9 ปี คสช. รัฐบาลประยุทธ์อำนาจเต็มมือแต่ยังออก พ.ร.ก. 31 ฉบับ

เป็นเวลา 9 ปีเต็มแล้ว ที่ พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา เข้าสู่อำนาจในฐานะนายกรัฐมนตรีนับตั้งแต่รัฐประหารปี 2557 และอยู่ในตำแหน่งต่อเนื่องมายาวนาน ตลอดระยะเวลานี้ พล..ประยุทธ์ อาศัยอำนาจคณะรัฐมนตรี (ครม.) ออกกฎหมายเป็นพระราชกำหนด (...) ทั้งหมด 31 ฉบับ แบ่งออกเป็น 16 ฉบับออกในสมัยที่หนึ่งหลังรัฐประหารปี 2557 (22 พฤษภาคม 2557 ถึง 9 มิถุนายน 2562) และ 15 ฉบับออกในสมัยที่สองหลังการแต่งตั้งโดยรัฐสภาในปี 2562 (9 มิถุนายน 2562 ถึงปัจจุบัน) 

ทั้งที่ตลอดระยะเวลานี้ พล..ประยุทธ์ ถือครองอำนาจในการออกกฎหมายไว้ได้ตลอด ในช่วงหลังการรัฐประหารก็แต่งตั้งพวกพ้องตัวเองทำหน้าที่ออกกฎหมายในนามสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และยังมีอำนาจออกประกาศและคำสั่งตามมาตรา 44” ได้อยู่แล้ว ส่วนในยุคต่อมาก็ถือเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรพร้อมสมาชิกวุฒิสภาที่คัดสรรมาเองอีก 250 คน แต่อำนาจออกกฎหมายแบบลัดขั้นตอนก็ยังถูกใช้บ่อยครั้ง โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับอดีตของนายกรัฐมนตรี 10 คนก่อนหน้านั้นนับตั้งแต่สมัยบรรหาร ศิลปอาชา จนถึงสมัยยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ใช้อำนาจออก พ... รวมกันไป 40 ฉบับ

รัฐธรรมนูญ มาตรา 172 บัญญัติไว้ว่าในกรณีเพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ พระมหากษัตริย์จะทรงตราพระราชกําหนดให้ใช้บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติก็ได้ 

หมายความว่า การออกกฎหมายเป็น พ... นั้นจะต้องเป็นกรณีมีเงื่อนไขที่ ครม. “เห็นว่าเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจําเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้เจตนารมณ์ของมาตรานี้ คือการให้อำนาจ ครม. ออก พ... ซึ่งเป็นกฎหมายระดับเดียวกับพระราชบัญญัติ ในกรณีที่เกิดเหตุเร่งด่วนอันรัฐบาลจะต้องรักษาผลประโยชน์ของประเทศและประชาชนไว้โดยไม่ล่าช้า เพราะว่าการออกกฎหมายพระราชบัญญัติอาจใช้ระยะเวลาที่นานกว่าและบางกรณีจะไม่สามารถแก้ปัญหาฉุกเฉินนั้นทันเวลาอันสมควร

 

พ.ร.ก. 16 ฉบับที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ออกในสมัยที่หนึ่งมีดังต่อไปนี้

1. พ.ร.ก.การบินพลเรือนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558

เหตุผลของการออก พ.ร.ก.ฉบับนี้ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2558 คือ องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) ประเมินว่าประเทศไทยขาดประสิทธิภาพในการกำกับและดูแลความปลอดภัยของการบินพลเรือนในประเทศ ซึ่งขัดต่อมาตรฐานการบินพลเรือนสากลอันส่งผลเสียหายต่อกิจการการบินพลเรือนต่างๆ ในประเทศไทย 

พ.ร.ก.ฉบับนี้จึงจัดตั้งสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยเพื่อเป็นหน่วยงานกำกับ ดูแล ควบคุม ส่งเสริม และพัฒนากิจการการบินพลเรือนและนโยบายการบินพลเรือนให้เป็นไปตามกฎหมายและมาตราฐานการบินพลเรือนสากล นอกจากนี้แล้ว สำนักงานการบินพลเรือนก็มีหน้าที่ออกกฎระเบียบข้อบังคับและคำสั่งเกี่ยวกับการบินพลเรือนให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล 

2. พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497 พ.ศ. 2558

เหตุผลของการออก พ.ร.ก.นี้คือ เพื่อปรับโครงสร้างหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องกับการเดินอากาศให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลที่ ICAO กำหนด เนื่องจากมี พ.ร.ก. ที่จัดตั้งสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยแล้ว จึงต้องแก้ไขให้ พ.ร.บ.การเดินอากาศ พ.ศ. 2497 มีการเสริมเพิ่มเติมบทบาทและหน้าที่ของสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยให้ชัดเจนมากขึ้น

พ.ร.ก.ฉบับนี้เพิ่มบทบาทของสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยไปใน พ.ร.บ.การเดินอากาศ พ.ศ. 2497 เพื่อเป็นหน่วยงานรัฐที่มาทำหน้าที่แทนที่กรมการบินพลเรือนซึ่งถูกยุบไป และมีการเพิ่มเติมกฎหมายข้อบังคับต่างๆ เกี่ยวกับการเดินอากาศและความปลอดภัยทางการเดินอากาศ

3. พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 พ.ศ. 2558

เหตุผลของการออก พ...ฉบับนี้ คือ เพื่อแก้ไขข้อบกพร่องที่ ICAO ประเมินด้วยการปรับโครงสร้างราชการของหน่วยงานเกี่ยวกับการบินพลเรือน ซึ่งจะส่งผลให้หน่วยงานการที่เกี่ยวกับการบินพลเรือนต่าง ๆ ของประเทศไทยสอดคล้องกับมาตรฐานสากลที่ ICAO กำหนด

