ประกวดออกแบบ “รัฐธรรมนูญในฝัน” ประจำปี 2562

หลักการและเหตุผล
ทั้งก่อนและหลังการเลือกตั้ง ประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญก็ยังคงเป็น ‘วาระหลักของประเทศ’ ซึ่งปัจจุบัน การแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ถูกบรรจุอยู่ในนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล และมีแรงสนับสนุนจากพรรคการเมืองที่เป็นฝ่ายค้านและพรรคฝ่ายรัฐบาล เนื่องจาก รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน หรือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ได้สร้างข้อจำกัดต่อการบริหารราชการแผ่นดิน รวมไปถึงการเป็นอุปสรรคในการส่งเสริมคุ้มครองหลักสิทธิมนุษยชนและระบอบประชาธิปไตย
เนื่องด้วยวาระการแก้ไขรัฐธรรมนูญกำลังเป็นกระแสและโจทย์ใหญ่ในสังคมไทย โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน จึงอยากขอเชิญนักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ส่งผลงานเข้าประกวดเรียงความและคลิปวิดีโอว่าด้วยรัฐธรรมนูญในฝันที่ส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและสิทธิพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของการแสวงหาข้อตกลงร่วมในการอยู่ร่วมกันโดยเคารพในหลักสิทธิมนุษยชนและหลักประชาธิปไตย
วัตถุประสงค์ 
  • เพื่อแสวงหาฉันทามติร่วมในการออกแบบกติกาในการอยู่ร่วมกัน
  • เพื่อส่งเสริมประชาชนในการใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงออก
  • เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการออกแบบรัฐธรรมนูญ
  • สร้างข้อถกเถียงและผลักดันความคิดใหม่ๆ ในการร่างรัฐธรรมนูญ
ลักษณะผลงานที่ส่งเข้าประกวด 
  • งานเขียนเรียงความว่าด้วยรัฐธรรมนูญที่ส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและสิทธิพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย 
  • คลิปวิดีโอว่าด้วยรัฐธรรมนูญที่ส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและสิทธิพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย (เช่น หนังสั้น สารคดี แอนิเมชัน) 
หมายเหตุ: ผลงานที่ส่งประกวดต้องสะท้อนแนวคิดรัฐธรรมนูญในฝันของตัวผู้ส่งผลงานอย่างชัดเจน
คุณสมบัติและเงื่อนไขการส่งประกวด 
  • มีชื่อเรื่องของผลงาน
  • ผู้ส่งผลงานจะมีสิทธิ์ส่งผลงานได้เพียง 1 ชิ้น
  • ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดจะต้องสร้างสรรค์ผลงานด้วยตัวเอง ไม่คัดลอกหรือละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่น
  • เป็นผลงานที่ทำขึ้นใหม่ โดยไม่เคยพิมพ์เผยแพร่ในสื่อทุกประเภทมาก่อน
  • งานที่ส่งเข้าประกวดเป็นลิขสิทธิ์ของผู้สร้างสรรค์งาน แต่การส่งเข้าประกวดเท่ากับยินยอมให้ iLaw และเครือข่ายเผยแพร่ผลงานนั้นๆ เพื่อการรรณรงค์สร้างรัฐธรรมนูญที่มาจากประชาชน
  • งานประเภทเรียงความต้องเป็นภาษาไทย มีความยาวไม่เกิน 5 หน้าเอสี่ ใช้ตัวพิมพ์คอมพิวเตอร์ Cordia New ขนาด 16 ตัวพิมพ์(Point) 
  • งานประเภทคลิปวิดีโอต้องมีความยาวไม่เกิน 7 นาที
  • งานประเภทคลิปวิดีโอ ผู้ส่งผลงานจะเป็นบุคคลหรือเป็นทีมก็ได้
รางวัลการประกวด 
(1) ระดับมัธยมศึกษา 
