52474242916_336241aeee_h
อ่าน

เลือกตั้ง 66: ย้อนประวัติศาสตร์ เปิดสามกลโกง ส่ง ”พรรคอันดับสอง” ขึ้นเป็นรัฐบาล

ตามธรรมเนียมของระบอบประชาธิปไตยที่ใช้ระบบรัฐสภา นายกรัฐมนตรีและรัฐบาลต้องเป็นพรรคที่มีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) มากเป็นอันดับหนึ่งของสภา เนื่องจากเป็นตัวแทนเสียงข้างมากของประชาชน แต่ทว่า ถ้าย้อนดูการเมืองไทยในอดีตจนถึงปัจจุบัน มีหลายยุคหลายสมัยที่พรรคการเมืองซึ่งมีจำนวน ส.ส. มากเป็นอันดับสอง สามารถจัดตั้งรัฐบาลแทนพรรคที่มีจำนวน ส.ส. มากที่สุด เป็นอันดับหนึ่ง ได้ เนื่องจากมีกลไกในการสืบทอดอำนาจอยู่ 
the dire fate of clans in Palang Pracharat
อ่าน

หมดพลัง ไร้ขุนพล: ชะตากรรมของกลุ่มก๊วนในพรรคพลังประชารัฐ

พลังประชารัฐต้องผ่านความขัดแย้งมาหลายยก มีหลายคนต้องลาจากพรรคไปพร้อมกับความแค้นสุมอก บางคนต้องเสียตำแหน่งผู้แทน และอีกหลายคนแม้จะยังอยู่ในพรรค แต่ความไม่พอใจก็สั่งสมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนพร้อมจะระเบิดออกมาเป็นศึกระลอกใหม่ได้อีก และนี่คือชะตากรรมของกลุ่มต่าง ๆ ในพรรคพลังประชารัฐในปัจจุบัน
Military Party
อ่าน

จุดจบพรรคทหารในการเมืองไทย

บทเรียนทางประวัติศาสตร์ พบว่าคณะรัฐประหารไทยพยายามสร้างพรรคทหารขึ้นเพื่อสืบทอดอำนาจผ่านการเลือกตั้งเรื่อยมาหลายยุคสมัยแล้ว ซึ่งพรรคทหารแต่ละยุคก็มีรูปแบบและให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกัน
50663785298_60401175fd_o
อ่าน

คดีพักบ้านหลวง: พล.อ.ประยุทธ์อาจพ่าย แต่ระบอบ คสช. ยังไม่แพ้

2 ธันวาคม 2563 คือ วันชี้ชะตาของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและอดีตหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ว่าจะต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหรือไม่ โดยผลของคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญอาจทำให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และบรรดาคณะรัฐมนตรีในรัฐบาล คสช. ต้องพ้นไปจากตำแหน่งยกชุด และ พล.อ.ประยุทธ์ อาจต้องเว้นวรรคทางการเมืองเป็นเวลา 2 ปี
1
อ่าน

6 ปี คสช.: มอง ‘ระบอบ คสช.’ ผ่าน 6 เสาค้ำจุนอำนาจ

22 พฤษภาคม 2557 คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) นำโดย พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยึดอำนาจรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการสถาปนาอำนาจ “ระบอบ คสช.” ที่พยายามเปลี่ยนผ่านอำนาจแบบเผด็จการเต็มใบไปสู่ระบอบเผด็จการซ่อนรูป ในวาระครบรอบ 6 ปี เราขอทบทวนโครงสร้างอำนาจที่ คสช. ถูกออกแบบไว้ให้คณะรัฐประหารสามารถอยู่กับสังคมไทยได้ไปอีกหลายปี
People TN
อ่าน

ก่อนท้องฟ้าจะสดใส: ข้อเสนอหนทางกลับสู่ “ประชาธิปไตย” ต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ

สถานการณ์ทางการเมืองต้นปี 2563 เกิดกระแสความไม่พอใจต่อการครองอำนาจแบบเผด็จการของรัฐบาล คสช.2 แผ่ขยายวงกว้างไปทั่ว ไอลอว์เสนอให้ผู้ที่กำลังทำกิจกรรมเรียกร้องประชาธิปไตยช่วยกันพิจารณาข้อเสนอเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญชุดนี้ ในฐานะหนทางหนึ่งที่จะกลับสู่ประชาธิปไตย
power of senators
อ่าน

อำนาจของ 250 ส.ว. ของ คสช. มีมากกว่าแค่พิจารณากฎหมาย

ส.ว. ชุดพิเศษ ตามรัฐธรรมนูญ 2560 มีอำนาจหน้าที่ไม่น้อยไปกว่าชุดก่อนๆ แถมอำนาจบางประการขถือเป็นมรดกที่ คสช. ได้วางเส้นทางการรักษาอำนาจเอาไว้ จึงเป็นภารกิจสำคัญของประชาชนทุกคนที่ต้องช่วยกัน และก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า คนกลุ่มนี้มีอำนาจที่ได้รับมอบหมายไว้อย่างไรบ้าง
bf81b392
อ่าน

3 ปี ประชามติ: คสช. ร่างรัฐธรรมนูญอย่างไรให้ตัวเองอยู่ต่อหลังเลือกตั้ง

ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2559 ในตอนนั้น คณะรักษาความสงบแห่งชาติได้จัดให้มีการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ที่คสช. เป็นคนจัดทำโดย 'อ้อม' ผ่านคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญที่คสช. เป็นคนแต่งตั้ง และในทันทีที่ได้เห็นร่างรัฐธรรมนูญ สังคมไทยก็พอจะเห็นเค้าลางของความพยายามในการ 'สืบทอดอำนาจ' ของคสช. ผ่านการเขียนรัฐธรรมนูญ
military hold country
อ่าน

ผลงาน “มาตรา 44” ขยายงาน “กอ.รมน.” วางฐานอำนาจทหารหลังยุค คสช.

หนึ่งในเครื่องมือสืบทอดอำนาจของทหารหลังยุค คสช. คือ การย้ายภารกิจ "ความมั่นคง" ไปไว้ในมือของ กอ.รมน. ซึ่งเคยมีคำสั่งหัวหน้า คสช. 51/2560 ขยายอำนาจให้ทหารเข้ามาดูแลงานป้องกันบรรเทาสาธารณภัย ให้มีกำลังเจ้าหน้าที่ งบประมาณ รวมทั้งตั้งกรรมการระดับภาคและจังหวัดได้ด้วย