...ฉบับนี้กำหนดขอบเขตหน้าที่ของสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยให้รวมถึงการช่วยเหลืออากาศยานที่ประสบภัย งานนิรภัยการบิน และการสอบสวนสาเหตุของอุบัติเหตุที่เกี่ยวกับอากาศยาน ซึ่งกำหนดขอบเขตหน้าที่นี้ก็มาพร้อมกับการปรับโครงสร้างราชการด้วยโอนสิทธิ หนี้ ภาระผูกพัน หน้าที่ งบประมาณ บุคคลากร ข้าราชการ พนักงาน กฎระเบียบ และข้อบังคับจากหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องไปยังหน่วยงานรัฐอื่นๆ กล่าวคือการโอนสิ่งข้างต้นระหว่างหน่วยงานรัฐเพื่อให้หน่วยงานรัฐได้ทำหน้าที่ตามจุดประสงค์และมีประสิทธิภาพ

4. พ.ร.ก.การประมง พ.ศ. 2558

...ฉบับนี้ออกมายกเลิกพระราชบัญญัติการประมงที่เพิ่งประกาศใช้ก่อนหน้านั้นในปีเดียวกัน เหตุผลที่ต้องเออกเพื่อ มุ่งจัดระเบียบการประมงในประเทศและน่านน้ำทั่วไปเพื่อป้องกันการประมงที่ผิดกฎหมาย (IUU Fishing) และคุ้มครองแรงงานในอุตสาหกรรมประมง กำหนดกรอบเวลาในกรณีกระทำความผิดซ้ำซากที่ชัดเจนและกำหนดโทษที่รุนแรงขึ้น

...ฉบับนี้เพิ่มข้อกฎข้อบังคับในการประมงให้เคร่งครัดมากขึ้นเพื่อเป็นไปตามหลักและมาตรฐานสิทธิมนุษยชน ทั้งนี้มีการเพิ่มข้อกำหนดต่างๆ มากมาย เช่น ห้ามผู้ไร้สัญชาติทำการประมง เพิ่มเติมสิทธิและสวัสดิการของชาวประมง เพิ่มระเบียบในขอใบอนุญาตทำการประมง สร้างคณะกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติเพื่อกำกับ ดูแล และส่งเสริมอุตสาหกรรมการประมง กำหนดขอบเขตที่สามารถทำการประมงและค้าขายสินค้าจากการประมง ฯลฯ

5. พ.ร.ก.ยกเว้นและสนับสนุนการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2558

เหตุผลของการออก พ...ฉบับนี้ คือ สภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยที่เติบโตอย่างล้าช้า ครม. จึงเห็นว่ามีความจำเป็นที่จะต้องส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) เพื่อที่รัฐบาลจะได้มีข้อมูลบัญชีและงบการเงินของ SME ที่สะท้อนสภาพกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศอย่างแท้จริง โดย ครม. ของ พล..ประยุทธ์อ้างว่า เนื่องจากเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับภาษีอากรอันจำเป็นที่ต้องมีการพิจารณาโดยด่วน

...ฉบับนี้ยกเว้นการตรวจสอบ ไต่สวน ประเมินหรือสั่งให้เสียภาษีอากรต่อ SME โดยที่ SME ที่มีสิทธิได้รับยกเว้นการเสียภาษีอากรดังกล่าวก็จะต้องทำกระบวนการขั้นตอนตามที่กำหนดเพื่อยกเว้นการเสียภาษีอากร อย่างไรก็ตาม SME ดังกล่าวก็ยังมีหน้าที่ในการจัดทำบัญชีและงบการเงินให้สอดคล้องกับสภาพธุรกิจอย่างแท้จริงแม้จะถูกยกเว้นการเสียภาษีอากรไว้แล้วก็ตาม

6. พ.ร.ก.การนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ. 2559

เหตุผลของการออก พ...ฉบับนี้ คือ ปัญหาการขาดแคลนแรงงานในอุตสาหกรรมต่างๆ ส่งผลให้ภาคเอกชนจ้างแรงงานต่างด้าวจำนวนมาก จึงทำให้กฎหมายและมาตรการควบคุมการจ้างแรงงานต่างด้าวไม่สามารถบังคับใช้ได้อย่างเป็นผล นอกจากนี้แล้วยังมีการจ้างแรงงานต่างด้าวที่ลักลอบหรือถูกลักลอบเข้ามาในประเทศไทยอย่างผิดกฎหมายหรือเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์

...ฉบับนี้วางระเบียบขั้นตอนการนำคนต่างด้าวเข้ามาเป็นแรงงานในประเทศ โดยกำหนดคุณสมบัติที่ธุรกิจและแรงงานต่างด้าวต้องมี รวมถึงวางหลักหน้าที่ของธุรกิจผู้จ้างแรงงานต่างด้าว ทั้งนี้ให้มีขั้นตอนกฎหมายต่างๆ เพื่อควบคุมการเคลื่อนไหวของแรงงานต่างด้าวเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนของแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาในประเทศไทย

7. พ.ร.ก.พิกัดอัตราศุลกากร (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2559

เหตุผลของการออก พ...ฉบับนี้ คือ การปฏิบัติตามอนุสัญญาระบบฮาร์โมไนซ์ขององค์การศุลกากรโลก ซึ่งทำให้มีความจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงแก้ไขการจำแนกประเภทสินค้าในตารางพิกัดอัตราศุลกากรใน พ...พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2560 ให้มีความทันสมัยสอดคล้องต่อมาตรฐานสากลและการค้าระหว่างประเทศ

...ฉบับนี้ยกเลิกภาค 2 ในพิกัดฉบับที่ 5 และเพิ่มภาคใหม่เข้าไปเพื่อเป็นไปตามจุดประสงค์ของอนุสัญญาดังกล่าว 

