เลือกตั้ง 62: 81 พรรคการเมืองในสนามเลือกตั้ง เกินครึ่งเป็นพรรคตั้งใหม่

การเลือกตั้ง 24 มีนาคม 2562 มีผู้สมัคร ส.ส. แบบแบ่งเขตถึง 11,181 คน ซึ่งมากกว่าการเลือกตั้งครั้งก่อนถึง 4.6 เท่า และในเขตเลือกตั้งที่ 9 ของจังหวัดขอนแก่น เป็นเขตเลือกตั้งที่มีผู้สมัครมากที่สุดถึง 44 คน ส่วนพรรคการเมืองในสารบบ จำนวน 106 พรรค ลงสู่สนามเลือกตั้ง 81 พรรค ไม่ลงสู่สนามเลือกตั้ง 25 พรรค โดยพรรคการเมืองตั้งใหม่ไม่ลงสู่สนามเลือกตั้งเพียง 2 พรรค ที่เหลืออีก 44 พรรค ลงสนามเลือกตั้ง 

บัตรเลือกตั้ง ขอนแก่นเขต 9 มีผู้สมัคร ส.ส. ให้เลือกถึง 44 คน/พรรค

ในการเลือกตั้งครั้งนี้ 24 มีนาคม 2562 มีผู้สมัคร ส.ส. แบบแบ่งเขตมากถึง 11,181 คน และผู้สมัคร ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อถึง 2,917 คน ซึ่งมากเป็นเท่าตัวจากการเลือกตั้งครั้งก่อนคือ 3 กรกฎาคม 2554  ซึ่งมีผู้สมัคร ส.ส. แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง 2,422 คน และผู้สมัคร ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ 1,410 คน เท่ากับว่าการเลือกตั้งครั้งนี้มีผู้สมัคร ส.ส. แบบแบ่งเขตมากขึ้น 4.6 เท่า และผู้สมัคร ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อมากขึ้น 2 เท่าจากการเลือกตั้งครั้งก่อน ทั้งที่จำนวนที่นั่ง ส.ส. ในสภามี 500 คนเท่ากันทั้งสองครั้ง แต่การเลือกตั้งปี 2554 แบ่งเป็น ส.ส. แบบแบ่งเขต 375 คน และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ จำนวน 125 คน 

นอกจากนี้ ระบบเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสมที่บังคับให้พรรคต้องส่งผู้สมัคร ส.ส. แบบแบ่งเขตให้มากที่สุดเพื่อจะได้คะแนน ส.ส. บัญชีรายชื่อ จึงเป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้มีผู้สมัคร ส.ส. เพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว 
การเลือกตั้งในปี 2562 แบ่งเป็น ส.ส. แบบแบ่งเขต 350 คน และ ส.ส. บัญชีรายชื่อ 150 คน พรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัคร ส.ส. แบบแบ่งเขต ครบ 350 เขต ได้แก่ พรรคประชาธิปัตย์ ภูมิใจไทย เสรีรวมไทย อนาคตใหม่ รวมพลังประชาชาติไทย และพลังประชารัฐ ส่วนพรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัคร ส.ส. บัญชีรายชื่อครบ 150 คน ได้แก่ พรรคประชาธิปัตย์ ภูมิใจไทย เพื่อชาติ และรวมพลังประชาชาติไทย ส่วนเขตเลือกตั้งที่มีผู้สมัคร ส.ส. มากที่สุด จำนวน 44 คน ได้แก่ เขต 9 ขอนแก่น และเขต 10 ขอนแก่น

23 พรรคการเมืองเก่าไม่ลงสู่สนามเลือกตั้ง

ในปี 2562 มีพรรคการเมืองจำนวน 106 พรรคการเมือง แบ่งเป็นพรรคการเมืองเดิม จำนวน 60 พรรค และพรรคการเมืองใหม่ จำนวน 46 พรรค ซึ่งพรรคการเมืองใหม่ทั้งหมดจัดตั้งขึ้นใน 2 สิงหาคม 2561 ถึง 18 กุมภาพันธ์ 2562 ภายใต้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560  หรือ ‘กฎหมายพรรคการเมือง’ ฉบับใหม่ 
จากข้อมูลการรับสมัคร ส.ส. ของ กกต. พบว่า พรรคการเมืองที่ลงสนามเลือกตั้งปี 2562 มีจำนวนทั้งสิ้น 81 พรรค พรรคการเมืองที่ไม่ส่งผู้สมัคร ส.ส. เลยสักคนเดียวมีจำนวน 25 พรรค ซึ่งในจำนวนนี้เป็นพรรคการเมืองเดิม 23 พรรค และเป็นพรรคการเมืองใหม่ 2 พรรค

