมนุมด้วยแก๊สน้ำตา กระสุนยาง และน้ำแรงดันสูงในเดือนตุลาคม 2563 รอการกำหนดโทษไว้ 2 ปี

2

10 ต.ค. 66

วรรณวลีกับพวกโพสต์ภาพที่ทั้งสามถือป้ายข้อความระหว่างการชุมนุมที่บีทีเอสสยามเมื่อวันที่ 21 พ.ย. 2563 ข้อความเฉพาะในป้ายที่วรรณวลีถือเข้าข่ายเป็นการดูหมิ่น หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์รัชกาลปัจจุบัน ลงโทษจำคุก 4 ปี ให้การเป็นประโยชน์ ลดโทษหนึ่งในสาม เหลือจำคุก 2 ปี 8 เดือน ส่วนจำเลยอีกสองรายยกฟ้อง

3

11 ต.ค. 66

“เวฟ”
แชร์โพสต์วิจารณ์เรื่องการผลิตวัคซีนของบริษัทสยามไบโอไซน์
ศาลพิพากษาจำคุก 3 ปี รับสารภาพ ลดโทษเหลือ 1 ปี 6 เดือน เห็นว่าจำเลยเป็นบุคคลที่มีความสำนึกผิด สมควรให้โอกาสกลับตัวเป็นพลเมืองดีของสังคม โทษจำคุกจึงให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี

4

19 ต.ค. 66

สหรัฐ สุขคำหล้าปราศรัยในการชุมนุมเมื่อวันที่ 21 พ.ย. 2563 ข้อความของจำเลย เป็นการกล่าวล่วงละเมิดพระมหากษัตริย์ ทำให้ประชาชนเข้าใจว่ากษัตริย์ไม่น่าเคารพ เสื่อมศรัทธา พิพากษาจำคุก 3 ปี ให้การเป็นประโยชน์ ลดเหลือจำคุก 2 ปี ไม่รอการลงโทษ

5

25 ต.ค. 66

พัชรพล
คอมเมนต์เฟซบุ๊กถึงรัฐบาลและพระมหากษัตริย์ใต้โพสต์ลงนามถวายพระพรของเพจ ‘กรมประชาสัมพันธ์’
ศาลพิพากษาจำคุก 3 ปี รับสารภาพ ลดโทษเหลือ 1 ปี 6 เดือนเมื่อจำเลยได้ให้การรับสารภาพ เห็นสมควรให้โอกาสแก่จำเลย โทษจำคุกให้รอการลงโทษเป็นระยะเวลา 3 ปี

6

25 ต.ค. 66

“ต้น”
ชูป้ายในคาร์ม็อบ #มินิด่วนนครพิงค์เชียงใหม่ไล่ประยุทธ์
ศาลพิพากษาจำคุก 3 ปี รับสารภาพ ลดโทษเหลือ 1 ปี 6 เดือน เห็นว่าจำเลยไม่เคยต้องโทษจำคุกมาก่อน เมื่อคำนึงถึงอายุ ประวัติ และเห็นว่าจำเลยสำนึกในการกระทำ โทษจำคุกจึงให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี

7

30 ต.ค. 66

เบนจา อะปัญในคาร์ม็อบ 10 ส.ค. 2564 พิพากษาตามมาตรา 112 จำคุก 3 ปี ให้การเป็นประโยชน์ ลดโทษเหลือจำคุก 2 ปี พิเคราะห์แล้วจำเลยไม่เคยต้องโทษจำคุกมาก่อน และยังศึกษาอยู่ อยู่ในวิสัยที่จะกลับตัวเป็นพลเมืองดีได้ โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี

8

30 ต.ค. 66

มงคล ถิระโคตร
โพสต์ข้อความ 2 โพสต์ วันที่ 28 และ 30 ก.ค. 2565
ลงโทษจำคุกกระทงละ 3 ปี ให้การเป็นประโยชน์ ลดเหลือกระทงละ 2 ปี และบวกโทษจำคุกในคดีส่วนตัวที่เคยให้รอการลงโทษไว้ 6 เดือน รวมจำคุก 4 ปี 6 เดือน ไม่รอการลงโทษ

9

30 ต.ค. 66

มณีขวัญ
แชร์โพสต์จากเพจ KonthaiUK 2 ข้อความ
พิพากษาจำคุกกระทงละ3 ปี รับสารภาพ ลดโทษเหลือกระทงละ 1 ปี 6 เดือน รวมจำคุก 2 ปี 12 เดือน เห็นว่าจำเลยไม่เคยต้องโทษจำคุกมาก่อน ให้โอกาสกลับตัวเป็นพลเมืองดี โทษจำคุกจึงให้รอการลงโทษไว้ 3 ปี

10

31 ต.ค. 66

เวหา แสนชนชนะศึก
แชร์โพสต์จากเพจเยาวชนปลดแอก และโพสต์ข้อความในวันขึ้นปีใหม่
ศาลพิพากษาจำคุกกระทงละ 3 ปี ให้การรับสารภาพ ลดโทษเหลือจำคุกกระทงละ 1 ปี 6 เดือน รวมโทษจำคุก 2 ปี 12 เดือน ไม่รอการลงโทษ

11

15 ธ.ค. 65

5 ต.ค. 66 พรชัยไลฟ์สดและโพสต์เฟซบุ๊ก จำคุก 3 ปี ให้การเป็นประโยชน์ ลดโทษเหลือ 2 ปี ไม่รอการลงโทษ

12

10 ต.ค. 66 ธาวินโพสต์ข้อความ ศาลอุทธรณ์ภาค 1พิพากษาแก้ โดยโทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ 5 ปี
13 2 ส.ค. 65 20 ต.ค. 66 กัลยาโพสต์ข้อความสองข้อความ พิพากษาจำคุก 6 ปี ไม่รอการลงโทษ
14 20 ก.พ. 66 24 ต.ค. 66 สุรีมาศแชร์ลิงก์คลิปผู้ทำพิธีขับไล่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จากกลุ่มเฟซบุ๊กรอยัลลิสต์มาร์เก็ตเพลส-ตลาดหลวง ยกฟ้อง
15 26 ต.ค. 65 25 ต.ค. 66 พิพัทธ์โพสต์ภาพร. 10 และเจ้าฟ้าทีปังกร ยกฟ้อง
16 6 ต.ค. 65 26 ต.ค.66 วารีจากการโพสต์เฟซบุ๊กสองโพสต์ ยกฟ้อง

คดีวรรณวลี ธรรมสัตยา และเพื่อน รวม 3 คน โพสต์ภาพที่ทั้งสามถือป้ายข้อความ ซึ่งถ่ายในระหว่างการชุมนุม #บ๊ายบายไดโนเสาร์ บริเวณสถานีบีทีเอสสยาม เมื่อวันที่ 21 พ.ย. 2563 ศาลเห็นว่าข้อความเฉพาะในป้ายที่วรรณวลีถือเข้าข่ายเป็นการดูหมิ่น หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์รัชกาลปัจจุบัน ลงโทษจำคุก 4 ปี ให้การเป็นประโยชน์ ลดโทษหนึ่งในสาม เหลือจำคุก 2 ปี 8 เดือน ส่วนจำเลยอีกสองราย ข้อความในป้ายที่ถือ ไม่ชัดเจนว่าหมายถึงบุคคลใด ทั้งจำเลยทั้งสองไม่ได้กดรับที่จำเลยที่ 1 แท็กมา ไม่ได้กดไลค์ กดแชร์ต่อ จึงยังไม่ชัดเจนว่าทั้งสองกระทำผิดตามฟ้อง พิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 2 และ 3