8. พ.ร.ก.การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

...ฉบับนี้ออกมาในเวลาไม่ถึงหนึ่งปี เพื่อใช้แทน พ...ฉบับก่อนหน้าในเรื่องเดียวกัน เหตุผลของการออก พ..ก.ฉบับนี้ คือ ความครอบคลุมของ พ...การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2559 ต่อปัญหาแรงงานต่างด้าวนั้นไม่เพียงพอต่อปัญหาที่ประสบ ซึ่งส่งผลต่อเศรษฐกิจและสถานภาพของแรงงาน

..ก.ฉบับนี้เพิ่มเติมระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ จากเดิมให้ครอบคลุมปัญหากว่าฉบับเก่า อาทิ การสร้างกลไกร้องทุกข์ต่อหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องที่ชาวต่างด้าวสามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้น การเพิ่มเกณฑ์ในการออกใบอนุญาตทำงานสำหรับแรงงานต่างด้าว การเพิ่มหน้าที่ความรับผิดชอบของนายจ้างให้เคร่งครัดขึ้นซึ่งรวมถึงการมีกลไกร้องทุกข์ให้แก่ลูกจ้างชาวต่างด้าวด้วย และการกำหนดอัตราโทษทางอาญาต่อผู้ละเมิดที่รุนแรงขึ้น

9. พ.ร.ก.การประมง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560

เหตุผลของการออก พ...ฉบับนี้ คือ พ...การประมง พ.ศ. 2558 นั้นไม่เพียงพอต่อการแก้ปัญหาการประมงที่พบเจอ และการที่บทบัญญัติดังกล่าวไม่สะท้อนถึงสภาพการประมงที่แท้จริง นอกจากนี้แล้ว การออก พ...ฉบับนี้ก็มีเหตุเพื่อให้สหภาพยุโรปยกเลิกการแบนผลิตภัณฑ์ที่มาจากอุตสาหกรรมการประมงไทย

...ฉบับนี้ปรับปรุงมาตรการคุ้มครองแรงงานในอุตสาหกรรมการประมงให้เหมาะสมยิ่งขึ้น กำหนดการอนุรักษ์และบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำที่จะสามารถนำไปสู่การประมงที่ยั่งยืนได้ นอกจากนี้แล้วยังเพิ่มโทษทางอาญาต่อผู้ละเมิดอีกเช่นกัน

10. พ.ร.ก.การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561

เหตุผลของการออก พ... คือ พ...การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 นั้นได้วางหลักหน้าที่และโทษของผู้อนุญาตให้ชาวต่างด้าวเข้ามาทำงาน นายจ้าง และแรงงานต่างด้าวที่จำกัดสิทธิเสรีภาพเกินไป ซึ่งเกินความจำเป็นต่อการแก้ไขสถานการณ์ที่เร่งรัดของปัญหาแรงงานดังกล่าว

..ก.ฉบับนี้ยกเลิกและปรับปรุงระเบียบข้อบังคับต่างๆ ให้เหมาะสมแก่สถานการณ์ และจำกัดสิทธิเสรีภาพน้อยลง นอกจากนี้แล้ว ขั้นตอนและหน้าที่ต่างๆ ของผู้จ้างและแรงงานต่างด้าวก็มีการแก้ไขให้เคร่งครัดและยุ่งยากน้อยลง

11. พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2561

เหตุผลของการออก พ..ก.ฉบับนี้ คือ การเติบโตอย่างรวดเร็วของการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล เช่น การซื้อขายแลกเปลี่ยนคริปโตเคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัล ซึ่งการลงทุนนี้ยังไม่ได้มีกฎหมายในการกำหนดหน้าที่การจ่ายภาษีของนักลงทุนที่ได้กำไรจากการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลส่งผลให้ภาครัฐไม่สามารถจัดเก็บภาษีได้อย่างครอบคลุมครบถ้วน

...ฉบับนี้แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากรด้านการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้รวมถึงเงินได้ที่มาจากกำไรจากการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลอีกด้วย และวางหลักเกณฑ์การคำนวณภาษีสำหรับรายได้ที่มาจากกำไรดังกล่าว

12. พ.ร.ก.การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561

เหตุผลของการออก พ...ฉบับนี้ คือ บทบาทในสังคมและเศรษฐกิจของสินทรัพย์ดิจิทัลในไทยที่ประชาชนสนใจมากขึ้น อย่างไรก็ตาม สินทรัพย์ดิจิทัลนั้นไม่มีกฎหมายที่กำกับดูแลใด ๆ การมีบทบาทของเทคโนโลยีในเศรษฐกิจก็เป็นอีกหนึ่งเหตุผลให้มีการออกกฎหมายนี้เพื่อให้เทคโนโลยี กฎหมาย และเศรษฐกิจสอดคล้องกัน

..ก.ฉบับนี้เพิ่มเติมหลักใหม่เข้ามาในกฎหมายไทย ซึ่งก็คือสินทรัพย์ดิจิทัล โดยมีการให้คำนิยามและกำหนดหลักเกณฑ์ต่างๆ เพื่อคุ้มครองประชาชนและนักลงทุนที่มีส่วนร่วมในการซื้อขายและเปลี่ยนในสินทรัพย์ดิจิทัล เนื่องจากมีการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างแพร่หลาย ทั้งคริปโตเคอร์เรนซี หรือโทเคนดิจิทัลและการระดมทุนสินทรัพย์ดิจิทัล นอกจากนี้แล้ว มีการกำหนดมาตรฐาน ข้อบังคับ และการขอใบอนุญาตของการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล และการเก็บรักษาสินทรัพย์ของประชาชนผู้ใช้งานธุรกิจดังกล่าว

13. พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 พ.ศ. 2561

เหตุผลของการออก พ...ฉบับนี้ คือ การประสบปัญหาการขาดแคลนแรงงานในระดับไร้ฝีมือในอุตสาหกรรมต่างๆ พ...คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 นั้นมีข้อกำหนดหลายช้อเพื่อจำกัดการเข้าเมืองของแรงงานต่างด้าวในระดับไร้ฝีมือ ที่ทำอาชีพกรรมกรและรับจ้างทำงานด้วยกำลังกายโดยไม่ต้องอาศัยวิชาความรู้หรือการฝึกทางวิชาการ จึงทำให้อุตสาหกรรมในภาคต่างๆ ขาดแรงงานประเภทนี้

...ฉบับนี้ยกเลิกข้อจำกัดดังกล่าวเพื่อขยายขอบเขตอาชีพที่แรงงานต่างด้าวสามารถเข้ามาทำงานได้ในประเทศไทยและเปลี่ยนข้อกำหนดเรื่องการห้ามประกอบอาชีฟระหว่างมีการอาศัยอยู่ในประเทศไทย

14. พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติเรือไทย พุทธศักราช 2481 พ.ศ. 2561

เหตุผลของการออก พ...ฉบับนี้ คือ การปรับปรุงระบบารจดทะเบียนเรือประมง สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของเจ้าเรือหรือผู้ครอบครองเรือประมง โดยประกอบกับการบังคับใช้ พ...การประมง พ.ศ. 2558 เพื่อป้องกันการประมงและการเดินเรือที่ผิดกฎหมาย และเพื่อให้มาตรฐานการประมงไทยเป็นไปตามมาตรฐานสากล

...ฉบับนี้แก้ไขและเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับเรือประมงใน พ...เรือไทย พ.ศ. 2481 เพิ่มขั้นตอนและเกณฑ์ในการจดทะเบียนเรือประมงและเรือขนถ่ายสัตว์น้ำ และเพิ่มเติมโทษหากเจ้าเรือหรือผู้ครอบครองเรือประมงไม่ทำตามที่กำหนดไว้

15. พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติเรือไทย พุทธศักราช 2481 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561

เหตุผลของการออก พ...ฉบับนี้ คือ หลังจากที่ พ...แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติเรือไทย พุทธศักราช 2481 พ.ศ. 2561 หรือฉบับก่อนหน้านี้ ปรากฏว่ามีเรือที่เจ้าเรือโอนให้คนอื่นไปแล้วหรือไม่ได้ครอบครองเรืออีกต่อไปแล้ว ซึ่งอาจส่งผลให้มีผู้ที่ครอบครองเรือดังกล่าวไปใช้ในการประมง ขนถ่ายสัตว์น้ำ หรือสนับสนุนการประมงอย่างผิดกฎหมาย

...ฉบับนี้เพิ่มเติมเพื่อเพิ่มมาตรการการป้องกันการนำเรือดังกล่าวมาใช้อย่างผิดกฎหมายการประมง ซึ่งรวมถึงการเพิ่มนิยามของเรือสนับสนุนการประมง การเพิ่มระเบียบในการเพิกถอนและจดทะเบียนทะเบียนเรือ ใบอนุญาตการเดินเรือ และใบอนุญาตใช้เรือ การกำหนดให้เจ้าเรือแจ้งสถานการณ์ที่ประสบทำให้สูญเสียการครอบครองเรือ และการเพิ่มโทษสำหรับผู้ใช้เรือที่ถูกเพิกถอนทะเบียน

16. พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 พ.ศ. 2562

เหตุผลของการออก พ..ก.ฉบับนี้ คือ การขาดบทบัญญัติว่าด้วยมาตรการคุ้มครองผู้เสียหายจากการถูกบังคับใช้แรงงานหรือบริการโดยการค้ามนุษย์ ซึ่งส่งผลให้การป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ไม่สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ

...ฉบับนี้เพิ่มลักษณะการกระทำที่ถือว่าเป็นความผิดฐานค้ามนุษย์และบังคับใช้แรงงานหรือบริหารเพื่อครอบคลุมขอบเขตของฐานความผิดดังกล่าวมากขึ้น เพิ่มเติมมาตรการการคุ้มครองผู้เสียหายจากการบังคับใช้แรงงาน การบังคับใช้บริการ และการค้ามนุษย์ และการเพิ่มโทษของผู้ที่กระทำผิดฐานดังกล่าวให้รุนแรงขึ้น  

จะเห็นได้ว่า พระราชกำหนดทั้ง 16 ฉบับที่ออกในสมัยรัฐบาล พล..ประยุทธ์ 1 เป็นกฎหมายที่ถูกจัดว่า “เร่งด่วน” เพื่อปรับตัวให้ประเทศไทย “ทันสมัย” หรือสามารถยืนอยู่ในตำแหน่งที่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติได้ ทั้งเรื่องการบินพลเรือนที่ต้องการให้กฎหมายไทยได้มาตรา ICAO หรือเรื่องการทำประมงที่ต้องการปลดใบเหลืองจากการทำประมงผิดกฎหมาย และละเมิดสิทธิแรงงานในอุตสาหกรรมนี้ จึงต้องแก้ไขกฎหมายทั้งเรื่องการรเดินเรือ เรื่องการประมง แรงงานข้ามชาติ และการค้ามนุษย์หลายฉบับประกอบกัน หรือประเด็นการออกกฎหมายเรื่องสินทรัพย์ดิจิทัลเพื่อให้ประเทศไทยทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคดิจิทัลด้วย

มีข้อสังเกตว่า มี พ...อย่างน้อย 4 ฉบับที่ออกมาเพื่อแก้ไขกฎหมายเดิมในเรื่องเดียวกันที่เพิ่งออกมาก่อนหน้านั้น เมื่อประกอบกับการออกประกาศและคำสั่งของ คสช. อีกหลายฉบับในช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน แสดงให้เห็นว่า การพยายามแก้ไขปัญหาเหล่านี้ของรัฐบาล พล..ประยุทธ์ มีลักษณะเร่งรีบและร้อนรนนอกจากจะใช้อำนาจพิเศษลัดขั้นตอนออกกฎหมายและยังต้องแก้ไขกลับไปกลับมาอยู่หลายครั้ง

