52746466096_75689404f8_k
อ่าน

ศาลแพ่งยกฟ้อง คดีรุ้งฟ้องให้ประยุทธ์เพิกถอนข้อกำหนดห้ามชุมนุม

14 มีนาคม 2566 ศาลแพ่งนัดฟังคำพิพากษาคดีที่ รุ้ง ปนัสยา และนักกิจกรรมอีกสามคนได้แก่ เบนจา อะปัญ กุลจิรา ทองคง หรือเอ้ The Voice และ เสกสิทธิ แย้มสงวนศักดิ์ ร่วมกันเป็นโจทก์ที่หนึ่งถึงที่สี่ตามลำดับ ฟ้อง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นจำเลยที่หนึ่ง และ พล.อ.เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ในฐานะหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ในส่วนที่เกี่ยวกับความมั่นคง เป็นจำเลยที่สอง โดยในวันนี้นักกิจกรรมที่เป็นโจทก์ไม่ได้เดินทางมาฟังคำสั่งศาล มีเพียงทนายความและผู้รับมอบอำนาจที่เดินทางมาฟังคำสั่งแทน 
287938576_10166675234785551_5512330685017558630_n
อ่าน

อัษฎา : จากการตรวจสอบทุจริตสู่พลเมืองตื่นรู้

อัษฎา งามศรีขำ หรือ “ป้าอัษ” อายุ 56 ปีเป็นหนึ่งใน 11 จำเลยคดีคาร์ม็อบหาดใหญ่เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2564 การชุมนุมวันดังกล่าวมีเป้าหมายหลักคือ การขับไล่รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ป้าอัษบอกว่า วันนั้นเธอใส่แมสก์ อยู่บนรถ เว้นระยะห่างเพื่อความปลอดภัยและไม่สร้างผลกระทบต่อผู้ใช้รถใช้ถนนคนอื่นๆ แต่ก็ไม่วายถูกดำเนินคดีฐานฝ่าฝืนข้อกำหนดห้ามชุมนุมที่ออกเมื่อเพื่อควบคุมโรคโควิด และข้อหาอื่นๆ รวมห้าข้อ เธอเป็นใครมาจากไหน เหตุใดชาวหาดใหญ่ พื้นที่อันเป็นฐานที่มั่นของพรรครัฐบาลจึงออกมาร่วมคาร์ม็อบ ขับไล่รัฐบาล ชวนรู้จักชีวิตและประสบการณ์การต่อสู้ของป้าอัศที่หล่อหลอมให้เธอเป็นอีกหนึ่งคนที
51968545173_8e35232f90_o
อ่าน

อัยการสั่งไม่ฟ้อง Car Mob ใหญ่ 1 สิงหา เป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญ ไม่แออัด ไม่เสี่ยงต่อการแพร่โรค

คดีจัดการชุมนุม Car Mob ไล่ประยุทธ์ที่บริเวณถนนวิภาวดีรังสิต ตลอดสาย เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2564 อัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 8 ลงชื่อในหนังสือสั่งไม่ฟ้องคดีเมื่อวัน 8 มีนาคม 2565 และส่งหนังสือถึงผู้ต้องหาในวันที่ 29 มีนาคม 2565 เพื่อแจ้งคำสั่งไม่ฟ้องคดี โดยให้เหตุผลดังนี้  “การจัดกิจกรรมรวมกลุ่มชุมนุมเพื่อแสดงออกทางการเมืองในคดีนี้ เป็นการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ ในส่วนของการฝ่าฝืนมาตรการควบคุมโรคระบาด ลักษณะการชุมนุมเป็นการขับรถยนต์และจักรยานยนต
50187108083_3d68e4935e_w
อ่าน

คุมม็อบหรือคุมโรค? – ตัวอย่างคดีชุมนุมฝ่าฝืนพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ที่ห่างไกลจากการแพร่โรค

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทั่วประเทศตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2563 โดยอ้างเหตุจำเป็นเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด19 นับจากนั้น การชุมนุมโดยสงบซึ่งเป็นสิทธิของประชาชนตามรัฐธรรมนูญได้ถูกจำกัด โดยพล.อ.ประยุทธ์ออกข้อกำหนด ตามมาอีกหลายฉบับ และมอบอำนาจให้ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ออกประกาศควบคุมการชุมนุมโดยตรงอีกหลายฉบับ  ช่วงเดือนเมษายน 2563 เดือนแรกหลังประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินประชาชนต่างให้ความร่วมมือกับภาครัฐโดยงดเว้นการจัดการชุมนุมในพื้นที่สาธ
photo_2021-08-10_14-58-26
อ่าน

