คิดถึงพวกเขาไหม?? ผลเลือกตั้ง’66 ทำคนหน้าคุ้นคนไหนหายไปจากสภาบ้าง

ผลการเลือกตั้งที่ออกมาในแต่ละครั้งเป็นเครื่องมือที่ดีที่สุดว่าประชาชนส่วนใหญ่ที่ไปออกเสียงลงคะแนนนั้นต้องการเห็นอนาคตประเทศเดินหน้าไปอย่างไร และยังมีประชาชนอีกมากน้อยเพียงใดที่เห็นแตกต่างกันไปในทิศทางอื่น ผลคะแนนบัญชีรายชื่อที่ทั้งประเทศใช้เบอร์เดียวกันและบัตรลงคะแนนเหมือนกันโดยยังเปิดโอกาสให้พรรคขนาดเล็กที่ได้เสียงหลักไม่กี่แสนมีตัวแทนได้ อาจสะท้อนถึงความต้องการอนาคตที่ประชาชนบ่งบอกได้ ส่วนผลคะแนนระบบ ส..เขต อาจบอกได้เพียงว่าใครได้คะแนนสูงที่สุด ส่วนคนอื่นๆ ที่ไม่ได้คะแนนอันดับหนึ่งกลายเป็นเสียงตกน้ำทั้งหมด

ผลจากระบบเลือกตั้งที่ใช้ในปี 2566 และการลงคะแนนในวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 อ้างอิงจากผลคะแนน 95% ของ กกต. เห็นได้ว่ามีคนหน้าใหม่ที่ไม่เคยอยู่ในการเมืองมาก่อนมีโอกาสได้เข้าสู่สภาเป็นครั้งแรกจำนวนมาก แต่คนหน้าคุ้นที่ยืนหยัดอยู่ในสภามายาวนาน เป็นสีสันประจำของการอภิปรายในสภา หรือคนที่โด่งดังแสงจับได้ช่วงหาเสียงจำนวนไม่น้อยเลยที่หลุดหรือสอบตกหายหน้าไปจากการเมืองรอบนี้

ชวนดูบางส่วนว่า คนที่เคยคุ้นหน้าคุ้นตากันในการเมืองไทย ใครที่หายไปบ้าง เผื่อว่าประชาชนจะคิดถึงพวกเขา

 

ขุนพลประชาธิปัตย์ตายเรียบ ทั้งใต้ ตะวันออก และกทม.

พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเคยเป็นขวัญใจคนชั้นกลางในเมืองสูญพันธุ์ในกรุงเทพฯ ไปตั้งแต่การเลือกตั้งปี 2562 แล้ว และในสถานการณ์การเมืองที่ขัดแย้งเป็นสองขั้วเมื่อพรรคอย่างประชาธิปัตย์พยายามจะเดินสายกลาง ไม่ประกาศตัวคัดค้านการสืบทอดอำนาจของคสช. อย่างเป็นปึกแผ่น แต่ก็ลังเลไม่ได้สนับสนุนอย่างจริงจัง จึงสูญเสียคะแนนนิยมระดับประเทศไป และในการเลือกตั้งปี 2566 ได้คะแนนระบบบัญชีรายชื่อประมาณเก้าแสนคะแนนเท่านั้น ซึ่งแปลงเป็นเก้าอี้นั่ง ส.. ได้ 2-3 ที่นั่งเท่านั้น คนที่เดินเข้ามาคนแรก คือ จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคที่ประกาศลาออกไปแล้ว, ชวน หลีกภัย อดีตประธานสภา และบัญญัติ บรรทัดฐาน หน้าเก่าอีกคนหนึ่งที่กำลังลุ้นอยู่

คนหน้าคุ้นหลายคนในพรรคอยู่ลำดับถัดๆ ไปในบัญชีรายชื่อหลุดทั้งหมดเช่น คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช, นิพนธ์ บุญญามนี อดีต รมช.มหาดไทย, องอาจ คล้ามไพบูลย์, จิตภัสร์ ตั๊น กฤดากร, วทันยา บุนนาค (มาดามเดียร์), สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อดีตผู้สมัครชิงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร, รัชดา ธนาดิเรก อดีตรองโฆษกสำนักนายกรัฐมนตรี, สุรบถ หลีกภัย (ปลื้ม), มัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข (ติ่ง) ฯลฯ