 

พ.ร.ก. 15 ฉบับที่พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ออกในสมัยที่สองมีดังต่อไปนี้ 

1. พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาและคุ้มครองสถาบันครอบครัว พ.ศ. 2562 พ.ศ. 2562

เหตุผลที่ออก พ...ฉบับนี้ คือ ความไม่พร้อมด้านบุคลากร เนื่องจากบุคลากรจำเป็นต้องมีความรู้ ความสามารถ และความเชี่ยวชาญด้านการป้องกันปัญหาความรุนแรงในครอบครัว จึงทำให้มีจำนวนไม่เพียงพอในการบังคับใช้ พ...ส่งเสริมการพัฒนาและคุ้มครองสถาบันครอบครัว พ.ศ. 2562

...ฉบับนี้เลื่อนการบังคับใช้ของ พ...ส่งเสริมการพัฒนาและคุ้มครองสถาบันครอบครัว พ.ศ. 2562 ให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาซึ่งก็ขึ้นอยู่กับ ครม. ว่าเห็นควรบังคับใช้เมื่อไร ซึ่งเมื่อผ่านมาอีกสี่ปีให้หลัง พ...ส่งเสริมการพัฒนาและคุ้มครองสถาบันครอบครัว ก็ยังคงไม่ถูกบังคับใช้

2. พ.ร.ก.โอนอัตรากำลังพลและงบประมาณบางส่วนของกองทัพบก กองทัพไทย กระทรวงกลาโหม ไปเป็นของหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ ซึ่งเป็นส่วนราชการในพระองค์ พ.ศ. 2562

เหตุผลที่ออก พ..ก.ฉบับนี้ คือ การสนับสนุนความปลอดภัยของพระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้แทนพระองค์ และพระราชอาคันตุกะ ด้วยการโอนบรรดาอัตรากำลังพลแลละงบประมานบางส่วนไปเป็นของหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์

...ฉบับนี้บัญญัติให้โอนกำลังพลและงบประมานดังกล่าวในกรมทหารราบที่ 1 และกรมทหารราบที่ 11 ไปเป็นของหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ ซึ่งเป็นส่วนราชการในพระองค์ ซึ่งขึ้นตรงต่อพระมหากษัตริย์ กล่าวคือการบังคับบัญชากำลังพลและบริหารงบประมานดังกล่าวจะไม่ได้ขึ้นอยู่กับกองทัพบกแต่จะขึ้นอยู่กับพระมหากษัตริย์

3. พ.ร.ก.การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563

เหตุผลที่ออก พ...ฉบับนี้ คือ ผลกระทบทางเศรษฐกิจของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) ส่งผลให้ผู้ประกอบวิสาหกิจขาดรายได้ ซึ่งส่งผลพวงต่อการจ้างงานโดยตรง ทำให้เกิดสภาวะขาดสภาพคล่องทางการเงินอย่างรุนแรงและการผิดนัดชำระหนี้สูงขึ้นมาก

...ฉบับนี้เพิ่มมาตรการสนับสนุนการให้สินเชื่อเพิ่มเติมต่อสถาบันการเงินเพื่อให้มีเงินหมุนเวียนเพียงพอ ซึ่งกำหนดขั้นตอนและข้อกำหนดในการขอสินเชื่อเพิ่ม และเพิ่มมาตรการการชะลอการชำระหนี้สำหรับบุคคลทั่วไปที่ทำธุรกิจที่ได้รับผลกระทบทางการเงิน กล่าวคือเป็นการที่ลูกหนี้สามารถเลื่อนเวลาชำระหนี้ออกไปโดยไม่ถือว่าเป็นลูกหนี้ผิดนัดและไม่ถือว่าเป็นการปลดหนี้

4. พ.ร.ก.การรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินและความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ พ.ศ. 2563

เหตุผลที่ออก พ...ฉบับนี้ คือ ผลกระทบทางเศรษฐกิจของโควิด 19 ส่งผลตลาดตราสารหนี้เกิดการหยุดชะงักทำให้ผู้ประกอบการที่ลงทุนและระดมทุนในตราสารหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ จึงอาจก่อให้เกิดการผิดนัดชำระหนี้ต่อตราสารหนี้ที่ครบกำหนดกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเสถียรภาพของระบบการเงินและเศรษฐกิจ

...ฉบับนี้จัดตั้งกองทุนเพื่อรักษาสภาพคล่องตัวของการระดมทุนในตลาดตราสารหนี้เพื่อรักษาเสถียรภาพดังกล่าว ซึ่งเป็นกองทุนที่ภาคเอกชนสามารถลงทุนได้ตามเงื่อนไขที่กำหนด นอกจากนี้แล้วยังให้อำนาจธนาคารแห่งประเทศไทยในการซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองเพื่อรักษาความมั่นคงทางการเงินของตลาดตราสารหนี้

5. พ.ร.ก.ว่าด้วยการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2563

เหตุผลที่ออก พ...ฉบับนี้ คือ การบังคับใช้มาตรการต่าง ๆ เพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดของโควิด 19 อาทิ การเว้นระยะห่างทางสังคม (social distancing) การจำกัดการเดินทาง (lockdown) การกักตัว (quarantine) และการทำงานที่บ้าน (work from home) ทำให้บุคคลทั่วไปไม่สามารถพบปะบุคคลอื่น ๆ ได้ทางกายภาพ

