เลิกใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ครบ 1 ปี แต่คดีความยังไม่เคยเลิก

29 กันยายน 2566 เป็นวันครบรอบหนึ่งปีเต็มพอดีๆ ที่มีประกาศยกเลิกการใช้ #พรกฉุกเฉิน ที่พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา ประกาศใช้ โดยตอนแรกบอกเพื่อการควบคุมโรคโควิด19 แต่ในทางปฏิบัติถูกนำมาใช้อย่างหนักกับการควบคุมการชุมนุมทางการเมือง

จากกฎหมายที่จะใช้คุมโรค กลายเป็นกฎหมายคุมม็อบ

สถิติที่น่าสนใจ คือ พล..ประยุทธ์ ออกข้อกำหนดเกี่ยวกับการห้ามชุมนุมไปถึง 12 ฉบับ เปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการห้าม การจำกัดจำนวนคนไปตามสถานการณ์โควิดที่ขึ้นๆ ลงๆ และยังให้ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ออกประกาศในฐานะผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับความมั่นคง อีกรวม 15 ฉบับ

สำหรับคนที่จะจัดกิจกรรมใดๆ ก็ตามในท้องที่ต่างๆ ก็ยังต้องอยู่ภายใต้คำสั่งตามพ...โรคติดต่อ คำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัด ที่เกี่ยวข้องอีกหลายฉบับตามแต่ละท้องที่ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปมาตลอดเวลา ทำให้การจัดกิจกรรม การรวมตัว และการชุมนุมเพื่อแสดงออก เต็มไปด้วยกฎหมายและข้อห้ามมากมาย สวนทางกับสถานการณ์การเมืองที่ประชาชนไม่พอใจรัฐบาลอย่างมาก มีการชุมนุมทางการเมืองเพื่อขับไล่รัฐบาลเกิดขึ้นมากกว่า 2,200 ครั้งในรอบสองปี

สถิติจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน พบว่า การควบคุมการชุมนุมด้วยกฎหมายพิเศษส่งผลให้ผู้ที่ออกมาแสดงออกบนท้องถนนต่างถูกดำเนินคดีฐานฝ่าฝืนพ...ฉุกเฉินฯ ไปอย่างน้อย 1,469 คน ใน 663 คดี ซึ่งผู้ชุมนุมส่วนใหญ่จะมีคดีติดตัวกันคนละหลายๆ คดี กลายเป็นยุคสมัยที่มีการดำเนินคดีทางการเมืองสูงที่สุดในประวัติศาสตร์

 

เมื่อพล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา ออกประกาศให้ยุติการใช้พ...ฉุกเฉินฯ เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2565 เนื่องจากสถานการณ์โควิดมีแนวโน้มดีขึ้นแล้ว ก็สั่งให้ข้อกำหนด ประกาศ และคำสั่งอื่นๆ สิ้นสุดลงไปด้วยทั้งหมด แต่กลับไม่ได้สั่งให้คดีความภายใต้กฎหมายเหล่านั้นสิ้นสุดลงตามไปด้วย ทำให้คดีความทั้งหมดยังคงต้องเดินหน้าพิจารณาคดีกันต่อไปตามขั้นตอนของการพิจารณาคดีทางอาญา แม้วัตถุประสงค์ที่กฎหมายต้องการจะมุ่งคุ้มครองไม่ได้มีความจำเป็นอีกต่อไปแล้ว และเจตนารมณ์ของกฎหมายเหล่านี้ก็ไม่ได้มีไว้เพื่อใช้เอาผิดกับการแสดงออกทางการเมือง

เป็นเวลาอีกหนึ่งปีเต็ม นับตั้งแต่ไม่มีพ...ฉุกเฉินฯ บังคับใช้ ที่ผู้ชุมนุม นักเคลื่อนไหว นักกิจกรรมทางการเมือง หลักพันคน ยังไม่ได้กลับไปใช้ชีวิตที่เป็นปกติ แต่ต้องมีกิจวัตรหลักในการเดินทางไปรายงานตัว ไปรับทราบข้อกล่าวหา ไปขึ้นศาลพิจารณาคดี หรือถูกควบคุมความประพฤติ ภายใต้ข้อกำหนดที่ออกมาเพื่อดูแลเรื่องโรคระบาด แต่ถูกใช้งานอย่างหนักจนทำให้กระบวนการยุติธรรมกลายเป็นเครื่องมือสร้างภาระให้กับการแสดงออกทางการเมือง โดยยังไม่มีแนวโน้มว่าคดีเหล่านี้จะยุติลงได้ด้วยวิธีการอื่นนอกจากต่อสู้คดีกันในชั้นศาลให้ถึงที่สุดกันไปทุกคดี

 

ชวนดูสถิติที่น่าสนใจ

นับถึงวันครบรอบการประกาศยกเลิกการใช้พ...ฉุกเฉินฯ จากข้อมูลที่ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนมีอยู่อย่างน้อย 663 คดี มีคดีที่สิ้นสุดแล้ว 196 คดี คดีที่ยังอยู่ในชั้นศาล 188 คดี และยังอยู่ระหว่างชั้นสอบสวน ยังไม่ได้ยื่นฟ้องต่อศาลอีก 279 คดี

สำหรับคดีที่จำเลยถูกฟ้อง แต่เห็นว่าการชุมนุมของตัวเองไม่เป็นความผิดจึงตัดสินใจต่อสู้คดีนั้น ศาลมีคำพิพากษาแล้วอย่างน้อย 184 คดี