ในกรุงเทพมหานครผู้สมัครจากพรรคสีฟ้า ไม่ได้ที่นั่งเลย โดยพงศกร ขวัญเมือง ลูกชายอดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจากการแต่งตั้งโดยมาตรา 44″ ได้อันดับสองในเขต 4 แต่ห่างจากอันดับหนึ่งมาก, แทนคุณ จิตต์อิสระ ได้คะแนนมาเป็นอันดับ 4 ในเขต 13, สากล ม่วงศิริ, สุวัฒน์ ม่วงศิริ, วณิชชา ม่วงศิริ อดีตเจ้าของพื้นที่โซนกรุงเทพตะวันตกต้องตกไปเป็นอันดับสอง สาม และสี่ บางเขตในเมืองหลวงอดีตพรรคขนาดใหญ่ได้คะแนนน้อยเป็นเลขสามหลัก

ในภาคใต้ที่เคยเป็นพื้นที่หลักของประชาธิปัตย์ ปี 2566 คะแนนเสียงแตกออกเป็นหลายทาง และทำให้ขุนพลตัวหลักๆ ของพรรคเก่าแก่ไม่ได้เข้าสภาไปหลายคน เช่น สาทิตย์ วงษ์หนองเตย จังหวัดตรัง เขต 2 ได้คะแนนอันดับสอง แพ้ผู้สมัครจากพลังประชารัฐไปขาดลอย, ชินวรณ์ บุญญเกียรติ อดีตรองหัวหน้าพรรคและ ส.ส. 9 สมัยลงสมัครจังหวัดนครศรีธรรมราช เขต 7 ได้อันดับสี่ แพ้ผู้สมัครจากพรรคภูมิใจไทยไม่เห็นฝุ่น เช่นเดียวกับปุณณ์สิริ บุณยเกียรติ ลูกสาวที่ลงสมัครเขต 8, ราเมศ รัตนเชวง โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ อดีตเลขาฯประธานสภา ซึ่งมีบทบาทให้ความเห็นต่อสื่อในนามของพรรคมาต่อเนื่อง ลงสมัครจังหวัดพังงา เขต 2 ได้คะแนนที่หลักพันหลุดไปเป็นอันดับห้า, เมธี อรุณ (นักร้องวงลาบานูน) ที่เพิ่งเข้ามาเป็นสีสันในพรรค ลงสมัครจังหวัดยะลา เขต 2 ได้คะแนนอันดับสองโดนทิ้งห่างโดยพลังประชารัฐอีกคน

ในภาคตะวันออก สาธิต ปิตุเตชะ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข นำทีมบ้านใหญ่ทั้งธารา พศิน ฉัตรชัย แพ้ราบคาบให้กับพรรคก้าวไกลทุกเขต

 

พลังประชารัฐ คนยังถูกเลือก แต่พรรคไม่เลือกแล้ว

พรรคพลังประชารัฐในปี 2566 ไม่เหลือคราบเดิมในปี 2562 เพราะ ส.. หลายคนย้ายพรรคออกไปมาก ไม่ว่าจะย้ายตาม พล..ประยุทธ์ ไปรวมไทยสร้างชาติ หรือย้ายข้ามฟากไปเพื่อไทย หรือบางส่วนก็ไหลไปภูมิใจไทยไม่น้อย แต่ขุนพลเจ้าของพื้นที่หลักๆ ยังยึดหัวหาดไว้ได้ เช่น ธรรมนัส พรหมเผ่า และผองเพื่อนกวาดทั้งสามเก้าอี้จากเมืองพะเยา เมืองกำแพงเพชร และเพชรบูรณ์ ยังเหมาได้ทั้งจังหวัด ขณะที่ตระกูลเทียนทอง ก็อยู่กับที่มั่นสระแก้วสองเก้าอี้ อีกเก้าอี้นึงเปลี่ยนให้เพื่อไทยที่เป็นเทียนทองเหมือนกัน