...ฉบับนี้บัญญัติให้การประชุมตามที่กำหนดโดยกฎหมาย เช่น การประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี สามารถทำผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้โดยผู้ที่เข้าประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต้องไม่เสียสิทธิ กล่าวคือสิทธิต่างๆ ของผู้เข้าร่วมประชุมก็ยังเหมือนเดิมเสมือนประชุมทางกายภาพปกติ และบัญญัติให้สามารถส่งหนังสือเชิญประชุมและเอกสารประกอบการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้

6. พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563

เหตุผลที่ออก พ...ฉบับนี้ คือ ผลกระทบทางเศรษฐกิจของโควิด 19 ส่งผลให้รัฐบาลต้องใช้งบประมาณแผ่นดินจำนวนมากเพื่อบังคับใช้มาตรการต่างๆ เพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดของโควิด 19 และเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด 19 อย่างไรก็ตาม มาตรการดังกล่าวก็ยังไม่เพียงพอ จำเป็นต้องใช้งบประมาณแผ่นดินมากขึ้น 

...ฉบับนี้อนุญาตให้กระทรวงการคลังกู้เงินบาทหรือเงินต่างประเทศ และออกตราสารหนี้ในนามรัฐบาลเพื่อนำเงินกู้ให้รัฐบาลนำไปใช้เพื่อแก้ไขปัญหาโควิด 19 การเยียวยาประชาชนผู้ที่รับผลกระทบจากโควิด 19 และฟื้นฟูเศรษฐกิจเท่านั้น โดยการบริหารเงินกู้นั้นต้องเป็นไปตามที่ พ...ฉบับนี้กำหนด

7. ...การให้ความช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2564

เหตุผลที่ออก พ...ฉบับนี้ คือ ผลกระทบทางเศรษฐกิจของโควิด 19 ส่งผลให้ผู้ประกอบธุรกิจไม่สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างปกติ ซึ่งทำให้เกิดความเสี่ยงในระบบเครดิตของการเงินประเทศ ดังนั้นจึงเป็นอันสำคัญที่จะมีมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบธุรกิจเพื่อเสริมสภาพคล่องทางการเงินอันจะทำเป็นการป้องกันสภาวะขาดสภาพคล่องและสภาวะผิดนัดชำระหนี้อย่างแพร่หลาย

...ฉบับนี้อนุญาตให้ธนาคารแห่งประเทศไทยให้สถาบันการเงินกู้ยืมเงินเพื่อปล่อยกู้ให้ผู้ประกอบธุรกิจนำไปใช้เพื่อฟื้นฟูธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิด 19 โดยมีการยกเว้นค่าธรรมเนียมแหละการวางหลักประกันต่างๆ นอกจากนี้แล้วมีการเพิ่มมาตรการสนับสนุนการให้สินเชื่อสำหรับผู้ประกอบธุรกิจและมาตรการสนับสนุนการรับโอนทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันอีกด้วย

8. พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2564

เหตุผลที่ออก พ...ฉบับนี้ คือ ผลกระทบทางเศรษฐกิจของโควิด 19 ส่งผลให้เกิดการผิดนัดมากขึ้น ส่งผลให้ลูกหนี้ต้องแบกรับภาระดอกเบี้ยผิดนัดมากเกินไป ประกอบกับเหตุที่ SME หลายรายมีการผิดนัด หากไม่ลดอัตราดอกเบี้ยอาจส่งผลที่ร้ายแรงต่อเศรษฐกิจประเทศได้ จึงจำเป็นต้องปรับอัตราดอกเบี้ยผิดนัดให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจ  

...ฉบับนี้บัญญัติให้ลดอัตราดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เหลือ 3% ต่อปีภายใต้มาตรา 7 ป... และกำหนดให้มีอัตราดอกเบี้ยผิดนัดเป็น 2% กล่าวคือดอกเบี้ยผิดนัดจำกัดอยู่ที่ 5% ตามขั้นตอนการคำนวณที่บัญญัติไว้

9. พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564

เหตุผลที่ออก พ...ฉบับนี้ คือ ผลกระทบทางเศรษฐกิจของโควิด 19 ส่งผลให้สังคมประชาชนทั่วไปได้รับผลพวงเศรษฐกิจที่ตามมา จึงจำเป็นต้องใช้งบประมาณเพิ่มเพื่อดำเนินการมาตรการการแก้ไข เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม

...ฉบับนี้อนุญาตให้กระทรวงการคลังกู้เงินบาทหรือเงินต่างประเทศ และออกตราสารหนี้ในนามรัฐบาลเพื่อนำเงินกู้ให้รัฐบาลนำไปใช้เพื่อแก้ไขปัญหาโควิด 19 การเยียวยาประชาชนผู้ที่รับผลกระทบจากโควิด 19 และฟื้นฟูเศรษฐกิจเท่านั้น โดยการบริหารเงินกู้นั้นต้องเป็นไปตามที่ พ... ฉบับนี้กำหนด

10. พ.ร.ก.พิกัดอัตราศุลกากร (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2564

เหตุผลที่ออก พ...ฉบับนี้ คือ การปฏิบัติตามอนุสัญญาระบบฮาร์โมไนซ์ขององค์การศุลกากรโลก ซึ่งทำให้มีความจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงแก้ไขการจำแนกประเภทสินค้าในตารางพิกัดอัตราศุลกากรใน พ...พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2560 ให้มีความทันสมัยสอดคล้องต่อมาตรฐานสากลและการค้าระหว่างประเทศ

...ฉบับนี้ยกเลิกภาค 2 ในพิกัดฉบับที่ 6 และเพิ่มภาคใหม่เข้าไปเพื่อเป็นไปตามจุดประสงค์ของอนุสัญญาดังกล่าว

11. พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติควบคุมการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬา พ.ศ. 2555 พ.ศ. 2564