เดือนพฤศจิกายน 2566 อย่างน้อย 7 คดี

คดีของกิจจาจากการโพสต์เฟซบุ๊กเป็นคดีแรกเท่าที่ทราบที่มีคำตัดสินในชั้นฎีกา  คดีนี้จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุก 5 ปี รับสารภาพ ลดเหลือ 2 ปี 6 เดือน       ศาลอุทธรณ์พิพากษาลดโทษเหลือจำคุก 3 ปี ให้การรับสารภาพลดโทษเหลือ 1 ปี 6 เดือน ไม่รอการลงโทษ และศาลฎีกาพิพากษายืนตามอุทธรณ์

ลำดับ

ั้นต้น

อุทธรณ์

ฎีกา

ชื่อ

คำพิพากษา

1

7 พ.ย. 66 พอลโพสต์เฟซบุ๊ก พิพากษาจำคุก 3 ปีจำเลยให้การรับสารภาพลดโทษลงกึ่งหนึ่ง คงเหลือโทษจำคุก 1 ปี 6 เดือน โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้

2

8 พ.ย. 66 ณัฐชนนถูกกล่าวหาว่า เป็นเจ้าของหนังสือปรากฏการณ์สะท้านฟ้า ยกฟ้อง

3

20 พ.ย. 66 ‘หอมแดง’
แชร์โพสต์เฟซบุ๊ก
พิพากษาจำคุก 3 ปี รับสารภาพ ลดโทษเหลือ 1 ปี 6 เดือน โดยไม่รอการลงโทษ

4

30 พ.ย. 66 โชติช่วงถูกกล่าวหาว่าวางเพลิงพระบรมฉายาลักษณ์ พิพากษาจำคุก 3 ปี ไม่รอการลงโทษ

5

22 พ.ย.65 6 พ.ย. 66 ธนกรปราศรัยในการชุมนุม 6 ธ.ค. 2563 ขณะกระทำผิดจำเลยมีอายุ 17 ปีเศษ ลดมาตราส่วนโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุกจำเลยมีกำหนด 2 ปี แต่ให้รอการลงโทษจำคุกจำเลยไว้ 2 ปี และให้คุมประพฤติจำเลยไปตลอดระยะเวลาที่รอการลงโทษ โดยให้จำเลยไปรายงานตัวที่ศูนย์ให้คำปรึกษา 2 เดือนต่อครั้ง

6

25 ม.ค. 66 28พ.ย. 66 ‘นคร’ แชร์โพสต์สองโพสต์ ยกฟ้อง

7

3 ส.ค. 65 1 พ.ย. 66 กิจจาโพสต์เฟซบุ๊ก ศาลพิพากษาจำคุก 5ปี รับสารภาพ ลดเหลือ 2 ปี 6 เดือน            ศาลอุทธรณ์พิพากษาลดโทษเหลือจำคุก 3ปี ให้การรับสารภาพลดโทษเหลือ 1 ปี 6เดือน ไม่รอการลงโทษ และศาลฎีกาพิพากษายืนตามอุทธรณ์

เดือนธันวาคม 2566 อย่างน้อย 12 คดี

ลำดับ

ชั้นต้น

ชั้นอุทธรณ์

ชื่อ

คำพิพากษา

1

6 ธ.ค. 66

จิรวัฒน์แชร์โพสต์เฟซบุ๊ก 3 ข้อความ พิพากษาจำคุกกระทงละ 3 ปี รวมจำคุก 9 ปี จำเลยให้การเป็นประโยชน์ ลดโทษหนึ่งในสาม เหลือจำคุก 6 ปี

2

7 ธ.ค. 66

ชินวัตร จันทร์กระจ่างปราศรัยเรียกร้องปล่อยตัวนักโทษการเมืองหน้าศาลอาญากรุงเทพใต้ เมื่อวันที่ 28 ก.ค. 2565 ศาลพิพากษาจำคุก 3 ปี ให้การรับสารภาพ ลดโทษเหลือจำคุก 1 ปี 6 เดือน ไม่เคยต้องโทษจำคุก รอการลงโทษ 2 ปี

3

12 ธ.ค. 66

อติรุจ
ตะโกน “ไปไหนก็เป็นภาระ”ระหว่างมีขบวนเสด็จ
ลงโทษข้อหา ม.112 จำคุก 3 ปี และข้อหาต่อสู้ขัดขวางลงโทษจำคุก 2 เดือน ลดโทษให้กึ่งหนึ่งในข้อหา ม.112 เหลือจำคุก 1 ปี 6เดือน รวมจำคุก 1 ปี 8เดือน

4

13 ธ.ค. 66

รักชนก ศรีนอกทวีตข้อความเกี่ยวกับการผูกขาดวัคซีน และรีทวีตข้อความเกี่ยวกับกษัตริย์ ลงโทษจำคุกกระทงละ 3 ปี รวมจำคุก 6 ปี

5

13 ธ.ค. 66

ชินวัตร จันทร์กระจ่าง
ปราศรัยใน การชุมนุม #2ธันวาไปห้าแยกลาดพร้าว เมื่อวันที่ 2 ธ.ค. 2563
ศาลพิพากษาข้อหามาตรา112 จำคุก 4 ปี มาตรา 116 จำคุก 2 ปี รวมจำคุก 6 ปี ข้อหาอื่นๆ ลงโทษปรับรวม 22,000 บาท จำเลยให้การรับสารภาพ ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง เหลือจำคุก 3 ปี ปรับ 11,100 บาท

6

19 ธ.ค. 66

เวหา แสนชนชนะศึก
โพสต์ภาพและข้อความต่อกรณีคำพิพากษาคดีติดสติกเกอร์ “กูKult”
ศาลพิพากษาจำคุก 3 ปี รับสารภาพ ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง เหลือจำคุก 1 ปี 6 เดือน

7

21 ธ.ค. 66

คดีนารา
ร่วมถ่ายทำแลเผยแพร่คลิปวิดีโอโปรโมทแคมเปญลดราคาสินค้าของบริษัทLazada
ยกฟ้อง

8

27 ธ.ค. 66

เก็ทและโจเซฟปราศรัยที่วงเวียนใหญ่  พิพากษาว่า เก็ทมีความผิดตามมาตรา 112 คำปราศรัยทำให้รัชกาลที่ 10 เสื่อมเสีย ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง ลงโทษจำคุก 3 ปี ไม่รอการลงโทษและยกฟ้องโจเซฟ