แม้จะได้ ส..เขตรวม 39 ที่นั่ง แต่บัญชีรายชื่อได้คะแนนมาแค่หลักห้าแสนเท่านั้น เปลี่ยนเป็นเก้าอี้อย่างมากได้แค่สอง คือ พล..ประวิตร วงษ์สุวรรณ กับสันติพร้อมพัฒน์ ส่วนพื้นที่อื่นๆ ไม่เหลือคะแนนบัญชีรายชื่อให้เลย เช่น กรุงเทพมหานครเขต 1 เดิมได้ ส..กานต์กนิษฐ์ แห้วสันตติ ที่ย้ายขั้วไปเพื่อไทย รอบนี้บัญชีรายชื่อเขตนี้ได้แค่ 744 คะแนน, กรุงเทพมหานคร เขต 17 เจ้าของพื้นที่เดิมศิริพงษ์ รัสมี ยังอยู่กับพรรครอบนี้ ได้คะแนน ส.. เขตที่ 18,000+ แต่กลับได้คะแนนบัญชีรายชื่อแค่ 1,700+ แสดงให้เห็นว่าคนกรุงเทพฯ ไม่เลือกลุงป้อม

เมื่อได้คะแนนบัญชีรายชื่อน้อยกว่า ส.. แบบแบ่งเขตมาก ส่งผลให้บิ๊กเนมของพรรคที่เข้าคิวอยู่ในบัญชีรายชื่อตกกระป๋องกันหมด ไล่ตั้งแต่ ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ ลำดับที่สาม อดีตรัฐมนตรีกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม, อุตตม สาวนายน หัวหน้าพรรคคนแรก และสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ อดีตเลขาธิการคนแรก ที่ตั้งพรรคมาเองกับมือ, ไพบูลย์ นิติตะวัน ผู้ออกหน้าทุกอย่างแทนสองลุงมาก่อนหน้านี้, มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ อดีตฝ่ายค้านที่ลอยย้ายขั้วมา

วิรัช รัตนเศรษฐ อดีตวิปฯ ฝ่ายรัฐบาลมือเจรจา มือดีลของรัฐบาลที่แล้ว พร้อมลูกชาย อธิรัช อุตส่าห์ได้อยู่บัญชีรายชื่อลำดับ 4 และ 9 แต่ไม่ได้เป็น ส.. ทั้งคู่ พร้อมกับครอบครัวตระกูลเดียวกันอีกสามคนที่ลงสมัครในจังหวัดนครราชสีมา แพ้เรียบทั้งตระกูล, สกลธี ภัททิยกุล อดีตผู้สมัครชิงเก้าอี้ผู้ว่าฯ กทม.ที่ประกาศยอมรับรัฐประหาร และนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ที่ย้ายมาจากประชาธิปัตย์ ก็หมดบทบาททางการเมืองต่อไป ด้านเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ มือยื่นคำร้องตัดขาฝ่ายตรงข้ามที่ย้ายขั้วมาจากเพื่อไทยพร้อมได้รถหรูคันใหม่ อยู่ลำดับที่ 22 ก็ห่างไกลที่จะได้เข้าสภา

อันวาร์ สาและ อดีต ส..ประชาธิปัตย์ที่ไม่ยอมลงมติไว้วางใจให้รัฐบาล พล..ประยุทธ์ ย้ายมาอยู่กับพลังประชารัฐ ลงสมัครจังหวัด ปัตตานีเขต 5 ไม่ได้เสียงมากพอ, อาดิลัน อาลีอิสเฮาะ ทนายความสิทธิมนุษยชนสายหนุน พล..ประยุทธ์ ก็แพ้ให้กับพรรคประชาชาติที่จังหวัดยะลา เขต 1, กรุงศรีวิไล สุทินเผือก ลงสมัครจังหวัดสมุทรปราการ เขต 8 ได้คะแนนไม่น้อยแต่สู้กระแสพรรคก้าวไกลไม่ได้

 

