งานวิจัยนิด้าระบุประชาชนยังขาดความรู้เข้าถึงพ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสาร

พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 10กันยายน 2540 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ได้กำหนดสิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของราชการ กำหนดหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐให้ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย เพื่อรองรับตามหลักการ“สิทธิได้รู้” (Right to Know) ของประชาชน

สาระสำคัญของพ.ร.บ.ดังกล่าว คือ รัฐต้องเปิดเผยข้อมูลให้ประชาชนได้รับรู้ข้อมูลของทางราชการโดยอัตโนมัติ ดังต่อไปนี้

  

 

 และข้อมูลข่าวสารทางราชการที่กฎหมายยกเว้นไม่จำเป็นต้องเปิดเผย คือ

งานสัมมนา "อนาคตสังคมไทยโปร่งใส จากการใช้พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ" จัดโดย องค์กรเพื่อความโปร่งใสในประเทศไทย ศูนย์ศึกษากฎหมายและนโยบายสื่อมวลชน และธนาคาร ในวันที่ 14มิถุนายน 2554ณ บางกอกคลับ อาคารสาธรซิตี้ กรุงเทพฯ โดยมี สื่อมวลชน นักวิชาการ และประชาชนหลายภาคส่วนเข้าร่วมงาน

ภายในงานมีการนำเสนองานศึกษา “การพัฒนาระบบการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของประเทศไทย”โดย ทีมวิจัยโครงการพัฒนาระบบการเปิดเผยข้อมูลข้อมูลข่าวสารของประเทศไทย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ซึ่งเสนอภาพรวมของการร้องเรียนและอุทธรณ์ตามพ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสาร ตั้งแต่ปี พ.ศ.2540-2553 ว่า มีการร้องเรียนอุทธรณ์มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง และหน่วยงานที่ถูกร้องเรียนมากที่สุดคือ ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น 1,043 ครั้ง รองลงมาคือ กระทรวงศึกษาธิการ 489 ครั้ง และส่วนราชการอิสระ 145 ครั้ง ตามลำดับ

งานสัมมนา "อนาคตสังคมไทยโปร่งใส จากการใช้พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ"

ในงานวิจัยยังเปิดเผยว่า กลุ่มผู้ขอใช้ข้อมูลทางราชการ ส่วนมากจะเป็นเรื่องส่วนตัวมากกว่าส่วนรวม เช่น ตามหาผู้ยักยอกเงิน เรื่องชู้สาว การประเมินผลงานของพนักงานรัฐ การจัดซื้อจัดจ้าง และการสัมปทาน

หากพิจารณากลุ่มผู้ใช้ช่องทางการร้องเรียนต่อสำนักงานข้อมูลข่าวสารของทางราชการ จะพบว่า ประชาชนทั่วไปเป็นกลุ่มที่ร้องเรียนมากที่สุด คือ 1,272 ครั้ง เจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นผู้ร้องเรียน 957 ครั้ง นักธุรกิจ 477 ครั้ง นักข่าว 109 ครั้ง ส่วนองค์กรพัฒนาเอกชนร้องเรียนเพียงแค่ 21 ครั้ง

หากมองจากภาพกว้างแล้วคนชนบทยังขาดความรู้ความเข้าใจในสิทธิที่จะได้เข้าถึงข้อมูลข่าวสาร และในปัจจุบันข้อมูลส่วนใหญ่ของทางราชการเปิดเผยไว้ในรูปออนไลน์ ซึ่งทำให้มีคนบางส่วนยังไม่อาจเข้าถึงได้

สิ่งที่เป็นปัญหาของการใช้พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารฯ อีกประการหนึ่งคือ กระบวนการในการจัดการกับเรื่องร้องเรียนและอุทธรณ์ที่ล่าช้า และระบบข้อมูลที่ยังขาดประสิทธิภาพ ทำให้เกิดปัญหาต่อผู้ที่ต้องการข้อมูลของทางราชการ

ทั้งนี้ ในรายงานวิจัย ได้เปิดประเด็นต่อสังคมว่า โครงสร้างการทำงานของสำนักงานข้อมูลข่าวสารของทางราชการควรจะต้องเป็นสำนักงานหรือองค์กรอิสระอย่างชัดเจน และต้องมีการจะสร้างความเข้มเเข็งให้ภาคประชาสังคม และปลุกระดมเครือข่ายให้สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของทางราชการได้อย่างแท้จริง

 

หลังจากการนำเสนอผลการวิจัย มีเวทีอภิปรายในหัวข้อ “ทิศทางพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของประเทศไทย” โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิด้านข้อมูลข่าวสารทางราชการเป็นผู้ร่วมอภิปราย

ครรชิต มาลัยวงศ์

ครรชิต มาลัยวงศ์กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ กล่าวว่า ประเด็นที่เป็นปัญหาอุปสรรคของทางราชการ คือไม่เคยศึกษาว่าประชาชนต้องการรับรู้ข้อมูลข่าวสารทางราชการอะไรบ้าง แต่เป็นการยัดเยียดข้อมูลให้กับประชาชนว่าข้อมูลนี้ประชาชนจะต้องรู้ เช่นนี้การจัดระบบจึงไม่สามารถให้เป็นไปตามที่ประชาชนต้องการได้