9

28 ธ.ค. 66

ฟ้า พรหมศรปราศรัยหน้าศาลจังหวัดธัญบุรี ลงโทษจำเลยที่ 1 จำคุก 4ปี ให้การรับสารภาพ ลดเหลือจำคุก 2 ปี พฤติการณ์เป็นเรื่องร้ายแรง จึงไม่รอการลงโทษ

10

28 ธ.ค. 66

สุปรียา ใจแก้ว กรณีแขวนป้ายผ้า ยกฟ้อง

11

24 พ.ย. 65

7 ธ.ค. 66 ปณิธานคอมเมนต์ในโพสต์ข้อความในกลุ่มรอยัลลิสต์ มาร์เกตเพลส จำคุก 4 ปี จำเลยรับสารภาพ ลดโทษลงกึ่งหนึ่งเหลือ 2 ปี

12

21 ธ.ค. 65

15 ธ.ค. 66 ‘ชัยชนะ’ ผู้ป่วยจิตเวชโพสต์ข้อความ 4 โพสต์ ยกฟ้อง

ในเดือนธันวาคม 2566 คดีหนึ่งที่ผู้คนให้ความสนใจคือคดีของไอซ์-รักชนก ศรีนอก ที่ถูกกล่าวหาจากการทวีตข้อความเกี่ยวกับการผูกขาดวัคซีน และรีทวีตข้อความที่เป็นประวัติศาสตร์เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ ความน่าสนใจคือ ปัจจุบันรักชนกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขตบางบอน สังกัดพรรคก้าวไกล หากถูกตัดสินให้มีโทษจำคุกในวันนั้นและไม่ได้รับการประกันตัว หากเธอเข้าคุกแม้แต่เพียงไม่นาน เธอจะพ้นจากตำแหน่งจากการขาดคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญทันที ทำให้อาจจะต้องมีการเลือกตั้งซ่อมในเขตนั้น

วันที่ 13 ธันวาคม 2566 ที่ศาลอาญา ศาลพิพากษาลงโทษจำคุกกระทงละ 3 ปี รวมจำคุก 6 ปี ไม่รอการลงโทษ โดยศาลเห็นว่า ข้อความมีเนื้อหาเป็นการกล่าวร้ายและอาฆาตมาดร้ายต่อรัชกาลที่ 10 และราชวังศ์จักรี ซึ่งย่อมหมายถึงพระราชินีด้วย แม้ไม่ได้พิมพ์ URL ไว้ แต่ไม่มีเหตุให้เชื่อว่าฝ่ายโจทก์ร่วมกันแต่ง URL ขึ้นมา หรือฝ่ายจำเลยไม่ได้มีการทักท้วงหรือปฏิเสธความถูกต้องของ URL แต่อย่างไรก็ตาม หลังจากมีคำพิพากษาลงโทษจำคุก รักชนกได้รับการประกันตัวและออกมาต่อสู้ต่อในชั้นอุทธรณ์ จึงไม่มีเหตุให้พ้นจากตำแหน่งทางการเมือง

ตารางคดีมาตรา 112 ที่ศาลมีคำพิพากษาแบ่งตามชั้นศาลและเดือน

ปี 2566 ศาลมีคำพิพากษาคดีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 อย่างน้อย 97 คดี แบ่งเป็นคดีที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา 78 คดี ศาลอุทธรณ์ 16 คดี ศาลฎีกา 1 คดี และคดีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาในปีเดียวกัน 2 คดี

เดือน

ชั้นต้น

อุทธรณ์

ฎีกา

ชั้นต้นและอุทธรณ์

มกราคม

5

1

0

ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีของนคร

กุมภาพันธ์

2

1

0

ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีของสุรีมาศ

มีนาคม

9

0

0

เมษายน

1

1

0

พฤษภาคม

7

1

0

มิถุนายน

12

0

0

กรกฎาคม

4

1

0

สิงหาคม

10

1

0

กันยายน

4

2

0

ตุลาคม

10

5

0

ศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีของสุรีมาศ

พฤศจิกายน

4

1

1

ศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีของนคร

ธันวาคม

10

2

0

รวม

78

16

1

2

ตารางคดีมาตรา 112 ที่ศาลยกฟ้องทุกข้อหารวม 18 คดี

ชื่อ

ศาล

ศาลชั้นต้น

ศาลอุทธรณ์

สถานะคดี

‘ไลลา’
ปลดพระบรมฉายาลักษณ์ระหว่างการชุมนุมในมธ.ลำปาง

ศาลจังหวัดลำปาง

ยกฟ้อง

ไม่มี

ถึงที่สุด

‘นคร’
แชร์โพสต์ข้อความ 2 โพสต์

ศาลจังหวัดสมุทรปราการ

ยกฟ้อง

ไม่มี

ยังไม่ถึงที่สุด

สุรีมาศ
แชร์ลิงก์คลิปผู้ทำพิธีขับไล่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จากกลุ่มเฟซบุ๊ก ‘รอยัลลิสต์มาร์เก็ตเพลส-ตลาดหลวง’

ศาลจังหวัดกระบี่

ยกฟ้อง

ยกฟ้อง

ยังไม่ถึงที่สุด

ฉัตรมงคล วัลลีย์
คอมเมนต์ข้อความในโพสต์ของเพจ “ศรีสุริโยไท”

ศาลจังหวัดเชียงราย

ยกฟ้อง

ยังไม่มีคำพิพากษา

ยังไม่ถึงที่สุด

รามิล-ศิวัญชลี วิธญเสรีวัฒน์
แสดง Performance Art ที่ป้ายหน้ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ศาลจังหวัดเชียงใหม่

ยกฟ้อง

ยังไม่มีคำพิพากษา

ยังไม่ถึงที่สุด

ศิระพัทธ์ ดีสวัสดิ์
ปลดพระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ 10 พร้อมกรอบรูปไปจากป้อมยามหน้าหมู่บ้าน

ศาลจังหวัดนนทบุรี

ยกฟ้อง

ยังไม่มีคำพิพากษา

ยังไม่ถึงที่สุด

ชูเกียรติ แสงวงค์
ถูกกล่าวหาแปะกระดาษที่มีข้อความ “ที่ทิ้งขยะ สิ่งปฏิกูล!”

