เมื่อแรงงานที่ไม่มีสัญชาติไทยต้องไปศาลรัฐธรรมนูญ #ม33เธอรักกันแต่ฉันถูกลืม #Section33MigrantWorkersNeverbeLoved
ระบบประกันสังคม มาตรา 33 เป็นกฎหมายที่นายจ้างที่มีลูกจ้างตั้งแต่หนึ่งคนขึ้นไปต้องนำลูกจ้างขึ้นทะเบียนและส่งเงินสบทบโดยไม่เลือกเชื้อชาติและสัญชาติ แต่ทว่า ช่วงเวลาวิกฤตโควิดที่ผ่านมา ผู้ประกันตนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยกับถูกเลือกปฏิบัติ ไม่ว่ากี่โครงการที่รัฐบาลเยียวยาแรงงานข้ามชาติและไร้สัญชาติกลับเข้าไม่ถึงการเยียวยาใดใดในระดับนโยบาย จนนำมาสู่การยื่นคำร้องต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ กระทรวงแรงงาน กรรมาธิการแรงงาน ผู้ตรวจการแผ่นดิน จนจำต้องไปศาลรัฐธรรมนูญ ในวันที่ 9 ธันวาคมนี้ ประเทศไทยจะก้าวไปอย่างไรหากยังมีคนกลุ่มหนึ่งถูกทิ้งไว้ข้างหลัง ร่วมฟังและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของแรงงานเจ้าของเสียงที่ไม่เคยได้ยิน และแนวโน้มในการทางออกให้กับประเทศไทย
พูดคุยกับ
-SAI SAI (ซาย ซาย) เจ้าหน้าที่ด้านภาษา มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (HRDF) ตัวแทนผู้ประกันแรงงานข้ามชาติ
-ออย ยุวดี ลูกจ้างทำงานบ้าน ตัวแทนผู้ประกันแรงงานไร้สัญชาติ
-ปภพ เสียมหาญ ผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (HRDF)
- วรรณวิภา ไม้สน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรรมาธิการการสวัสดิการสังคม
- ศรีไพร นนทรีย์ ตัวแทนแรงงานไทย สหภาพแรงงานย่านรังสิตและใกล้เคียง
ดำเนินรายการโดย ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw)
วันที่ 7 ธันวาคม 64
19.00 – 20.30 น.
ทางทวิตเตอร์สเปซ @ilawclub และถ่ายทอดสดบนเฟซบุ๊กเพจ Human Right and Development Foundation