"สิ่งที่กำหนดในมาตรา 9นั้นประชาชนไม่ค่อยสนใจเท่าไหร่ และก็เสียเวลาดู ประชาชนไม่เห็นอยากจะดูเลย ควรจะต้องกำหนดให้เป็นเรื่องที่น่าสนใจประชาชนอยากรู้มากกว่า" ครรชิตกล่าว

ครรชิต กล่าวด้วยว่า ราชการควรต้องมีการรวบรวมเอกสารทั้งหมดซึ่งเป็นของราชการเเละมีรหัสอย่างครบถ้วน ให้สามารถตรวจสอบได้ อีก 30ปีข้างหน้า รวมถึงทำอย่างไรเราจึงจะมีวิธีการจัดการหากสถานที่ราชการนั้นเกิดอุบัติภัย เช่น ไฟไหม้ มิฉะนั้นแล้วจะไม่มีเอกสารให้เห็นเลย

ทั้งนี้ ครรชิต ยังติดใจในงานวิจัยนี้ที่ว่า ภาคประชาสังคมไม่ได้ให้ความสนใจในการร้องเรียนหรืออุทธรณ์เกี่ยวกับการขอข้อมูลข่าวสารทางราชการนั้น ครรชิต เห็นว่าการที่ไม่มีใครอุทธรณ์เลยแสดงว่าดี มีการใช้กฎหมายดี

ครรชิต กล่าวว่า ปัญหาหลักของการใช้พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสาร คือ เมื่อประชาชนไม่สนใจ หน่วยงานรัฐจัดทำข้อมูลไปก็เสียเวลาเปล่า เพราะต้องมาจัดการเอกสารต่างๆที่มีมากมาย ตนจึงขอเสนอว่าเจ้าหน้าที่รัฐต้องเข้าใจการจัดเก็บระบบเอกสารที่ดีก่อน และต้องมีการจัดเก็บระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้สามารถเข้าถึงได้ง่ายยิ่งขึ้น

ปัญหาสำคัญอีกประการ คือ สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ (สขร.) มีงบประมาณไม่เพียงพอ ซึ่งหากให้งบประมาณมากขึ้นก็จะสามารถจ้างผู้เชี่ยวชาญมาดำเนินงานในการจัดระบบข้อมูลข่าวสารได้

เธียรชัย ณ นคร

เธียรชัย ณ นครอดีตรองเลขาธิการสภาพัฒนาการเมือง กล่าวว่า ในบทบัญญัติ มาตรา 7และ 9ที่รัฐจะต้องเปิดเผยขอมูลโดยอัตโนมัตินั้น รัฐคิดไปเองว่าประชาชนอยากรู้ข้อมูลเหล่านี้ ซึ่งเท่าที่ดูตนเห็นว่าประชาชนก็ไม่สนใจข้อมูลที่รัฐจะต้องจัดให้แต่อย่างใด

เธียรชัย ยังกล่าวต่อว่า การขอข้อมูลตามมาตรา 11 (ขอข้อมูลนอกเหนือจากมาตรา 7และ 9) ก็มีมาตรา 14และ 15ที่เป็นตัวปกปิดว่าอะไรบ้างที่เปิดเผยไม่ได้ เรื่องนี้หน่วยงานรัฐหรือเจ้าห้น้าที่ของรัฐจำเป็นต้องชั่งน้ำหนักให้ดีว่าควรจะเปิดเผยให้ได้หรือไม่ ไม่เช่นนั้นจะเป็นการใช้อำนาจหน้าที่ของรัฐตามอำเภอใจ

เธียรชัย กล่าวด้วยว่า การเข้าสู่ระบบอุทธรณ์ขอดูข้อมูลข่าวสารมีความล่าช้า ซึ่งสื่อมวลชนมักจะติติงในส่วนนี้ กฎหมายนี้เมื่อบังคับใช้แล้วเราคาดหวังว่าจะเป็นกระบวนการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐได้อย่างดี แต่เมื่อมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติปฏิบัติราชการปกครอง และตั้งศาลปกครองขึ้น ทำให้การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐเห็นเป็นรูปธรรมมากกว่า เพราะสามารถเพิกถอนคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายได้ แต่ข้อมูลข่าวสารได้มาแล้วเอาไปทำอะไรต่อยากกว่า

"ท้ายที่สุดการใช้กฎหมายข้อมูลข่าวสารก็ยังอยู่ในวงจำกัด และกฎหมายนี้ทำงานแบบตั้งรับ การทำงานเชิงรุกน้อยมาก ตราบใดที่ประชาชนยังไม่สำนึกถึงภาษีของประชาชน กระบวนการตรวจสอบก็ยังไม่สามารถทำได้ แต่ผมคิดว่าอย่าไปคาดหวังกับกฎหมายข้อมูลข่าวสารให้มากนัก เพราะเรายังมีทางเลือกอื่นที่สามารถดำเนินการได้ต่อไป" เธียรชัย กล่าว

 

ภาพหน้าแรก : ifindkarma

 

ไฟล์แนบ