คุยกับวาดดาว เฟมินิสต์ปลดแอกในวันที่คนรุ่นใหม่ตาสว่างขานรับความเป็นธรรมทางเพศ

“พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ที่เราเจอคือ ตลกชิบหาย มีพฤติการณ์ที่ว่า ใส่ชุดเหมือนหางเครื่องและเต้นเพื่อดึงดูดให้ประชาชนเข้าร่วม ปูผ้าแพรห้าสีแล้วเต้น มีสมาชิก…พ่นสีบนผ้าขาวว่า ขี่รถบรรทุกชนประยุทธ์ มันตลกและมันก็เห็นเรื่องเพศสภาพ” วาดดาว-ชุมาพร แต่งเกลี้ยง เฟมินิสต์ปลดแอกตอบพร้อมหัวเราะ เมื่อเราถามถึงเรื่องพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ที่รัฐใช้บังคับในทางที่ปราบปรามเสรีภาพการแสดงออกในขณะนี้ 
51924088391_7a9e0c4669_o
อ่าน

ไหม ธนพร: พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ไม่เคยคุมโรค คุมแค่เพียงความทุกข์ยากของแรงงาน

  ไหม-ธนพร วิจันทร์ นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิแรงงานเป็นหนึ่งในผู้ถูกดำเนินคดีฐานฝ่าฝืนพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ก่อนหน้าเดือนตุลาคม 2564 เราพบว่า คดีของเธอมีไม่น้อยกว่าเจ็ดคดี จากนั้นผ่านมาเพียงสี่เดือนเท่านั้น คดีของเธอเพิ่มขึ้นเป็น 17 คดี เธอไล่เรียงแต่ละคดีด้วยน้ำเสียงมั่นอกมั่นใจว่า ข้อกล่าวหาดังกล่าวมาจากเหตุใดบ้าง มี 15 คดีที่เป็นคดีความในการชุมนุมที่เกี่ยวข้องกับการเมืองและการเคลื่อนไหวของราษฎร ส่วนอีกสองคดีเป็นคดีชุมนุมของแรงงาน  
51877034184_421a9fcdbf_o (2)
อ่าน

ได้หมาย YOUNG EP.4 คุยกับสี่นักกิจกรรมแดนใต้ “กระบี่ไม่ทน-กลุ่มนิสิตเพื่อประชาธิปไตย-ภูเก็ตปลดแอก และเฟมินิสต์ปลดแอก ภาคใต้”

เมื่อพูดถึง “ภาคใต้” หลายคนอาจนึกถึงลมเย็นๆ ริมหาด การไปดำน้ำดูปะการังสวยๆ หรือแกงไตปลาอร่อยๆ แต่เมื่อขยายอาณาบริเวณเข้าไปในประเด็นการเมือง “ภาคใต้” นับเป็นพื้นที่หนึ่งในประเทศที่ขึ้นชื่อว่าเป็น “เขตแดนของฝ่ายอนุรักษ์นิยม” ส่งผลให้ภูมิภาคนี้กลายเป็นปราการด่านยากที่สร้างอุปสรรคให้เหล่านักกิจกรรมที่เคลื่อนไหวทางการเมืองในพื้นที่เรื่อยมา  
protest-2-1
อ่าน

พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ: กรุงเทพฯสีฟ้า นำร่องท่องเที่ยว จัดชุมนุมได้ ถ้าไม่ใช่แออัด หรือก่อความไม่สงบ

นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 ถึงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2565 มีการจัดชุมนุมสาธารณะอย่างน้อย 10 ครั้งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร แทบทุกครั้งตำรวจและฝ่ายความมั่นคงยังพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 หรือ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เพื่อห้ามไม่ให้มีการชุมนุม โดยอ้างว่าก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการแพร่โรค และนำไปสู่ปฏิบัติการปิดกั้นขัดขวางการใช้เสรีภาพในการชุมนุมของประชาชน อย่างไรก็ดี ตามคำสั่ง ศบค.