เหตุผลที่ออก พ...ฉบับนี้ คือ องค์กรต่อต้านการใช้สารต้องห้ามโลกปรับปรุงประมาลกฎการต่อต้านการใช้สารต้องห้ามโลก ส่งผลให้ พ...ควบคุมการใช้สารต้องห้ามทางกีฬา พ.ศ. 2555 ไม่เพียงพอต่อการถูกระเบียบตามประมวลดังกล่าว ซึ่งอาจทำให้นักกีฬาไทยไม่สามารถเข้าร่วมการแข่งขันระดับนานาชาติและประเทศไทยอาจไม่สามมารถจัดการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติได้ อันเป็นผลเสียต่อเศรษฐกิจประเทศ

...ฉบับนี้เพิ่มบทบัญญัติกำหนดให้คณะกรรมการควบคุมการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬาปฏิบัติตามบทบัญญัติ พ...ควบคุมการใช้สารต้องห้ามทางกีฬา พ.ศ. 2555 เพื่อบังคับใช้มาตรการป้องกันไม่ให้นักกีฬาใช้สารต้องห้ามที่กำหนด เช่น การเก็บตัวอย่างเลือดหรือปัสสาวะของนักกีฬาเพื่อนำไปตรวจสอบสารต้องห้ามนอกจากนี้แล้ว พ...ฉบับนี้มีการกำหนดเพิ่มโทษสำหรับผู้ที่ฝ่านฝืนมาตรการดังกล่าว

12. พ.ร.ก.ผ่อนผันให้กระทรวงการคลังค้ำประกันการชำระหนี้ของสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2565

เหตุผลที่ออก พ...ฉบับนี้ คือ สภาวะราคาน้ำมันเชื้อเพลิงโลกที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศสูงขึ้นเช่นกัน และส่งผลกระทบต่อค่าครอบชีพของประชาชนเช่นกัน สำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงจึงกู้เงินเพื่อรักษาเสถียรภาพราคาร้ำมันเชื้อเพลิง อย่างไรก็ตาม กระทรวงการคลังไม่สามารถค้ำประกันการชำระหนี้ให้สำนักงานกองทุนน้ำมันได้ตาม พ...การบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548

...ฉบับนี้ผ่อนผันมาตรา 18 แห่งพ...การบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 อนุญาตให้กระทรวงการคลังค้ำประกันหนี้ให้การกู้เงินของสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงได้ เพื่อแก้วิกฤตราคาน้ำมันเชื้อเพลิงสูงอันเป็นภาระต่อประชาชน

13. พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 พ.ศ. 2566

...ฉบับนี้ออกมาเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2566 เหตุผลที่ออก พ... ฉบับนี้ คือ สำนักงานตำรวจแห่งชาติไม่มีความสามารถที่เพียงพอในการจัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์ ไม่มีความพร้อมด้านงบประมาณ และไม่มีความพร้อมในการอบรบเจ้าหนี้ที่ตำรวจในการปฏิบัติตามมาตรา 22 ถึงมาตรา 25 แห่ง พ...ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 (พ...อุ้มหายฯ)

...ฉบับนี้เลื่อนการบังคับใช้มาตรา 22 ถึงมาตรา 25 แห่ง พ...อุ้มหายฯ เป็นวันที่ 1 ตุลาคม 2566 และให้สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหายและหน่วยงานที่รับผิดชอบ กล่าวคือ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เร่งมือเตรียมความพร้อมให้ปฏิบัติตามมาตราดังกล่าวให้เกิดประสิทธิภาพและโดยเร็ว ซึ่งต่อมาศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า การออก พ...ฉบับนี้ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญเพราะไม่เข้าเงื่อนไขเหตุจำเป็นเร่งด่วน จึงถูกยกเลิกไป

14. พ.ร.ก.มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. 2566

...ฉบับนี้ออกมาเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2566 ไม่กี่วันก่อนการยุบสภาผู้แทนราษฎร เหตุผลที่ออก พ... ฉบับนี้ คือ การเติบโตอย่างรวดเร็วของการใช้วิธีการทางเทคโนโลยีเพื่อหลอกลวงประชาชน เช่น แก๊งคอลเซ็นเตอร์ ส่งผลให้ประชาชนหลายรายเสียทรัพย์สิน ซึ่งมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศเนื่องจากทรัพย์สินขแงประชาชนที่สูญเสียไปเป็นจำนวนมหาศาล

...ฉบับนี้บัญญัติมาตรการต่างๆ เพื่อลดการใช้วิธีการทางเทคโนโลยีเพื่อให้ประชาชนได้รับความเสียหาย อาทิ ให้สถาบันการเงินระงับการเคลื่อนไหวทางบัญชีเมื่อพบความผิดปกติหรือเจ้าของบัญชีรายงานว่าถูกหลอกลวงให้โอนเงิน และให้สถาบันการเงินเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับบัญชีที่เกี่ยวข้องที่ถูกหลอกเพื่อนำไปใช้ในการสืบสวนคดี

15. พ.ร.ก.การแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อปฏิบัติตามความตกลงระหว่างประเทศเกี่ยวกับภาษีอากร พ.ศ. 2566

พ.ร.ก.ฉบับนี้ออกมาเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2566 ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรถูกยุบแล้ว เหตุผลที่ออก พ.ร.ก.ฉบับนี้ คือ ประเทศไทยเป็นภาคสมาชิกของ Global Forum on Transparency and Exchange of Information for Tax Purposes ซึ่งจำเป็นต้องมีการปฏิบัติตามพันธกรณีในการแลกเปลี่ยนข้อมูลภาษีอากรภายในเดือนกันยายน 2566 พันธกรณีดังกล่าวนั้นเป็นสิ่งใหม่และมีความซับซ้อนจึงจำเป็นต้องออก พ.ร.ก. ฉบับนี้เพื่อให้สถาบันการเงินเตรียมข้อมูลบัญชีทางการเงินให้พร้อมเพื่อใช้ในการแลกเปลี่ยนเพื่อความโปร่งใสทางภาษีอากรระหว่างประเทศ เนื่องจากประเทศไทยอาจถูกจัดเป็นประเทศที่ไม่ให้ความร่วมมือโดยสหภาพยุโรปได้หากไม่ปฏิบัติตามพันธกรณีดังกล่าว