รางวัลชนะเลิศ 1 รางวัล เงินรางวัล 5,000 บาท และเกียรติบัตร 
รางวัลรองชนะเลิศ 1 รางวัล เงินรางวัล 3,000 บาท และเกียรติบัตร 
รางวัลชมเชย ได้รับเกียรติบัตร ไม่จำกัดจำนวน 
(2) ระดับอุดมศึกษา 
รางวัลชนะเลิศ 1 รางวัล เงินรางวัล 5,000 บาท และเกียรติบัตร 
รางวัลรองชนะเลิศ 1 รางวัล เงินรางวัล 3,000 บาท และเกียรติบัตร 
รางวัลชมเชย ได้รับเกียรติบัตร ไม่จำกัดจำนวน
(3) ระดับประชาชนทั่วไป 
รางวัลชนะเลิศ 1 รางวัล เงินรางวัล 5,000 บาท และเกียรติบัตร 
รางวัลรองชนะเลิศ 1 รางวัล เงินรางวัล 3,000 บาท และเกียรติบัตร 
รางวัลชมเชย ได้รับเกียรติบัตร ไม่จำกัดจำนวน
วิธีส่งผลงานเข้าประกวด
  • งานประเภทเรียงความสามารถส่งผลงานในรูปแบบต้นฉบับพิมพ์เอสี่ หรือไฟล์ Word หรือ PDF 
  • งานประเภทคลิปวีดีโอสามารถส่งผลงานในรูปแบบซีดี แบบไฟล์ หรือ Link Youtube
  • เขียนชื่อและนามสกุลจริง และ/หรือ นามปากกา ที่อยู่ เบอร์ติดต่อ พร้อมระบุประเภทผลงานและรุ่นที่ส่งประกวด
  • การส่งผลงานเข้าประกวดสามารถส่งได้ดังนี้
    • ทางอีเมล์ [email protected]  (เขียนหัวข้ออีเมล์ว่า ส่งผลงานประกวดออกแบบรัฐธรรมนูญในฝัน) 
    • ทางไปรษณีย์ ตู้ ปณ. 79 ปณศ. สามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 (นับวันส่งตามประทับตราไปรษณีย์)
กำหนดระยะเวลา 
  • เปิดรับผลงานเข้าประกวด ตั้งแต่บัดนี้ ถึงวันที่ 10 พฤศจิกายน 2562 
  • ประกาศผลการตัดสิน 10 ธันวาคม 2562 
  • มอบรางวัล 15 ธันวาคม 2562 
คณะกรรมการตัดสิน
งานประเภทเรียงความ
  • สราวุธ เฮ้งสวัสดิ์ (นิ้วกลม) นักคิด นักเขียน นักทำสารคดี เป็นที่รู้จักผ่านผลงานเขียน  โตเกียวไม่มีขา,หยดน้ำในกองไฟ,หิมาลัยไม่มีจริง ฯลฯ  
  • สฤณี อาชวานันทกุล นักแปล นักวิชาการอิสระ และคอลัมนิสต์  เจ้าของผลงานแปล วิชาสุดท้าย (ที่มหาวิทยาลัยไม่ได้สอน) ,  สังคมไทยในวังวนแห่งวิกฤตเปลี่ยนผ่าน ฯลฯ
  • ผศ.ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และคอลัมนิสต์  เจ้าของผลงานหนังสือ และแล้วความเคลื่อนไหวก็ปรากฏ,ประชาธิปไตยในยุคเปลี่ยนผ่าน ฯลฯ
งานประเภทคลิปวิดีโอ
  • วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง ผู้กำกับและนักเขียนบทภาพยนตร์ ผลงานโดดเด่นเช่น  ฟ้าทะลายโจร , หมานคร และล่าสุด Ten Years Thailand ตอน Catopia
  • ธิดา ผลิตผลการพิมพ์ นักวิจารณ์ภาพยนตร์ บรรณาธิการนิตยสาร  Bioscope และหนึ่งในผู้ก่อตั้ง  ‘Documentary Club’  
  • ผศ.ดร.พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคอลัมน์ลิสต์ เจ้าของผลงานหนังสือ  เผด็จการวิทยา, ประชาธิปไตยฯโดยสังเกต, ฯลฯ
หลักเกณฑ์การพิจารณาตัดสินรางวัล 
เนื้อหา 70 คะแนน
  • เนื้อหาส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย (30 คะแนน)
  • เนื้อหาร่วมสมัยต่อสถานการณ์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ (10 คะแนน)
  • มีความสร้างสรรค์  (10 คะแนน)
  • มีข้อเสนอชัดเจนต่อการประยุกต์ใช้ (20 คะแนน)
วิธีการนำเสนอ 30 คะแนน
  • การวางโครงเรื่อง/การลำดับเรื่อง
  • การใช้ภาษาสละสลวยและถูกต้อง (ประเภทเรียงความ)
  • เทคนิคการถ่ายทำ (ประเภทคลิปวิดีโอ)