เพื่อไทยเหงาๆ ขุนพลอีสานหาย เชียงใหม่หาย กรุงเทพฯ หาย

พรรคที่เจอกระแสส้มมาเซอร์ไพรส์ที่สุดน่าจะเป็นพรรคเพื่อไทย ที่เคยประกาศยุทธศาสตร์แลนด์สไลด์แต่สุดท้ายกลับเสียพื้นที่สำคัญๆ ให้กับพรรคฝ่ายเดียวกันอย่างก้าวไกล จนเหลือ ส..แบบแบ่งเขตประมาณ 112 คน ถือว่าน้อยลงกว่าการเลือกตั้งปี 2562 โดยกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลถูกพรรคสีส้มกวาดเรียบ เหลือเพียงลาดกระบัง หนึ่งเขตไว้ให้ลุ้นสำหรับ..อิ่มธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ ส่วนนนทบุรี สมุทรปราการ กลายเป็นพื้นที่สีส้มไปทั้งหมด

สุรชาติ เทียนทอง กรุงเทพมหานคร เขต 8 ที่ได้ชื่อว่า เป็นคนรุ่นใหม่ของพรรค, อ๋อม สกาวใจ พูลสวัสดิ์ อดีตดารานักแสดงที่หันมาลงสนาม เขต 13, จิรายุ ห่วงทรัพย์ เขต 16 อดีตผู้ประกาศข่าวที่กลายมาเป็นตัวหลักในการอภิปรายของสภาชุดก่อน หรือ จิรวัฒน์ อรัณยกานนท์ เขต 31 ที่ย้ายไปจากพรรคก้าวไกล ล้วนสอบตกเรียบ

สำหรับพื้นที่ภาคอีสานซึ่งเดิมเคยเป็นพื้นที่สีแดงแต่ถูกท้าทายมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วยพลังหลายรูปแบบ มาถึงในปี 2566 ก็ต้องเสียขุนพลไปอีกหลายคน จังหวัดมหาสารคาม เขต 3 “โจ้” ยุทธพงษ์ จรัสเสถียร เสียที่นั่งให้กับผู้สมัครจากภูมิใจไทย, สมคิด เชื้อคง ดาวสภาจากจังหวัดอุบลราชธานี เขต 10 ถูกปาฏิหาร์ย์แลนด์สไลด์ของผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทรวมพลังทิ้งไปไม่เห็นฝุ่น

ภาคเหนือ ซึ่งเคยเป็นบ้านเกิด และเชียงใหม่ซึ่งเคยเป็นเมืองหลวงของพรรคเพื่อไทย กลับโดนพรรคก้าวไกลปาดหน้าคว้าเก้าอี้ไปหลายเขต จนเหลือให้เจ้าของเดิมแค่สองเก้าอี้ ทัศนี บูรณุปกรณ์ หรือ ส.. กุ้ง จังหวัดเชียงใหม่ เขต 3 ก็เสียที่นั่งให้ก้าวไกล, สุรพล เกียรติไชยการ ที่เคยชนะแต่ถูกใบส้มในปี 2562 ลงสมัครใหม่ในเขต 9 แพ้ผู้สมัครจากพลังประชารัฐ ด้านสงวน พงษ์มณี เจ้าของพื้นที่ลำพูน 5 สมัยก็เสียให้กับพรรคก้าวไกลเขต 1

ด้านบัญชีรายชื่อ เพื่อไทยน่าจะได้ 29 ชื่อ และส่งให้ ดร.หญิง ลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์ ได้เป็น ส.. อาจจะลำดับสุดท้าย แต่ขณะเดียวกันก็มีคนมีชื่อเสียงอีกมากที่พรรคจัดไว้ลำดับหลังๆ เหมือนไม่ได้ตั้งใจจะเป็น ส.. แล้วก็อาจจะไม่มีโอกาสได้อยู่ในสภาชุดใหม่ เช่น พิชัย นริพทะพันธุ์, สนธยา คุณปลื้ม, ภูมิธรรม เวชยชัย, ณหทัย ทิวไผ่งาม หรือนักกิจกรรมรุ่นใหม่อย่าง ชานันท์ ยอดหงษ์ ก็อาจจะไม่ได้เข้าสภาเช่นกัน