พ.ร.บ.ฉบับนี้มีการเพิ่มบทบัญญัติของการแลกเปลี่ยนข้อมูลแบบร้องขอและการแลกเปลี่ยนข้อมูลแบบอัตโนมัติ ซึ่งการแลกเปลี่ยนข้อมูลแบบร้องขอนั้น คือ การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างประเทศไทยและคู่สัญญา (ประเทศอื่นที่มีข้อตกลงแลกเปลี่ยนข้อมูลกับประเทศไทย) ที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์ต่อการจัดเก็บภาษีหรือการสอบสวนและการดำเนินคดีทางภาษีอากรของประเทศที่ร้องขอแลกเปลี่ยนข้อมูล ส่วนการแลกเปลี่ยนข้อมูลแบบอัตโนมัตินั้น คือ คู่สัญญาไม่ต้องร้องขอเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกับประเทศไทย แต่ข้อมูลนั้นจำต้องถูกรายงานก็ต่อเมื่อข้อมูลนั้นเป็นของบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่ทางภาษีในประเทศคู่สัญญา

 

ในยุคสมัยรัฐบาลของ พล.อ.ประยุทธ์ 2 ยังใช้อำนาจ “ลัดขั้นตอน” ออกกฎหมายเป็นพระราชกำหนดอย่างต่อเนื่อง โดยส่วนใหญ่เป็นความพยายามแก้ปัญหาเศรษฐกิจในสถานการณ์โควิด 19 ถึง 9 ฉบับ ซึ่งเป็นกฎหมายที่เข้าใจได้ว่าจำเป็นต้องรีบออกให้ทันสถานการณ์ แต่เนื่องจากสังคมเห็นพ้องต้องกันในการแก้ไขปัญหาแบบเร่งด่วน หากเสนอให้สภาพิจารณาออกเป็นพระราชบัญญัติก็ไม่น่าติดขัดหรือใช้เวลามากเกินไป

นอกจากนี้การแก้ไขกฎหมายเพื่อให้ประเทศไทย “ทันสมัย” ก็ยังคงใช้ช่องทางการออก พ.ร.ก.อยู่ ทั้งเรื่องภาษีศุลกากรที่ต้องทำตามอนุสัญญาระบบฮาร์โมไนซ์ หรือเรื่องสารต้องห้ามทางการกีฬา ซึ่งกฎหมายทั้งหมดนี้สามารถใช้ช่องทางการออกกฎหมายตามปกติได้ โดยเฉพาะสามฉบับสุดท้ายที่ออกมาก่อนหมดเวลาของรัฐบาลนี้เพียงแค่อึดใจเดียว ทั้งที่รัฐบาลสามารถเร่งออกกฎหมายในขณะที่สภายังทำงานอยู่ได้

การออกพระราชกำหนดเป็นการใช้อำนาจของฝ่ายบริหารแทนฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยเหตุผลและเงื่อนไขพิเศษเท่านั้นจึงจะสามารถออกได้ และหากใช้อำนาจเช่นนี้บ่อยๆ ก็จะทำให้หลักการแบ่งแยกอำนาจของฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติเสื่อมเสียไป ดังจะเห็นว่าในรัฐบาลอื่นๆ ก่อนหน้านี้การใช้อำนาจออกพระราชกำหนดเป็นไปอย่างจำกัด

 

เป็นเวลาเกือบ 20 ปี ภายใต้นายกรัฐมนตรี 10 คน มีการออกพระราชกำหนดไป 40 ฉบับ ดังนี้

  • ปี 2538-2539 รัฐบาลของบรรหาร ศิลปอาชา ออก พ.ร.ก. 0 ฉบับ
  • ปี 2539-2540 รัฐบาลของ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ์ ออก พ.ร.ก. 10 ฉบับ
  • ปี 2540-2544 รัฐบาลของชวน หลีกภัย 2 ออก พ.ร.ก. 10 ฉบับ
  • ปี 2544-2548 รัฐบาลของทักษิณ ชินวัตร ออก พ.ร.ก. 8 ฉบับ
  • ปี 2548-2549 รัฐบาลของทักษิณ ชินวัตร ออก พ.ร.ก. 1 ฉบับ
  • ปี 2549-2551 รัฐบาลของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ออก พ.ร.ก. 1 ฉบับ
  • ปี 2551 รัฐบาลของสมัคร สุนทรเวช ออก พ.ร.ก. 0 ฉบับ
  • ปี 2551 รัฐบาลของสมชาย วงษ์สวัสดิ์ ออก พ.ร.ก. 0 ฉบับ
  • ปี 2551-2554 รัฐบาลของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ออก พ.ร.ก. 3 ฉบับ
  • ปี 2554-2557 รัฐบาลของยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ออก พ.ร.ก. 7 ฉบับ
  • ปี 2557-2566 รัฐบาลของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ออก พ.ร.ก. 31 ฉบับ

เห็นได้ว่า รัฐบาลของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา มีการใช้อำนาจ ครม. ในการออก พ.ร.ก. บ่อยครั้งกว่าค่าเฉลี่ยของรัฐบาลยุคก่อนหน้านี้ ทั้งที่เวลาครึ่งหนึ่งมีอำนาจเต็มในมือในฐานะคณะรัฐประหารอยู่แล้วด้วย จนกลายเป็นความเคยชินของการออกกฎหมายตามอำเภอใจ โดยไม่พิจารณาจากความจำเป็นเร่งด่วนและเสนอกฎหมายเข้าตามระบบ แต่อาศัยช่องทางลัดใช้อำนาจที่ไม่อาจมีผู้ใดคัดค้านได้