ศาลอาญา

ยกฟ้อง

ยังไม่มีคำพิพากษา

ยังไม่ถึงที่สุด

‘พชร’
โพสต์ข้อความในกลุ่มเฟซบุ๊ก “รอยัลลิสต์มาร์เกตเพลส” 2 ข้อความ

ศาลจังหวัดสมุทรปราการ

ยกฟ้อง

ยังไม่มีคำพิพากษา

ยังไม่ถึงที่สุด

‘ปีเตอร์’
ปราศรัยเกี่ยวกับการพระราชทานยศสุนัขทรงเลี้ยง และงบสถาบันกษัตริ

ศาลจังหวัดอุดรธานี

ยกฟ้อง

ยังไม่มีคำพิพากษา

ยังไม่ถึงที่สุด

ณัฐชนนถูกกล่าวหาว่า เป็นเจ้าของหนังสือปรากฏการณ์สะท้านฟ้า

ศาลจังหวัดธัญบุรี

เนื้อหาหนังสือ “ปรากฏการณ์สะท้านฟ้า” มีความผิด แต่จำเลยไม่ได้เป็นผู้ผลิตหรือครอบครอง

ยังไม่มีคำพิพากษา

ยังไม่ถึงที่สุด

นารา
ร่วมถ่ายทำแลเผยแพร่คลิปวิดีโอโปรโมทแคมเปญลดราคาสินค้าของบริษัท Lazada

ศาลอาญา

ยกฟ้อง

ยังไม่มีคำพิพากษา

ยังไม่ถึงที่สุด

สุปรียา ใจแก้ว ป้ายผ้า

ศาลจังหวัดเชียงราย

ยกฟ้อง

ยังไม่มีคำพิพากษา

ยังไม่ถึงที่สุด

แขวนป้ายผ้า “งบสถาบันกษัตริย์>วัคซีนCOVID19”