 

ภูมิใจไทย เหนียวแน่นในบ้าน แต่คะแนนพรรคไม่มา

พรรคภูมิใจไทยยังเหนียวแน่นในบ้าน เมื่อทุกเก้าอี้ในบุรีรัมย์ อ่างทอง อุทัยธานี พิจิตร ยังกวาดได้ทุกเก้าอี้ แม้คะแนนจะเริ่มถูกจี้หลังมาบ้าง แต่ในระดับพรรคบัญชีรายชื่อนั้น เรียกว่าเสียหน้าเพราะขณะที่ได้ ส.. แบบแบ่งเขตถึง 67 ที่นั่งมากเป็นอันดับสาม แต่คะแนนพรรคกลับได้แค่หนึ่งล้านเศษๆ น้อยกว่าการเลือกตั้งครั้งก่อนเป็นเท่าตัว แถมในบุรีรัมย์เองคะแนนปาร์ตี้ลิสต์ก็ได้อยู่ระดับที่ยี่สิบกว่าๆ เปอร์เซ็นต์เท่านั้น เริ่มเห็นว่า ประชาชนอาจจะยังรักคนในพื้นที่แต่ไม่ได้ชื่นชอบแนวทางของพรรคการเมืองนี้

ส่งผลให้บิ๊กเนมอย่าง พุฒิพงษ์ ปุณณกันต์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (กระทรวงดีอี) ซึ่งอยู่บัญชีรายชื่อลำดับ 7, ศุภชัย ใจสมุทร ดาวสภามืออภิปราย ซึ่งอยู่บัญชีรายชื่อลำดับ 8 ไม่น่าจะกลับเข้ามานั่งในสภาชุดใหม่ได้แล้ว

ในด้าน ส.. ระบบแบ่งเขตที่เป็นช้างล้มก็มีไม่น้อย จังหวัดนครสวรรค์ เขต 2 วีระกร คำประกอบ อดีต ส.. ที่ย้ายหนีประยุทธ์มาซบภูมิใจไทย แพ้ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย, เกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร อดีต ส.ส. 5 สมัยเจ้าของพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เขต 1 เสียให้กับผู้สมัครหน้าใหม่จากพรรคก้าวไกล, สิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ (เสี่ยโต้ง) จังหวัดศรีษะเกษ เขต 1 ผู้เคยปฏิเสธไม่ยอมเลือก พล..ประยุทธ์ และประกาศงดออกเสียง เสียเก้าอี้ให้พรรคเพื่อไทยแล้ว

 

รวมไทยสร้างชาติ ประคองตัวจากคะแนนปาร์ตี้ลิสต์มากเป็นอันดับสาม

ผลเลือกตั้งระบุว่า พรรคที่เตรียมอยากเสนอ พล..ประยุทธ์ เป็นนายกฯ นั้นเป็นพรรคขนาดกลางของแท้ น่าจะได้ ส.. ระบบแบ่งเขต 23 ที่นั่ง แต่คะแนนปาร์ตี้ลิสต์ ได้มากเป็นอันดับสามของประเทศ มากกว่าสี่ล้านคะแนน น่าจะแปลงเป็นเก้าอี้ ส.. ได้ 13 ที่นั่ง แสดงให้เห็นถึงปริมาณคนชอบรัฐบาลเดิมหรือคนที่เกลียดกลัวฝ่ายค้านเดิม คะแนนเท่านี้ทำให้ เอกนัฏ พร้อมพันธุ์ แกนนำกปปส. กลับเข้าสภา พร้อมกับสุชาติ ชมกลิ่น ที่ทิ้งพื้นที่ชลบุรีขอมาอยู่ลำดับที่ 5 ตามมาด้วยชัชวาลย์ คงอุดม หรือ ชัช เตาปูน, จุติไกรฤกษ์ ที่ย้ายมาจากประชาธิปัตย์ และหน้าเก่าอย่างธนกร หวังบุญคงชนะ