ในจำนวนนี้ แบ่งเป็นคดีที่ศาลพิพากษายกฟ้องไป 81 คดี

ศาลพิพากษาลงโทษ 54 คดี

และพนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องคดี 49 คดี

โดยบางคดีก็ถึงที่สุดแล้วแต่ส่วนใหญ่ยังต้องต่อสู้คดีในชั้นอุทธรณ์ต่อไป 

สำหรับคดีที่ศาลพิพากษาว่ามีความผิด 54 คดี แบ่งออกเป็น

คดีที่ศาลลงโทษปรับเพียงอย่างเดียว จำนวน 30 คดี

คดีที่ศาลให้รอกำหนดโทษ จำนวน 3 คดี

คดีที่ศาลลงโทษจำคุก โดยให้รอลงอาญา จำนวน 17 คดี

คดีที่ศาลลงโทษจำคุก โดยไม่รอลงอาญา จำนวน 3 คดี 

และมีคดีที่ศาลกล่าวตักเตือน เป็นคดีที่ศาลเยาวชน 1 คดี

ในบรรดาคดีที่มีคำพิพากษาแล้ว ส่วนใหญ่ก็ขึ้นสู่การพิจารณาของศาลอุทธรณ์ต่อ

มีจำนวน 4 คดีที่ศาลอุทธรณ์กลับคำพิพากษาของศาลชั้นต้นจากยกฟ้องเป็นให้ลงโทษ 

และมีอีก 1 คดี ที่ศาลอุทธรณ์สั่งให้ศาลชั้นต้นทำคำพิพากษาใหม่

สำหรับคดีที่ศาลลงโทษปรับอย่างเดียวอย่างน้อย 30 คดี 

มีจำนวนครึ่งหนึ่ง ศาลสั่งให้จ่ายค่าปรับอยู่ระหว่าง 4,000-6,000 บาท จากอัตราโทษเต็ม คือ โทษปรับสูงสุดไม่เกิน 40,000 บาท

มีจำนวน 10 คดี ศาลสั่งให้จ่ายค่าปรับอยูระหว่าง 10,000-30,000 บาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นศาลในกรุงเทพฯ

ในต่างจังหวัดมีเพียงแค่ ศาลจังหวัดสุรินทร์ที่ลงโทษปรับ 30,000 บาท จำนวน 2 คดี และศาลจังหวัดนครราชสีมาที่ลงโทษปรับ 10,000 บาท จำนวน 1 คดี

ส่วนคดีที่ศาลลงโทษจำคุก โดยให้รอลงอาญา จำนวน 17 คดี

มี 10 คดีที่ศาลลงโทษปรับระหว่าง 10,000-20,000 บาท โดยแบ่งเป็นการกำหนดโทษจำคุกไม่สูงมากระหว่าง 1-2 เดือนครึ่งนึง แล้วเป็นการกำหนดโทษจำคุกสูงถึง 1 ปีอีกครึ่งนึง

ส่วนที่เหลือศาลกำหนดโทษระหว่าง 2,000-8,000 บาท และกำหนดโทษจำคุกระหว่าง 20 วัน – 3 เดือน

และเนื่องจากคดีส่วนใหญ่มีจำเลยที่เป็นผู้ชุมนุมจำนวนมาก เมื่อศาลพิพากษาให้ลงโทษปรับ จำเลยก็ต้องจ่ายค่าปรับเป็นรายคนทุกคน ทำให้ตลอดเวลาที่ผ่านมาจำเลยที่ถูกพิพากษาแล้วต้องรวบรวมเงินส่วนตัวจ่ายเป็นค่าปรับไปแล้วรวมกันไม่น้อยกว่า 1,253,332 บาท 

สำหรับคดีที่ศาลลงโทษจำคุก โดยไม่รอลงอาญา จำนวน 3 คดี เป็นคดีที่จำเลยถูกพิพากษาว่า มีความผิดข้อหาอื่นประกอบกัน ได้แก่ ฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ ตามมาตรา 112 สองคดี และความผิดฐานทำร้ายเจ้าพนักงาน ซึ่งศาลไม่ต้องการรอลงอาญาให้

มีข้อสังเกตว่า ในคดีจากการชุมนุมประเภท “คาร์ม็อบ” ซึ่งเป็นรูปแบบการใช้รถเคลื่อนไปตามสถานที่ต่างๆ ที่ออกแบบมาเพื่อให้ผู้ชุมนุมอยู่ในรถและไม่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรค แต่ก็ยังคงถูกดำเนินคดีฐานฝ่าฝืนข้อกำหนดเพื่อการควบคุมโรคระบาด และศาลมีคำพิพากษาแล้ว 34 คดี เป็นคำพิพากษายกฟ้อง 20 คดี เป็นคำพิพากษาลงโทษ 14 คดี

 มีข้อสังเกตด้วยว่า สำหรับคดีที่จำเลยยังเป็นเยาวชนอายุไม่เกิน 18 ปี ซึ่งต้องพิจารณาคดีที่ศาลเยาวชนและครอบครัว มีคำพิพากษาจากศาลเยาวชนและครอบครัวแล้วทั้งหมด 12 คดี เป็นคำพิพากษาที่ยกฟ้องเพียง 4 คดี อีก 8 คดี ศาลพิพากษาให้เยาวชนมีความผิด มีการลงโทษปรับ รอลงอาญา และว่ากล่าวตักเตือน สถิติคำพิพากษาจากศาลเยาวชนมีแนวโน้มลงโทษมากกว่ายกฟ้อง ซึ่งแตกต่างจากภาพรวมคดีจากศาลอื่นๆ