พรรคการเมืองที่ไม่ส่งผู้สมัคร ส.ส. ในการเลือกตั้งปี 2562  

ลำดับ พรรคการเมือง วันจัดตั้ง หัวหน้าพรรค
1     พรรคเพื่อฟ้าดิน 5 เม.ย. 43     มิ่งหมาย มุ่งมาจน
2      พรรคธรรมาภิบาลสังคม 29 ส.ค. 51      ปราโมช ถาวร
3      พรรคประชาธรรม 16 เม.ย. 52      ชานนท์ เจะหะมะ
4      พรรครักประเทศไทย 18 ก.พ. 53      สุรพนธ์ เวชกร (ทำหน้าที่แทน)
5      พรรคประชาสามัคคี 8 มี.ค. 53      ศรัญญา เจริญสุข (ทำหน้าที่แทน)
6      พรรคไทยมหารัฐพัฒนา 6 ก.ค. 53      เชือก โชติช่วย
7      พรรครักษ์สันติ 21 เม.ย. 54       พล.ต.ท. ถวิล สุรเชษฐพงษ์
8      พรรคพลังชล 4 พ.ค. 54      สนธยา คุณปลื้ม
9      พรรคสร้างไทย 2 มิ.ย. 54      ประดิษฐ์ ครุฑเหิร
10      พรรคพลังเครือข่ายประชาชน 11 ก.ค. 55      กฤษอนงค์ สุวรรณวงศ์
11      พรรคชาติประชาธิปไตยก้าวหน้า 28 มิ.ย. 56      วิชิต ดิษฐประสพ
12      พรรคเพื่อสันติ 18 ก.ค. 56      ปราโมทย์ สมะดี
13      พรรคพลังประเทศไทย 31 ก.ค. 56       ดาชัย เอกปฐพี
14      พรรครวมพลังไทย 11 ก.ย. 56       อำนาจ แสงอำนาจเดช
15      พรรคเพื่ออนาคต 26 ก.ย. 56      พูลเดช กรรณิการ์
16      พรรคพลังไทยเครือข่าย 3 ต.ค. 56      มู่หำหมัดรุสดี โต๊ราหนี
17      พรรคชาติไทยสามัคคี 11 ต.ค. 56      นพพล คงบันนึก
18      พรรคเมืองไทยของเรา 28 พ.ย. 56      สิบเอก พิษณุ พุทธสิม
19      พรรคเงินเดือนประชาชน 25 ธ.ค. 56       กานท์ชญา เทียนแก้ว (ทำหน้าที่แทน)
20      พรรคปฏิรูปไทย 25 ก.พ. 57      วิเชียร สุขพันธุ์
21      พรรคพลังเกษตรกรไทย 21 เม.ย. 57       ระเด่นคุมภรี จันทร์ใจ
22      พรรคมหาประชาชน 6 พ.ค. 57      มลฤดี แย้มเกษสุคนธ์ (ทำหน้าที่แทน)
23      พรรคเอกราชไทย 19 พ.ค. 57      กัมปนาท เพิ่มสุข
24      พรรคพลังเพื่อไทย 11 ธ.ค. 61      เอกวรพงศ์ อำนวยทรัพย์
25      พรรคพัฒนาชาติ    