เสกสกล อัตถาวงศ์ หรือ แรมโบ้ แม้จะออกตัวช่วยหาเสียงให้รัฐบาลก่อนมาตลอดแต่ถูกวางไว้เป็นลำดับที่ 15 ไม่ได้เป็น ส.., อัศวิน ขวัญเมือง อดีตผู้ว่าฯ แต่งตั้งโดย ม. 44 ถูกวางไว้เป็นลำดับที่ 20 ยังห่างไกล คงไม่ได้กลับมาทำงานการเมืองในเร็ววันนี้

ผู้สมัคร ส.. แบบแบ่งเขตของพรรคที่ตั้งใหม่นี้ส่วนใหญ่ไม่ใช่บิ๊กเนมนัก ได้ที่นั่งมาจำนวนมากจากสุราษฎร์ธานี ก็ถือว่าทำให้พรรคที่อยากเสนอนายกรัฐมนตรีพอไปไหว แต่ก็ได้เสียเขตรัฐ เหล่าธรรมทัศน์ อดีตทีมลุงกำนันที่ลงสมัครกรุงเทพมหานครเขต 10 ออกจากสภาไป ศราวุฒิ ศรัณย์เกตุ ผู้เคยยืนอภิปรายไม่ไว้วางใจ พล..ประยุทธ์ยืดเยื้อยาวนานกว่าสามชั่วโมงที่ย้ายข้ามขั้วมาจากเพื่อไทย ลงสมัครที่อุตรดิตถ์ เขต 3 ได้ไปเพียง 12,000+ คะแนน ส่วนพงศ์พล ยอดเมืองเจริญ หรือลอรี่ คนรุ่นใหม่ที่ขึ้นเวทีดีเบตให้พรรคหลายครั้ง ลงสมัครกรุงเทพมหานครเขต 22 ได้คะแนนไปไม่น้อยที่ 16,000+ แต่ไม่ได้เป็น ส..

 

พรรคเล็กอยู่ยาก เหลือปาร์ตี้ลิสต์แบบเงียบเหงา

ระบบเลือกตั้งในปี 2566 ทำให้พรรคการเมืองขนาดใหญ่ต้องประชันผลงานกันส่วนพรรคการเมืองขนาดเล็กอยู่ยากและมีโอกาสได้ ส.. ระบบบัญชีรายชื่อน้อย ซึ่งสามพรรคที่แสดงให้เห็นชัดเจน ก็คือ พรรคไทยสร้างไทย เสรีรวมไทย และชาติพัฒนากล้า

พรรคไทยสร้างไทย เหมือนจะได้รับกระแสตอบรับที่ดีมากจากเวทีดีเบตที่นำโดย น..ศิธา ทิวารี ซึ่งอยู่บัญชีรายชื่อลำดับที่ 5 แต่คะแนนที่ได้รับมาราว 330,000+ ส่งให้คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ เป็น ส..ได้คนเดียวจากระบบบัญชีรายชื่อ ทิ้งให้อนุดิษฐ์ นาครทรรพ อดีตรัฐมนตรีสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ยังไม่ได้เข้าสภาต่อไป

พรรคเสรีรวมไทย ได้คะแนนจากระบบบัญชีรายชื่อราว 340,000+ มากกว่าไทยสร้างไทยอยู่เล็กน้อย ถือว่าคะแนนน้อยลงมากจากการเลือกตั้งปี 2562 ส่งให้หัวหน้าพรรคได้เข้าสภาคนเดียว แต่สมชัย ศรีสุทธิยากร ผู้สมัครลำดับที่ 6 ดูยังห่างไกลจากโอกาสเป็น ส.. สมัยแรก

พรรคชาติพัฒนากล้า พยายามปรับตัวสู้ระบบเลือกตั้งนี้แล้วโดยควบรวมกันสองพรรค แต่ท่าทีไม่เอาทั้งรัฐประหาร ไม่เอาทั้งประชาธิปไตยกลับไม่ได้ประสบความสำเร็จในการดึงคะแนนท่ามกลางสถานการณ์บ้านเมืองใน พ..นี้ และได้คะแนนบัญชีรายชื่อราว 200,000+ ส่งได้เพียงวรรณรัตน์ ชาญนุกูล เข้าสภาในฐานะลำดับแรก ส่วนอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี ที่ออกหน้าแทนพรรคมาตลอดหนีจากระบบแบ่งเขตแปลกประหลาด มาลงบัญชีรายชื่อลำดับสองยังไม่ได้เข้าสภา เช่นเดียวกับ เยาวภา บุรพลชัย อดีตนักเทควันโดก็ไม่ได้เข้าสักสักที