ศาลจังหวัดลำปาง

ยกฟ้อง

ไม่มี

ยังไม่ถึงที่สุด

นรินทร์
แปะสติกเกอร์ “กูkult” คาดตาบนรูปรัชกาลที่ 10

ศาลอาญา

จำคุก 3 ปี ให้การเป็นประโยชน์ลดโทษจำคุก 1 ใน 3 เหลือจำคุก 2 ปี โดยไม่รอการลงโทษ

ยกฟ้อง

ยังไม่ถึงที่สุด

อิศเรศ อุดานนท์
โพสต์กรณียังไม่แต่งตั้งกษัตริย์ใหม่ หลังการสวรรคต

ศาลจังหวัดนครพนม

ยกฟ้อง

ยกฟ้อง

ยังไม่ถึงที่สุด

วารีจากการโพสต์เฟซบุ๊กสองโพสต์

ศาลจังหวัดนราธิวาส

ยกฟ้อง

ยกฟ้อง

ยังไม่ถึงที่สุด

พิพัทธ์โพสต์ภาพร. 10 และเจ้าฟ้าทีปังกร

ศาลจังหวัดสมุทรปราการ

ยกฟ้อง

ยกฟ้อง

ยังไม่ถึงที่สุด

‘ชัยชนะ’ ผู้ป่วยจิตเวช
ถูกกล่าวหาโพสต์ข้อความ 4 โพสต์ 21 ธ.ค. 2565

ศาลจังหวัดนราธิวาส

ยกฟ้อง

ยังไม่มีคำพิพากษา

ยังไม่ถึงที่สุด

ตารางคดีที่ศาลลงโทษจำคุกตามมาตรา 112 โดยไม่รอการลงโทษ จำนวน 41 คดี

ลำดับ ชื่อ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา สถานะโทษ สถานะคดี
1 สิทธิโชค เศรษฐเศวต
ถูกกล่าวหาว่าราดของเหลวคล้ายน้ำมันลงที่ฐานพระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ 10-ราชินี
จำคุก 3 ปี ตามมาตรา 112 และจำคุกอีก 6 เดือน ตามพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯให้การเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณา ลดโทษให้ 1 ใน 3 คงเหลือโทษจำคุกรวม2 ปี 4 เดือน ยังไม่มีคำพิพากษา ไม่รอการลงโทษ ยังไม่ถึงที่สุด
มงคล ถิระโคตร
พิจารณาร่วมกันสองคดี ได้แก่ คดีโพสต์เฟซบุ๊ก 25 ข้อความ และ 2 ข้อความ
จำคุกกระทงละ 3 ปี จำเลยให้การเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณา ลดโทษให้เหลือกระทงละ 2 ปีรวมโทษจำคุก 28 ปี ยังไม่มีคำพิพากษา ไม่รอการลงโทษ ยังไม่ถึงที่สุด
4 จัดจำหน่ายปฏิทินตั้งโต๊ะ รูปเป็ดเหลือง ประจำปี 2564 ในเพจเฟซบุ๊ก “ราษฎร” จำคุก 3 ปี ให้การเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณา ลดโทษเหลือจำคุก 2 ปี โดยไม่รอการลงโทษ ไม่มี ไม่รอการลงโทษ ยังไม่ถึงที่สุด
5 พรชัย วิมลศุภวงศ์
โพสต์ข้อความ รวม 4 โพสต์
จำคุกกรรมละ 3 ปี รวม 4 กรรม รวมจำคุก 12 ปี ยังไม่มีคำพิพากษา ไม่รอการลงโทษ ยังไม่ถึงที่สุด
6 “ใจ”
ทวีตรูปภาพและข้อความเกี่ยวกับรัชกาลที่ 9
จำคุก 3 ปี ให้การเป็นประโยชน์ ลดโทษ 1 ใน 3 คงจำคุก 2 ปี ยังไม่มีคำพิพากษา ไม่รอการลงโทษ ยังไม่ถึงที่สุด
7 ทีปกร
โพสต์ข้อความและแชร์คลิปจากยูทูบ ตั้งคำถามและวิจารณ์กษัตริย์
จำคุก 3 ปี ยังไม่มีคำพิพากษา ไม่รอการลงโทษ ยังไม่ถึงที่สุด
8 ชูเกียรติ
ปราศรัยในม็อบวงเวียนใหญ่ วันที่ 6 ธ.ค. 2563
จำคุก 4 ปี ทางนำสืบจำเลยให้การเป็นประโยชน์อยู่บ้าง ลดโทษลงหนึ่งในสาม คงโทษจำคุกคนละ 2 ปี 8 เดือน ยังไม่มีคำพิพากษา ไม่รอการลงโทษ ยังไม่ถึงที่สุด
9 ธนาธร วิทยเบญจางค์
อ่านแถลงการณ์และปราศรัย ในคาร์ม็อบเชียงใหม่ “ล้านนาต้านศักดินาทัวร์”
จำเลยให้การรับสารภาพ ลงโทษจำคุก 3 ปี รับสารภาพ ลดเหลือจำคุก 1 ปี 6 เดือน ยังไม่มีคำพิพากษา ไม่รอการลงโทษ ยังไม่ถึงที่สุด
10 “เก็ท” โสภณ สุรฤทธิ์ธำรง
ปราศรัยในกิจกรรม #ทัวร์มูล่าผัว
จำคุก 3 ปี ยังไม่มีคำพิพากษา ไม่รอการลงโทษ ยังไม่ถึงที่สุด
11 พิมชนก ใจหงษ์
โพสต์ข้อความ‘รัฐบาลส้นตีน สถาบันก็ส้นตีน
จำคุก 3 ปี ให้การเป็นประโยชน์ ลดโทษเหลือจำคุก 2 ปี ไม่รอการลงโทษ ยังไม่มีคำพิพากษา ไม่รอการลงโทษ ยังไม่ถึงที่สุด
12 อานนท์ นำภา
ปราศรัยใน#ม็อบ14ตุลา2563
ลงโทษจำคุก 4 ปี ไม่รอการลงโทษ ยังไม่มีคำพิพากษา ไม่รอการลงโทษ ยังไม่ถึงที่สุด
13 วีรภาพ วงษ์สมาน
พ่นสีสเปรย์ข้อความปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ให้อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ
บริเวณแยกดินแดง
จำคุก 3 ปี ไม่รอการลงโทษ ยังไม่มีคำพิพากษา ไม่รอการลงโทษ ยังไม่ถึงที่สุด
14 อุกฤษฏ์ สันติประสิทธิ์กุล
แชร์โพสต์เฟซบุ๊ก1 ข้อความ ลงในกลุ่มรอยัลลิสต์มาร์เกตเพลส
จำคุก 4 ปี จำเลยให้การรับสารภาพ ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง เหลือจำคุก 2 ปี ยังไม่มีคำพิพากษา ไม่รอการลงโทษ ยังไม่ถึงที่สุด
15 ณวรรษ เลี้ยงวัฒนา
ปราศรัยในการชุมนุม#ม็อบ13กุมภา
 จำคุก 3 ปี ฐานทำให้เสียทรัพย์ จำคุก 2 เดือน และปรับ2,000 บาท ข้อหา พ.ร.บ.เครื่องขยายเสียงฯ ลงโทษปรับ 1,000 บาท ให้การรับสารภาพ ลดโทษกึ่งหนึ่ง เหลือโทษจำคุก 1 ปี 7 เดือน และปรับ 1,500 บาทเนื่องจากจำเลยกระทำการในลักษณะเดียวกันหลายคดี จึงไม่รอการลงโทษ ยังไม่มีคำพิพากษา ไม่รอการลงโทษ ยังไม่ถึงที่สุด
16 เวหา แสนชนชนะศึก
ใช้ทวิตเตอร์ “ฟ้าฝา ver.เกรี้ยวกราด” ทวีตข้อความเล่าประสบการณ์การถูกคุมขังในคุกวังทวีวัฒนา
จำคุกกระทงละ 3 ปี ให้การรับสารภาพ ลดโทษเหลือกระทงละ 1 ปี 6 เดือน รวม 3 กระทง ลงโทษจำคุก 3 ปี 18 เดือน โดยไม่รอการลงโทษ ยังไม่มีคำพิพากษา ไม่รอการลงโทษ ยังไม่ถึงที่สุด
17 ปาฏิหาริย์
แสดงความคิดเห็นบนโพสต์เฟซบุ๊กของ Somsak Jeamteerasakul เกี่ยวกับข่าวลือการประชวรของรัชกาลที่ 10
จำคุก 3 ปี ให้การรับสารภาพ ลดโทษลงกึ่งหนึ่ง คงจำคุก 1 ปี 6 เดือน ยังไม่มีคำพิพากษา ไม่รอการลงโทษ ยังไม่ถึงที่สุด
18 ประชาชน 1 ราย
คอมเมนต์แสดงความคิดเห็นท้ายไลฟ์สดเพจ “ศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน”
จำคุก 3 ปี ให้การรับสารภาพ ลดโทษกึ่งหนึ่ง เหลือโทษจำคุก 1 ปี 6 เดือน ยังไม่มีคำพิพากษา ไม่รอการลงโทษ ยังไม่ถึงที่สุด
19 ประสงค์ โคตรสงคราม
โพสต์เฟซบุ๊ก 2 กระทง