8 พรรคตั้งใหม่ส่ง ส.ส. เขตเกินสามร้อย

ถ้าใช้การแบ่งขนาดของพรรคการเมืองตามจำนวนผู้สมัคร ส.ส. แบบแบ่งเขต ที่ส่งลงสนามเลือกตั้ง ซึ่ง กกต. จะใช้จัดเวทีดีเบต หรือ เวทีประชันนโยบายบริหารประเทศ แบ่งเป็น กลุ่มแรก พรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัคร ตั้งแต่ 300-350 เขต คือ พรรคขนาดใหญ่ กลุ่มที่สอง พรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัคร ตั้งแต่ 200-299 เขต คือ พรรคขนาดกลาง และกลุ่มที่สาม พรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัคร น้อยกว่า 200 เขต คือ พรรคขนาดเล็ก
ในการเลือกตั้งปี 2562 พรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัคร ส.ส. แบบแบ่งเขต จำนวน 81 พรรค แบ่งเป็นพรรคการเมืองเดิม จำนวน 37 พรรค และพรรคการเมืองใหม่จำนวน 44 พรรค ถ้าว่ากันตามขนาดของพรรคการเมือง แบ่งเป็น
  • กลุ่มแรก พรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัคร ตั้งแต่ 300-350 เขต คือ พรรคขนาดใหญ่
มีจำนวนทั้งหมด 17 พรรค เป็นพรรคการเมืองเดิม 9 พรรค และพรรคการเมืองใหม่ 8 พรรค
  • กลุ่มที่สอง พรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัคร ตั้งแต่ 200-299 เขต คือ พรรคขนาดกลาง
มีจำนวนทั้งหมด 9 พรรค เป็นพรรคการเมืองเดิม 4 พรรค และพรรคการเมืองใหม่ 5 พรรค
  • กลุ่มที่สาม พรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัคร น้อยกว่า 200 เขต คือ พรรคขนาดเล็ก
มีจำนวน 55 พรรค เป็นพรรคการเมืองเดิม 24 พรรค และพรรคการเมืองใหม่ 31  พรรรค 
  พรรคที่ส่งผู้สมัคร 300-350 เขต พรรคที่ส่งผู้สมัคร 200-299 เขต พรรคที่ส่งผู้สมัคร 1-199 เขต
 1  พรรคประชาธิปัตย์ พรรคเพื่อไทย พรรคประชากรไทย 28 พรรคเพื่อนไทย
 2 พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคแผ่นดิน พรรคมหาชน 29 พรรคสยามพัฒนา
 3 พรรคภูมิใจไทย พรรคชาติพัฒนา พรรคกสิกรไทย 30 พรรคเพื่อคนไทย
 4 พรรคครูไทยเพื่อประชาชน พรรคประชาธิปไตยใหม่ พรรคความหวังใหม่ 31 พรรคแผ่นดินธรรม
 5 พรรคพลังท้องถิ่นไท พรรคไทยศรีวิไลย์ พรรคเครือข่ายชาวนาแห่งประเทศไทย 32 พรรคคลองไทย
 6 พรรครักษ์ผืนป่าประเทศไทย พรรคพลังปวงชนไทย พรรคแทนคุณแผ่นดิน 33 พรรคไทยรุ่งเรือง
 7 พรรคไทรักธรรม พรรคพลังไทยรักไทย พรรคอนาคตไทย 34 พรรคพลังรัก
 8 พรรคเสรีรวมไทย พรรคประชาชาติ พรรคสังคมประชาธิปไตยไทย 35 พรรคชาติพันธุ์ไทย
 9 พรรคเพื่อชาติ พรรคประชาธรรมไทย พรรคไทยรักษาชาติ 36 พรรคภูมิพลังเกษตรกรไทย
10 พรรคประชาภิวัฒน์   พรรคพลังคนกีฬา 37 พรรคพลังสังคม
11 พรรคประชาชนปฏิรูป   พรรคเพื่อธรรม 38 พรรคพลังแรงงานไทย
12 พรรคอนาคตใหม่   พรรคยางพาราไทย 39 พรรคไทสร้างชาติ
13 พรรครวมพลังประชาชาติไทย   พรรคพลังสหกรณ์ 40 พรรคพลังศรัทธา
14 พรรคพลังชาติไทย   พรรคถิ่นกาขาวชาววิไล 41 พรรคพลังแผ่นดินทอง
15 พรรคประชานิยม   พรรครักษ์ธรรม 42 พรรคกลาง
16 พรรคพลังประชารัฐ   พรรคพลังไทยรักชาติ 43 พรรคประชาไทย
17 พรรคเศรษฐกิจใหม่   พรรคเพื่อชีวิตใหม่ 44 พรรคกรีน
18     พรรคคนธรรมดาแห่งประเทศไทย 45 พรรคพัฒนาประเทศไทย
19     พรรครักท้องถิ่นไทย 46 พรรคฐานรากไทย
20     พรรคผึ้งหลวง 47 พรรคสามัญชน
21     พรรคเพื่อสหกรณ์ไทย 48 พรรคพลังครูไทย
22     พรรคประชาธิปไตยเพื่อประชาชน 49 พรรคภาคีเครือข่ายไทย
23     พรรคพลังประชาธิปไตย 50 พรรคพลังไทยดี
24     พรรคภราดรภาพ 51 พรรคเพื่อไทยพัฒนา
25     พรรคทางเลือกใหม่ 52 พรรคคนงานไทย
26     พรรคมติประชา 53 พรรคไทยธรรม
27     พรรครวมใจไทย 54 พรรคพลังธรรมใหม่
        55 พรรคพลเมืองไทย

 

*สีแดง พรรคการเมืองที่ตั้งขึ้นใหม่ ตั้งแต่วันที่ 2 สิงหาคม 2561 ถึง 18 กุมภาพันธ์ 2562