ส่วนเทวัญ ลิปตพัลลภ อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ไปลงสมัครที่จังหวัดนครราชสีมา เขต 1 ถึงจะเป็นพื้นที่เดิมของชาติพัฒนาแต่ก็แพ้ยกจังหวัดได้คะแนนมาเป็นลำดับที่สอง ปิดฉากนามสกุลลิปตพัลลภไม่เหลือที่ยืนในสภาสมัยหน้าต่อไป

 

พรรคจิ๋วๆ ยังไม่ได้โอกาสอย่างที่คาดหมาย

พรรคไทยภักดี ที่ชัดเจนแน่วแน่มาตลอดในสนามเลือกตั้ง ชูนโยบายปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ เพิ่มโทษมาตรา 112 ได้คะแนนในระบบบัญชีรายชื่อ 100,000+ ได้เป็นลำดับที่ 19 ของประเทศไม่ได้ที่นั่ง ส่งนพ.วรงค์ เดชวิกรม อยู่นอกสภาอีกสมัย

พรรคเพื่อชาติ ที่สมาชิกเก่าหายหน้า แต่กลับมาใหม่โดยชูความเป็นคนรุ่นใหม่ของมาดามฮายปวิศรัฐฐ์ ติยะไพรัช แต่ไม่ส่งตัวผู้สมัครลงจังหวัดเชียงรายที่เป็นบ้านเกิดตัวเอง ขณะที่พี่สาวแม้จะได้เข้าสภาแต่ก็ในฐานะ ส.. จังหวัดเชียงราย เขต 2 พรรคเพื่อไทย แต่น้องสาวได้คะแนนปาร์ตี้ลิสต์รวมทั้งพรรค 59,000+ ไม่ได้เป็น ส.. และพรรคเพื่อชาติจบอนาคตทางการเมืองในครั้งนี้ไม่มีที่นั่งในสภาใหม่

พรรคเปลี่ยน ของ พันธ์ธวัช นาควิสุทธิ์ หรือ นอท กองสลากพลัส ที่ติดป้ายเต็มกรุงเทพฯ ได้คะแนนไป 52,000+ พรรคเส้นด้าย ของคริส โปตระนันท์ ก็ได้คะแนนไปเพียง 10,303 ส่วนพรรคที่เคยได้ที่นั่งปัดเศษ อย่างไทยศิวิไลซ์ของมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ ได้คะแนนไป 23,000+ ไม่ได้อยู่ต่อ

You May Also Like
อ่าน

ส่องวาระศาลรัฐธรรมนูญ-องค์กรอิสระ สว. 67 เคาะเลือกคนใหม่ได้เกินครึ่ง

พฤษภาคม 2567 สว. ชุดพิเศษ จะหมดอายุแล้ว แต่ สว. ชุดใหม่ ยังคงมีอำนาจสำคัญในการเห็นชอบตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ ภายใต้วาระการดำรงตำแหน่งของ สว. ชุดใหม่ จะมีอำนาจได้ “เกินครึ่ง” ของจำนวนตำแหน่งทั้งหมด
อ่าน

กรธ. ชุดมีชัย ออกแบบระบบ สว. “แบ่งกลุ่มอาชีพ”-“เลือกกันเอง” สุดซับซ้อน!

ระบบ “เลือกกันเอง” สว. 67 ที่ให้เฉพาะผู้สมัคร ซึ่งต้องจ่ายค่าธรรมเนียม 2,500 บาท มีสิทธิโหวต คิดค้นโดยคนเขียนรัฐธรรมนูญ 2560 นำโดยมีชัย ฤชุพันธุ์