จำคุก 6 ปี ให้การรับสารภาพ ลดเหลือจำคุก 3 ปี ไม่รอการลงโทษ ยังไม่มีคำพิพากษา ไม่รอการลงโทษ ยังไม่ถึงที่สุด
20 วารุณี
โพสต์ภาพตัดต่อการเปลี่ยนเครื่องทรงพระแก้วมรกต
จำคุก 3 ปี รับสารภาพ ลดเหลือจำคุก 1 ปี 6 เดือน ยังไม่มีคำพิพากษา ไม่รอการลงโทษ ยังไม่ถึงที่สุด
21 คดีอนุชา
ชูแผ่นป้ายไวนิลขนาดใหญ่ใน#ม็อบตำรวจล้มช้าง
จำคุก 3 ปี จำเลยให้การรับสารภาพ ลดโทษลงกึ่งหนึ่ง คงจำคุก 1 ปี 6 เดือน ยังไม่มีคำพิพากษา ไม่รอการลงโทษ ยังไม่ถึงที่สุด
22 “วัฒน์”
โพสต์เฟซบุ๊กชื่นชมการทรงงานของรัชกาลที่ 9 แต่วิพากษ์วิจารณ์รัชกาลที่ 10
จำคุก 3 ปี จำเลยให้การรับสารภาพ ลดโทษเหลือจำคุก 1 ปี 6 เดือน ไม่รอการลงโทษ ยังไม่มีคำพิพากษา ไม่รอการลงโทษ ยังไม่ถึงที่สุด
23 สหรัฐ สุขคำหล้าปราศรัยในการชุมนุมเมื่อวันที่ 21 พ.ย. 2563 ข้อความของจำเลยเป็นการกล่าวล่วงละเมิดพระมหากษัตริย์ ทำให้ประชาชนเข้าใจว่ากษัตริย์ไม่น่าเคารพเสื่อมศรัทธา พิพากษาจำคุก 3 ปี ให้การเป็นประโยชน์ ลดเหลือจำคุก 2 ปีไม่รอการลงโทษ ยังไม่มีคำพิพากษา ไม่รอการลงโทษ ยังไม่ถึงที่สุด
24 มงคล ถิระโคตร
โพสต์ข้อความ 2 โพสต์ วันที่ 28 และ 30 ก.ค. 2565
ลงโทษจำคุกกระทงละ 3 ปี ให้การเป็นประโยชน์ ลดเหลือกระทงละ 2 ปี และบวกโทษจำคุกในคดีส่วนตัวที่เคยให้รอการลงโทษไว้ 6 เดือน รวมจำคุก 4 ปี 6 เดือน ยังไม่มีคำพิพากษา ไม่รอการลงโทษ ยังไม่ถึงที่สุด
25 ‘โชติช่วง’
ถูกกล่าวหาว่าวางเพลิงพระบรมฉายาลักษณ์
มีเจตนาวางเพลิงเผาทรัพย์ทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์เกิดความเสื่อมเสียลงโทษตามมาตรา 112 จำคุก 3 ปี ยังไม่มีคำพิพากษา ไม่รอการลงโทษ ยังไม่ถึงที่สุด
26 จิรวัฒน์แชร์โพสต์เฟซบุ๊ก3 ข้อความ พิพากษาจำคุกกระทงละ 3 ปี รวมจำคุก 9 ปี จำเลยให้การเป็นประโยชน์ ลดโทษหนึ่งในสาม เหลือจำคุก 6 ปี ยังไม่มีคำพิพากษา ไม่รอการลงโทษ ยังไม่ถึงที่สุด
27 รักชนก ศรีนอกทวีตข้อความเกี่ยวกับการผูกขาดวัคซีน และรีทวีตข้อความเกี่ยวกับกษัตริย์ ลงโทษจำคุกกระทงละ 3 ปี รวมจำคุก 6 ปี ยังไม่มีคำพิพากษา ไม่รอการลงโทษ ยังไม่ถึงที่สุด
28 ฟ้า พรหมศรปราศรัยหน้าศาลจังหวัดธัญบุรี ลงโทษจำเลยที่ 1 จำคุก 4 ปี ให้การรับสารภาพ ลดเหลือจำคุก 2 ปี พฤติการณ์เป็นเรื่องร้ายแรง จึงไม่รอการลงโทษ ยังไม่มีคำพิพากษา ไม่รอการลงโทษ ยังไม่ถึงที่สุด
29 ‘หอมแดง’ แชร์โพสต์เฟซบุ๊ก ศาลพิพากษาจำคุก 3 ปี รับสารภาพ ลดโทษเหลือ 1 ปี 6 เดือน โดยไม่รอการลงโทษ ยังไม่มีคำพิพากษา ไม่รอการลงโทษ ยังไม่ถึงที่สุด
30 อติรุจตะโกน “ไปไหนก็เป็นภาระ” ระหว่างมีขบวนเสด็จ ลงโทษข้อหา ม.112 จำคุก 3 ปี และข้อหาต่อสู้ขัดขวางลงโทษจำคุก 2 เดือน ลดโทษให้กึ่งหนึ่งในข้อหา ม.112 เหลือจำคุก 1 ปี 6 เดือน รวมจำคุก 1 ปี 8 เดือน ยังไม่มีคำพิพากษา ไม่รอการลงโทษ ยังไม่ถึงที่สุด
31 ชินวัตร จันทร์กระจ่างปราศรัยใน การชุมนุม #2ธันวาไปห้าแยกลาดพร้าว เมื่อวันที่ 2 ธ.ค. 2563 ศาลพิพากษาข้อหามาตรา 112 จำคุก 4 ปี มาตรา 116 จำคุก 2 ปี รวมจำคุก 6 ปี ข้อหาอื่นๆ ลงโทษปรับรวม 22,000 บาท จำเลยให้การรับสารภาพ ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง เหลือจำคุก 3 ปี ปรับ 11,100 บาท ยังไม่มีคำพิพากษา ไม่รอการลงโทษ ยังไม่ถึงที่สุด
32 เวหา แสนชนชนะศึกโพสต์ภาพและข้อความต่อกรณีคำพิพากษาคดีติดสติกเกอร์ “กูKult” ศาลพิพากษาจำคุก 3 ปี รับสารภาพ ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง เหลือจำคุก 1 ปี 6 เดือน ยังไม่มีคำพิพากษา ไม่รอการลงโทษ ยังไม่ถึงที่สุด
33 ‘วุฒิภัทร’โพสต์คอมเมนต์ข้อความเกี่ยวกับ3 จำเลยกรณีสวรรคต ร.8 จำคุก 1 ปี ให้การเป็นประโยชน์ ลดโทษเหลือจำคุก 8 เดือน โดยไม่รอการลงโทษ (ไม่ลง 112) จำคุก 5 ปี ให้การเป็นประโยชน์ ลดเหลือจำคุก 3 ปี 4 เดือน โดยไม่รอการลงโทษ ไม่รอการลงโทษ ยังไม่ถึงที่สุด
34 สมบัติ ทองย้อยโพสต์ “เก่งมาก กล้ามาก ขอบใจ” และข้อความกล่าวถึงการทำตัวใกล้ชิดประชาชน จำคุก 6 ปี จำคุก 4 ปี ไม่รอการลงโทษ ยังไม่ถึงที่สุด
35 มีชัยโพสต์วิจารณ์การใช้ภาษีของสถาบันกษัตริย์ จำเลยให้การเป็นประโยชน์ ลดโทษเหลือจำคุก 2 ปี 8 เดือน โดยไม่รอการลงโทษ จำเลยให้การเป็นประโยชน์ลดโทษเหลือจำคุก 2 ปี 8 เดือน โดยไม่รอการลงโทษ ไม่รอการลงโทษ ยังไม่ถึงที่สุด
36 อุดมจากการโพสต์เฟซบุ๊ก 7 โพสต์ จำคุก 6 ปี จำเลยให้การเป็นประโยชน์ ลดโทษเหลือโทษจำคุก 4 ปี จำคุก 6 ปี จำเลยให้การเป็นประโยชน์ ลดโทษเหลือโทษจำคุก 4 ปี ไม่รอการลงโทษ ยังไม่ถึงที่สุด
37 กัลยาโพสต์ข้อความสองข้อความ จำคุก 6 ปี จำคุก 6 ปี ไม่รอการลงโทษ ยังไม่ถึงที่สุด
38 พรชัยไลฟ์สดและโพสต์เฟซบุ๊ก จำคุก 3 ปี ให้การเป็นประโยชน์ ลดโทษเหลือ 2 ปี จำคุก 3 ปี ให้การเป็นประโยชน์ ลดโทษเหลือ 2 ปี ไม่รอการลงโทษ ยังไม่ถึงที่สุด
39 ปณิธานคอมเมนต์ในโพสต์ข้อความในกลุ่มรอยัลลิสต์ มาร์เกตเพลส จำคุก 4 ปี จำเลยรับสารภาพ ลดโทษลงกึ่งหนึ่งเหลือ 2 ปี ยังไม่มีคำพิพากษา ไม่รอการลงโทษ ยังไม่ถึงที่สุด
40 ธนพรคอมเมนต์ท้ายโพสต์ของเพจที่เผยแพร่ภาพตัดต่อรัชกาลที่ 8 และ 9 จำคุก 4 ปี ให้การรับสารภาพ ลดโทษเหลือ 2 ปี ให้รอการลงโทษ จำคุก 4 ปี ให้การรับสารภาพ ลดโทษเหลือ 2 ปี ไม่ให้รอการลงโทษ ไม่รอการลงโทษ ยังไม่ถึงที่สุด
41 กิจจาโพสต์เฟซบุ๊ก จำคุก 5 ปี รับสารภาพ ลดเหลือ 2 ปี 6 เดือน ศาลอุทธรณ์พิพากษาลดโทษเหลือจำคุก 3 ปี ให้การรับสารภาพลดโทษเหลือ 1 ปี 6 เดือน ไม่รอการลงโทษ ยืนตามอุทธรณ์ ไม่รอการลงโทษ ถึงที่สุด

ตารางคดีที่ศาลให้รอการลงโทษการจำคุกไว้ก่อนจำนวน 29 คดี

ลำดับ ชื่อ ศาล ประเภท ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์
1 สิริชัย นาถึง
พ่นสีสเปรย์ข้อความ “ยกเลิก 112 และ “ภาษีกู” บนรูปพระราชวงศ์บริเวณย่านคลองหลวง
ศาลจังหวัดธัญบุรี สู้คดี จำคุก 3 ปี โทษจำคุกจึงให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี ยังไม่มีคำพิพากษา
2 ‘ไวรัส’โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก 3 ข้อความ และติ๊กต็อก 2 ข้อความ มีเนื้อหาเกี่ยวกับรัชกาลที่ 9 และ 10 ศาลอาญา สู้คดี ลงโทษจำคุกกรรมละ 3 ปี รวม 5 กระทง เป็น 15 ปี จำเลยให้การรับสารภาพ ลดโทษเหลือจำคุก 5 ปี 30 เดือน โทษจำคุกให้รอการลงโทษ 3 ปี ยังไม่มีคำพิพากษา
3 สายน้ำแต่งครอปท็อปเข้าร่วมเดินแฟชั่นโชว์ และเขียนข้อความบนร่างกาย ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง สู้คดี จำคุก 3 ปี ขณะเกิดเหตุยังเป็นเยาวชนจึงลดโทษกึ่งหนึ่ง เหลือจำคุก 1 ปี 6 เดือน เนื่องจากให้การเป็นประโยชน์อยู่บ้าง จึงลดโทษอีก 1 ใน 3 คงเหลือโทษจำคุก 12 เดือน ให้รอการลงโทษจำคุกไว้ มีกำหนด 2 ปี และให้รายงานตัวต่อคุมประพฤติทุกๆ 3 เดือน ยังไม่มีคำพิพากษา
4 รามิลแสดงงานศิลปะคล้ายธงชาติที่ไม่มีสีน้ำเงิน ศาลจังหวัดเชียงใหม่ สู้คดี จำคุก 4 ปี และ พ.ร.บ.ธง จำคุก 8 เดือน ปรับคนละ 2,000 บาท ให้การเป็นประโยชน์อยู่บ้าง ลดโทษให้ 1 ใน 4 เหลือจำคุกรวม 3 ปี 6 เดือน ปรับคนละ 1,500 บาทจำเลยทั้งสองยังเป็นนักศึกษา และไม่เคยต้องโทษจำคุกมาก่อน ใหัรอการลงโทษจำคุกไว้ 3 ปี และคุมประพฤติ 2 ปี ยังไม่มีคำพิพากษา
5 ‘ปริญญา’โพสต์และแชร์ข้อความ ศาลจังหวัดหนองบัวลำภู สู้คดี ยังไม่มีคำพิพากษา
6 สองนักศึกษาชูป้ายในคาร์ม็อบ #ด่วนนครพิงค์เจียงใหม่ไล่ขึดประยุทธ์ เมื่อวันที่ 1 ส.ค. 2564 ศาลจังหวัดเชียงใหม่ รับสารภาพ จำคุก 3 ปี จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพ ลดโทษเหลือจำคุก 1 ปี 6 เดือน ยังไม่มีคำพิพากษา
7 สองนักศึกษา ม.บูรพา ติดป้ายข้อความที่หอระเบียงหอพัก ศาลจังหวัดชลบุรี รับสารภาพ ขณะเกิดเหตุมีอายุไม่เกิน 20 ปี ให้ลดโทษ 1 ใน 3 ลงโทษจำคุกคนละ 4 ปี ให้การรับสารภาพ ลดเหลือจำคุกคนละ 2 ปี  ขณะกระทำผิดอายุยังน้อย โทษจำคุกจึงให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี ยังไม่มีคำพิพากษา
8 ‘สายชล’ เผยแพร่คลิป TikTok ลิปซิงค์เพลง ศาลจังหวัดกำแพงเพชร รับสารภาพ จำคุก 3 ปี ให้การรับสารภาพ ลดโทษเหลือ 1 ปี 6 เดือน โทษจำคุกให้รอการลงโทษ 2 ปี ยังไม่มีคำพิพากษา
9 สุภิสราโพสต์เฟซบุ๊ก 4 ข้อความ ศาลอาญา รับสารภาพ จำคุกกรรมละ 3 ปี ให้การรับสารภาพ ลดเหลือกรรมละ 1 ปี 6 เดือน รวมจำคุก 4 ปี 24 เดือน จากรายงานสืบเสาะของแพทย์ระบุว่า ช่วงเวลาใกล้เคียงจำเลยมีอาการป่วยทางจิตในระดับสูง ควบคุมตนเองไม่ได้ จึงให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี คุมประพฤติกำหนด 1 ปี ยังไม่มีคำพิพากษา
10 ภูมิ หัวลำโพงถือป้ายข้อความเรียกร้องให้ปล่อยตัวผู้ต้องขังทางการเมือง ศาลอาญา รับสารภาพ จำคุก 2 ปี (ลดมาตราส่วนเนื่องจากขณะเกิดเหตุจำเลยอายุ 18 ปีเศษ) ให้การรับสารภาพ ลดเหลือจำคุก 1 ปี โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี ยังไม่มีคำพิพากษา
11 ‘ธิดา’ เผยแพร่คลิป TikTok ลิปซิงค์เพลง ศาลจังหวัดกำแพงเพชร รับสารภาพ จำคุก 3 ปี ให้การรับสารภาพ ลดโทษเหลือ 1 ปี 6 เดือน โทษจำคุกให้รอการลงโทษ 2 ปี ยังไม่มีคำพิพากษา
12 ‘พลเมือง’ส่งข้อความในกรุ๊ปไลน์มีสมาชิก 5 คน ศาลจังหวัดกำแพงเพชร รับสารภาพ จำคุก 3 ปี ให้การรับสารภาพ ลดโทษเหลือ 1 ปี 6 เดือน โทษจำคุกให้รอการลงโทษ 2 ปี ยังไม่มีคำพิพากษา
13  ‘พงษ์’ โพสต์เฟซบุ๊ก 6 ข้อความ ศาลอาญา รับสารภาพ จำคุก 18 ปี รับสารภาพ ลดโทษลงกึ่งหนึ่ง เหลือ 6 ปี 36 เดือน โทษจำคุกให้รอการลงโทษ 2 ปี ยังไม่มีคำพิพากษา
14  ธัญวดีโพสต์เฟซบุ๊กเกี่ยวกับการบินไทย ศาลอาญา รับสารภาพ จำคุก 4 ปี รับสารภาพ ลดเหลือจำคุก 2 ปี  โทษจำคุกให้รอการลงโทษ 2 ปี ยังไม่มีคำพิพากษา
15 ประชาชนทวีตข้อความ ศาลอาญากรุงเทพใต้ รับสารภาพ จำคุก 4 ปี โดยให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี ยังไม่มีคำพิพากษา
16 ‘อาร์ม’เผยแพร่คลิป Tiktok คุยหยอกแมว ศาลจังหวัดกำแพงเพชร รับสารภาพ จำคุก 3 ปี จำเลยให้การรับสารภาพ ลดโทษเหลือจำคุก 1 ปี 6 เดือน เนื่องจากมีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง และไม่เคยต้องโทษจำคุกมาก่อน จึงให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี ยังไม่มีคำพิพากษา
17 สมพลพ่นสีสเปรย์ที่มีข้อความเกี่ยวกับกษัตริย์ ทับป้ายบอกทางสองจุดในจังหวัดปทุมธานี ศาลจังหวัดธัญบุรี รับสารภาพ มาตรา 112 จำคุก 4 ปี และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จำคุก 2 ปี ปรับ 8 หมื่นบาท รวมจำคุก 6 ปี ปรับ 8 หมื่นบาท ให้การรับสารภาพ ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 3 ปี ปรับ 4 หมื่นบาท ให้รอการลงโทษจำคุกไว้ 4 ปี ยังไม่มีคำพิพากษา
18 ธีรวัช ยอดสิงห์แชร์ข้อความจากเพจ KonthaiUkเรื่องการการแต่งกายของกษัตริย์ ศาลจังหวัดสมุทรปราการ รับสารภาพ ขณะกระทำความผิดจำเลยมีอายุไม่เกิน 20 ปี เห็นสมควรลดมาตราส่วนโทษให้หนึ่งในสาม ให้จำคุก 2 ปี 8 เดือน ให้การรับสารภาพ ลดโทษกึ่งหนึ่ง เหลือจำคุก 1 ปี 4 เดือน รอการลงโทษไว้สองปี ยังไม่มีคำพิพากษา
19 เบนจา อะปัญในคาร์ม็อบ 10 ส.ค. 2564 ศาลอาญากรุงเทพใต้ สู้คดี พิพากษาตามมาตรา112 จำคุก 3 ปี ให้การเป็นประโยชน์ ลดโทษเหลือจำคุก 2 ปีพิเคราะห์แล้วจำเลยไม่เคยต้องโทษจำคุกมาก่อน และยังศึกษาอยู่อยู่ในวิสัยที่จะกลับตัวเป็นพลเมืองดีได้ โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี ยังไม่มีคำพิพากษา
20 เวฟแชร์โพสต์วิจารณ์เรื่องการผลิตวัคซีนของบริษัทสยามไบโอไซน์ ศาลอาญา รับสารภาพ ศาลพิพากษาจำคุก 3 ปี รับสารภาพ ลดโทษเหลือ 1 ปี 6 เดือน เห็นว่าจำเลยเป็นบุคคลที่มีความสำนึกผิด สมควรให้โอกาสกลับตัวเป็นพลเมืองดีของสังคม โทษจำคุกจึงให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี ยังไม่มีคำพิพากษา
21 พัชรพลคอมเมนต์เฟซบุ๊กถึงรัฐบาลและพระมหากษัตริย์ใต้โพสต์ลงนามถวายพระพรของเพจ ‘กรมประชาสัมพันธ์’ ศาลอาญาตลิ่งชัน รับสารภาพ ศาลพิพากษาจำคุก 3 ปี รับสารภาพ ลดโทษเหลือ 1 ปี 6 เดือนเมื่อจำเลยได้ให้การรับสารภาพ เห็นสมควรให้โอกาสแก่จำเลย โทษจำคุกให้รอการลงโทษเป็นระยะเวลา 3 ปี ยังไม่มีคำพิพากษา
22 ‘ต้น’ชูป้ายในคาร์ม็อบ #มินิด่วนนครพิงค์เชียงใหม่ไล่ประยุทธ์ ศาลจังหวัดเชียงใหม่ รับสารภาพ ศาลพิพากษาจำคุก 3 ปี รับสารภาพ ลดโทษเหลือ 1 ปี 6 เดือน เห็นว่าจำเลยไม่เคยต้องโทษจำคุกมาก่อน เมื่อคำนึงถึงอายุ ประวัติ และเห็นว่าจำเลยสำนึกในการกระทำ โทษจำคุกจึงให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี ยังไม่มีคำพิพากษา
23 มณีขวัญ
แชร์โพสต์จากเพจ KonthaiUK 2 ข้อความ
ศาลจังหวัดสมุทรปราการ รับสารภาพ าลพิพากษาจำคุกกระทงละ 3 ปี รับสารภาพ ลดโทษเหลือกระทงละ 1 ปี 6 เดือน รวมจำคุก 2 ปี 12 เดือน เห็นว่าจำเลยไม่เคยต้องโทษจำคุกมาก่อน ให้โอกาสกลับตัวเป็นพลเมืองดี โทษจำคุกจึงให้รอการลงโทษไว้ 3 ปี ยังไม่มีคำพิพากษา
24 เวหา แสนชนชนะศึก
แชร์โพสต์จากเพจเยาวชนปลดแอก และโพสต์ข้อความในวันขึ้นปีใหม่
ศาลอาญา รับสารภาพ ศาลพิพากษาจำคุกกระทงละ 3 ปี ให้การรับสารภาพ ลดโทษเหลือจำคุกกระทงละ 1 ปี 6 เดือน รวมโทษจำคุก 2 ปี 12 เดือน ยังไม่มีคำพิพากษา
25 พอลโพสต์เฟซบุ๊ก ศาลจังหวัดกำแพงเพชร รับสารภาพ จำเลยให้การรับสารภาพลดโทษลงกึ่งหนึ่ง คงเหลือโทษจำคุก 1 ปี 6 เดือน ยังไม่มีคำพิพากษา
26 ชินวัตร จันทร์กระจ่าง
ปราศรัยเรียกร้องปล่อยตัวนักโทษการเมืองหน้าศาลอาญากรุงเทพใต้ เมื่อวันที่ 28 ก.ค. 2565
ศาลอาญากรุงเทพใต้ รับสารภาพ ศาลพิพากษาจำคุก 3 ปี ให้การรับสารภาพ ลดโทษเหลือจำคุก 1 ปี 6 เดือน ไม่เคยต้องโทษจำคุก รอการลงโทษ 2 ปี ยังไม่มีคำพิพากษา
27 ธนกรปราศรัยในการชุมนุม 6 ธ.ค. 2563 ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง สู้คดี โทษจำคุก 2 ปี ไม่รอการลงโทษ อาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนฯ ม.142 (1) เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นคุมประพฤติ นำตัวไปฝึกอบรมที่ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนกำหนดขั้นต่ำ 1 ปี 6 เดือน ขั้นสูงไม่เกิน 3 ปี การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ขณะกระทำผิดจำเลยมีอายุ 17 ปีเศษ ลดมาตราส่วนโทษให้กึ่งหนึ่งคงจำคุกจำเลยมีกำหนด 2 ปี แต่ให้รอการลงโทษจำคุกจำเลยไว้ 2 ปี และให้คุมประพฤติจำเลยไปตลอดระยะเวลาที่รอการลงโทษ โดยให้จำเลยไปรายงานตัวที่ศูนย์ให้คำปรึกษา 2 เดือนต่อครั้ง
28 เบนซ์ปลดพระบรมฉายาลักษณ์ระหว่างการชุมนุมในมธ.ลำปาง ศาลจังหวัดลำปาง รับสารภาพ จำคุก 3 ปี ลดโทษครึ่งหนึ่ง เหลือจำคุก 1 ปี 6 เดือน รอการลงโทษ จำคุก 3 ปี ลดโทษครึ่งหนึ่ง เหลือจำคุก 1 ปี 6 เดือน รอการลงโทษ
29 ธาวินโพสต์ข้อความ ไม่ระบุ รับสารภาพ ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุก 3 ปี รับสารภาพ ลดโทษเหลือ 1 ปี 6 เดือน โดยไม่รอการลงโทษ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้ โดยโทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ 5 ปี

RELATED TAGS

📍ร่วมรณรงค์

JOIN : ILAW CLUB

ช่องทางการติดตาม

FACEBOOK PAGE

วิดีโอแนะนำ